Royal Thai Navy OPV-551 HTMS Krabi offshore patrol vessel at International Fleet Review JEJU 2018, 11 October 2018(https://www.facebook.com/koreadefence/posts/1807206082661543)
https://aagth1.blogspot.com/2018/10/international-fleet-review-jeju-2018.html
Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction and painting at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, October 2018
Thailand Shipbulider's Bangkok Dock Company(State owned company) in progressing to offer new 3 Offshore Patrol Vessels for Sri Lanka Navy.
https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bangkok-dock-opv.htmlกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารบริษัทฯ เข้าร่วมต้อนรับ นาย Ruwan Wijewardene ผช.รมว.กห.ศรีลังกา ในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชม กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย (Royal Thai Navy)
และโครงการก่อสร้างเรือหลวงตรัง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการสร้าง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โครงการเรือหลวงตรัง เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 ต่อจากชุดเรือหลวงกระบี่ เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือของกองทัพเรือโดยบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด รัฐวิสาหกิจในความควบคุมของกองทัพเรือ เป็นผู้เสนอแบบ และ จัดหาวัสดุในการต่อเรือให้กับกองทัพเรือ ...
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2017385714989355&id=206569599404318
ตามที่ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock Company) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของไทยได้เสนอโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน ๓ลำแก่กองทัพเรือศรีลังกา โดยได้มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และคณะผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมศรีลังกา
รวมถึงการเยี่ยมชมความคืบหน้าการสร้าง ร.ล.ตรัง ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สองที่ต่อภายในไทย ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อแสดงถึงขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย
นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความมั่นใจของมิตรประเทศที่มีต่อไทยแล้ว ถ้าศรีลังกาลงนามสัญญาจัดหาเรือจากไทยจริงก็จะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยไปอีกขั้น ในอนาคตก็จำเป็นที่ภาคเอกชนและกองทัพเรือไทยต้องขยายความพร้อมของสถานที่และเครื่องมือในหลายๆด้านครับ
Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel on water filled in dry dock at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, October 2018
ปล่อยน้ำเข้าอู่แห้ง เพื่อตรวจรั่ว
อรม. ทดลองปล่อยน้ำเข้าอู่แห้งเพื่อตรวจรั่ว ก่อนที่จะนำเรือลงน้ำเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ต่อไป
การก่อสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่๒ เรือหลวงตรัง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ก็มีความคืบหน้ามากขึ้นในการทาสี และประกอบชิ้นส่วนหลักของตัวเรือ และเริ่มปล่อยนำเข้าอู่แห้งเพื่อตรวจสอบหารอยรั่วที่ตัวเรือก่อนนำเรือลงน้ำต่อไป
อย่างไรก็ตามพิธีปล่อยเรือลง ร.ล.ตรัง นั้นยังคงไม่ใช่ในเร็วๆนี้ครับ เพราะงานประกอบและทำสียังคงแล้วไม่เสร็จทั้งหมด โดยหลังจากที่เรือถูกปล่อยลงน้ำแล้ว การติดตั้งอุปกรณ์หรืองานเพิ่มเติมอื่นก็ยังจะคงต้องนำเรือเข้าออกอู่แห้งเช่นเดียวกับการต่อ ร.ล.กระบี่ ก่อนหน้า
