US Army M777 155mm howitzer conduct Live Firing in exercise Cobra Gold 2019 at Royal Thai Army 3rd Army Area firing range, Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai, Thailand, Febuary 2019.(https://www.facebook.com/CobraGoldThailand.RTARF)
กองทัพบกไทยมีโครงการจัดหาปืนใหญ่สนามแบบลากจูงขนาด 155mm ใหม่ โดยมาตรฐาน/คุณลักษณะทั่วไปมีดังนี้
๑.เป็นปืนใหญ่สนามที่มีขนาดความกว้างปากลำกล้อง 155mm มีน้ำหนักไม่เกิน 8,000kg มีความคล่องตัวสูง สามารถทำการยิงได้ในทุกสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในประเทศไทย
๒.มีความแข็งแรงทนทานต่อปฏิบัติการทางทหาร สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยรถยนต์ทหาร รถไฟ อากาศยานหรือทางเรือ ที่มีประจำการในกองทัพโดยไม่ต้องถอดประกอบ
๓.มีระยะยิงไกลสุดสำหรับกระสุนระเบิดอย่างน้อย 25km และสามารถทำการยิงกระสุนระเบิดต่อระยะได้ในระยะไม่น้อยกว่า 30km
๔.สามารถทำการยิงด้วยกระสุน, ชนวน และดินส่งกระสุน ที่มีใช้ในกองทัพบก หรือตามาตรฐาน NATO โดยผ่านการยิงทดสอบและรับรองมาตรฐานจากประเทศ/โรงงานผู้ผลิต
๕.สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ของระบบอาวุธยิงสนับสนุนที่มีประจำการในกองทัพบกได้
๖.สามารถใช้ร่วมกับชุดวิทยุทางทหารที่มีประจำการในกองทัพบกได้
๗.สามารถยกลำกล้องทำการยิงมุมยิงใหญ่(ตั้งแต่ 801mil หรือ 45degree ขึ้นไป) และมีมุมกดต่ำลงของลำกล้องได้น้อยกว่า 0degree
๘.มีอัตราเร็วสูงสุดในการยิงตั้งแต่ ๓นัดต่อนาทีขึ้นไป
๙.ทำการยิงได้ทั้งระบบอำนวยการยิงอัตโนมัติและระบบ Manual โดยมีเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักและอุปกรณ์การแปลงกระแสไฟฟ้าสำหรับเป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำรอง
๑๐.สามารถติดตั้งระบบกำหนดพิกัดและชี้ทิศทางอัตโนมัติ พร้อมทั้งสามารถติดตั้งกล้องเล็ง Panoramic ได้
๑๑.มีสายการผลิตและมีประจำการในกองทัพประเทศผู้ผลิต และมีประจำการในกองทัพประเทศอื่นๆ รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมของระบบต่างๆได้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา ๒๐ปี
ปืนใหญ่ลากจูง M777 ขนาด 155mm/39caliber ผลิตโดยบริษัท BAE Systems สหราชาอาณาจักร โดยมีน้ำหนัก 4,200kg ได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ และนาวิกโยธินสหรัฐฯเพื่อทดแทนปืนใหญ่ลากจูง M198 ที่หนักกว่าซึ่งมีประจำการในกองทัพบกไทยเช่นกัน
นอกจากกองทัพสหรัฐฯแล้ว ป.ลจ.M777 ยังได้รับการจัดหาเข้าประจำการในหลายประเทศ เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และอินเดียซึ่งได้รับสิทธิบัตรการผลิตในประเทศ เป็นปืนใหญ่ลากจูงแบบหนึ่งที่ตรงตามคุณลักษณะที่ได้ถูกนำมาร่วมการฝึก Cobra Gold ในไทยมาแล้วครับ
Thailand's company Panus Assembly Co Ltd. to unveil domestic 8x8 wheeled amphibious armored vehicle prototype for Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy.
