วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ยูเครนร่วมกับ DTI ไทยเปิดสายการผลิตยานเกราะที่บังคับการล้อยาง BTR-3KSH

Co-operation with Thailand allows Ukraine to launch command-and-control BTR-3KSH in serial production




https://ukroboronprom.com.ua/uk/media/kooperatsiya-iz-tayilandom-dozvolyaye-ukrayini-zapustyty-u-serijne-vyrobnytstvo-komandno-shtabnyj-btr-3ksh-gendyrektor-ukroboronpromu-pavlo-bukindk-ukroboronprom-vidpravyv-do-tayilandu-pershyj-mashyno.html


Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนได้ชุดประกอบ Kit ของยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-3KSH 8x8 ชุดแรกแก่ไทยสำหรับการประกอบสร้างภายใต้สิทธิบัตรในประเทศไทย Pavlo Bukin ผู้อำนวยการทั่วไปของ Ukroboronprom ยูเครนกล่าว
"เราพิจารณาว่าการส่งออกนี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความร่วมมืออย่างลึกซึ้งของเรากับไทยที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของยูเครนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยูเครนมุ่งมั่นอย่างจริงจังในทิศทางนี้และควรจะใช้พวกมันในผลประโยชน์ของชาติ" Bukin กล่าว

ตามข้อมูลของ Bukin หลายปีก่อนหน้าข้อตกลงกรอบการทำงานได้รับการลงนามกับหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมไทยสำหรับการจัดตั้งสายการผลิตยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 8x8 APC(Armoured Personnel Carrier)
รวมถึงยานเกราะล้อยางตระกูล BTR-3 รุ่นต่างๆที่มีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 เช่นเดียวกับการมอบการให้บริการภายในประเทศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/blog-post_18.html)

"ยานเกราะที่บังคับการ BTR-3KSH ที่มีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง BTR-3 เป็นโครงการร่วมของโรงงานยานเกราะ Kiev(Kiev Armoured Vehicle Plant, KBTZ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Ukroboronprom กับรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนอื่นๆของยูเครน
BTR-3KSH ได้ถูกพัฒนาภายใต้การสั่งจัดหาจากกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ในความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) กระทรวงกลาโหมไทย" ผู้อำนวยการทั่วไป Ukroboronprom ยูเครน ให้ข้อมูล

ตามความเห็นของ Bukin ในสถานะปัจจุบันการขยายการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นเพียงโอกาสหนึ่งในการส่งมอบการพัฒนานวัตกรรมของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆภายใน Ukroboronprom ยูเครน
"ความร่วมมือกับไทยทำให้ยูเครนสามารถจะขยายสายการผลิตของยานเกราะ BTR-3 และเปิดสายการผลิตจำนวนมากของรถรบชั้นนำระดับโลกแบบใหม่ทั้งหมดได้" เขากล่าว

BTR-3KSH เป็นรถรุ่นใหม่ในตระกูลยานเกราะล้อยาง BTR-3 ที่ติดตั้งระบบบัญชาการและควบคุมการรบอัตโนมัติที่ผสมผสนามการส่งข้อมูลด้วยการสื่อสาร Digital ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งหน่วยถึงระดับกองพล, เป้าหมาย และความเสียหายจากการยิง
ระบบบริหารจัดการสนามรบ(BMS: Battle Management System) จะแสดงผลภาพที่สอดคล้องกันของ Computer ทางยุทธวิธี และให้ผู้ใช้งานจะส่งภารกิจการรบและควบคุมการปฏิบัติการแก่หน่วยดำเนินกลยุทธได้อย่างรวดเร็ว

BTR-3KSH ติดตั้งระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) กับตัวรถซึ่งทำให้สามารถรับข้อมูลคัดกรองได้อย่างอิสระ ปัจจุบัน UAV แบบ "Rama" จากสำนักออกแบบอากาศยานทั่วไปแห่งยูเครน(General Aviation Design Bureau of Ukraine) ได้ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของรถ
และมีความเป็นได้ที่จะบูรณาการระบบไร้คนขับแบบใดๆและป้อมปืนขนาดเบาเข้ากับยานเกราะที่บังคับการนี้ คุณสมบัติของ BTR-3KSH ตัวรถสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 100km/h บนถนน และมีขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ลอยตัวในน้ำ

โรงงานยานเกราะ Kiev ได้พร้อมเริ่มต้นชุดการทดสอบยานเกราะที่บังคับการ BTR-3KSH โดยร่วมกับกองทัพยูเครนตามคำสั่งเพื่อเริ่มต้นเปิดสายการผลิตจำนวยมากสำหรับการเข้าประจำการในกองทัพบกยูเครน(Ukrainian Army)
ในปี 2017 โรงงานยานเกราะ Kiev ได้รับสัญญาสร้างยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3DA รุ่นปรับปรุงใหม่จำนวน 20คันสำหรับกองกำลังความมั่นคงยูเครน แต่ขณะนี้ยังไม่มีการส่งมอบเนื่องจากกระทรวงกลาโหมยูเครนปฏิเสธที่จะเห็นชอบกับต้นทุนค่าวัสดุที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น

สัญญาที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลยูเครนได้มีการสรุปราคาในเดือนเมษายน 2017 ระหว่างปี 2018 ราคาสิ่งอุปกรร์ประกอบ, พลังงานและอื่นๆได้ขยายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากซึ่งส่งผลต่อราคาค่าใช้จ่ายของยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3DA อย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมยูเครนยังไม่ได้แก้ไขปัญหาการอนุญาตให้เปิดสายผลิตยานเกราะจากต่างประเทศ ในการดำเนินการต่อคำถามที่ขัดแย้งกันจากจากกระทรวงกลาโหมยูเครน โรงงานยานเกราะ Kiev ได้ทำการยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อศาลยูเครน

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI ร่วมกับ บริษัท Datagate co.,Ltd. ไทย และบริษัท Thales ยุโรป ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง(MoA: Memorandum of Agreement) ในการปรับปรุงยานเกราะลำเลียงพลของกองทัพบกไทยโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และ Technology แก่ DTI ไทย
ด้วยการบูรณาการระบบ C5I(Computerised, Command, Control, Communications and Combat Information: คอมพิวเตอร์, บัญาการ, ควบคุม, สื่อสาร และข้อมูลการรบ) สำหรับการบัญชาการและควบคุมทางยุทธวิธีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-thales-digital-indra-lanza-3d-radar.html)