วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567

โครเอเชียนำเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสชุดแรก 6เครื่องจาก 12เครื่องเข้าประจำการ

Rafale enters Croatian service







One of the first six Rafales to be delivered to Croatia. Deliveries of all 12 aircraft will be complete by mid-2025. (Dassault)



กองทัพอากาศโครเอเชีย(Croatian Air Force, HRZ i PZO: Hrvatsko ratno zrakoplovstvo i protuzračna obrana)ได้นำเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ที่ตนได้รับมอบจากฝรั่งเศสล่าสุดเข้าประจำการแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/rafale.html)
บริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศสผู้ผลิตประกาศเหตุการณ์สำคัญนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2024 กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกจำนวน 6เครื่องจาก 12เครื่องได้ถูกรับมอบเข้าประจำการโดยกองทัพอากาศโครเอเชียแล้ว

เครื่องบินขับไล่ Rafale ที่ได้ถูกส่งมอบแก่กระทรวงกลาโหมโคเอเชีย ณ ฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, AAE: Armée de l'Air et de l'Espace) ที่ Mont-de-Marsan ในฝรั่งเศสในปี 2023
เครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรก 6เครื่องเหล่านี้ได้ถูกรับมอบเข้าประจำการในฐานบินปฏิบัติการที่91(91 operational base) ใกล้นครหลวง Zagreb ในพิธีที่เชิญนายกรัฐมนตรีโครเอเชีย Andrej Plenković และรัฐมนตรีกลาโหมโครเอเชีย Ivan Anušić เข้าร่วม

โดยเครื่องบินขับไล่ Rafale จะประจำการที่ฝูงบินที่191(191 Squadron) เครื่องบินชุดต่อไปที่จะตามมาอีก 6เครื่องจะมาถึงโครเอเชียภายในสิ้นปี 2024 และจะเสร็จสิ้นครบทั้งฝูงบินในกลางปี 2025
โครเอเชียได้เลือกเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสจำนวน 12เครื่องในเดือนพฤษภาคม 2021 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21 ที่มีอายุการใช้งานมานานของตน

ข้อตกลงวงเงิน 1.15 billion Euros($1.21 billion) ได้รับการลงนามในเดือนพฤศจิกายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/rafale.html) โดยการชำระค่าใช้จ่ายจะดำเนินตั้งแต่ปี 2021-2026
เครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 12เครื่องส่วนเกินจากกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศสประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Rafale C จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B จำนวน 2เครื่องในมาตรฐาน F3-R 

นอกเหนือจากเครื่องบินขับไล่ Rafale 12เครื่องเหล่านี้ โครเอเชียกำลังได้รับมอบเครื่องจำลองการบิน simulator, การฝึก และการสนับสนุนอื่นๆที่จะดำเนินไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2026 กองทัพอากาศโครเอเชียตั้งใจจะประจำการเครื่องบินขับไล่ Rafale ไปจนถึงต้นปี 2050s 
โครเอเชียได้เข้าร่วมกลุ่มลูกค้าส่งออกล่าสุดของเครื่องบินขับไล่ Rafale ประกอบด้วยอียิปต์จำนวน 54เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale-30.html), อินเดียจำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html)

กาตาร์จำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html), กรีซจำนวน 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/rafale-6.html), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จำนวน 80เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/rafale-f4-80.html)
และอินโดนีเซียจำนวน 42เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/rafale-42-18.html) ล่าสุดเซอร์เบียยังกำลังมองที่จะจัดหาจำนวน 12เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-12.html)

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

กองทัพบกไทยทดสอบยิงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 OES เชื่อมระบบควบคุมการยิงใหม่ที่พัฒนาในประเทศ












Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA) conducte live fire of new domestic modernized Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] on stationary ground targets at 1,000 metre and moving aerial targets at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand, on 20 April 2024.
Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] by Thailand's company Armisys Supply Co.,Ltd and Kasetsart University with ARDO for Army Air Defense Command, RTA. (Royal Thai Army)



10 เม.ย. 67 : พ.อ.มนต์ชัย ดวงปัญญา รอง ผอ.สวพ.ทบ. พร้อมคณะทำงานทดสอบและประเมินผลฯ เดินทางเพื่อเข้าร่วมการทดสอบและประเมินผลโครงการ พัฒนาระบบควบคุมการยิง เพื่อดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ ปตอ. ขนาด 40 มม. แอล 70 
ณ ปตอ.1 พัน.5 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบต้นแบบงานวิจัยประกอบเป็นข้อมูลในการพิจารณารับรองผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกองทัพบก ซึ่งจะมีการทดสอบและประเมินผลฯ ภาคสนาม : การทดสอบการยิงด้วยกระสุนจริง ในวันที่ 22 เม.ย. 67 ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศป. จว.ล.บ.