Improved prototype of Defence Technology Institute (DTI)'s Black Widow Spider 8x8 wheeled armoured personnel carrier (APC) for Royal Thai Army requirement.
Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office's Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle in trial serviced at Marines Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division
อนาคตของ AAPC 01 คันต้นแบบของยานเกราะล้อยางสำหรับปฎิบัติภารกิจของนาวิกโยธินวิจัยและพัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ร่วมกับกองทัพเรือจะเป็นอย่างไร จะเป็นแค่ผลงานวิจัยหรือจะสร้างเพื่อใช้งานในกองทัพ? ...
AAPC 01 เป็นยานสะเทินน้ำสะเทินบกสำหรับลำเลียงพล อาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ต่างๆของกำลังรบยกพลขึ้นบก ในการเคลื่อนที่จากเรือสู่ฝั่ง สามารถบรรทุกไปกับเรือ และปฏิบัติการทางยุทธวิธียกพลขึ้นบกจากในทะเลชายฝั่งเข้าสู่ที่หมายหัวหาดและต่อเนื่องในยุทธบริเวณ
มีนน. 21-30 ตัน ความยาว 7-8 เมตร ความกว้าง 2-3 เมตร ความเร็วบนถนน 80 กม./ชม. ความเร็วในน้ำ 10-15 กม./ชม. ระยะปฏิบัติการบนบก 600 กม. เจ้าหน้าที่ประจำรถ ผบ.รถ 1 นาย พลขับ 1 นาย พลยิง 1 นาย บรรทุกทหารราบได้ไม่น้อยกว่า 11 นาย
ระบบอาวุธหลัก ปืน 30 มม. ระบบอาวุธรอง ปืน 7.62 มม. และเครื่องยิงลูกระเบิดควัน เครื่องยนต์ขนาด 400 แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนบนบกและในน้ำ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดลองและประเมินการใช้งานโดยนาวิกโยธิน ...Photo Sompong Nondhasa
บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย ได้เปิดตัวผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์รถหุ้มเกราะล่าสุดของตนคือยานเกราะล้อยานสะเทินน้ำสะเทินบก R600 8x8 ต้นแบบใหม่สำหรับนาวิกโยธินไทย ทำให้ปัจจุบันไทยมีการพัฒนายานเกราะล้อยาง 8x8 รวมแล้วถึงสามแบบ
เมื่อร่วมกับสองผลงานของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI คือยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Black Widow Spider(BWS) 8x8 APC(Armoured Personnel Carrier) สำหรับกองทัพบกไทย ที่ผลิตโดยบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด(Preecha Thavorn Industry Co.,Ltd.)
และยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) สำหรับนาวิกโยธินไทย ที่ผลิตโดย ช ทวี จำกัด มหาชน(CHOTHAVEE PLC) นับเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยให้มีการแข่งขันกันครับ
Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was tested its product "AMV-420P" (Armoured Fighting Vehicle-420 Panus) with M2HB .50cal on Turkish company's ASELSAN SARP (Stabilized Advanced Remote Weapon Platform) Remote Controlled Weapon Station (RCWS)
AMV-420P Mosquito 4x4 with ASELSAN SARP RCWS was conduct test firing for first time at Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy's weapons range with Royal Thai Marine Corps observe in 18 May 2019
Panus Assembly's R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) prototype for Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy to be fitted Turkish company's ASELSAN NEFER 30mm Remote Controlled Stabilized Weapon System (RCSWS).
