Istanbul Shipyards lays down Malaysia's LMS
Malaysia's first Batch 2 LMS seen here at its keel-laying ceremony. (Royal
Malaysian Navy)
อู่เรือ Istanbul Shipyard
ตุรกีได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือของเรือคอร์เวตโครงการเรือปฏิบัติการใกล้ชายฝั่ง
Littoral Mission Ship(LMS) Batch 2
ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM:
Tentera Laut Diraja Malaysia)
พิธีที่เป็นเครื่องหมายถึงเหตุการณ์สำคัญได้ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2025
ณ สถานที่ของอู่เรือ Istanbul Shipyard ในมหานคร Istanbul
กองทัพเรือมาเลเซียเปิดเผยในแถลงการณ์ในวันถัดมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025
เรือลำแรกนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาสำหรับเรือคอร์เวต LMS Batch 2 จำนวน
3ลำที่รัฐบาลมาเลเซียลงนามกับบริษัท STM ตุรกีในเดือนมิถุนายน 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/lms-batch-2-stm-3.html)
เรือคอร์เวต LMS Batch 2 ทั้งสามลำจะมีพื้นฐานจากเรือคอร์เวตชั้น Ada(MILGEM)
ของกองทัพเรือตุรกี(Turkish Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/mazepa-f212-hetman-ivan-vyhovskyi.html)
พิธีตัดเหล็กสำหรับเรือคอร์เวต LMS Batch 2 ลำแรกได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม
2024 กองทัพเรือมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์ของตน Janes ได้เข้าหา STM ตุรกี
และกองทัพเรือมาเลเซียแล้ว
สำหรับรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมของการปรับแต่งเฉพาะของมาเลเซียที่ได้ถูกนำมาใช้บนเรือคอร์เวต
LMS Batch 2 แต่ Janes ยังไม่ได้รับการตอบกลับจากทั้งสอง ณ
เวลาที่บทความนี้เผยเพร่
อย่างไรก็ตามเรือคอร์เวตชั้น Ada กองทัพเรือตุรกีมีความยาวเรือรวมที่ประมาณ 100m
และมีระวางขับน้ำเต็มที่ที่ประมาณ 2,500tonnes(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/ada-f211-hetman-ivan-mazepa.html)
ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซลจำนวน 4เครื่องในรูปแบบ CODAD(Combined
Diesel and Diesel) เรือคอร์เวตสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 26knots
และมีระยะปฏิบัติการไกลสุดที่ราว 4,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 14knots
เรือคอร์เวตชั้น Ada รองรับกำลังพลประจำเรือ 111นาย
และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลขนาดกลางจำนวน
1เครื่องบนดาดฟ้าบินเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ ในแง่ระบบอาวุธเรือคอร์เวต LMS Batch 2
แต่ละลำจะติดตั้งด้วย
ปืนเรือขนาด 76mm ที่ตำแหน่งหลักที่หัวเรือ, แท่นยิงสี่ท่อยิง
2แท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ(SSM:
Surface-to-Surface Missile) แบบ ATMACA ของบริษัท Roketsan ตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/atmaca-45.html),
ปืนรองปืนกลขนาด 30mm แบบ Smash และแท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launching
System) 16ท่อยิง สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ(SAM: Surface-to-Air
Missile) ในแง่ระบบตรวจจับเรือคอร์เวต LMS Batch 2 จะติดตั้งด้วย
ระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) แบบ SYS และระบบควบคุมการยิง(FCS:
Fire Control System) ปืนเรือ 76mm ของบริษัท Havelsan ตุรกี, Radar
ตรวจการณ์สามมิติแบบ CENK และ radar ควบคุมการยิง(FCR: Fire Control Radar) แบบ
Akrep ของ Aselsan ตุรกีครับ