วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๓-๒




Royal Thai Army's new 3 Sikorsky UH-60A Black Hawk (Refurbished) utillity helicopters was spotted at port and during transport on road in Thailand in February 2020.
(https://www.facebook.com/groups/515670701816435/permalink/2948556201861194/, https://www.facebook.com/groups/modelerthailand/permalink/2962636610442720/, https://www.facebook.com/thaiarmypilot/posts/479714656028086)

Royal Thai Army's Sikorsky UH-60M Black Hawk at Army Aviation Center in Children's Day 2020, 11 January 2020. (unknow photo source)

Royal Thai Army's Mil Mi-17V5 helicopter 41st Aviation Battalion (foreground) and Sikorsky UH-60L 9th Aviation Battalion (background), Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army. (Phist.se@gmail.com)

ตามที่กองทัพบกไทยมีโครงการแลกเปลี่ยนซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook จำนวน ๖เครื่อง พร้อมชิ้นส่วนซ่อม, เครื่องมือซ่อมบำรุง กับบริภัณฑ์ภาคพื้น ที่เคยประจำการในกองบินสนับสนุนทั่วไป(ปัจจุบันคือ กองพันบินที่๔๑) ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย
กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60A Black Hawk(Refurbished) จำนวน ๓เครื่อง ที่ได้รับการปรับปรุงระบบเครื่องวัดที่มีการติดตั้งตามมาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) นั้น
ล่าสุดได้มีการพบภาพในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ว่า ฮ.ท.๖๐ UH-60A ทั้ง ๓เครื่องได้ถูกขนส่งมาถึงไทยจากท่าเรือและเคลื่อนย้ายโดยรถยนตร์บรรทุกพ่วงชานต่ำในเวลากลางคืน เข้าใจว่าน่าจะมีการตรวจรับภายใน ศบบ.

ปัจจุบัน กองพันบินที่๙ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก มี ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60L จำนวน ๙เครื่อง และ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60M จำนวน ๓เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องสร้างใหม่จากโรงงานรวม ๑๒เครื่อง เมื่อรวมกับ UH-60A ที่จัดหามาใหม่จะทำให้จำนวนเพิ่มเป็น ๑๕เครื่อง
แม้ว่า UH-60A (Refurbished) ที่ได้รับมอบมาใหม่ ๓เครื่องจะเป็นเครื่องที่ผ่านการใช้งานในกองทัพสหรัฐฯมาก่อน แต่ก็ได้รับการคืนสภาพใหม่ให้มีความทันสมัยและใช้งานต่อไปได้อีกนานหลายปีพอสมควร นับว่าคุ้มค่าเพื่อเพิ่มจำนวนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางยุทธวิธีสำหรับ ศบบ.
ทั้งนี้ กองพันบินที่๔๑ กรม บ. ศบบ.มี เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 ๗เครื่อง และกำลังจัดหาเพิ่มอีก ๑เครื่องรวม ๘เครื่อง โดยมีความต้องการจัดหารวม ๑๒เครื่องเพื่อทดแทน ฮ.ล.๔๗ CH-47D แม้ว่าสมรรถนะการบรรทุกจะไม่เท่ากันก็ตามครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/blog-post_12.html)


Airbus Helicopters has secured a six-unit order for the H135 trainers from the Royal Thai Air Force (RTAF).(https://www.airbus.com/newsroom/events/singapore-airshow-2020.html)
https://aagth1.blogspot.com/2020/02/h135.html

การลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึก Airbus Helicopters H135 จำนวน ๖เครื่อง ที่กองทัพอากาศไทยจะนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ซึ่งฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ มีเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ประจำการอยู่แล้ว ๑๒เครื่อง
H135 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาสองเครื่องยนต์ที่มีความทันสมัยโดยติดตั้งชุดระบบ Avionic แบบ Helionix ที่เพิ่มความปลอดภัยในการฝึกบิน, ระบบแผนที่เคลื่อนที่ Euronav7 และกล้องตรวจการณ์ภายนอกสองระบบแบบ 360degree เพื่อเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์
รวมการให้บริการซ่อมบำรุงระบบ HCare Smart ทำให้การจัดหา ฮ.ฝ.H135 ทั้ง ๖เครื่องวงเงิน ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท($43,353,707) มีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง นับแต่ที่กองทัพอากาศไทยไม่มี ฮ.ฝึกโดยตรงตั้งปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๘ Bell 206B Jet Ranger ในราวปี พ.ศ.๒๕๕๑(2006) ครับ








Royal Thai Air Force's F-5E single-seat serial 21137 and F-5F two-seat 21105, 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani upgraded to F-5TH Super Tigris
and Domestic RTAF U1-M Tactical UAS (Unmanned Aerial System), 404th Squadron, Wing 4 Takhli with two Thales's Freefall Lightweight Multirole Missiles (FFLMM) underwings at Singapore Airshow 2020, 11-16 February 2020
https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html


กองทัพอากาศเข้าร่วมงาน Singapore Airshow 2020 ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ณ Singapore Changi Exhibition Center สาธารณรัฐสิงคโปร์
เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมพิธีเปิดและเยี่ยมชมงาน Singapore Airshow 2020 ณ Singapore Changi Exhibition Center สาธารณรัฐสิงคโปร์