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ ทั้งสองแบบคือ รถหุ้มเกราะล้อยาง AMV-420P Mosquito 4x4 ที่ได้รับการติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ ASELSAN SARP ตุรกี พร้อมปืนกลหนัก ปก.๙๓ Browning M2HB ขนาด .50cal(12.7x99mm) บนหลังคารถ
และยานเกราะล้อยาง R600 รุ่นรถรบทหารราบ IFV ที่จะติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ ASELSAN NEFER 30mm ตุรกี นับเป็นความก้าวหน้าล่าสุดของภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยที่ร่วมมือกับบริษัทตุรกีในการนำระบบอาวุธตุรกีมาใช้กับอาวุธยุทโธปกรณ์ของไทยเป็นครั้งแรกๆครับ
The Royal Thai Navy Lat Ya-class mine countermeasures ship HTMS Lat Ya (MHS 633), left, and U.S. Navy mine countermeasures ship USS Pioneer (MCM 9) observe a controlled mine detonation
while conducting a joint mine countermeasures exercise during CARAT Thailand 2019. (U.S. Navy/MC2 Corbin Shea)
USS Antietam (CG 54) leads a formation of U.S. Navy and Royal Thai Navy ships during CARAT training, June 7. (Royal Thai Navy photo)
Ship's Serviceman 3rd Class Christopher Camacho observes a Royal Thai Navy S-70B helicopter preparing to launch from USS Antietam (CG 54) during CARAT. (U.S. Navy/MC1 Toni Burton)
PHUKET, Thailand (June 8, 2019) Amphibious assault ship USS Boxer (LHD 4) anchors off the coast of Phuket, Thailand during a scheduled port visit. (Photo by Lance Cpl. Dalton S. Swanbeck and Mass Communication Specialist 2rd Class Justin D. Rankin)
การฝึกผสม CARAT 2019 ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ถึง ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา ที่มีพื้นที่การฝึกหลักในฝั่งอ่าวไทยนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/carat-2019_10.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/06/carat-2019_7.html)
ก็เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ทางทหารที่แน่นแฟ้นมาอย่างยาวนานระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยการฝึกผสม CARAT Thailand 2019 นี่นับเป็นการฝึกครั้งที่๒๕ แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/carat-2019.html)
นอกจากนี้ในฝั่งทะเลอันดามัน กองทัพเรือสหรัฐฯยังได้ส่งเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHD-4 USS Boxer มาทำการเทียบท่าเยี่ยมที่ภูเก็ต นับเป็นเรือLHD ชั้น Wasp ลำที่สองที่มาจอดเยี่ยมประเทศไทยในปีนี้ต่อจาก LHD-2 USS Essex ที่มาภูเก็ตเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๒ ครับ
Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel in construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, 7 and 25 June 2019.
เสนาธิการทหารเรือประชุมติดตามความก้าวหน้าการสร้างเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์
พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน เสนาธิการทหารเรือ พร้อมคณะฝ่ายอำนวยการ เดินทางไปประชุมติดตามความก้าวหน้าการสร้างเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๒
วันนี้ (25 มิถุนายน 2562) เวลา 09.30 น. พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะ ประธานกรรมการ บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริษัทอู่กรุงเทพจำกัด ครั้งที่ 6/2562 ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยภายหลังการประชุมเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหาร ได้นำคณะกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตรวจความคืบหน้าการสร้างเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์และการเตรียมความพร้อม ในพิธีปล่อยเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ลงน้ำ โดยปัจจุบัน ในส่วนของการสร้างเรือมีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 90
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ H.T.M.S. Prachuap Khiri Khan
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือ ตกก.) Offshore Patrol Vessel (OPV)
Motto “ด่านหน้า กล้าหาญ” “Frontier, Fearless”
Credit Photo : WO552 By Admin
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/2508116955906312
ความคืบหน้าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ล่าสุดเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) การสร้างเรือมีความคืบหน้าเสร็จสิ้นไปกว่าร้อยละ๙๐ แล้ว
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ H.T.M.S. Prachuap Khiri Khan
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือ ตกก.) Offshore Patrol Vessel (OPV)
Motto “ด่านหน้า กล้าหาญ” “Frontier, Fearless”
Credit Photo : WO552 By Admin
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/2508116955906312
ความคืบหน้าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ล่าสุดเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) การสร้างเรือมีความคืบหน้าเสร็จสิ้นไปกว่าร้อยละ๙๐ แล้ว
จะเห็นได้การติดตั้งอุปกรณ์และเดินสายท่อทางภายในตัวเรือมีความคืบหน้าไปมาก เช่นในส่วนสะพานเดินเรือที่เห็นในภาพได้มีการติดตั้งอุปกรณ์และแผงควบคุมต่างๆเป็นส่วนใหญ่แล้ว ซึ่งคาดว่า ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ จะพร้อมขึ้นระวางประจำการได้ในราวเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ นี้
ตามหมายกำหนดการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีปล่อย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ลงน้ำในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่กองทัพเรือไทยอย่างยิ่งครับ
Royal Thai Navy's domestic quadcopter "Narai 3.0" VTOL UAV (Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) the third generation has been produced for more than 80 systems.
