FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej and CVH-911 HTMS Chakri Naruebet at Chuk Samet pier, Sattahip Naval Base, Royal Thai Navy in 7 January 2019
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1518297048273401
Royal Thai Navy's new frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej sailed to Chuk Samet pier, Sattahip Naval Base, Sattahip District, Chonburi Province, Thailand for welcome ceremony in 7 January 2019
Presentation Clip: Welcome home H.T.M.S.Bhumibol Adulyadej
https://www.facebook.com/kawin.prayoonyuang/videos/10161338468825603/
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช - ร.ล.จักรีนฤเบศร
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ขณะแล่นเพื่อเข้าท่าเรือจุกเสม็ด เมื่อเวลา 16.34 น. วันจันทร์ที่ 7 ม.ค. 2562
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ..ซึ่งมีความหมายของ ภูมิพล หมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน” อดุลยเดช หมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” .เขี้ยวเล็บใหม่ของราชนาวีไทย งามสง่า สมรรถนะสูง อาวุธทันสมัยครบทุกมิติ...ชาวไทยภูมิใจ ... Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1518748758228230
พิธีต้อนรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) โดยจะเข้าประจำการใน กองเรือฟริเกตที่๑ กองเรือยุทธการ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/blog-post_7.html)
นับเป็นเรือฟริเกตชุดใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือไทยที่มีความทันสมัยสูงระดับเทียบเท่าเรือพิฆาต ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือใหม่จากเดิมคือเรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) มาเป็น ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช นับเป็นสิริมงคลอย่างหาที่สุดมิได้ต่อกำลังพลชุดรับเรือและกองทัพเรือไทย
ตั้งแต่พิธีส่งมอบเรือเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/blog-post_16.html) เรือได้ออกเดินทางจากสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ จนมาถึงน่านน้ำไทยในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒
โดยวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๒ กองทัพเรือไทยได้จัดกระบวนเรือต้อนรับ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วย เรือฟริเกตชุดสองลำคือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน และเรือคอร์เวตหนึ่งลำคือ ร.ล.รัตนโกสินทร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/blog-post_6.html)
ตามที่บริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีผู้สร้างและเจ้าของแบบเรือ DW3000H หวังที่จะได้รับสัญญาจัดหาลำที่สองจากกองทัพเรือไทยที่จะมีการถ่ายทอด Technology การสร้างในไทย ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)
แม้ว่าด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้โครงการจัดหาและสร้างเรือในประเทศของกองทัพเรือไทยจะค่อนข้างล่าช้ากว่าที่จะจัดหามาได้ครบตามความต้องการทางยุทธการก็ตาม แต่ก็หวังว่าสำหรับเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองจะมีความคืบหน้าในการจัดหาต่อไปในอนาคตครับ
Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, January 2019.
HTMS Trang has renamed to OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan to be delivered and commissioned in July 2019.
นอกจาก เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะได้รับพระราชทานชื่อใหม่ ว่า “ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช” แล้ว เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 หรือ ร.ล.ตรัง เดิม ได้รับพระราชทานชื่อใหม่เช่นเดียวกัน คือ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์
“ด่านหน้า กล้าหาญ” “Frontier Fearless”
Motto ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 ที่ ทร. โดยอู่ราชนาวีมหิดลฯ ร่วมกับ บริษัทอู่กรุงเทพจำกัด ต่อขึ้นเองในประเทศ โดยพัฒนาแบบจาก ร.ล.กระบี่ เดิม เพื่อขยายขีดความสามารถให้มากขึ้น
กำหนดการปล่อยเรือลงน้ำ ห้วง เม.ย.62 และ กำหนดรับมอบและขึ้นระวางประจำการ ใน ก.ค.62
H.T.M.S. Prachuap Khiri Khan OPV-552
โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สองคือ เรือหลวงตรัง ที่กำลังอยู่ระหว่างการสร้าง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี นั้นก็ได้รับการพระราชทานชื่อเรือใหม่เป็น เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์
หลังที่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์(ร.ล.ตรัง เดิม) ออกจากอู่แห้งเพื่อการติดตั้งระบบต่างๆหน้าท่านั้น คาดว่าเรือจะมีการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) แลจะมีการรับมอบเรือและทำพิธีขึ้นระวางประจำการได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒
หลักการตั้งชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือไทยนั้น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจะใช้หลักการเดียวกับเรือเร็วโจมตีปืนคือตั้งชื่อตามจังหวัดชายทะเล โดยนอกจากจะเป็นไปตามพระราชวินิจฉัยแล้ว ในอนาคตหลักการตั้งชื่อเรือหลวงตามประเภทเรือก็น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่แบบเรือเปลี่ยนไปครับ
Royal Thai Navy's Helicopter Carrier CVH-911 HTMS Chakri Naruebet with two Bell 212, one Sikorsky SH-60B Seahawk and one Airbus Helicopters H145M at Sattahip Naval Base
prepared for Humanitarian Aid and Disaster Relief (HADR) mission from Tropical Storm Pabuk, January 2019.
