วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่สอง และเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ใหม่จากจีน

Navy presses for 2nd Chinese sub
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1721031/navy-presses-for-2nd-chinese-sub


CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html

TERMA has showcased Model of Royal Thai Navy's LPD-791 HTMS Angthong at 3rd Ship Technology for the Next Decade 3-4 March 2016 (My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) จะเดินหน้าผลักดันแผนของตนเพื่อการจัดซื้อโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ระยะที่๒ วงเงินประมาณ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($389.48 million) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวในกองทัพเรือไทย
กองทัพเรือไทยกำลังรอการอนุมัติจากรัฐสภาสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ซึ่งคาดว่าจะถูกส่งเรื่องเพื่อดำเนินการพิจารณาก่อนการจะมีการจัดซื้อขึ้น แหล่งข่าวกล่าว

ภายใต้รัฐบาลชุดก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เห็นชอบในหลักการของกองทัพเรือไทยสำหรับแผนการจัดซื้อเรือดำน้ำแบบ S26T จำนวน ๓ลำจากรัฐบาลจีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดหาวงเงินรวมราว ๓๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1.09 billion)
โครงการดังกล่าวได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีไทยในขณะนั้นเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และต้องใช้งบประมาณผูกพันต่อเนื่องมากกว่า ๑๑ปี(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_25.html)

สิ่งนี้สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติที่ระบุว่าข้อเสนองบประมาณที่จะต้องมีระยะเวลาดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า ๕ปีจะต้องได้รับการอนุมัติจากคุณะรัฐมนตรีภายในเวลา ๖๐วันของปีงบประมาณที่จะเริ่มต้นโครงการ
เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้อนุมัติการจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกจากจีนวงเงินราว ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($410 million)(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html)

วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำกับบริษัท China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีน(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)
การจ่ายวงเงินสำหรับเรือดำน้ำ S26T ลำแรกถูกแบ่งเป็นเจ็ดงวด กองทัพเรือไทยได้จ่ายวงเงินงวดแรก ๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($23 million)ในปี ๒๕๖๐ และอีก ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($65 million) จะถูกแบ่งจ่ายต่อเนื่องในแต่ละปีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๖(2018-2023)

อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำS26T ลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย'(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)
มีการให้ข้อมูลว่าเรือดำน้ำแบบ S26T ของกองทัพเรือไทยที่ลำแรกคาดว่าจะสร้างเสร็จเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) น่าจะมีคุณสมบัติผสมผสานระบบอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และระบบอาวุธจากจีนและตะวันตก(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html)

แผนการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยได้เริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) หลังจากมีความยากลำบากหลายปีเพื่อพยายามขอให้รัฐบาลในขณะนั้นจัดหาเรือดำน้ำชั้น Type 206A จำนวน ๔ลำ+เรืออะไหล่ ๒ลำที่ปลดประจำการจากกองทัพเรือเยอรมนี(German Navy, Deutsche Marine)
โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) กองทัพเรือไทยต้องการจัดหาเรือดำน้ำชั้น Type 206A ๖ลำ วงเงิน ๗,๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($250 million) แต่ไม่รับการอนุมัติจากรัฐบาลในขณะนั้น จนเยอรมนีขายเรือดำน้ำชั้น U206 ๒ลำ(+เรืออะไหล่ ๒ลำ)ให้กองทัพเรือโคลอมเบีย(Colombian Navy) ในปี 2015

กองทัพเรือไม่ได้มีการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการมาเป็นเวลาเกือบ ๗๐ปี หลังจากที่เรือดำน้ำชุดเรือหลวงมัจฉาณุ จำนวน ๔ลำที่สร้างโดยอู่เรือบริษัท Mistubshi ญี่ปุ่นที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๔๘๑(1938) ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๔๙๔(1951)
กองทัพเรือไทยกล่าวว่าตนมีความต้องการเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) เพื่อปกป้องผลประโชน์แห่งชาติทางทะเลโดยจะประจำการทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งการสร้างเรือดำน้ำ S26T มีการติดตามงานที่จีนอย่างต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/s26t.html)

แหล่งข่าวเสริมอีกว่ากองทัพเรือไทยยังมีแผนจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ใหม่ ๑ลำจากจีนวงเงินประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($130 million) เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ลำเดียวของกองทัพเรือไทยในขณะนี้
ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๓) ถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท ST Marine สิงคโปร์ วงเงิน ๔,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($135 million) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) และถูกนำมาใช้ในหลายภารกิจทั้งการฝึกยกพลขึ้นบกและการบรรเทาสาธารณภัย(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/h145m.html)

แหล่งข่าวระบุว่ากองทัพเรือไทยต้องการเรือ LPD ใหม่ลำที่สองเนื่องจากมีราคาถูกกว่า ร.ล.อ่างทอง ไม่มีรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับแบบเรือ LPD ใหม่แต่เข้าใจว่าน่าจะมีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่าหลังการออกพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒(2019) กองทัพเรือไทยจะจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๑๒หน่วยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างเพื่อเตรียมการรองรับขอบเขตของภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น

แหล่งข่าวระบุว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เคยกล่าวว่าถ้าเรือดำน้ำไม่ได้รับการจัดหาในรัฐบาลนี้ กองทัพเรือไทยก็อาจจะไม่มีโอกาสที่จะได้จัดหาเรือดำน้ำอีกเลยต่อไป
ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เริ่มการทำงานที่กระทรวงกลาโหมไทยในตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมไทยในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒(2019) ครับ (ปล.มีการตัดเนื้อหาจากแหล่งที่มาต้นทางที่เป็นประเด็นทางการเมืองออกไป)