Royal Thai Navy's domestic Tarem VTOL UAV (Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) for Royal Thai Marine Corps.
Thai company TOP Engineering Corporation's Falcon-V FUVEC (Fixed wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) at Ship Technology for the Next Decade (Ship Tech.III) Exibition 3-4 March 2016
Royal Thai Navy's domestic 30x173mm ammunition training practice round(https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2734468539913979, https://www.facebook.com/prthainavy/posts/2500497603334914)
อากาศยานไร้นักบิน “นารายณ์ 3.0” ทร.ผลิตไปใช้งานแล้ว 80 เครื่อง!
วันนี้ที่กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ศาลายา พล.ร.อ. ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มาเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลยกย่องเกียรติคุณนักวิจัยกองทัพเรือ
ผลงานที่โดดเด่นในงานวิจัย 2019 ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่น ปี 2562 แบบหนึ่ง ก็คือ อากาศยานไร้นักบินขึ้น-ลงทางดิ่งแบบ นารายณ์ 3.0 มี น.อ. ภาณุพงศ ชุมสิน เป็นนายทหารโครงการ ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดในรุ่นที่ 3 แล้ว
เป็นการสร้างอากาศยานไร้คนขับปีกหมุนแบบ 4 โรเตอร์และระบบควบคุมที่เหมาะแก่การปฏิบัติการทางทหาร มีขนาดกะทัดรัด ถอดประกอบพับเก็บได้ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ง่ายต่อการใช้งานและซ่อมบำรุง
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับระบบควบคุมบังคับบัญชา เพื่อการปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานได้เป็นอย่างดี อากาศยานนี้สามารถตั้งโปรแกรมการบินได้ มีความเร็ว 60 กม./ชม. บินได้นาน 30 นาที ปฏิบัติการได้ไกลประมาณ 2 กม. บรรทุกได้ 1 กก.
ติดกล้องที่ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ใชัระบบจีพีเอสในการนำทาง
ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่นำไปใช้ปฏิบัติภารกิจในการณ์บินถ่ายภาพสถานการณ์และถ่ายทอดสัญญาณภาพมายังระบบควบคุมบังคับบัญชาใช้ในการลาดตระเวนชายแดน ตรวจจับยาเสพติด การบุกรุกตัดไม้ในป่าเป็นต้น
นอกจากใช้ในกองทัพเรือแล้ว ยังใช้ในกองบัญชาการกองทัพไทย กองกำลังสุรนารี กองกำลังผาเมือง โดยมีการสร้างเพื่อนำไปใช้งานรวมกว่า 80 เครื่องแล้ว ...