ตามที่กองทัพเรือได้สั่งการให้จัดกำลังหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณะภัยทางทะเล โดยมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นเรือธง ประกอบกำลังเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๒ Bell 212 ๒เครื่อง, ฮ.ลล.๖ H145M ๑เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B ๑เครื่องนั้น
ก็นับว่าเป็นโชคดีที่ความเสียหายจากพายุโซนร้อนปาบึกที่เข้าภาคใต้ของไทยไม่ได้รุนแรงมากตามที่ประเมินในกรณีเลวร้ายที่สุด ร.ล.จักรีนฤเบศร จึงยังคงจอดเรือเตรียมการ ณ ฐานทัพเรือสัตหีบ จนถึงในช่วงที่มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒
แต่ทว่ากองทัพเรือกลับถูกโจมตีจากนักวิชาการที่ไม่ประสงค์ดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณว่าไม่มีความจริงใจที่จะออกเรือไปช่วยประชาชนเพราะไม่มีเงินค่าเชื้อเพลิงเป็นเรือที่จอดไว้เฉยๆสิ้นเปลืองภาษี ซึ่งเป็นการใส่ร้ายกองทัพเรือทั้งที่เคยปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนมาแล้วหลายครั้งครับ
LHD-2 USS Essex the US Navy Waps-class Landing Helicopter Dock with aboard US Marine Corps F-35B VMFA-211 STOVL (Short Takeoff and Vertical Landing) fighters at Phuket, Thailand, 24-29 January 2019
https://www.facebook.com/navy24hour/posts/2320923364586934
แม้ว่าการมาเยือนภูเก็ต ในส่วนกองเรือภาคที่๓ ของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHD-2 USS Essex กองทัพเรือสหรัฐฯ จะเป็นการเยี่ยมเพื่อแวะพักผ่อนไม่เกี่ยวกับการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2019 ที่จะมีขึ้นในช่วงวันที่ ๑๒-๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
แต่การที่เรือมีเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II ของฝูงบิน VMFA-211 นาวิกโยธินสหรัฐฯวางกำลังไว้บนเรือนั้น ก็เป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35 มาที่ประเทศไทยและได้รับการเข้าเยี่ยมชมโดยเจ้าหน้านายทหารจากกองทัพเรือไทยและกองทัพอากาศไทยตามภาพ
ตามที่ได้วิเคราะห์ไปว่า F-35B ที่มีน้ำหนักบินขึ้นลงจอดทางดิ่ง 40,500lbs(18tons) สามารถลงจอดและบินขึ้นจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ที่รองรับ ฮ.ลำเลียง CH-47 Chinook หนัก 20tons ได้(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35b-av-8b.html) แต่กองทัพเรือคงไม่น่าจะมีแนวคิดจัดหาครับ
LHD-2 USS Essex the US Navy Waps-class Landing Helicopter Dock with aboard US Marine Corps F-35B VMFA-211 STOVL (Short Takeoff and Vertical Landing) fighters at Phuket, Thailand, 24-29 January 2019
https://www.facebook.com/navy24hour/posts/2320923364586934
แม้ว่าการมาเยือนภูเก็ต ในส่วนกองเรือภาคที่๓ ของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHD-2 USS Essex กองทัพเรือสหรัฐฯ จะเป็นการเยี่ยมเพื่อแวะพักผ่อนไม่เกี่ยวกับการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2019 ที่จะมีขึ้นในช่วงวันที่ ๑๒-๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
