Boeing testing high-speed Apache concept
Boeing is testing possible modifications to its Apache attack helicopter such as a fixed-wing and pusher propeller that could add speed and reduce drag. (IHS Markit/Pat Host)
https://www.janes.com/article/84079/boeing-testing-high-speed-apache-concept
บริษัท Boeing สหรัฐฯกำลังทดสอบความเป็นไปได้ในการดัดแปลงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ของตนเพื่อให้สามารถเพิ่มความเร็วสูงขึ้นและมีแรงต้านอากาศน้อยลงได้
การดัดเแปลงดังกล่าวที่รู้จักในชื่อ AH-64E Block 2 Compound มีคุณสมบัติประกอบด้วยปีกตรึงขนาดใหญ่, ท่อไอเสียชี้ไปทางด้านหลัง, แพนหางแนวตั้งทางด้านล่าง และใบพัดขับดันในด้านท้าย(pusher propeller) โดย ฮ.ยังคงมีใบพัดท้ายไว้เพื่อต้านแรงบิด(anti-torque) อยู่
การดัดแปลงดังกล่าวกำลังถูกทดสอบที่อุโมงค์ลมของ Boeing ใน Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania สหรัฐฯ โดยใช้แบบจำลองย่อขนาดลงร้อยละ30 การทดสอบคาดว่าจะสรุปผลได้ในเดือนมกราคม 2019
Boeing สหรัฐฯเชื่อว่าการดัดแปลงเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเร็วและพิสัยการบินอีกร้อยละ50, เพิ่มอายุการใช้งานเป็นสองเท่า และมีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงดีกว่าร้อยละ24 สำหรับราคาเครื่องที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ20
คุณสมบัติของ ฮ.โจมตี AH-64E ปัจจุบันมีท่อไอเสียชี้ไปทางด้านบน, มีแพนหางแนวตั้งทางด้านบน และมีเพียงปีกสั้น(stub wings) ยื่นข้างลำตัวทั้งสองด้านสำหรับเป็นตำบลติดอาวุธ
โดยมีความแตกต่างไม่มากจากเครื่องต้นแบบ YAH-64A ที่พัฒนาโดยบริษัท Hughes Helicopters ซึ่งทำการบินครั้งแรกในปี 1975 และต่อมาถูกควบรวมกิจการโดยบริษัท McDonnell Douglas ในปี 1984 และบริษัท Boeing ในปี 1997 ซึ่งเป็นผู้เปิดสายการผลิตในปัจจุบันตามลำดับ
Randy Bregger ผู้จัดการโครงการ Boeing Advanced Apache กล่าวในงานสัมมนาเทคโนโลยีการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ทางทหาร Helicopter Military Operations Technology(HELMOT) ของสมาคมการบินแนวดิ่ง Vertical Flight Society ในมลรัฐ Virginia สหรัฐฯ เมื่อ 25 ตุลาคม 2018 ว่า
บริษัทกำลังหวังว่าการดัดแปลงนี้จะสร้างความสนใจแก่กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) จะซื้อเครื่องและเป็นสะพานระหว่างช่องว่างของ ฮ.โจมตี AH-64E และเครื่องบินโจมตีในโครงการอากาศยานแนวดิ่งยุคอนาคต Future Vertical Lift(FVL)
เมื่อสายการผลิตของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E สิ้นสุดลงในราวปี 2032 อากาศยานโจมตีในโครงการ FLV คาดว่าจะเข้าสู่ความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ได้ในราวปี 2045(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/sikorsky-boeing-fvl.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/12/bell-v-280-valor.html)
Bregger กล่าวว่าการเพิ่มปีกตรึงจะลดภาระบรรทุก(load off)ของใบพัดประธานลงได้บางส่วน ขณะที่การเพิ่มใบพัดขับเคลื่อนจะเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพ การเพิ่มปีกตรึงยังก่อให้พิสัยการบินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ23 ด้วยครับ