สำหรับราคาอากาศยานติดกล้องกลางวันพร้อมชุดคอมพิวเตอร์ควบคุมราคา 350,000 บาท และรุ่นติดกล้องความร้อนใช้งานกลางคืน 450,000 บาท ราคาเฉพาะตัวอากาศยาน ราคา 200,000 บาท
ทำให้ลดการจัดหาจากต่างประเทศและใช้ของในประเทศแทนตามนโยบาย “พึ่งพาตนเอง” ....Photo Sompong Nondhasa
“ TAREM” อากาศยานไร้นักบินใหม่ล่าสุด ผลงานของทร.ไทย! ...นอกจาก นารายณ์ 3.0 แล้ว สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
โดยนายทหารโครงการ น.อ.ภาณุพงศ ขุมสิน ยังได้ทำการออกแบบพัฒนาอากาศยานไร้นักบินแบบปีกหมุนขึ้น-ลงทางดิ่งแบบ TAREM สำหรับทหารนาวิกโยธิน เพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวนและหาข่าว
สามารถส่งภาพกลับแบบเวลาจริง (Real Time) มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสั่งการระหว่างอากาศยานและชุดควบคุมภาคพื้นดินและระบบควบคุมระบบบังคับบัญชาอื่นๆได้
“ TAREM” มีความเร็วระหว่าง 60-100 กม./ชม. ระยะทางบิน 5-10 กม. เวลาบิน 30-50 นาที ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ…Photo Sompong Nondhasa
กองการบินทหารเรือมีโครงการจัดซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) จำนวน ๑ระบบ วงเงิน ๒๘๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($9,107,317.50) ไม่ทราบรายละเอียดข้อกำหนดคุณสมบัติระบบและจำนวนเครื่องที่ต้องการ
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี(Tactical UAV) ที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีสมรรถนะสูงกว่าระบบที่พัฒนาเองในไทย เช่น Falcon-V FUVEC (Small Tactical UAV) ที่มีการทดสอบการใช้งานจริงไปแล้ว
ในงาน นาวีวิจัย 2019 เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ นอกจากอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งนารายณ์ 3.0 รุ่นที่สามที่ได้รับการผลิตออกมา ๘๐ระบบเพื่อใช้งานจริง และอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Tarem ใหม่แล้ว
ยังมีงานวิจัยพัฒนาอื่นๆที่ถูกนำไปใช้งานจริงแล้วอีกเป็นจำนวนมาก เช่น การวิจัยลูกกระสุนปืนใหญ่ขนาด 30x173mm และขนาด 30x165mm ที่ลูกกระสุนฝึกขนาด 30mm ได้มีการทดสอบยิงจริงไปหลายครั้งแล้วครับ
Leonardo KRONOS LAND mobile multifunctional 3D radar system of Royal Thai Naval Air and Coastal Defence Command, Royal Thai Navy(unknow photo source)
โครงการซื้อพร้อมติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ ของ นป.สอ.รฝ.๖๒๑
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. กองทัพเรือไทย มีโครงการจัดซื้อ Radar ตรวจการณ์ทางอากาศ ที่ตั้งบนเกาะ*ฝั่งอันดามัน ที่สามารถตรวจับอากาศยานเพดานบินระดับต่ำและสามารถหลบหลีกระบบตรวจการณ์ทางอากาศหรือรอดพ้นการสกัดกั้นจากเครื่องบินของกองทัพอากาศ
เพื่อแจ้งเตือนภัยทางอากาศแก่หน่วยกำลังทางเรือที่ปฏิบัติการในทะเล และหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ตลอดจนหน่วยใช้อาวุธของกองทัพเรือ ให้สามารถป้องกันเป้าหมายสำคัญทางทหาร และเป้าหมายสำคัญต่อความอยู่รอดของชาติได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะทางเทคนิค Radar ตรวจการณ์ทางอากาศ เช่น