แต่การที่เรือมีเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II ของฝูงบิน VMFA-211 นาวิกโยธินสหรัฐฯวางกำลังไว้บนเรือนั้น ก็เป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35 มาที่ประเทศไทยและได้รับการเข้าเยี่ยมชมโดยเจ้าหน้านายทหารจากกองทัพเรือไทยและกองทัพอากาศไทยตามภาพ
ตามที่ได้วิเคราะห์ไปว่า F-35B ที่มีน้ำหนักบินขึ้นลงจอดทางดิ่ง 40,500lbs(18tons) สามารถลงจอดและบินขึ้นจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ที่รองรับ ฮ.ลำเลียง CH-47 Chinook หนัก 20tons ได้(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35b-av-8b.html) แต่กองทัพเรือคงไม่น่าจะมีแนวคิดจัดหาครับ
Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office's Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle in trial serviced at Marines Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy
กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน ได้ทำการฝึก เบื้องต้นเฉพาะหน่วย ถ. ให้กับ พลทหารใหม่ รุ่นปี 2561 ผลัดที่ 2 เพื่อฝึกให้กำลังพล มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงาน อีกทั้งฝึกความอดทน ความสามัคคี ระเบียบวินัยองค์บุคคล เพื่อให้ได้คุณลักษณะ “ผู้นำ” ที่ดี
โดยมี น.ท.เอกรัฐ แช่มขุนทด ผู้บังคับกองพันรถถัง เป็นผู้อำนวยการฝึกในครั้งนี้
ตามที่สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.ได้ส่งมอบยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) ให้กับนาวิกโยธินไทยทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc_22.html)
ปัจจุบันยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 ที่ออกแบบพัฒนาและสร้างในไทยได้ถูกนำไปทดสอบการใช้งานจริงใน กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน ซึ่งได้ทำการฝึกกับทหารกองประจำการรุ่นปี ๒๕๖๑ ผลัด๒ แล้ว
ทั้งนี้ถ้าผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ ยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ก็น่าจะได้รับการสั่งจัดหาเพื่อเปิดสายการผลิตจำนวนมากต่อไปเข้าประจำการในกองพลนาวิกโยธินต่อไป โดยนี่ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กองทัพเรือไทยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศของไทยครับ
Military Expolsive Factory, Defence Industry Department, Defence Industry and Energy Center, Propellant Products include research and development of ammunition propellant for 30x165mm(ZTM-1 cannon on BTR-3E1) and 30x173mm(MSI DS30M naval gun) (My Own Photos)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html
พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. และคณะผู้บริหาร สทป. เข้าตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปแนวทางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง สทป.และ ทร.