สำหรับการเข้าร่วมงาน Singapore Airshow 2020 ของกองทัพอากาศในครั้งนี้ กองทัพอากาศได้นำเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค หรือเครื่องบินแบบ F-5TH และอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 มาร่วมตั้งแสดงภาคพื้น (Static Aircraft Display) 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกการเคลื่อนย้ายกำลังของกองทัพอากาศออกนอกประเทศ รวมถึงเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ และเพื่อให้กำลังพลของกองทัพอากาศได้รับรู้ขีดความสามารถการพัฒนาด้านการบินและเทคโนโลยีที่เข้าร่วมแสดง

โดยกองทัพอากาศได้จัดกำลังพล และอากาศยานเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย กำลังพล จำนวน ๔๘ นาย โดยมี นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ เสสะเวช ผู้อำนวยการกองมาตรฐานยุทโธปกรณ์และพัฒนาการรบ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นหัวหน้าคณะ 
และอากาศยานพร้อมยุทโธปกรณ์ ได้แก่ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค หรือเครื่องบินแบบ F-5TH จากฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ จำนวน ๒ เครื่อง และ อากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 จากฝูงบิน ๔๐๔ กองบิน ๔ จำนวน ๑ เครื่อง รวมอากาศยานทั้งสิ้น ๓ เครื่อง เข้าร่วมจัดแสดง 
ส่วนทางด้านของกองทัพอากาศสิงค์โปร์ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดอากาศยานแบบต่าง ๆ เข้าร่วมจัดแสดงมากมาย อาทิเช่น F-16C/D, F-15SG

สำหรับงาน Singapore Airshow 2020 จัดว่าเป็นงานแสดงด้านอากาศยานและยุทธปัจจัยด้านกลาโหมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งมีการแสดงอากาศยาน (Static Aircraft Display) และการแสดงการบิน (Aerobatic Flying Display) 
โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ณ Singapore Changi Exhibition Center สาธารณรัฐสิงคโปร์
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/3157021900994045

นับเป็นเรื่องน่าสนใจมากที่งานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2020 ที่สิงคโปร์ เป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข F-5E หมายเลข 21137 และ บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21105 ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ ที่ได้รับการปรับปรุงมาตรฐาน F-5TH Super Tigris
และอากาศยานไร้คนขับ RTAF U1-M ซึ่งเป็นรุ่นติดอาวุธของระบบอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลาง RTAF U1 มาจัดแสดงในต่างประเทศครั้งแรก แสดงถึงความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)
งานแสดง Singapore Airshow ที่จัดขึ้นทุกสองปีในครั้งก่อนหน้านั้นกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ มาจัดแสดงในงาน แม้ว่างานปีนี้สิงคโปร์จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของ coronavirus COVID-19 ก็ตามครับ


Clip: RTAF Symposium 2020 สร้างความเข้าใจ แนวทางการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและให้ความร่วมมือ ทั้งจากเหล่าทัพ ภาครัฐ ภาคเอกชน
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/259044101773743/

Clip: การประชุมสัมมนาทางวิชาการกองทัพอากาศ ประจำปี 2563 เพื่อขับเคลื่อนกองทัพอากาศให้เป็นแหล่งรวมปัญญา และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ วิจัย พัฒนา สร้างองค์ความรู้โดยคนไทย อย่างยั่งยืน Let's move forward to the future.
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/2713360582050852/

นอกจากการเผยแพร่สมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) การประชุมสัมมนาทางวิชาการกองทัพอากาศไทย RTAF Symposium 2020 ยังได้เปิดเผยความคืบหน้าของหลายโครงการการพัฒนากำลังอากาศยานเช่น
การบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T กับเครื่องบินขับไล่ F-5TH แล้วยังรวมถึงแผนการบูรณาการกับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่จะมีความร่วมมือกับบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
ความคืบหน้าในการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี จำนวน ๑๔เครื่องที่เปิดเผยภาพเครื่องต้นแบบในโรงงานและห้องนักบินที่ได้รับการปรับปรุงเป็น Glass Cockpit ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมตามมาภายหลังครับ


Thailand’s Bangkok Dock and Defence Technology Institute (DTI) have teamed up to offer the Philippines a 90 m offshore patrol vessel (OPV), with a design similar to the Royal Thai Navy’s HTMS Krabi.
https://aagth1.blogspot.com/2020/02/bangkok-dock-dti-opv.html

ความร่วมมือระหว่างบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock) และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) ในการเสนอเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ แก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) นั้นถูกนักวิเคราะห์บางกลุ่มที่ไม่หวังดีนักมองว่า
แบบเรือ 90m OPV ที่ไทยซื้อสิทธิบัตรจาก BAE Systems สหราชอาณาจักร ไม่น่าจะมีโอกาสในฟิลิปปินส์ที่ไทยจะต่อเรือ 6ลำส่งออกให้ได้ เช่นเดียวกับกองทัพเรือศรีลังกา(Sri Lanka Navy) ที่เป็นเพียงการดูงานเท่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bangkok-dock-opv.html)
เพราะโครงการสร้างเรือ ตกก.ทั้ง ๒ลำของกองทัพเรือไทยคือ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/blog-post_28.html) มีความล่าช้าจากปัญหาเรื่องความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกในอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชฯ ซึ่งเป็นการดูแคลนมองแต่ปัญหาครับ