๑.ใช้ Solid State Technology
๒.สามารถตรวจจับเป้าอากาศยานที่มีเพดานบินครอบคลุมตั้งแต่ 0-5,000feet
๓.สามารถตรวจจับเป้าอากาศยานที่ระยะตรวจจับ(Detection Range) ได้ไม่น้อยกว่า 54nmi
๔.สามารถติดตามเป้าแบบอัตโนมัติ(Automatic Tracking) และแสดงผลได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐เป้าในเวลาเดียวกัน(ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา)
๕.ระบบ Radar ตรวจการณ์ทางอากาศที่มีโอกาสในการถูกตรวจจับจากการแพร่คลื่น Radar ต่ำ(LPI: Low Probability Intercept) โดยยังคงสามารถตรวจจับเป้าอากาศยานที่มีเพดานบินครอบคลุมตั้งแต่ 0-5,000feet
๖.มี Function ควบคุมการทำงานสำหรับการค้นหา ตรวจับ และติดตามเป้าในลักษณะต่างๆ ครอบคลุมสถาณการต่างๆ รวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้งาน ดังนี้
-Sector Blanking
-ระบบขจัดสัญญาณ Clutter
-แสดงเฉพาะเป้าเคลื่อนที่ได้(Moving Targer) โดย radar สามารถกดสัญญาณเป้าที่ไม่เคลื่อนที่(Non Moving Target) ที่เป็น Clutter(ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา)
๗.มีความสามารถทางด้านมาตรการตอบโต้การก่อกวนทางอิเล็กทรอนิกส์(ECCM: Electronic Counter Couunter Measures)(ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา)
๘.ต้องสามารถส่งออก(Output Interface) ข้อมูลเป้าที่ Radar ติดตามได้(Track Target) ในรูปแบบ Asterix Format Category 048 สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพเรือ สำหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(NCW: Network Centric Warfare) ในอนาคตได้
โดยจะต้องมีการแสดงให้เห็นเพื่อตรวจสอบได้ในขั้นตอนการตรวจรับระดับโรงงาน(FAT) หรือขั้นตอนการส่งมอบในพื้นที่จริง
วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท(4,248,130.73Euros) กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) เป็นเงิน 2,600,000Euros หรือ ๙๓,๐๑๒,๔๐๐บาท แหล่งที่มาราคากลางจากใบเสนอราคาประกอบด้วย ๖บริษัทจากหกประเทศคือ
บริษัท Reutech Radar Systems แอฟริกาใต้, บริษัท CETC INTERNATIONAL CO., LTD. สาธารณรัฐประชาชนจีน, บริษัท ICS Technologies S.r.L. อิตาลี, บริษัท Terma เดนมาร์ก, บริษัท THALES ฝรั่งเศส และบริษัท Indra Sistemas S.A สเปน ครับ
Rolls-Royce has received an engine upgrade contract that will extend Thailand’s operational use of the Lockheed Martin C-130H tactical transport and also reduce the maintenance demands of its turboprop engines.
Red Flag Alaska 19-2 Royal Thai Air Force
Members of the Royal Thai Air Force conduct daily operations, take-off from a C-130H off a runway and pose for a group photo during RED FLAG-Alaska 19-2 near Joint Base Elmendorf-Richardson, Alaska, June 13, 2019.
บริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาจากกองทัพอากาศไทยในการยืดอายุการใช้งานเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ทั้ง ๑๒เครื่องด้วยเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop ตระกูล T56 Series 3.5 รุ่นปรับปรุงใหม่
โดยครอบคลุมการปรับปรุงเครื่องยนต์ ๕๘เครื่องที่ในขั้นแรกระยะเวลา ๓ปีจะดำเนินการปรับปรุงเครื่องยนต์ ๒๐เครื่องวงเงิน ๙๐๖,๘๑๘,๓๐๐บาท($28,950,627) การปรับปรุงนี้จะสามารถทำให้กองทัพอากาศไทยสามารถใช้งาน บ.ล.๘ C-130H ประจำการต่อไปได้ถึงปี พ.ศ.๒๕๘๓(2040)
ล่าสุดกองทัพอากาศไทยได้ส่ง บ.ล.๘ C-130H เข้าร่วมการฝึก RED FLAG-Alaska 19-2 ที่ฐานทัพร่วม Elmendorf-Richardson มลรัฐ Alaska สหรัฐฯเมื่อ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ แสดงถึงความพร้อมปฏิบัติการบินเดินทางไกลและการวางกำลังเข้าร่วมการฝึกยังต่างประเทศของเครื่องครับ
Airbus Helicopters EC725(H225M) 203 Squadron, Wing2, Royal Thai Air Force in Search and Rescue Exercise SAREX 2019(https://www.facebook.com/public/Thanawat-Thanawat)
Airbus Helicopters and Thai Aviation Industries extend aftersales helicopter support for military and governmental fleets
https://aagth1.blogspot.com/2019/06/airbus-helicopters-tai.html
บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปและบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ประเทศไทย ได้ลงนามข้อตกลงที่จะขยายการสนับสนุนหลังการขายสำหรับลูกค้าอากาศยานปีกหมุนของ Airbus Helicopters
ทั้งกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย และกองบินตำรวจไทย โดยปัจจุบันกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยได้มีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Airbus Helicopters เข้าประจำการแล้วเป็นจำนวนกว่า ๕๐เครื่องครับ
The 35th ACE was commemorated with a flypast comprising 3 RSAF F-16s and 5 RTAF F-16s.
A ‘35’ formation was formed by RSAF and RTAF personnel. Thank you for 35 years of close defence ties!
The F-16s in formation!
Thank you for 35 years of close defence ties!
We’re in Korat Air Base, Thailand for the 35th RSAF - RTAF Anniversary Combined Exercise (ACE)!
A flypast comprising three RSAF F-16D+ fighters and five Royal Thai Air Force (RTAF) F-16A/B fighters was held this morning to commemorate 35 years of close and long-standing relations between both Air Forces.
Chief of Air Force, BG Kelvin Khong, and RTAF Commander-in-Chief, ACM Chaiyapruk Didyasarin, were present to witness the occasion.
Thank you for your warm hospitality and we look forward to many more years of close defence ties!
https://www.facebook.com/TheRSAF/posts/2087717794670067
งานฉลองวาระครบรอบ ๓๕ ปี ของการฝึกผสม กองทัพอากาศไทย - กองทัพอากาศสิงคโปร์
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยคณะฯ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ฉลองวาระครบรอบ ๓๕ ปี ของการฝึกผสม กองทัพอากาศไทย - กองทัพอากาศสิงคโปร์ (35th Anniversary of Combined Exercise-ACE) เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๒
โดยมี นาวาอากาศเอก นเรศ เยี่ยมสถาน รองผู้บังคับการกองบิน ๑ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก พิชญาณ อะสีติรัตน์ รองผู้บังคับการกองบิน ๑, นาวาอากาศเอก จักรพันธ์ สุขแสงดาว เสนาธิการกองบิน ๑
นำข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และทหารกองประจำการกองบิน ๑ ให้การต้อนรับ ณ ลานจอดหน้าหอบังคับการบิน กองบิน ๑ ...