ว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาการผลิตลูกปืนจริงขนาด 30 มม. ของกองทัพเรือเพื่อการรับรองมาตรฐานในการใช้งาน โดยได้รับเกียรติจาก พล.ร.ท.นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ จก.สพ.ทร. ให้การต้อนรับ ณ สพ.ทร. อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62
ในการนี้ สทป. ได้ส่งมอบลูกปืนฝึกขนาด 30 มม. ของ สทป.ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผลสมรรถนะตามมาตรฐาน เพื่อให้ ทร. ได้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
และพัฒนาต่อยอดให้ได้ลูกปืนจริง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการขับเคลื่อน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (New S-curve) ของ กห.ในระยะถัดไป
https://www.facebook.com/DTIPRThailand/posts/301976767017192
การพัฒนากระสุนฝึกขนาด 30x165mm ที่ใช้กับปืนใหญ่กล ZTM-1 ของยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 และขนาด 30x173mm ที่ใช้ปืนใหญ่กลเรือ MSI DS30M สปท. DTI ได้ร่วมกับ โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ได้มีการส่งมอบให้กองทัพเรือไทยทดสอบไปก่อนหน้า ก็ได้นำสู่การพัฒนาเป็นลูกจริงสำหรับใช้ในการรบรบ เป็นหนึ่งในการพัฒนาการพึ่งพาตนเองการผลิตกระสุนสำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีใช้งานในกองทัพไทยโดยกระทรวงกลาโหมไทยและกองทัพเรือไทยอีกโครงการ
ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการในที่ประชุมสภากลาโหมว่าให้กองทัพให้ความสำคัญกับการบูรณาการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างจริงจัง โดยย้ำขอให้ทุกเหล่าทัพพิจารณาจัดหายุทโธปกรณ์ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศเป็นลำดับแรกครับ
Military Expolsive Factory, Defence Industry Department, Defence Industry and Energy Center, Propellant Products include research and development of ammunition propellant for 30x165mm(ZTM-1 cannon on BTR-3E1) and 30x173mm(MSI DS30M naval gun) (My Own Photos)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html
พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. และคณะผู้บริหาร สทป. เข้าตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปแนวทางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง สทป.และ ทร.
ว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาการผลิตลูกปืนจริงขนาด 30 มม. ของกองทัพเรือเพื่อการรับรองมาตรฐานในการใช้งาน โดยได้รับเกียรติจาก พล.ร.ท.นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ จก.สพ.ทร. ให้การต้อนรับ ณ สพ.ทร. อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62
ในการนี้ สทป. ได้ส่งมอบลูกปืนฝึกขนาด 30 มม. ของ สทป.ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผลสมรรถนะตามมาตรฐาน เพื่อให้ ทร. ได้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
และพัฒนาต่อยอดให้ได้ลูกปืนจริง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการขับเคลื่อน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (New S-curve) ของ กห.ในระยะถัดไป
https://www.facebook.com/DTIPRThailand/posts/301976767017192
การพัฒนากระสุนฝึกขนาด 30x165mm ที่ใช้กับปืนใหญ่กล ZTM-1 ของยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 และขนาด 30x173mm ที่ใช้ปืนใหญ่กลเรือ MSI DS30M สปท. DTI ได้ร่วมกับ โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ได้มีการส่งมอบให้กองทัพเรือไทยทดสอบไปก่อนหน้า ก็ได้นำสู่การพัฒนาเป็นลูกจริงสำหรับใช้ในการรบรบ เป็นหนึ่งในการพัฒนาการพึ่งพาตนเองการผลิตกระสุนสำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีใช้งานในกองทัพไทยโดยกระทรวงกลาโหมไทยและกองทัพเรือไทยอีกโครงการ
ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการในที่ประชุมสภากลาโหมว่าให้กองทัพให้ความสำคัญกับการบูรณาการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างจริงจัง โดยย้ำขอให้ทุกเหล่าทัพพิจารณาจัดหายุทโธปกรณ์ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศเป็นลำดับแรกครับ
Delivery Ceremony of Royal Thai Army new batch Autonomous Truck Mounted Gun-ATMG 155mm/52caliber Self-Propelled Howitzer 6x6 and Autonomous Truck Mounted Mortar-ATMM 120mm Self-Propelled Mortar System all manufactured by Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Ministry of Defence Thailand in January 2019
ตามที่ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมไทย ได้ส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG 155mm/52cal และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง ATMM 120mm แก่กองทัพไทยในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒
ก็เป็นหนึ่งในผลงานความสำเร็จของภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในเพื่อพึ่งพาตนเองของไทย ที่ทั้งสองโครงการได้รับการถ่ายทอด Technology การสร้างในไทยโดยบริษัท Elbit Systems Land and C4I Ltd. อิสราเอล และมีการใช้ชิ้นส่วนประกอบภายในประเทศราวร้อยละ๔๐
แต่ทว่าโครงการพัฒนาสร้าง ป.อัตตาจร ATMG และ ค.อัตตาจร ATMM นี่กลับถูกโจมต่จากกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติว่าสิ้นเปลืองภาษีประชาชนมาสร้างอาวุธสะสมเล่นๆแทนที่จะไปแก้ปัญหาชายแดนอีสานใต้และชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการใส่ร้ายกองทัพบกในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยอย่างมากครับ
Royal Thai Army is looking to secure funds to procure 14 additional Norinco VT4 Main Battle Tanks.
สำหรับโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๓ จำนวน ๑๔คัน วงเงิน ๒,๓๙๒,๒๑๘,๐๗๐บาท($70,559,355) จาก Norinco สาธารณรัฐประชาชนจีน นั้นก็เป็นโครงการต่อเนื่องที่ยังรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยเพื่อให้กองพันทหารม้ารถถัง กองพลทหารม้าที่๓ มีรถเพียงพอในเบื้องต้น
อย่างไรก็ตามในความจำเป็นที่จะต้องทดแทนรถถังเบา M41A3 สหรัฐฯที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ซึ่งมีทยอยการจัดหา ถ.หลัก VT4 ที่ละ๑๐กว่าคันเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณนั้น ก็เป็นอีกโครงการที่กองทัพบกถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติว่าสิ้นเปลืองภาษีประชาชนเช่นกัน
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN มีการจัดหารถถังหลักใหม่ที่ทันสมัย(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/t-90s.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t-72b1ms.html) แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อบ้านเมืองพยายามจะบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติให้กองทัพอ่อนแอครับ
สำหรับโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ระยะที่๒ ชนิดต่างๆ ๕แบบจำนวน ๓๙คัน ที่รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ก็ถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติเช่นกันว่ากองทัพบกซื้อแต่อาวุธจีน ไม่สนับสนุนโครงการยานเกราะล้อยางของไทยเช่น DTI Black Widow Spider 8x8
ซึ่งไม่ได้มองตามความเป็นจริงเลยว่า ยานเกราะล้อยาง BWS 8x8 นั้นยังเป็นเพียงต้นแบบที่ไม่สมบูรณ์ในสมรรถนะหลายๆด้านเพื่อเข้าสายการผลิตได้ ขณะที่ กองพลทหารม้าที่๑ มีความต้องการยานเกราะล้อยางใหม่ในกองพันทหารม้าลาดตระเวนจำนวนมากเพื่อทดแทน V-150 4x4 ที่ใช้งานมานาน
ก็เห็นได้จากการส่งมอบรถถังหลัก VT4 ที่รวดเร็วว่าจีนขีดความสามารถในการผลิตที่สูงมาก อีกทั้งไทยและจีนก็มีแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่น เพื่อสนับสนุนการใช้งานทั้ง VT4 และ VN1 ในระยะยาวด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html)
Royal Thai Army Ordnance Department request approval for second batch of 39 Norinco VN1 8x8 Wheeled Armoured Vehicle in five variants.