22 เม.ย. 67 : พล.ต. ระวี ตั้งพิทักษ์กุล ผอ.สวพ.ทบ. เป็นประธานในการทดสอบและประเมินผลโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ : การพัฒนาระบบควบคุมการยิง ปตอ. ขนาด 40 มม. แอล 70 ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศป. จว.ล.บ. 
 การยิงทดสอบด้วยกระสุนจริงครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบต้นแบบงานวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณารับรองผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกองทัพบก ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 4 ประการ ได้แก่ 
1. การเชื่อมต่อระบบควบคุมการยิงนอกตัวปืน กับ ปตอ.40 มม. แอล 70
2. การทดสอบการสั่งลั่นไกยิงกระสุนจริง ในขั้นตอนการยิงอัดฐาน
3. การทดสอบความแม่นยำ การยิงเป้าหมายอยู่กับที่ระยะ 1,000 เมตร
4. การทดสอบความแม่นยำ การยิงแบบติดพันเป้าหมายอากาศเคลื่อนที่

โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System) สำหรับปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.(ARDO: Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
ได้มีความคืบหน้าล่าสุด หลังเตรียมความพร้อม ณ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๕ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๑(5th Anti-Aircraft Artillery Battalion, 1st Anti-Aircraft Artillery Regiment) หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ.(Army Air Defense Command) ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
การทดสอบยิงด้วยกระสุนจริง ๒๐๐นัดของปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES สองหน่วยยิงที่เชื่อมกับระบบควบคุมการยิงใหม่ที่พัฒนาในไทย ต่อเป้าหมายอยู่กับที่ระยะ 1,000m และเป้าอากาศเคลื่อนที่ก็ได้มีขึ้น ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป.(Artillery Center) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗

ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] เป็นการปรับปรุงความทันสมัยโดยชุดอุปกรณ์ซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70 ของบริษัท อาร์มี่ซิส ซัพพลาย จำกัด (ARMISYS SUPPLY COMPANY LIMITED) ไทย โดยความร่วมมือกับ สวพ.ทบ.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตามที่ กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบกไทย(Royal Thai Army Ordnance Department) ได้ประกาศโครงการจ้างซ่อมปรับปรุงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors ขนาด 40mm L/70 กำหนดราคากลางอ้างอิงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) วงเงินงบประมาณ ๔๔๖,๕๐๐,๐๐๐บาท($13,996,873.07) ราคาต่อหน่วย ๒๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($736,677.53)(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/bofors-40mm-l70.html)
และมีการส่งมอบเพื่อใช้ในการฝึกภายในหน่วย(Unit School) ของกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒(2nd Anti-Aircraft Artillery Battalion, 2nd Anti-Aircraft Artillery Regiment) ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/bofors-40mm-l70-oes.html)

โครงการวิจัยและพัฒนานี้เป็นการพัฒนาระบบควบคุมการยิงแบบนอกตัวปืนสำหรับการควบคุมการยิงการทำงานของกลุ่ม ปตอ.Bofors 40mm L/70 จำนวน ๔กระบอก(หน่วยยิง)โดยระบบควบคุมการยิงแบบนอกตัวปืนนี้จะตรวจจับและติดตามเป้าหมายทางอากาศที่ได้รับมาจากกล้อง Opto-Electronic
หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลไปยัง ปตอ.Bofors 40mm L/70 ทั้ง ๔กระบอกที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่างๆตามยุทธวิธีเพื่อให้ปืนเคลื่อนที่ติดตามเป้าหมายทางอากาศนั้นสัมพันธ์กัน และเมื่อได้รับคำสั่งให้ป้องกันและทำลายเป้าหมาย ระบบควบคุมการยิงแบบนอกตัวนี้จะส่งคำสั่งชดเชยแนววิถีกระสุนและคำสั่งยิงให้กับปืนแต่ละกระบอกในทันที
ซึ่งเป็นไปตามยุทธวิธีของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ. กองทัพบกไทย สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยทางอากาศด้วยกลุ่มปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/rtaf-steel-challenge-2023.html)

