วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

ญี่ปุ่นทำพิธีประจำการเรือพิฆาตชั้น Maya ลำแรก DDG-179 Maya

Japan commissions first Maya-class guided-missile destroyer





The JMSDF commissioned JS Maya, the first of two Improved Atago-class destroyers, on 19 March in Yokohama, Kanagawa Prefecture. Source: Kosuke Takahashi
https://www.janes.com/article/94978/japan-commissions-first-maya-class-guided-missile-destroyer




กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Maya(เรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Atago รุ่นปรับปรุง) ลำแรกจากทั้งหมด 2ลำ
คือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-179 JS Maya ในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020 ณ เมือง Yokohama จังหวัด Kanagawa ญี่ปุ่น

เรือพิฆาต DDG-179 Maya ความยาวเรือ 170m ได้ถูกนำเข้าประจำการใน หมวดเรือคุ้มกันที่1 กองเรือคุ้มกันที่1 กองเรือคุ้มกันภาคที่1 ณ ฐานทัพเรือ Yokosuka อย่างรวดเร็ว
หลังจากที่ได้รับมอบเรือจากผู้สร้างเรือบริษัท Japan Marine United(JMU) Corporation โฆษกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นกล่าวกับ Jane's

เรือพิฆาต Maya ซึ่งขณะนี้เป็นเรือพิฆาตลำที่7 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis ถูกวางกระดูกงูเรือในเดือนเมษายน 2017 และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อกรกฎาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/ddg-179-maya.html)
เรือพิฆาตชั้น Maya ลำที่สองคือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-180 JS Haguro ถูกทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/maya-ddg-180-haguro.html) และคาดว่าจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2021

เรือพิฆาต Maya ที่มีราคาการสร้างที่ราว 172 billion Yen($1.61 billion) มีความยาวมากกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago สองลำคือ DDG-177 Atago และ DDG-178 Ashigara ที่เข้าประจำการแล้วอยู่ 5m
เรือติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis Baseline J7 ที่สนับสนุน phased array radar แบบ Lockheed Martin/Raytheon AN/SPY-1D(V) และ Radar ควบคุมการยิงความละเอียดสูงแบบ Northrop Grumman AN/SPQ-9B ย่านความถี่ X-band (NATO กำหนดย่านความถี่ I-band) ความถี่ 8-12.5GHz

เรือพิฆาต Maya ติดตั้งระบบขีดความสามารถร่วมมือโจมตี(CEC: Cooperative Engagement Capability) ที่พัฒนาโดยสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เรือพิฆาตทำตนเป็นส่วนหนึ่งของ 'ตาข่าย' อันกว้างของระบบตรวจจับและอาวุธ ที่ทำให้เรือและอากาศยานทางทหาร เช่น
เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-2D Advanced Hawkeye(AEW&C: Airborne Early Warning & Control) ที่ติดตั้งระบบ CEC สามารถแบ่งปันข้อมูลการตรวจการณ์และเป้าหมายระหว่างกันได้ ด้วยขีดความสามารถนี้เรือจะสามารถต่อต้านภัยคุกคามเช่นขีปนาวุธของเกาหลีเหนือได้ดีขึ้น

เรือพิฆาตชั้น Maya ทั้งสองลำจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SM-3 Block IIA (Standard Missile 3) ที่ออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยใกล้(SRBM: Short-Range Ballistic Missile) และขีปนาวุธพิสัยปานกลาง(IRBM: Intermediate-Range Ballistic Missile)
เรือพิฆาตชั้น Maya ยังคาดว่าจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศ Standard Missile 6 (SM-6) ในอนาคตอันใกล้ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/sm-6-maya.html)