ด้วยข้อจำการของสิ่งอำนวยความสะดวกของอู่มหิดลฯ ทำให้ต้องแบ่ง Block ตัวเรือเป็นชิ้นย่อยจำนวนมากกว่าที่บริษัท BAE Systems ออกแบบไว้ รวมถึงระบบหลักทั้งระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์ไม่รวมอาวุธที่ยังต้องจัดหาจากต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้ราคาในการสร้างเรือในไทยยังสูงอยู่ครับ
BMT Wins Consulting Engineering Contract in Thailand to Support Royal Thai Navy Midget Submarine Programme
กองทัพเรือได้เซนต์สัญญากับบริษัท BMT ให้เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและการจัดการความเสี่ยงในการออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก
ตามที่กองทัพเรืออนุมัติให้เริ่มโครงการวิจัยพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็ก หรือ midget submarine ซึ่งได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ เดือน กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา
การดำเนินโครงการวิจัยพัฒนา ใช้เวลา ทั้งสิ้น ๗ ปี แบ่งเป็น ๔ ขั้น ประกอบด้วย ขั้นการออกแบบ(ใช้เวลา ๔ ปี) ขั้นการสร้างเรือดำน้ำต้นแบบ (ใช้เวลา ๑ ปี) ขั้นการทดสอบทดลองใช้งาน(ใช้เวลา ๒ ปี)
โดยกองทัพเรือ มีแผนที่จะนำมาใช้งานในด้าน การข่าวและสนับสนุนปฏิบัติการพิเศษของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ(หรือ หน่วยซีล_SEAL)
ปัจจุบันคณะทำงานวิจัยนำโดย นาวาเอก สัตยา จันทรประภา ได้เริ่มดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็กแล้วในขั้นที่ ๑ ขั้นการออกแบบ ทั้งนี้การออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือ คณะทำงานจะเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดทั้งหมดเพื่อให้ตรงความต้องการการใช้งานของกองทัพเรือ
โดยมี บริษัท BMT เป็นผู้ตรวจสอบแบบให้มีความถูกต้อง บริหารความเสี่ยงเช่น ความแข็งแรงของตัวเรือ การทรงตัว และความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งเป็นผู้รับรองแบบว่าผ่านมาตรฐานสากลการออกแบบเรือ
เรือดำน้ำขนาดเล็กที่คณะทำงานตั้งเป้าหมายไว้ จะมีขนาดระวางขับน้ำประมาณ ๑๕๐ ตัน ถึง ๓๐๐ ตัน มีระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ไมล์ทะเล หรือ สามารถเดินทางจากฐานทัพเรือสัตหีบไปถึงสุดขอบอาณาเขตทางทะเลฝั่งอ่าวไทยได้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2042273619143975&id=222887361082619
https://www.facebook.com/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ-222887361082619/
ตามที่ BMT สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาจากกองทัพเรือไทยเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ที่มีการลงนามไปตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น
ตามที่กองทัพเรืออนุมัติให้เริ่มโครงการวิจัยพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็ก หรือ midget submarine ซึ่งได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ เดือน กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา
การดำเนินโครงการวิจัยพัฒนา ใช้เวลา ทั้งสิ้น ๗ ปี แบ่งเป็น ๔ ขั้น ประกอบด้วย ขั้นการออกแบบ(ใช้เวลา ๔ ปี) ขั้นการสร้างเรือดำน้ำต้นแบบ (ใช้เวลา ๑ ปี) ขั้นการทดสอบทดลองใช้งาน(ใช้เวลา ๒ ปี)
โดยกองทัพเรือ มีแผนที่จะนำมาใช้งานในด้าน การข่าวและสนับสนุนปฏิบัติการพิเศษของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ(หรือ หน่วยซีล_SEAL)
ปัจจุบันคณะทำงานวิจัยนำโดย นาวาเอก สัตยา จันทรประภา ได้เริ่มดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็กแล้วในขั้นที่ ๑ ขั้นการออกแบบ ทั้งนี้การออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือ คณะทำงานจะเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดทั้งหมดเพื่อให้ตรงความต้องการการใช้งานของกองทัพเรือ
โดยมี บริษัท BMT เป็นผู้ตรวจสอบแบบให้มีความถูกต้อง บริหารความเสี่ยงเช่น ความแข็งแรงของตัวเรือ การทรงตัว และความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งเป็นผู้รับรองแบบว่าผ่านมาตรฐานสากลการออกแบบเรือ