ระบบควบคุมการยิง OES สามารถนำมาใช้ร่วมกับ ปตอ.Bofors 40mm L/70 ทั้งในรุ่นระบบสัญญาณแบบ Analog Synchro(แบบเดิม) และระบบสัญญาณ Digital รุ่นที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นไปตามการจัดอัตรายุทโธปกรณ์ตามหลักการกองพันผสมของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ.
ที่ต้องมีระบบควบคุมการยิงนอกตัวปืนหลายระบบประจำในกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ทำให้ นปอ.ขยายขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการป้องกันภัยทางอากาศ โดยใช้งบประมาณที่คุ้มค่ากับการลงทุนเนื่องจากเป็นผลงานวิจัยที่พัฒนาด้วยตนเองในประเทศไทย
กองทัพบกไทยได้จัดหา ปตอ.Bofors 40mm L/70 ซึ่งใช้งานร่วมกับ radar ควบคุมการยิงแบบ Flycatcher เนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ช่วงปี 1980s การปรับปรุงความทันสมัยล่าสุดนี้จะทำให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามทางสมัยใหม่รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ตั้งแต่ระบบที่ดัดแปลงจาก drone ใช้งานทางพลเรือน จนถึง UAV ที่ออกแบบสำหรับใช้ทางทหารโดยตรงได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

เวียดนามวางแผนจะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 เกาหลีใต้

Vietnam outlines intent to procure K9 howitzer







The K9 SPH has a combat weight of 46.3 tonnes, a top road speed of 67 km/h, and an operational range of 360 km. (Hanwha Defense)

กระทรวงกลาโหมเวียดนามได้ระบุว่าตนกำลังวางแผนที่จะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน(SPH: Self-Propelled Howitzer) แบบ K9 ที่พัฒนาและผลิตโดยบริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลีสำหรับกองทัพประชาชนเวียดนาม(PAVN: People's Army of Vietnam)

รองรัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม Hoang Xuan Chien ได้แสดงความตั้งใจที่จะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 ณ 'การหารือยุทธศาสตร์กลาโหมเกาหลี-เวียดนามครั้งที่11'(11th Korea-Vietnam Defense Strategy Dialogue) 
ที่จัดขึ้นในนครหลวง Hanoi เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2024 ตามข้อมูลจากสื่อประชาสัมพันธ์ที่ออกเผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีหนึ่งวันให้หลังเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2024

"รองรัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม Chien ได้ประเมินระบบอาวุธต่างๆของเกาหลีและแสดงความตั้งใจของเขาที่จะขยายความร่วมือด้านอุตสาหกรรมกลาโหมรวมถึงการนำระบบอาวุธของเกาหลี
อย่างเช่นปืนใหญ่อัตตาจร K9 เข้าประจำการ(ในกองทัพประชาชนเวียดนาม) และร้องขอความร่วมมือจากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับความประสงค์นี้" กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าว

นอกจากนี้ทั้งเวียดนามและสาธารณรัฐเกาหลีได้เห็นชอบที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งความร่วมมือในหลายภาคส่วนอย่างเช่น การรักษาความมั่นคงทางทะเล, ความมั่นคงทาง cyber และการส่งกำลังบำรุง กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีเสริม
เพื่อขยายความร่วมมือด้านกลาโหมและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ทั้งสองประเทศเห็นชอบว่าการหารือภาคส่วนของความร่วมมือใหม่ต่างๆจะถูกเพิ่มเข้าไปในข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมทวิภาคีที่ลงนามในปี 2010 ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี

ในเดือนเมษายน 2024 โฆษกบริษัท Hanwha Aerospace ยืนยันกับ Janes ว่าเจ้าหน้าที่ของกองทัพและรัฐบาลเวียดนามได้เยือนโรงงานของ Hanwha เพื่อพิจารณาปืนใหญ่อัตตาจร K9
กองทัพประชาชนเวียดนามมีความต้องการระบบปืนใหญ่ใหม่เพื่อทดแทนปืนใหญ่เก่าอายุการใช้งานหลายทศวรรษที่มีในคลังแสงของตน รวมถึงปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งลากจูง M114 ขนาด 155mm และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง M101 ขนาด 105mm

