วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เครื่องบินขับไล่ Su-30MKI อินเดียทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน BrahMos และระเบิดนำวิถีที่พัฒนาเอง

PICTURES: India conducts second air-launched Brahmos test


The Brahmos missile detaches from the Su-30MKI's centreline




The DRDO guided bomb was dropped by an Su-30MKI
https://www.flightglobal.com/news/articles/pictures-india-conducts-second-air-launched-brahmo-458478/

กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Focre) ล่าสุดได้ทำการทดสอบการยิงอาวุธปล่อยนำวิธีอากาศสู่พื้นร่อน BrahMos เป็นครั้งที่สองที่ทำความเร็วเหนือเสียงที่ Mach 2.8 และทดสอบการทิ้งระเบิดนำวิถีขนาด 500kg ที่เป็นระบบอาวุธที่พัฒนาเองในประเทศ
จากเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKI(NATO กำหนดรหัส Flanker-H) ที่ Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการบินของอินเดียได้สิทธิบัตรการผลิตในประเทศ

กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2019 ว่าการยิงอาวุธปล่อยนำวิธีอากาศสู่พื้นร่อน BrahMos เป็นไปด้วยดีและเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI สามารถเก็บคะแนนการยิงถูกเป้าหมายภาคพื้นดินอย่างแม่นยำที่เหนืออ่าว Bengal ชายฝั่งตะวันออกของประเทศ
การยิงอาวุธปล่อยนำวิธีร่อน BrahMos ครั้งที่2 นี้มีขึ้นหลังการยิงครั้งแรกเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2017 เป็นเวลา 18เดือน การทดสอบได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ซึ่งส่งเรือเพื่อติดตามการบินโคจรของอาวุธและให้มั่นใจว่าพื้นที่สนามใช้อาวุธมีความปลอดภัย

"การบูรณาการอาวุธกับเครื่องบินเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมากในการนำการดัดแปลงระบบเชิงกล, ระบบไฟฟ้า และชุดคำสั่งเข้ากับเครื่องบิน กองทัพอากาศอินเดียได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตั้งแต่แรกเริ่ม
การพัฒนาชุดคำสั่งของเครื่องบินได้ดำเนินการโดยวิศวกรของกองทัพอากาศอินเดีย ขณะที่ HAL ดำเนินการในส่วนการดัดแปลงส่วนระบบเชิงกลและระบบไฟฟ้ากับเครื่องบิน" กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าว

กระทรวงกลาโหมอินเดียยกย่องการบูรณาการระบบอาวุธปล่อยนำวิธีร่อน BrahMos ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมพัฒนาระหว่างอินเดีย-รัสเซีย เข้ากับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI ว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงขีดความสามารถในการดำเนินโครงการที่ซับซ้อนของอินเดีย
BrahMos-A รุ่นยิงจากอากาศยานมีน้ำหนัก 2.3tonnes เบากว่ารุ่นยิงจากเรือและฐานยิงบนบก มีครีบหางขนาดใหญ่กว่าเพื่อคงการทรงตัวทางอากาศพลศาสตร์ระหว่างแยกตัวจากเครื่องบิน และมีพิสัยการยิงที่ 161nmi(300km) โดย Su-30MKI สามารถติดตั้งได้ 1นัดบนตำบลอาวุธกลางลำตัว

ระบบอาวุธปล่อยนำวิธีร่อน BrahMos ถูกออกแบบให้มีระบบแท่นยิงติดตั้งเพื่อทำการยิงได้ในจากหลายระบบ ทั้งฐานยิงภาคพื้นดิน, เรือรบผิวน้ำ, เรือดำน้ำ และอากาศยาน โดยอินเดียและรัสเซียได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการที่จะส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos ให้กับประเทศที่สาม
เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์, เวียดนาม, แอฟริกาใต้, ชิลี, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, แอลจีเรีย, กรีซ, มาเลเซีย, ไทย, อียิปต์, สิงคโปร์, เวเนซุเอลา และบัลแกเรีย(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/brahmos-pak-fa.html)

นอกจากนี้ องค์การวิจัยและพัฒนาทางกลาโหมอินเดีย(DRDO: Defence Research and Development Organisation) ได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการทดสอบระเบิดนำวิถีขนาด 500kg ใหม่ ณ สนามฝึกใช้อาวุธ Pokhran ใน Rajasthan
ระเบิดนำวิถีถูกทิ้งจากเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI และถูกเป้าหมาย "ทุกวัตุประสงค์ภารกิจได้รับการบรรลุผล ระบบอาวุธมีขีดความสามารถในการติดตั้งหัวรบแบบต่างๆที่แตกต่างกัน" กระทรวงกลาโหมอินเดียเสริมครับ