เรือดำน้ำขนาดเล็กที่คณะทำงานตั้งเป้าหมายไว้ จะมีขนาดระวางขับน้ำประมาณ ๑๕๐ ตัน ถึง ๓๐๐ ตัน มีระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ไมล์ทะเล หรือ สามารถเดินทางจากฐานทัพเรือสัตหีบไปถึงสุดขอบอาณาเขตทางทะเลฝั่งอ่าวไทยได้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2042273619143975&id=222887361082619
https://www.facebook.com/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ-222887361082619/
ตามที่ BMT สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาจากกองทัพเรือไทยเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ที่มีการลงนามไปตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น
ส่วนตัวมองว่าเป็นหนึ่งในการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือไทยด้านวิทยาการเรือดำน้ำ นอกจากโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำจากจีนที่มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งเป็นวันเรือดำน้ำไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)
ถึงแม้ว่าจะเร็วเกินไปที่จะเห็นได้ชัดว่าเรือดำน้ำขนาดเล็กจะออกมาในรูปแบบใดและนำไปใช้งานทางยุทธการได้หรือไม่ แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งต่อการสร้างกระแสที่มาจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองที่ต้องการจะล้มโครงการจัดหาเรือดำน้ำให้กองทัพเรือเสียงบประมาณและความน่าเชื่อถือครับ
Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office was handed over ceremony of Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle to Royal Thai Marine Corps Division Headquarters for trial evaluation, 20 September 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc_22.html)
ประเด็นที่ทางคณะนายทหารกองทัพเรือไทยไปดูงานที่ UkrOboronProm รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของยูเครน โดยทางยูเครนออกมาแถลงว่านาวิกโยธินไทยสนใจยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก BTR-4MV1 รุ่นใหม่นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/btr-4mv1.html)
ทำให้มีเสียงวิจารณ์ว่า นาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทยคงจะไม่เอายานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI เข้าประจำการเสียแล้ว
แต่ในความเป็นจริงนั้นคณะของ นย.ไทย ไปชมงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Arms and Security 2018 ที่ยูเครน ๙-๑๒ ตุลาคม เพื่อศึกษาข้อมูลก่อนทำการคัดเลือกแบบจัดซื้ออาวุธอื่นที่ไม่ใช่ยานเกราะล้อยาง และจะเดินทางไปอีกหลายๆประเทศเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลมาเป็นข้อกำหนดโครงการ
การที่ยูเครนแถลงความสนใจของนาวิกโยธินไทยต่อยานเกราะล้อยาง BTR-4MV1 ก็เป็นความพยายามหนึ่งของยูเครนที่จะเสนอขายอาวุธให้กับมิตรประเทศอย่างไทยเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของตนที่เผชิญกับปัญหาต่างๆมานานเช่นสงครามกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียใน Donbass
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าตัวแทนเอกชนบางรายที่ขายอาวุธให้กองทัพไทยนั้นยังคงใช้วิธีเล่นธุรกิจนอกกติกา เช่นกรณีหน่วยงานภาครัฐของไทยชนะคดีฟ้องร้องบริษัทหนึ่งที่เป็นตัวแทนขายเครื่องตรวจระเบิดแต่ทนายบริษัทสู้คดีโดยบอกว่าบริษัทเป็นผู้ขายอย่างเดียวจึงไม่ทราบว่าเครื่องใช้งานไม่ได้
โดยปล่อยข่าวโจมตีเล่นงานคู่แข่งว่ายานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก DTI AAPC 8x8 ที่เอกชนไทยจะผลิตเป็นเพียงยานเกราะล้อยาง Terrex สิงคโปร์ที่ทำการประกอบในไทยเท่านั้น ซึ่งนาวิกโยธินไทยทราบดีถึงปัญหาแต่ถูกบังคับให้เลือก เป็นการสะท้อนถึงการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงครับ
ตามที่ได้รายงานนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2018) ถึงการปรับอัตราและโครงสร้างหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ นสร.กร.(Royal Thai Navy SEALs) โดยเพิ่มขนาดกำลังเป็น ๒กรมรบพิเศษ(Alfa Force และ Charlie Force)
ซึ่งให้นำอัตราจาก ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ศฝท.ยศ.ทร.มาปรับกลี่ยเป็นอัตรา กรมรบพิเศษที่๒ ทำให้กำลังพลในส่วนกองทัพเรือบางนายก็มีการแสดงความเห็นกังวลอยู่ว่าจะทำให้การฝึกทหารกองประจำการใหม่ในส่วนของกองทัพเรืออาจจะมีปัญหาตามมาบางประการ
แต่การขยายกำลังนักทำลายใต้น้ำจู่โจมหรือที่รู้จักในชื่อ 'มนุษย์กบ' ก็สะท้อนถึงความจำเป็นต่อปฏิบัติการสงครามนอกแบบและการต่อต้านการก่อการร้าย(เป็นข้อมูลปกปิดไม่พึ่งเปิดเผย) รวมถึงภารกิจการช่วยเหลือประชาชน ที่กำลังพลของ นสร.ในปัจจุบันไม่เพียงพอเพราะรับงานมากจนตึงมือ
ก็เช่นเดียวกับที่การขยาย นสร.เป็น ๒กรมรบพิเศษ ที่จะต้องมีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่รองรับการเพิ่มขยายหน่วย ด้าน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ก็มีการปรับอัตราและโครงสร้างรองรับอาวุธยุทโธปกรณ์และภารกิจใหม่เช่นกัน
โดยการเพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง(Medium-Range Surface-to-Air Missile) และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล(Medium-to-Long-Range Anti-Ship Missile) ฐานยิงบนฝั่ง นั้น
ก็เป็นที่ชัดเจนว่าปืนใหญ่สนามและปืนใหญ่ต่อสู้อากาศที่ สอ.รฝ.มีประจำการในปัจจุบันคงจะรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตไม่ได้แล้ว แต่ก็มีคำถามตามมาว่าด้วยงบประมาณที่กองทัพเรือไทยมีจำกัด สอ.รฝ.จะจัดการระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่างๆที่ปัจจุบันมีราคาแพงตามความต้องการได้หรือไม่ครับ
Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy or knows as Royal Thai Navy SEALs during Helicopter, Visit, Board, Search, and Seizure (HVBSS) exercise(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html)
ตามที่ได้รายงานนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2018) ถึงการปรับอัตราและโครงสร้างหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ นสร.กร.(Royal Thai Navy SEALs) โดยเพิ่มขนาดกำลังเป็น ๒กรมรบพิเศษ(Alfa Force และ Charlie Force)
ซึ่งให้นำอัตราจาก ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ศฝท.ยศ.ทร.มาปรับกลี่ยเป็นอัตรา กรมรบพิเศษที่๒ ทำให้กำลังพลในส่วนกองทัพเรือบางนายก็มีการแสดงความเห็นกังวลอยู่ว่าจะทำให้การฝึกทหารกองประจำการใหม่ในส่วนของกองทัพเรืออาจจะมีปัญหาตามมาบางประการ
แต่การขยายกำลังนักทำลายใต้น้ำจู่โจมหรือที่รู้จักในชื่อ 'มนุษย์กบ' ก็สะท้อนถึงความจำเป็นต่อปฏิบัติการสงครามนอกแบบและการต่อต้านการก่อการร้าย(เป็นข้อมูลปกปิดไม่พึ่งเปิดเผย) รวมถึงภารกิจการช่วยเหลือประชาชน ที่กำลังพลของ นสร.ในปัจจุบันไม่เพียงพอเพราะรับงานมากจนตึงมือ
ก็เช่นเดียวกับที่การขยาย นสร.เป็น ๒กรมรบพิเศษ ที่จะต้องมีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่รองรับการเพิ่มขยายหน่วย ด้าน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ก็มีการปรับอัตราและโครงสร้างรองรับอาวุธยุทโธปกรณ์และภารกิจใหม่เช่นกัน
โดยการเพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง(Medium-Range Surface-to-Air Missile) และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล(Medium-to-Long-Range Anti-Ship Missile) ฐานยิงบนฝั่ง นั้น
ก็เป็นที่ชัดเจนว่าปืนใหญ่สนามและปืนใหญ่ต่อสู้อากาศที่ สอ.รฝ.มีประจำการในปัจจุบันคงจะรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตไม่ได้แล้ว แต่ก็มีคำถามตามมาว่าด้วยงบประมาณที่กองทัพเรือไทยมีจำกัด สอ.รฝ.จะจัดการระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่างๆที่ปัจจุบันมีราคาแพงตามความต้องการได้หรือไม่ครับ
