Air Chief Marshal Airbull Suttiwan Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force
was attend to commissioning ceremony for one Airbus ACJ320ceo transport
aircraft and 8 of Diamond DA40 NG Diamond Star trainer aircraft at Wing 6 Don
Mueang RTAFB in 21 December 2020.
กองทัพอากาศจัดพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๕ ก (Airbus
ACJ320) และเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๑ (Diamond DA-40NG) เข้าประจำการ ณ กองบิน
๖ ดอนเมือง
วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓) พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ
ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุเครื่องบิน Airbus ACJ320
เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน ๖๐๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง
ซึ่งกองทัพอากาศได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๖๑
ให้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ จำนวน ๑ เครื่อง พร้อมอะไหล่
อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม และโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเป็นการทดแทนอากาศยานเดิมที่มีแผนการปลดประจำการ
ในภารกิจการสนับสนุนภารกิจลำเลียงทางอากาศสำหรับการปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่การรบ
ได้แก่ การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ
การอพยพคนไทยในต่างแดน และการปฏิบัติการเพื่อรักษาสันติภาพ
โดยกองทัพอากาศจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติภารกิจซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นตามภัยพิบัติและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น
ตลอดจนการบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญทุกระดับ อาทิ องคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
ราชอาคันตุกะ หรือแขกของรัฐบาล
การบรรจุประจำการเครื่องบินดังกล่าว
จะทำให้กองทัพอากาศสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างต่อเนื่อง
ทันต่อสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพ
ประหยัดงบประมาณได้มากกว่าการใช้เครื่องบินพาณิชย์เช่าเหมาลำ
และสามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างรวดเร็ว กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน
เครื่องบินลำเลียงแบบ Airbus ACJ320 เครื่องนี้
ได้จดทะเบียนอากาศยานกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil
Aviation Organization : ICAO)
ซึ่งทำให้สามารถทำการบินในน่านฟ้าสากลได้
ในโอกาสนี้ กองทัพอากาศได้ประกอบพิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๑ (Diamond
DA-40NG) จำนวน ๘ เครื่อง
เพื่อใช้สำหรับการฝึกบินที่ตอบสนองต่อเทคโนโลยีในการบินปัจจุบัน
โดยมีระบบควบคุมการบิน และระบบเครื่องช่วยเดินอากาศที่ทันสมัย
ทำให้บุคลากรของกองทัพอากาศที่ฝึกบินกับเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๑ (Diamond
DA-40NG)
มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติกับอากาศยานที่สมรรถนะสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยบรรจุเข้าประจำการที่ ฝูงบิน ๖๐๔ กองบิน ๖
สำหรับการพิจารณาคัดเลือกแบบเครื่องบินนั้น
กองทัพอากาศได้กำหนดแนวทางจัดหาให้มีความเหมาะสมกับกรอบงบประมาณที่ได้รับ
และมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน (Commonality)
กับเครื่องบินที่กองทัพอากาศมีประจำการอยู่เดิม
ซึ่งเป็นการลดภาระด้านการฝึกอบรมบุคลากร การใช้งานอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น
และการซ่อมบำรุงต่าง ๆ
ที่สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการซ่อมบำรุงอากาศยานหลากหลายแบบ
ส่งผลให้ลดการใช้งบประมาณในระยะยาว
กองทัพอากาศ ขอยืนยันว่าโครงการฯ ในครั้งนี้
เป็นไปตามแผนการบรรจุประจำการเครื่องบินให้มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายในทุกมิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส มีความคุ้มค่า
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกองทัพอากาศ ประเทศชาติ และประชาชน
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๕ก บ.ล.๑๕ก Airbus ACJ320ceo หมายเลข 60205 ทะเบียน
HS-TYW ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๖๐๒ กองบิน๖ ดอนเมือง
โดยมีพิธีบรรจุประจำการเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) นั้น
เป็นเครื่องบินลำเลียงรับ-ส่งบุคคลสำคัญที่ถูกนำเข้าประจำการต่อจากเครื่องบินลำเลียง
บ.ล.๑๕ก Airbus ACJ320-214CJ หมายเลข 60203 ทะเบียน HS-TYT ที่เข้าประจำการ ณ
ฝูงบิน๖๐๒ ตั้งแต่เดือนกันยายนปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ขณะที่เครื่องบินฝึกแบบที่๒๑ บ.ฝ.๒๑ Diamond DA40 NG จำนวน
๘เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖
ในวันเดียวกันเป็นการทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่๑๖ บ.ฝ.๑๖ CT-4A
ที่ปลดประจำการไปในเดือนกันยายนที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/ct-4a.html)
โดย บ.ฝ.๒๑ DA40 NG ทั้ง ๘เครื่องที่ถูกประกอบ ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานกำแพงแสน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน(TAI:
Thai Aviation Industries)
นี้ อยู่ในชุดการจัดหาระยะที่๑ โดยจะมีการจัดหาระยะที่๒ อีก ๖เครื่องรวม
๑๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
การบรรจุประจำการของเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๑ DA40 NG
ทำให้เป็นที่เข้าใจว่าเครื่องบินฝึก Beechcraft T-6C Texan II จำนวน
๑๒เครื่องที่กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาจะถูกนำเข้าประจำการในชื่อเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒
บ.ฝ.๒๒ T-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)
ซึ่งตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ระยะ ๑๐ปี และCommon Fleet
ของกองทัพอากาศไทยจะตามมาด้วยการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา Beechcraft AT-6E
Wolverine ที่จะกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตี A-6TH ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html)