มีรายงานว่ากองทัพประชาชนเวียดนามมองที่จะจัดหาปืนใหญ่กระสุนวิถีโค้งขนาด 155mm ใหม่จำนวน 108หน่วยยิง ตามข้อมูลจาก Janes Land Warfare Platforms: Artillery & Air Defence ปืนใหญ่อัตตาจร K9 มีน้ำหนักพร้อมรบที่ 46.3tonnes, 
ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุดที่ 67km/h และมีระยะการปฏิบัติการที่ 360km ติดตั้งปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 155mm/52calibre มีพิสัยยิงไกลสุด 40km สามารถบรรทุกกระสุนได้ 48นัดพร้อมดินส่งพร้อมใช้และมีระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ กำลังพลประจำรถ 5นายครับ

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

สิงคโปร์ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สี่และลำสุดท้าย RSS Inimitable

Singapore launches final Type 218SG submarine







Singapore's fourth Type 218SG submarine, seen here before its launch ceremony on 22 April 2024. (Singapore Ministry of Defence)



บริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air-Independent Propulsion) แบบ Type 218SG
เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สี่และลำสุดท้าย เรือดำน้ำ RSS Inimitable ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy)

เรือดำน้ำ RSS Inimitable ได้ถูกทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2024 ณ อู่ต่อเรือของบริษัท TKMS ใน Kiel เยอรมนี กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ประกาศในแถลงการณ์ในวันเดียวกัน
"แนวคิดและวิศวกรรมร่วมกันโดยกองทัพเรือสิงคโปร์, สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมสิงคโปร์(DSTA: Defence Science and Technology Agency) และหุ้นส่วนทางอุตสาหกรรม TKMS เยอรมนี" อ่านจากแถลงการณ์

"เรือดำน้ำชั้น Invincible ได้ถูกปรับแต่งสำหรับการปฏิบัติการในน่านน้ำเขตร้อนที่ตื้นและการจราจรพลุกพล่านของสิงคโปร์ และเรือมีคุณลักษณะระยะเวลาปฏิบัติการนานกว่าและการบรรทุกสูงกว่า
หลังการปล่อยเรือลงน้ำ เรือดำน้ำ RSS Inimitable จะเข้าสู่การดำเนินการการทดลองเรือในทะเลหลายชุดก่อนที่จะส่งมอบแก่สิงคโปร์" กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เสริม

มีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่า เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สอง เรือดำน้ำ RSS Impeccable ที่ถูกปล่อยลงน้ำในปี 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/invincible-rss-impeccable-rss.html
ยังอยู่ในการดำเนินการการทดลองเรือในทะเลที่สิงคโปร์หลายชุด โดยแผนที่จะมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราและขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำ RSS Impeccable ในปี 2024

สิงคโปร์ประกาศเป็นครั้งแรกว่าตนได้ลงนามสัญญาสำหรับเรือดำน้ำชั้น Invincible สองลำแรกกับ TKMS ในเดือนธันวาคม 2013 และเปิดเผยต่อมาในการสั่งจัดหาเรือดำน้ำสองลำเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม 2017
สัญญารวมถึงชุดการส่งกำลังบำรุงและการฝึกสำหรับกำลังพลกองทัพเรือสิงคโปร์ที่จะทำการฝึกในเยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/type-218sg-rss-invincible.html)

เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำแรก เรือดำน้ำ RSS Invincible ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/tkms-type-218sg-rss-invincible.html)
เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สองและลำที่สาม เรือดำน้ำ RSS Impeccable และเรือดำน้ำ RSS Illustrious ตามลำดับถูกปล่อยลงน้ำพร้อมกันในเดือนธันวาคม 2022