https://aagth1.blogspot.com/2019/01/vn1.htmlสำหรับโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ระยะที่๒ ชนิดต่างๆ ๕แบบจำนวน ๓๙คัน ที่รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ก็ถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติเช่นกันว่ากองทัพบกซื้อแต่อาวุธจีน ไม่สนับสนุนโครงการยานเกราะล้อยางของไทยเช่น DTI Black Widow Spider 8x8
ซึ่งไม่ได้มองตามความเป็นจริงเลยว่า ยานเกราะล้อยาง BWS 8x8 นั้นยังเป็นเพียงต้นแบบที่ไม่สมบูรณ์ในสมรรถนะหลายๆด้านเพื่อเข้าสายการผลิตได้ ขณะที่ กองพลทหารม้าที่๑ มีความต้องการยานเกราะล้อยางใหม่ในกองพันทหารม้าลาดตระเวนจำนวนมากเพื่อทดแทน V-150 4x4 ที่ใช้งานมานาน
ก็เห็นได้จากการส่งมอบรถถังหลัก VT4 ที่รวดเร็วว่าจีนขีดความสามารถในการผลิตที่สูงมาก อีกทั้งไทยและจีนก็มีแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่น เพื่อสนับสนุนการใช้งานทั้ง VT4 และ VN1 ในระยะยาวด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html)
flying AgustaWestland AW149 helicopter of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army in Children's Day 2019 at 2nd Cavalry Division Royal Guard, Bangkok, Thailand, 12 January 2019
flying AgustaWestland AW139 helicopter of 1st Aviation Battalion, Royal Thai Army, Children's Day 2019 at Army Aviation Center in Lopburi, Thailand, 12 January 2019
การจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไทยในงานวันเด็กแห่งชาติวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ ที่รวม เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ AgustaWestland AW139 กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ณ ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา จังหวัดลพบุรี
และ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๙ AgustaWestland AW149 กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ณ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ กรุงเทพฯ นั้นได้มีการแสดงการทำการบินของเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองแบบต่อหน้าเด็กเยาวชนและประชาชนที่เข้าชมงานเป็นจำนวนมาก
เป็นการหักล้างข้อกล่าวหาของสื่อไร้จรรยาบรรณและผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองที่ออกมาโจมตีก่อนหน้าว่า ฮ.ทั้งสองแบบไม่อยู่ในสภาพทำการบินได้ ซึ่งก็จะเห็นได้ในช่วงนี้ว่ากลุ่มเคลื่อนไหวที่ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศไทยดังกล่าวมีกระบวนการวางแผนทำลายความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องครับ
(ว่ากันตามตรงกลุ่มขบวนการที่จ้องจะบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ โดยหวังผลให้มียกเลิกการมีกองทัพไทย อยู่ในระดับที่ไม่สามารถจะพูดคุยกันด้วยเหตุผลได้แล้ว เพราะพวกนี้เชื่อว่าประเทศจะดีกว่าถ้าให้พวกตนได้เข้ามายึดครองหรือแบ่งแยกแผ่นดินได้ง่ายๆถ้าไม่มีกองทัพไทยขัดขวางครับ)
Royal Thai Air Force's BT-67 461st Squadron, Wing 46 Phitsanulok at Wing 6 Don Muang for Anti-Dust Particulate Matter mission
วันจันทร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ พลอากาศโท พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ในฐานะ โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ มีความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จึงได้สั่งการในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ ให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ จัดเครื่องบิน BT-67 จำนวน ๒ เครื่อง จากกองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก เข้ามาเตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งกองบิน ๖ ดอนเมือง ภายในเย็นวันนี้ (๑๔ มกราคม ๒๕๖๒)
และเตรียมทำการบินโปรยน้ำลดฝุ่นละอองในอากาศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทั้งนี้ เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ก หรือเครื่องบิน BT-67 สังกัดกองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก เป็นเครื่องบินที่กองทัพอากาศใช้ในการสนับสนุนภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง การบินควบคุมไฟป่า และการบินโปรยน้ำลดหมอกควัน/ฝุ่นละออง
