Thailand – Stryker Infantry Carrier Vehicles
https://www.dsca.mil/major-arms-sales/thailand-stryker-infantry-carrier-vehicles
U.S. Army Soldiers with 1/25 SBCT "Arctic Wolves" recently took part in exercise Arctic Anvil.(https://www.flickr.com/photos/soldiersmediacenter/45568122111/)
US Army's M1126 Stryker Infantry Carrier Vehicle (ICV) conduct Final Exercise (FinEx) with Royal Thai Army in Cobra Gold 2019(https://www.facebook.com/sompong.nondhasa)
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ตัดสินใจอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker Infantry Combat Vehicle(ICV) 8x8 จำนวน ๖๐คันพร้อมอุปกรณ์และสนับสนุนในรูปแบบการขาย Foreign Military Sale(FMS) เป็นวงเงินประมาณ $175 million
สำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ได้ส่งการแจ้งเตือนการรับรองการร้องขอแก่สภา Congress สหรัฐฯเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขายนี้เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
รัฐบาลไทยได้ร้องขอการจัดซื้อยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker ICV ๖๐คัน และปืนกลหนัก M2 Flex .50cal(12.7x99mm) ๖๐กระบอกยังรวมถึงอะไหล่ สิ่งอุปกรณ์เฉพาะสำหรับปฏิบัติการและซ่อมบำรุง, เครื่องมือพิเศษและอุปกรณ์ทดสอบ(STTE: Special Tools and Test Equipment),
คู่มือทางเทคนิค, เครื่องยิงลูกระเบิดควัน M6( ๔ชุดต่อคัน), กล้องขยายมุมมองเวลากลางคืนสถานีพลขับ AN/VAS-5 Driver's Vision Enhancer(DVE), ระบบสื่อสารภายในรถ AN/VIC-3, การบริการ การฝึก และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมวงเงินโครงการประมาณ $175 million(ราว ๕,๓๙๒ ล้านบาท)
ความเป็นไปได้ในการขายนี้จะสนับสนุนนโยบายต่างประเทศและวัตถุประสงค์ความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯโดยการให้ความช่วยเหลือการเพิ่มความมั่นคงแก่พันธมิตรนอก NATO(Major Non-NATO ally)
ในกองบัญชาการอินโด-แปซิฟิก(INDO-PACOM: US Indo-Pacific Command) กองทัพสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญสำหรับความมั่นคงทางการเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค
ยานเกราะล้อยาง Stryker จะเพิ่มขีดความสามารถของไทยเพื่อป้องกันดินแดนอธิปไตยของตนต่อภัยคุกคามตามแบบและนอกแบบ โดยเติมเต็มช่องว่างขีดความสามารถระหว่างทหารราบเบาและหน่วยยานเกราะหนัก ไทยจะไม่มีความยุ่งยากใดๆในการนำยุทโธปกรณ์นี้เข้าสูงกองทัพตน
ข้อเสนอการขายและการสนับสนุนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงสมดุลทางทหารในภูมิภาค ผู้รับสัญญาสำหรับยานเกราะ Stryker คือ บริษัท General Dynamics Land Systems ใน Sterling Heights มลรัฐ Michigan ไม่มีข้อตกลงการชดเชยใดๆเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการขายนี้
กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ว่าได้ร้องขอการเสนอจัดซื้อยานเกราะล้อยางลำเลียงพล M1126 Stryker ICV 8x8 จากสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/stryker-icv.html)
โดยกองทัพบกไทยจะจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker ICV จำนวน ๓๗คันวงเงินราว ๒,๙๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($94 million) และจัดหารถเพิ่มเติมอีก ๒๓คันรวมทั้งหมด ๖๐คันในการจัดซื้อรูปแบบ FMS (เข้าใจว่าจะมีการแบ่งวงเงินทยอยจัดหาเป็นชุดๆในแต่ละปีเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ)
เป็นที่เข้าใจว่ายานเกราะล้อยาง Stryker ICV จะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา ในอัตรากองร้อยยานเกราะประจำกรมทหารราบ(เดิมใช้รถสายพานลำเลียง รสพ.M113) โดยคาดว่ารถชุดแรกจะส่งมอบให้กองทัพบกไทยได้ภายในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
โดยกองทัพบกไทยมีแนวคิดการปรับรูปแบบการจัดกำลังหน่วยระดับกรมที่ตามอัตราจัดปัจจุบันหน่วยระดับกองพลจะมีหน่วยขึ้นตรง ๓กรม โดยใช้รูปแบบ กองพลน้อยชุดรบ(Brigade Combat Team) ของกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) มาปรับใช้ เช่น กองพลน้อยชุดรบยานเกราะล้อยาง Stryker BCT
มีข้อสังเกตุว่าตามเอกสารอนุมัติความเป็นไปได้การขายที่ออกโดย DSCA สหรัฐฯไม่ได้รวมถึงป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ M151 Protector จากบริษัท Kongsberg นอร์เวย์สำหรับปืนกลหนัก M2 Flex .50cal โดยรถน่าจะติดเพียงแท่นยิงปืนกลแบบมีพลยิงบังคับด้วยมือนอกตัวรถ
ขณะที่ยานเกราะล้อยาง 8x8 ที่กองทัพบกไทยสั่งจัดหาก่อนหน้าคือ ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 APC(Armored Personnel Carrier) ยูเครน และยานเกราะล้อยาง VN1 จีน มีอาวุธหลักเป็นป้อมปืน Remote ติดปืนใหญ่กลขนาด 30x165mm ที่สถานีพลยิงควบคุมจากภายในรถครับ