เรือดำน้ำ RSS Impeccable ได้ถูกขนส่งมาถึงสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคม 2023 แต่เรือพี่น้องของเธอ เรือดำน้ำชั้น Invincible และเรือดำน้ำ RSS Illustrious ยังคงอยู่ในเยอรมนีสำหรับการฝึกและการสร้างความคุ้นเคยการปฏิบัติการ
เรือดำน้ำ RSS Inimitable จะถูกส่งมอบได้ในปี 2025 โดยเรือดำน้ำชั้น Invincible ทั้งสี่ลำจะทดแทนเรือดำน้ำชั้น Challenger(เรือดำน้ำชั้น Sjöormen เดิม) 4ลำ และเรือดำน้ำชั้น Archer(เรือดำน้ำชั้น Västergötland เดิม) 2ลำจากสวีเดนที่ประจำในกองทัพเรือสิงคโปร์ทั้งหมดครับ

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

Leonardo อิตาลียืนยันสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก M-346 สำหรับไนจีเรีย 24เครื่อง

Leonardo confirms M-346 contract for Nigeria





Nigeria is to receive 24 M-346 aircraft that will be used in both the trainer and combat roles. While Leonardo offers both the M-346FA and M-346FT combat versions of the aircraft, all official announcements on the Nigerian deal by the NAF and/or Leonardo to date have referred only to the baseline M-346 advanced jet trainer (pictured) that comes with a secondary combat capability. (Italian Air Force)

บริษัท Leonardo อิตาลีได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกว่าตนได้ได้รับสัญญาที่จะส่งมอบเครื่องบินขับไล่และฝึก M-346 ของตนแก่ไนจีเรีย(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/leonardo-airbus-m-346.html)
การบอกกับ Janes เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2024 ว่าล่าสุดบริษัท Leonardo ได้ยืนยันความมุ่งมั่นของตนที่ส่งมอบได้ทันเวลาของ "เครื่องบินขับไล่" แก่ไนจีเรียประเทศในแอฟริกาตะวันตก

การยืนยันของบริษัท Leonardo อิตาลีมีขึ้นตามมาในการตอบสนองต่อการเผยแพร่ post ในบัญชี Facebook ทางการของกองทัพอากาศไนจีเรีย(NAF: Nigerian Air Force) ซึ่งตนกล่าวว่า
จะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่และฝึก M-346 จำนวน 24เครื่อง โดยเครื่องบินชุดแรกจำนวน 6เครื่องคาดว่าจะมาถึงไนจีเรียก่อนสิ้นปี 2024 และเครื่องที่เหลือจะถูกส่งมอบตามมาชุดละ 6เครื่องในแต่ระยะ

"(Post ใน Facebook) นี้ได้ทำการอ้างอิงต่อการประชุมระหว่างกองบัญชาการกองทัพอากาศไนจีเรียและ Leonardo อิตาลี ที่ซึ่งบริษัทได้ยืนยันความมุ่งมั่นของตนที่จะส่งมอบเครื่องบินขับไล่และฝึก M-346 ตามเวลา
และรับประกันการเริ่มต้นช่วงแรกของการฝึกนักบินในปี 2024 เราไม่สามารถอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในขั้นระยะนี้ได้" บริษัท Leonardo อิตาลีกล่าวเสริมกับ Janes

กองทัพอากาศไนจีเรียจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่และฝึก M-346 จำนวน 24เครื่องที่จะถูกใช้ในบทบาททั้งเป็นเครื่องบินฝึกและเครื่องบินรบ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/m-346.html)
ขณะที่ Leonardo อิตาลีได้เสนอทั้งรุ่นเครื่องบินขับไล่และโจมตี M-346FA(Fighter Attack)(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/leonardo-m-346fa-su-22.html) และเครื่องบินขับไล่และฝึก M-346FT(Fighter Trainer)(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/m-346.html)

การประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อตกลงของไนจีเรียโดยทั้งกองทัพอากาศไนจีเรียและ/หรือบริษัท Leonardo อิตาลีในปัจจุบันได้อ้างอิงเฉพาะรุ่นพื้นฐานเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า M-346 เท่านั้นซึ่งมาพร้อมขีดความสามารถรองในการรบ
กองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, AMI: Aeronautica Militaire Italiana) นำ M-346 เข้าประจำการโดยกำหนดแบบเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่น T-346A โดยยังได้รับการส่งออกให้แก่สิงคโปร์, อิสราเอล,โปแลนด์, อาเซอร์ไบจาน, กรีซ, กาตาร์ และเติร์กเมนิสถาน

