วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การฝึกภาคทะเล FTX การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๗










Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier, FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile frigate and FFG-421 HTMS Naresuan guided-missile frigate and two Sikorsky SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter of 2 HTMS Chakri Naruebet Flying Squadron, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD) involved Field Training Exercise (FTX)/Sea phase as part of Naval Exercise Fiscal Year 2024 at Gulf of Thailand on 23 May 2024. (Royal Thai Navy)



เรือหลวงจักรีนฤเบศกับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX)  การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพลตลอดจนขีดความสามารถของยุทธกรเพื่อทำให้พี่น้องประชาชนมั่นใจในการปฎิบัติภารกิจของกองทัพเรือต่อไป

กองการบินทหารเรือ ได้ทำการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร และเรือหลวงภูมิพล พื้นที่ทะเลอ่าวไทยเมื่อ 23 พ.ค.67
โดยนำกำลังพล นักบิน จนท.และอากาศยานสังกัด ฝูงบิน 2 หน่วยบิน ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบที่๑ (ฮ.ปด. 1) จำนวน 2 เครื่อง 
ประกอบไปด้วยการฝึกความคุ้นเคยในการลงจอดบนเรือในเวลากลางวันและกลางคืน DECK LANDING QUALIFICATION (DLQ) , NIGHT DECK LANDING QUALIFICATION (NDLQ) , การชี้เป้าพ้นระยะขอบฟ้า  OVER THE HORIZON TARGETING (OTHT) เป็นต้น
การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) เป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ การฝึกประลองยุทธ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การป้องกันฐานทัพเรือ และควบคุมเรือ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือ-อากาศยาน 
สำหรับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพล ตลอดจนขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ ทำให้เกิดความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชน ในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ เพื่อรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมสังเกตการณ์การฝึกภาคทะเล ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567
วันนี้ 23 พฤษภาคม 2567 พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ณ บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ และผู้บังคับบัญชาในกองอำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 ร่วมสังเกตการณ์
การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 จะแบ่งการฝึกเป็น 2 ส่วน คือ การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) เป็นการฝึกกระบวนการวางแผนทางทหาร การควบคุมบังคับบัญชา และทดสอบแนวความคิดในการใช้กำลังและหลักนิยมต่าง ๆ ของหน่วยบังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการจัดทำคำสั่งยุทธการเพื่อนำไปใช้ในการอำนวยการยุทธ์ และมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง อาทิ 
การป้องกันฐานทัพเรือและการควบคุมเรือ การปฏิบัติการข่าวสาร การส่งกำลังบำรุง การปฏิบัติการสงครามไซเบอร์และการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ส่วนการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) เป็นการฝึกปฏิบัติการจริงของหน่วยกำลังรบประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล รวมทั้งเป็นการทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ อาทิ
การคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล การโจมตีกำลังทางเรือของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งกำลังทางเรือต้องฝึกการปฏิบัติทางยุทธวิธีตามสาขาปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ การปราบเรือดำน้ำ การต่อต้านเรือผิวน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ การปฏิบัติการพิเศษ รวมทั้งปฏิบัติการข่าวสารและสงครามไซเบอร์ 
ซึ่งนอกจากกำลังในส่วน ของกองทัพเรือแล้ว กองทัพอากาศได้ส่งอากาศยานเข้าร่วมในการฝึกการป้องกันภัยทางอากาศและการโจมตีเรือในทะเล 
การฝึกในครั้งนี้ ได้มีการเชิญ ศรชล. กองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในหัวข้อการฝึกต่าง ๆ โดยในการปฏิบัติการจะใช้โครงสร้างจริงของหน่วยทุกระดับของกองทัพเรือ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดในการจัดฝึกที่ว่า “ฝึกฝนให้ชำนาญ เพื่อพร้อมปกป้องอธิปไตยให้น่านน้ำไทย”
นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการฝึกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) โดยในการฝึกครั้งนี้ได้มีการสมมุติสถานการณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนในอ่าวไทยพัดผ่านเกาะพะงัน ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง หน่วยที่รับผิดชอบด้านบรรเทาภัยพิบัติในส่วนของกองทัพเรือ เช่น ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (ICC) ชุดประเมินความเสียหาย (NDAT) ชุดค้นหาและช่วยเหลือ ฯ (USAR) เรือระบายพลขนาดใหญ่ เรือปฏิบัติการพิเศษ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับสูง (MERT) และยุทโธปกรณ์สนับสนุน รวมทั้งกำลังจากส่วนราชการอื่น ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึก
การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ การฝึกประลองยุทธการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การป้องกันฐานทัพเรือและควบคุมเรือ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือ-อากาศยาน ของกองทัพอากาศ
สำหรับการฝึกภาคสนามภาคทะเล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพล ตลอดจนขีดความสามารถยุทโธปกรณ์ ทำให้เกิดความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชน ในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ เพื่อรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศ    
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล(FTX: Field Training Exercise)ของการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) มีการฝึกต่างๆมาอย่างต่อเนื่องตั้งเริ่มต้นเข้าสู่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) จนถึงพิธีเปิดการฝึกเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtn5mar2024.html
โดยการฝึกภาคทะเลในอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) ได้จัดกำลังประกอบด้วยเช่น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk ๒เครื่องจากฝูงบิน๒ หน่วยบินจักรีนฤเบศร กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division)

หนึ่งในการฝึกที่สำคัญการทำการฝึกยิง torpedo เบา Mk46 จาก ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ปด.๑ SH-60B เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ถึงขีดความสามารถของเรือในด้านสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) ซึ่งกองทัพเรือไทยได้ฝึกยิง torpedo เบา Mk46 จาก ฮ.ปด.๑ SH-60B ที่ปฏิบัติการบินร่วมกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ไปแล้วในการฝึกปีก่อนหน้า
การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๗ นี้ เรือฟริเกต ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ยังมีกำหนดที่จะทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile(ESSM) เป็นครั้งแรกด้วย หลังจากที่เคยทำการฝึกยิง ESSM จาก ร.ล.นเรศวรในการฝึกผสม CARAT 2015 ปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) มาแล้ว ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ขีดความสามารถการสงครามต่อต้านทางอากาศ(AAW: Anti-Air Warfare) ของเรือครับ