ผู้เขียนใคร่ขอจะประกาศให้ท่านผู้อ่านที่เคารพซึ่งได้ติดตามกันมาตลอดตั้งแต่สมัย exteen ให้ทราบว่า ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมานี้ผู้เขียนได้ถูกตำหนิ และโดนแจ้งรายงานมาหลายครั้งว่า Blog แห่งนี้ไม่มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง
(เป็นที่น่าสังเกตุว่า Blog นี้ของผู้เขียนจะถูกแจ้งรายงานโดยเฉพาะเมื่อมีการลงบทความที่เกี่ยวข้องกับกองทัพไทย หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนในภาคอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทย น่าเชื่อว่าจะเป็นการกระทำของกลุ่มที่มีอิทธิพลในสื่อสังคม Online)
จากนี้ไปในบทความชุด "ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย" จะไม่ลงข่าวหรือข้อมูลที่ไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนแน่ชัดจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และจะตัดลดส่วนที่เป็นการวิเคราะห์ส่วนบุคคลออกไป ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างไม่พอใจให้แก่ท่านครับ
Airbus Helicopters EC725(H225M) 203 Squadron, Wing2, Royal Thai Air Force in Search and Rescue Exercise SAREX 2019(https://www.facebook.com/public/Thanawat-Thanawat)
Airbus Helicopters and Thai Aviation Industries extend aftersales helicopter support for military and governmental fleets
https://aagth1.blogspot.com/2019/06/airbus-helicopters-tai.html
บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปและบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ประเทศไทย ได้ลงนามข้อตกลงที่จะขยายการสนับสนุนหลังการขายสำหรับลูกค้าอากาศยานปีกหมุนของ Airbus Helicopters
ทั้งกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย และกองบินตำรวจไทย โดยปัจจุบันกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยได้มีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Airbus Helicopters เข้าประจำการแล้วเป็นจำนวนกว่า ๕๐เครื่องครับ
The 35th ACE was commemorated with a flypast comprising 3 RSAF F-16s and 5 RTAF F-16s.
A ‘35’ formation was formed by RSAF and RTAF personnel. Thank you for 35 years of close defence ties!
The F-16s in formation!
Thank you for 35 years of close defence ties!
We’re in Korat Air Base, Thailand for the 35th RSAF - RTAF Anniversary Combined Exercise (ACE)!
A flypast comprising three RSAF F-16D+ fighters and five Royal Thai Air Force (RTAF) F-16A/B fighters was held this morning to commemorate 35 years of close and long-standing relations between both Air Forces.
Chief of Air Force, BG Kelvin Khong, and RTAF Commander-in-Chief, ACM Chaiyapruk Didyasarin, were present to witness the occasion.
Thank you for your warm hospitality and we look forward to many more years of close defence ties!
https://www.facebook.com/TheRSAF/posts/2087717794670067
งานฉลองวาระครบรอบ ๓๕ ปี ของการฝึกผสม กองทัพอากาศไทย - กองทัพอากาศสิงคโปร์
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยคณะฯ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ฉลองวาระครบรอบ ๓๕ ปี ของการฝึกผสม กองทัพอากาศไทย - กองทัพอากาศสิงคโปร์ (35th Anniversary of Combined Exercise-ACE) เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๒
โดยมี นาวาอากาศเอก นเรศ เยี่ยมสถาน รองผู้บังคับการกองบิน ๑ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก พิชญาณ อะสีติรัตน์ รองผู้บังคับการกองบิน ๑, นาวาอากาศเอก จักรพันธ์ สุขแสงดาว เสนาธิการกองบิน ๑
นำข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และทหารกองประจำการกองบิน ๑ ให้การต้อนรับ ณ ลานจอดหน้าหอบังคับการบิน กองบิน ๑ ...
ผู้เขียนใคร่ขอจะประกาศให้ท่านผู้อ่านที่เคารพซึ่งได้ติดตามกันมาตลอดตั้งแต่สมัย exteen ให้ทราบว่า ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมานี้ผู้เขียนได้ถูกตำหนิ และโดนแจ้งรายงานมาหลายครั้งว่า Blog แห่งนี้ไม่มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง
(เป็นที่น่าสังเกตุว่า Blog นี้ของผู้เขียนจะถูกแจ้งรายงานโดยเฉพาะเมื่อมีการลงบทความที่เกี่ยวข้องกับกองทัพไทย หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนในภาคอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทย น่าเชื่อว่าจะเป็นการกระทำของกลุ่มที่มีอิทธิพลในสื่อสังคม Online)
จากนี้ไปในบทความชุด "ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย" จะไม่ลงข่าวหรือข้อมูลที่ไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนแน่ชัดจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และจะตัดลดส่วนที่เป็นการวิเคราะห์ส่วนบุคคลออกไป ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างไม่พอใจให้แก่ท่านครับ