ตามข้อมูลจาก Janes World Air Forces กองทัพอากาศไนจีเรียปัจจุบันมีประจำการด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น Alpha Jet E ฝรั่งเศสจำนวน 11เครื่อง ซึ่งถูกนำมาใช้ติดอาวุธในภารกิจเครื่องบินโจมตีเบา
M-346 จะยังเสริมต่ออากาศยานที่ประจำการมีอยู่รวมถึงเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder จีน-ปากีสถานจำนวน 3เครื่อง และเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด A-29 Super Tucano บราซิลจำนวน 12เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/jf-17-29-super-tucano.html)

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

ฟินแลนด์ทำพิธีวางกระดูกงูเรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa ลำแรก

Rauma Shipyard lays keel for first Finnish Navy Squadron 2020 corvette





A keel-laying ceremony for first Fininish Navy Squadron 2020 corvette was held at Rauma shipyard on 11 April. (Rauma shipyard)





อู่เรือบริษัท Rauma Marine Constructions(RMC) ฟินแลนด์ได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือสำหรับเรือคอร์เวตอเนกประสงค์ชั้น Pohjanmaa โครงการ Squadron 2020 ลำแรก
ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือฟินแลนด์(Finnish Navy) ระหว่างพิธีที่จัดขึ้น ณ อู่เรือบริษัท RMC ใน Rauma เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2024 ที่ผ่านมา

การประกาศเหตุการสำคัญในวันเดียวกัน บริษัท RMC กล่าวว่าอู่เรือได้สร้างความคืบหน้าที่ดีในเรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa ตั้งแต่ตัดเหล็กแผ่นแรกเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2023
"มันเป็นเวลาห้าเดือนตั้งแต่เริ่มต้นการสร้าง และขั้นระยะการปฏิบัติการได้ดำเนินความคืบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ" RMC ฟินแลนด์กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/pohjanmaa.html)

อู่เรือ RMC กำลังส่งมอบเรือคอร์เวตอเนกประสงค์ชั้น Pohjanmaa ท้งหมดจำนวน 4ลำสำหรับกองทัพเรือฟินแลนด์ภายใต้การประกาศสัญญาการออกแบบและการสร้างวงเงิน 647.6 million Euros($687.8 million) ในปี 2019 
โดยการสร้างถูกดำเนินการโดยบริษัทย่อยในเครือ RMC บริษัท RMC Defence ฟินแลนด์ เรือคอร์เวตจะถูกสร้างในโรงประกอบที่เพิ่งถูกสร้างเสร็จเมื่อเร็วๆนี้ที่ถูกสร้างโดยเฉพาะสำหรับโครงการ Squadron 2020 ที่มีขนาด 180x40x30m โดยมีชั้นพื้นที่ประมาณ 13,000sqm

ภายใต้การวางแผนปัจจุบัน เรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa ลำแรกคาดว่าจะเริ่มต้นการทดลองเรือในทะเลในปี 2026 โดยเรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa ทั้ง 4ลำจะถูกส่งมอบภายในปี 2029
เรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa มีตัวเรือแบบเหล็กกล้า monohull มีความยาวเรือรวม 117m กว้าง 16m และกินน้ำลึก 5m และจะรองรับกำลังพลประจำเรือที่ 70นาย

เรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa ติดตั้งระบบขับเคลื่อนรูปแบบเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้าและ gas-turbine(CODLAG: Combined Diesel-electric and Gas-turbine) สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 26knots และมีระยะเวลาปฏิบัติการนาน 14วัน
คุณลักษณะการออกแบบรวมถึงตัวเรือเสริมความแข็งแกร่งต่อน้ำแข็งเทียบเท่าชั้น 1A class ที่จะทำให้เรือจะปฏิบัติการในเขต Baltic ตลอดวงรอบปีในทุกสภาวะได้

เรือคอร์เวตชั้น Pohjanmaa ระวางขับน้ำที่ประมาณ 4,300tonnes จะติดตั้งระบบอำนวยการรบ 9LV, radar ตรวจการณ์ Sea Giraffe 4A และ Sea Giraffe 1X และระบบควบคุมการยิง Ceros 200 จากบริษัท Saab สวีเดน และ sonar ตัวเรือจากบริษัท Kongsberg นอร์เวย์ 
ระบบอาวุธรวมถึงปืนเรือ Bofors 57mm Mk3, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Gabriel V อิสราเอล, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM 32นัดในแท่นยิง Mk41 VLS(Vertical Launching System) 8ท่อยิง, torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Saab Torped 47 และทุ่นระเบิดทะเลครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567

สหรัฐทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกตชั้น Constellation ลำแรก FFG-62 USS Constellation

Keel laid for Constellation-class guided-missile frigate lead ship





The keel was laid for guided-missile frigate Constellation , the lead ship for the new class of surface ships. (US Navy)



พิธีวางกระดูงูเรือของเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Constellation ใหม่ลำแรก เรือฟริเกต FFG-62 USS Constellation ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2024 ที่ผ่านมา กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ยืนยัน
การพูดคุย ณ พิธีวางกระดูกงูเรือในวันเดียวกัน รัฐมนตรีทบวงกองทัพเรือสหรัฐฯ Carlo Del Toro เน้นความจำเป็นที่จะต้องเสริมกองเรือด้วยเรืออย่างเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี FFG โดยเฉพาะกับเหตุการณ์ล่าสุดในทะเลแดง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/f361-hdms-iver-huitfeldt.html)

"เรือฟริเกต USS Constellation และเรือฟริเกตชั้น Constellation เป็นก้าวย่างต่อไปที่สำคัญยิ่งในการปรับปรุงความทันสมัยของกองเรือผิวน้ำของเรา การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เล่นในสนามที่มีอยู่แล้วทั่วโลกสำหรับผู้บัญชาการกองเรือและเรือรบของเรา
ตามเหตุการณ์ล่าสุดในทะเลแดงและอินโด-แปซิฟิกได้แสดงถึง เรือ, เรือดำน้ำ, อากาศยาน, ลูกเรือ และนาวิกโยธินของเราอยู่ในความต้องการสูงโดยผู้สร้างการตัดสินใจของชาติเรา" Del Toro กล่าวในระหว่างการปราศรัยของเขา ตามข้อมูลกองทัพเรือสหรัฐฯ

การเป็นพยานก่อนหน้าเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024 ต่อคณะกรรมาธิการการจัดสรรงบประมาณ(HAC: House Appropriations Committee) สภา Congress สหรัฐฯ
Del Toro เน้นย้ำถึงบางส่วนของการยกระดับทางวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับกองเรือได้มีความคืบหน้าในโครงการเรือฟริเกตชั้น Constellation(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/constellation.html)

"การริเริ่มของเราเกี่ยวกับการป้องกันทาง cyber เรือผิวน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินการปฏิบัติภารกิจที่ซับซ้อนต่างๆในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน เรามีทีมชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินการศึกษานี้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกองเรือ
ในฐานะส่วนหนึ่งของการริเริ่มนี้ เรามได้บูรณาการความต้องการการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงทาง Cyber เข้ากับเรือฟริเกตชั้น Constellation ใหม่ในฐานะคุณลักษณะที่สำคัญ ณ การเริ่มต้นของโครงการ" เขาเป็นพยาน 

"โครงการมีกำหนดการการทดสอบการบูรณาการช่วงต้นที่สถานีทดสอบภาคพื้นดินที่มีความพร้อม เรามีจุดประสงค์สำหรับการทดสอดสอบต่างๆเหล่านี้
เพื่อจะประเมินการควบคุมความปลอดภัยทาง cyber เครือข่าย และลดความเสี่ยงการบูรณาการสิ่งอุปกรณ์ประจำเรือสำหรับอุปกรณ์ที่ติดตั้งของรัฐบาลและผู้รับสัญญา" เขากล่าว

เรือฟริเกตชั้น Constellation มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น Bergamini FREMM(Frégate Européenne Multi-Mission) ของกองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, Marina Militare) เรือฟริเกตชั้น Constellation จำนวน 4ลำที่ได้รับการตั้งชื่อแล้ว 
ลำแรกเรือฟริเกต FFG-62 USS Constellation, ลำที่สองเรือฟริเกต FFG-63 USS Congress, ลำที่สามเรือฟริเกต FFG-64 USS Chesapeake และลำที่สี่เรือฟริเกต FFG-65 USS Lafayette กำลังได้รับการสร้างสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯที่อู่เรือบริษัท Fincantieri Marinette Marine สหรัฐฯโดยมีแผนการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมอีก 16ลำครับ