วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์กองทัพเรือไทยติดตั้งปืนเรือ 76/62 Super Rapid




Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel was equipped Leonardo (OTO Melara) 76/62 Super Rapid Multifeed naval gun at at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, February 2019

หล่อไหมครับผม
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ติดตั้งปืน 76/62 Super Rapid Multifeed เป็นอีกอย่างที่จะทำให้เรือลำนี้แตกต่างไปจาก ร.ล.กระบี่ ครับ
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/2086039724767244

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ มีความคืบหน้าการสร้งเรือ ณ  ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่มีการเผยแพร่ภาพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นั้น
ล่าสุด ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการติดตั้งปืนเรือแบบ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed ขนาด 76mm/62caliber จากบริษัท Leonardo อิตาลี (มี OTO Melara อยู่ในเครือบริษัท) โดยทำหน้าที่เป็นปืนหลักของ
ระบบอาวุธของ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ยังประกอบด้วย ปืนรองแบบ MSI DS30MR ขนาด 30mm ๒กระบอกจากสหราชอาณาจักร, ปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84L Harpoon Block II ๒แท่นยิง จำนวนรวม ๘นัด

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.กระบี่ ที่ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013) นั้น ติดตั้งปืนเรือแบบ Oto Melara 76/62 Compact Refurbished ซึ่งเป็นปืนเก่าที่นำมาปรับปรุงคืนสภาพเหมือนออกจากโรงงานใหม่ โดยมีอัตราการยิงที่ ๘๐นัดต่อนาที
ขณะที่ปืนเรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed เป็นปืนที่สร้างใหม่ทั้งหมด โดยมีอัตราการยิงถึง ๑๒๐นัดต่อนาที และสามารถเลือกการใช้กระสุนได้หลายรูปแบบ รวมถึงกระสุนนำวิถีดาวเทียม/แรงเฉื่อย GPS/INS แบบ VULCANO ระยะยิง 40km สำหรับเป้าหมายภาคพื้นดินใกล้ชายฝั่ง
ปืนเรือ 76/62 Super Rapid Multifeed ยังใช้รูปทรงป้อมปืนแบบตรวจจับได้ยาก Stealth ลดการสะท้อนคลื่น Radar โดย บริษัท Leonardo อิตาลี ก็ได้มีการยิงทดสอบปืนเรือของ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สองเดิมจะมีชื่อว่าเรือหลวงตรัง ซึ่งต่อมาพระราชทานชื่อเรือใหม่เป็น เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นไปตามพระราชวินิจฉัยที่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจะใช้หลักการตั้งชื่อเรือเช่นเดียวกับเรือเร็วโจมตีปืนคือตั้งชื่อตามจังหวัดชายทะเล
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกนำออกจากอู่แห้งเพื่อการติดตั้งระบบต่างๆ(Setting to work) หน้าท่า แและคาดว่ามีการนำเรือเข้าออกอู่แห้งเพื่อติดตั้งระบบอุปกรณ์และทำงานต่างๆเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง
คาดว่าเรือจะมีการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ และจะมีการรับมอบเรือและทำพิธีขึ้นระวางประจำการได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นการเพิ่มจำนวนเรือ ตกก.จากชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส กับ ร.ล.กระบี่ รวม ๔ลำ

ทั้งนี้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ใช้แบบแผนเรือ 90m OPV จากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(BVT Surface Fleet เดิม) ที่บริษัท อู่กรุงเทพ Bangkok Dock ไทยได้จัดซื้อสิทธิบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) โดยกองทัพเรือไทยยังมีต้องการเรือ ตกก.ใหม่เพิ่มอีก ๒ลำ รวมเป็น ๖ลำ
ซึ่ง ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นเรือลำที่สองของชุดที่ต่อเรือที่อู่มหิดลฯในไทยเช่นเดียวกับ ร.ล.กระบี่ ที่เป็นลำแรก โดย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้มีการปรับเปลี่ยนแบบเรืออย่างมากให้รองรับอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon และขยายลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.ขนาด 10tons
ตามนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในของไทยโดยรัฐบาลไทย บริษัทอู่กรุงเทพกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน ๓ลำ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ล้านบาท($362.61 million) ให้กับกองทัพเรือศรีลังกา(Sri Lanka Navy) ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bangkok-dock-opv.html)