Airbus Helicopters H145M with HForce weapon system and L3 WESCAM MX-15 Electro-Optic/Infrared/Laser sensor
Airbus Helicopters H145M 202nd Squadron, Wing 2, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy was test firing FN MAG 58F side door machineguns, 17 January 2018(https://www.facebook.com/squadron202/posts/2052461324982974)
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopters H145M(EC645 T2 ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย ๕เครื่องที่ได้มีการจัดหาเข้าประจำการไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/h145m.html)
การปรับปรุงที่คาดว่าจะมีขึ้นหลังการติดตั้งปืนกลอากาศ FN MAG 58F 7.62x51mm บนแท่นยิงอาวุธข้างประตูห้องโดยสารทั้งสองข้างของเครื่อง คือการติดตั้งกล้อง Electro-Optic/Infrared(EO/IR) เช่น L3 WESCAM MX-15 แคนาดา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจการณ์และพิสูจน์ทราบ
เมื่อรวมกับระบบอาวุธ HForce ที่พัฒนาโดยบริษัท Airbus Helicopters สำหรับ ฮ.ลล.๖ H145M (https://aagth1.blogspot.com/2017/09/airbus-h145m-hforce.html) ก็จะสามารถนำมาสนับสนุนกำลังนาวิกโยธินหรือ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ(Royal Thai Navy SEAL) ได้ครับ
The Royal Thai Air Force receives two new Airbus Helicopters H225Ms for combat search and rescue, search and rescue flights and troop transport missions.
ตามที่บริษัท Airbus Helicopters ได้แถลงการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725 ชุดใหม่ ๒เครื่องแก่กองทัพอากาศไทย ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๓ ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
ทำให้ปัจจุบัน ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ มี ฮ.๑๑ ประจำการรวมแล้ว ๘เครื่อง โดยเมื่อรวมกับการจัดหาระยะที่๔ ๔เครื่อง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html) ที่คาดว่าจะส่งมอบภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) รวมทั้งหมด ๑๒เครื่อง
ฝูงบิน๒๐๓ ยังคงมีเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H Huey ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑(1968) อยู่ ทำให้เข้าใจในการจัดหา ฮ.๑๑ EC725 ทดแทนในภารกิจค้นหากู้ภัยนั้น ควรจะต้องมีโครงการจัดหาระยะที่๕ ตามมาอีก ๔เครื่องให้ครบความต้องการ ๑๖เครื่องครับ
Lizard A family of Laser-based and GPS Precision Guidance Kits for General Purpose Bombs has been ordered by Royal Thai Air Force
Royal Thai Air Force F-5ST Super Tigris SMART Weapons include IRIS-T, Python-5, Derby and LIZARD 3
เอกสารจัดซื้อจัดจ้างในส่วน กรมสรรพาวุธทหารอากาศ กองทัพอากาศไทยได้ระบุถึงโครงการจัดซื้อชุดอุปกรณ์นำวิถี(Laser Guidance Kits) พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนจากบริษัท Elbit Systems Ltd. อิสราเอล เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
เป็นที่เข้าใจว่าน่าจะเป็นการจัดหาชุดนำวิถี Laser แบบ Lizard 3 สำหรับติดตั้งกับลูกระเบิดทำลายตระกูล Mk80s ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่ F-5ST Super Tigris โดย Elbit อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
ระเบิดวิถี Laser ตระกูล Lizard มีระบบตรวจจับและขั้นตอนการติดตามเป้าหมายขั้นก้าวหน้าสามารถใช้งานได้ในสภาพอากาศเลวร้ายที่สุด สามารถโจมตีเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในระยะไกลอย่างแม่นยำ ซึ่งระเบิดนำวิถี Laser Paveway II ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้ยังทำไม่ได้ครับ