ซึ่งในส่วนของการบินโปรยน้ำฯ นั้น แต่ละเที่ยวบินจะบรรทุกน้ำได้เที่ยวละประมาณ ๓,๐๐๐ ลิตร ทำการโปรยน้ำเป็นละอองลงมาจากความสูงเหนือพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำเกิดการกระจายตัวครอบคลุมบริเวณกว้าง และจับตัวกับฝุ่นละอองเพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหา
โดยน้ำที่นำมาใช้เป็นน้ำสะอาด และโปรยลงมาเป็นละอองน้ำ จึงจะไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน
สำหรับแผนการปฏิบัติการบินโปรยน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในครั้งนี้ กองทัพอากาศกำลังเร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดพื้นที่และวางแผนการบินที่เหมาะสมต่อไป
วันอังคารที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ กองทัพอากาศ จัดเครื่องบิน BT – 67 จากฝูงบิน ๔๖๑ กองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก บินโปรยละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง จำนวน ๓ เที่ยวบิน
โดยในช่วงเช้า ๐๘.๓๐ น. ได้มีการประชุมศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ เพื่อกำหนดพื้นที่และวางแผนการปฏิบัติ จากนั้นในเวลา ๑๑.๐๐ น. นักบิน ฝูงบิน ๔๖๑ฯ ได้มีการประชุมวางแผนการบิน และเตรียมความพร้อมของเครื่องบิน
ซึ่งบรรทุกน้ำจำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ ลิตร ในถังใต้ท้องเครื่อง จากนั้นจึงขึ้นทำการบินเพื่อโปรยน้ำที่ความสูงประมาณ ๑,๕๐๐ ฟุตเหนือพื้นที่เป้าหมาย คือ บริเวณโดยรอบฐานทัพอากาศ ดอนเมือง เป็นพื้นที่แรก
จากนั้นในช่วงบ่าย กำหนดทำการบินอีก ๒ เที่ยวบิน เพื่อปฏิบัติภารกิจเหนือพื้นที่เขตจตุจักร พร้อมทั้งจัดชุดแพทย์พยาบาล จากศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ ออกให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองในสถานการณ์ที่มีฝุ่นละออง
พร้อมแจกหน้ากากอนามัย ประเภทคาร์บอน จำนวน ๓๐,๐๐๐ อัน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองกลิ่น ไอระเหย และควันพิษ รวมถึงสามารถกรองฝุ่นละอองและอนุภาคขนาดเล็กเฉลี่ย ๐.๑ ไมครอน ได้ถึง ๙๙ เปอร์เซ็นต์
สำหรับในห้วงต่อไป จะมีการประเมินและวางแผนร่วมกับ กรุงเทพมหานครและหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ก บ.ล.๒ก Basler BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก นั้นเป็นฝูงบินปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศไทย ที่มีภารกิจครอบคลุมการบรรเทาสาธารณภัยที่หลากหลาย รวมถึงการโปรยละอองน้ำกลางอากาศความจุ 3,000liter
โดยในภารกิจลดหมอกควันพิษและฝุ่นละอองในอากาศนั้น บ.ล.๒ก BT-67 ก็มีประสบการณ์ในการปฏิบัติภารกิจลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้งในหลายพื้นที่ เช่นการวางกำลังที่ กองบิน๔๑ เชียงใหม่เพื่อลดปัญหาหมอกควันและโปรยสารเคมีดับไฟจากไฟป่าในภาคเหนือเป็นต้น
แต่ทว่าก็เช่นเดียวกับกรณีการเตรียมความพร้อมของ ร.ล.จักรีนฤเบศร ของกองทัพเรือ ที่กองทัพอากาศถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติโจมตีว่าใช้อากาศยานแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และสิ้นเปลืองภาษีประชาชนสำหรับค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการของอากาศยานครับ
A Royal Australian Air Force's Lockheed Martin AN/TPS-77 3D air search radar(wikipedia.org)
กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ กองทัพอากาศไทยได้ตั้งโครงการจัดซื้อ Radar ป้องกันภัยทางอากาศ พร้อมติดตั้งที่สถานี Radar สร.สมุย จำนวน ๑ระบบ พร้อม Radome รวมถึงอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเป็น การฝึกอบรม วงเงิน ๖๙๖,๘๒๑,๐๐๐บาท($21,731,178)
โดยมีผู้เสนอแบบ Radar สามรายคือ บริษัท Leonardo S.p.A. อิตาลี, บริษัท Northorp Grumman International Trading, Inc สหรัฐฯ และบริษัท Lockheed Martin Overseas Corporation สหรัฐฯ
แม้จะยังไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลในขณะนี้ แต่เข้าใจว่านี่น่าจะเป็น Radar แบบใหม่นอกจาก Lanza 3D จากบริษัท Indra สเปน วงเงินประมาณ ๕๓๐ล้านบาท($15.9 million) ในการปรับปรุงความทันสมัยเครือข่ายระบบป้องกันภัยทางอากาศ RTADS(Royal Thai Air Defense System) ครับ