วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ไต้หวันสั่งจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ลำแรกที่สร้างเอง

Kaohsiung Maritime 2018: Taiwan confirms contract for first amphibious assault ship
A model of the 153 m amphibious assault ship that will be delivered to the RoCN by the end of 2022. Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
https://www.janes.com/article/83383/kaohsiung-maritime-2018-taiwan-confirms-contract-for-first-amphibious-assault-ship

Kaohsiung Maritime 2018: CSBC reveals further details of LPD on order for Taiwan
A model of the LPD, on display at the 2018 Kaohsiung International Maritime and Defence exhibition. Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
https://www.janes.com/article/83450/kaohsiung-maritime-2018-csbc-reveals-further-details-of-lpd-on-order-for-taiwan

กระทรวงกลาโหมไต้หวันได้สั่งจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) จำนวน 1ลำเพื่อเติมเต็มความต้องการด้านการปฏิบัติการจู่โจมยกพลขึ้นบกของของกองทัพเรือไต้หวัน(RoCN: Republic of China Navy)
สัญญาได้ถูกประกาศให้บริษัท CSBC Corporation ไต้หวันเป็นผู้สร้างเรือในเดือนเมษายน 2018 ตามที่ตัวแทนจากกองทัพเรือไต้หวันกล่าวกับ Jane's ในงานแสดงอาวุธยุทโธกรณ์ทางทะเล Kaohsiung International Maritime and Defence 2018 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2018 ที่ผ่านมา

เรือ LPD ใหม่ของกองทัพเรือไต้หวันจะมีตวามยาวเรือ 153m กว้าง 23m และกินน้ำลึก 6m ทำความเร็วได้สูงสุด 21.5knots พิสัยทำการ 12,500nmi ที่ความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ 13knots
ติดตั้งอาวุธปืนใหญ่เรือ 76mm(OTO Melara 76/62) ที่หัวเรือ และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapons System) (ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Phalanx 20mm) 2แท่นยิง และปืนกลหนัก 12.7mm 4กระบอก ที่ส่วนหน้าเรือและท้ายเรือ

CSBC ไต้หวันยังเปิดเผยอีกว่าเรือ LPD จะยังได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำและโจมตีภาคพื้นดินตระกูล Hsiung Feng II และ Hsiung Feng III มีกำลังพลประจำเรือ 190นาย รองรับนาวิกโยธินติดอาวุธและเครื่องสนามเต็มอัตรา 233นาย
เรือยังจะสามารถนำเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) ขนาด 16m ได้ 4ลำ หรือเรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU: Landing Craft Utility) ขนาด 36m ได้ 2ลำในอู่ลอย(Well Dock) ของเรือ

เรือ LPD ไต้หวันจะมีดาดฟ้าบินที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ Sikorsky S-70C ได้ 1เครื่องซึ่งเป็นที่ทราบว่าปัจจุบันกองทัพเรือไต้หวันมีประจำการ 18เครื่อง โดยนอกจากปฏิบัติการยกพลขึ้นบก เรือยังจะสามารถนำไปใช้ในภารกิจยามสงบได้ เช่นปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติ
"ในแง่ของการออกแบบเราได้นำการอ้างอิงจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น San Antonio สหรัฐฯ เราจะประเมินค่าสมรรถนะของเรือลำแรกหลังจากเข้าประจำการและใช้ประสบการณ์ที่ได้รับนี้เพื่อตัดสินใจการเปลี่ยนแปลงสำหรับเรืออีก 3ลำถัดไป" ตัวแทนกองทัพเรือไต้หวันกล่าว

"เรือจะยังสามารถนำไปใช้การส่งกำลังบำรุงทหารของเราในหมู่เกาะที่ห่างไกลฝั่งของไต้หวันเช่นเกาะ Taiping Dao" ตัวแทนกองทัพเรือไต้หวันเสริมในการอ้างอิงถึงหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่ถูกอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตโดย จีน, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ด้านตัวแทนของ CSBC ไต้หวันยังเสริมอีกว่า "การปรับแต่งได้รับการทดสอบโดยกองทัพเรือไต้หวันและพวกมันจะให้ผลข้อมูลตอบกลับแก่เรา บนพื้นฐานของข้อมูลตอบกลับนี้เราจะนำไปออกแบบเรือลำที่สอง" การยืนยันแผนดังกล่าวว่าไต้หวันมีความต้องการจะประเมินค่าเพื่อจัดหาเรือ LPD ชั้นนี้ 4ลำ

ปัจจุบันกองทัพเรือไต้หวันมีเรืออู่ระบายพล(LSD: Landing Ship Dock) LSD-193 ROCS Hsu Hai อยู่ 1ลำ ซึ่งเดิมคือเรือ LSD ชั้น Anchorage ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) ชื่อ LSD-38 USS Pensacola ที่เข้าประจำการในปี 1971 และส่งมอบให้ไต้หวันเข้าประจำการในปี 2000
และเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่(LST: Landing Ship Tank) 2ลำคือ LST-232 ROCS Chung Ho และ LST-233 ROCS Chung Ping ซึ่งเดิมคือเรือ LST ชั้น Newport ของสหรัฐฯชื่อ LST-1180 USS Manitowoc และ LST-1181 USS Sumter ที่ประจำการในปี 1970 และส่งมอบให้ไต้หวันในปี 2000 ตามลำดับครับ