Navantia wins contract to provide CMS and weapon system for Royal Thai Navy’s LPD ‘HTMS Chang’
LPD-792 HTMS Chang accompanied by CVH-911 HTMS Chakri Naruebet just before entering the Sattahip naval base. (Royal Thai Navy photo)
Royal Thai Navy (RTN) signed contract with Navantia for procurement Combat Management System, Surveillance System, Fire Control System, Weapon Systems and Gyro system to be fitted on LPD-792 HTMS Chang, Chinese export Type 071ET landing platform dock (LPD) on 9 April 2025.
Navantia will support the Royal Thai Navy in its project to enhance the capability of the Chinese-built LPD HTMS Chang (792). (Royal Thai Navy photo)
วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๘ พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาซื้อขายระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบไยโร พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับการปฏิบัติการทางเรือ กับบริษัท Navantia SA, SIME ราชอาณาจักรสเปน
โดยมี นายเฟลิเป เด ลา โมเรนา กาซาโด (H.E. Mr. Felipe de la Morena Casado) เอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
บริษัท Navantia สเปนจะสนับสนุนกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ในโครงการของตนที่จะเพิ่มขีดความสามรถของเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ที่สร้างโดยจีน(https://aagth1.blogspot.com/2025/02/navantia-type-071et-lpd.html)
สัญญารวมถึงการมอบและการบูรณาการของระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System), ระบบตรวจการณ์, ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), ระบบอาวุธ, ระบบไยโร(gyros) และวิทยาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/navantia-type-071et-lpd.html)
Navantia สเปนจะติดตั้ง ร.ล.ช้าง บางส่วนของระบบทางเรือที่ล้ำยุคที่สุดของตนรวมถึงระบบอำนวยการรบ CATIZ CMS และระบบควบคุมการยิง DORNA FCS เพื่อให้มั่นใจว่ากองทัพเรือไทยได้รับประโยชน์จากขีดความสามารถขั้นก้าวหน้าที่สุดต่างๆที่มีพร้อมในขณะนี้
Navantia สเปนมีความสัมพันธ์อันยาวนานกับกองทัพเรือไทย โดยก่อนหน้านี้ได้ส่งมอบเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือธงแห่งราชนาวีไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/rtn12dec24.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/09/marcus-c.html)
สัญญาใหม่นี้ไม่เพียงแต่สร้างความแข็งแกร่งความสัมพันธ์ระหว่าง Navantia สเปนและกองทัพเรือไทย แต่ยังส่งเสริมทักษะแรงงานและภาคอุตสาหกรรมการต่อเรือและซ่อมเรือและการป้องกันประเทศภายในประเทศไทย
ผ่านความร่วมมือกับอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช(Mahidol Adulyadej Naval Dockyard) กรมอู่ทหารเรือ อร.(Royal Thai Naval Dockyard) ความเป็นหุ้นส่วนนี้เป็นการปูทางสำหรับโครงการต่างๆและความร่วมมือเพิ่มเติมในอนาคต
สัญญาล่าสุดกับกองทัพเรือไทยนี้เน้นย้ำความเป็นเลิศของบริษัท Navantia ในระบบการป้องกันประเทศทางเรือต่างๆ, โครงการการปรับปรุงความทันสมัยต่างๆ, และการให้บริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงต่างๆ
เป็นการยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของบริษัท Navantia ที่จะส่งมอบแนวทางการแก้ไขปัญหาอันล้ำสมัยต่างๆ และการสนับสนุนความต้องการทางยุทธศาสตร์ต่างๆที่จำเป็นของบรรดาหุ้นส่วนต่างๆของตน
กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock) เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยชั้น Type 071ET LPD กับ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
เรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) ที่สร้างโดยอู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) ในมหานคร Shanghai ในเครือ CSSC จีน ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) และเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
โดยเป็นรุ่นส่งออกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ที่มีความยาวเรือ 210m และกว้าง 28m มีระวางขับน้ำที่ 25,000tonnes และมีความเร็วสูงสุดที่ 25knots
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนติดตั้งด้วยโรงเก็บและดาดฟ้าบินขนาดใหญ่ท้ายเรือรองรับการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Z-8J ได้พร้อมกันสองเครื่อง ขณะที่ ร.ล.ช้าง ของกองทัพเรือไทยมีดาดฟ้าบินเฮลิคอปเตอร์ ๓จุดลงจอดรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้พร้อมกัน ๓เครื่อง และโรงเก็บอากาศยานที่รองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ ๒เครื่อง
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ยังติดตั้งระบบอาวุธด้วยปืนเรือขนาด 76mm หนึ่งแท่นยิง และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนกลหกลำกล้องหมุนขนาด 30mm สี่แท่นยิง ขณะที่ ร.ล.ช้าง ของกองทัพเรือไทยปัจจุบันติดอาวุธปืนกลหนัก M2 .50cal ๔กระบอก และปืนกล Oerlikon GAM-CO1 20mm ๒แท่นยิง
ตามข้อมูลจากสื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพเรือไทย เรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) มีขีดความสามารถที่จะวางกำลังด้วย รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV จำนวน ๙คัน หรือรถถังหลัก จำนวน ๑๑คัน ในดาดฟ้ายานพาหนะ๑, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV จำนวน ๘คัน หรือรถถังหลัก จำนวน ๙คัน ในดาดฟ้ายานพาหนะ๒,
เรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) จำนวน ๖ลำ หรือเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP: Landing Craft Vehicle Personnel) จำนวน ๙ลำ หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV จำนวน ๔๐คัน หรือยานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft, Air Cushioned) จำนวน ๒ลำ ในอู่ลอย และสามารถรองรับกำลังพลรบยกพลขึ้นบกพร้อมอุปกรณ์ได้ ๖๕๐นายครับ