NORINCO VT4 Main Battle Tanks of 6th Cavalry Battalion, 6th Carvalry Regiment, 3rd Carvalry Division, Royal Thai Army(https://www.facebook.com/Cavalry1006/)

Royal Thai Army Ordnance Department's request approval document for fourth batch of 10 VT4 MBT include Tank Simulator, 20 December 2019

เอกสารของกรมสรรพาวุธทหารบกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๔ จำนวน ๑๐คัน และเครื่องช่วยฝึก Simulator จำนวน ๑ระบบ วงเงิน ๑,๖๖๒,๓๗๕,๐๐๐บาท($53,625,000)
แบ่งเป็นรถถังหลัก VT4 คันละ ๑๕๒,๔๗๓,๕๐๐บาท($4,918,500) รวม ๑๐คัน ๑,๕๒๔,๗๓๕,๐๐๐บาท($49,185,000) และเครื่องช่วยฝึก Simulator ๑ระบบ ๑๓,๖๔๐,๐๐๐บาท($4,440,000) เมื่อรวมกับการจัดหาสามระยะที่ผ่านจะรวมเป็นทั้งสิ้น ๖๒คัน
โดยกองทัพบกไทยได้จัด ถ.หลัก VT4 ระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน ในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016), ระยะที่๒ จำนวน ๑๐ คัน พร้อมรถซ่อมบำรุง ๑คัน ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) และระยะที่๓ จำนวน ๑๔คัน ในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html)







Platoon of 112nd Infantry Regiment, 11th Infantry Division, Royal Thai Army's Stryker RTA ICV 8x8 (Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) with M2 Flex .50cal heavy machine gun and STK 40 automatic grenade launcher
joint Platoon of Stryker 8x8, Alpha Company, 2nd Battalion, 1st Infantry Regiment, 2nd Stryker Brigade Combat Team (2nd SBCT), 2nd Infantry Division, US Army during exercise Hanuman Guardian 2020 in 24 February-6 March 2020.


“เริ่มแล้ว Hanuman Guardian 20-1B รหัสการฝึกผสมของหน่วยยานเกราะ Stryker”
พ.อ.ณัฏฐพงศ์ อัศวินวงศ์ ผบ.ร.112 และ CPT Brian Walter ผบ.ร้อย.Alpha จาก 2-1 SBCT, Fort Lewis รัฐ Washington เป็นประธานร่วมเปิดการฝึกผสมรหัส HG 20-1B ของหน่วยระดับหมวดยานเกราะ Stryker ณ ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า พล.ร.11
สำหรับการฝึกผสมฯ HG 20-1B เป็นการฝึกผสมครั้งแรกของหน่วย Stryker ไทย ซึ่ง ทบ.สหรัฐฯ และ ทบ.ไทย จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์เข้าร่วมการฝึกฯ ฝ่ายละ 1 หมวด โดยจะทำการฝึกในที่ตั้งและนอกที่ตั้งในพื้นที่ จว.ฉะเชิงเทรา และพื้นที่ใกล้เคียง ในห้วง 24 ก.พ.-6 มี.ค.63 นี้
ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลและหน่วย Stryker ทบ.ไทย และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพและกองทัพ บุคคลและบุคคลของทั้ง 2 ชาติ

การฝึกผสมกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ Hanuman Guardian 2020 ระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์-๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นครั้งแรกที่กองทัพบกไทยส่งหมวดยานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV 8x8 จาก กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑
เข้าร่วมการฝึกกับหมวดยานเกราะ Stryker กองร้อย Alpha กองพันที่2 กรมทหารราบที่1 กองพลน้อยชุดรบ Stryker ที่2 กองพลทหารราบที่2 กองทัพบกสหรัฐฯ เป็นการฝึกต่อเนื่องหลังจากที่ไทยได้รับมอบรถในปี 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/vn1-stryker-rta-icv.html
และจะเห็นว่าทหารราบกองทัพบกไทยใช้ปืนเล็กยาวจู่โจม FN SCAR-L CQC(Close Quarters Combat) ขนาด 5.56x45mm(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/fn-scar-stryker.html) ฝึกกับทหารราบกองทัพบกสหรัฐฯที่ใช้ปืนเล็กสั้น M4 ด้วยครับ






Lockheed Martin F-35B Lightning II of Marine Fighter Attack Squadron 121 (VMFA-121) 'Green Knights' from LHA-6 USS America involve Amphibious Exercise during Cobra Gold 2020 at Hat Yao Beach, Sattahip, Chonburi, Thailand in 28 February 2020.
https://www.facebook.com/CobraGoldExercises/posts/178344266945039









Sikorsky CH-53E Super Stallion US Marine Corps (USMC) conduct Deck Landing Qualification (DLQ) for first time on Royal Thai Navy's Landing Platform Dock LPD-791 HTMS Angthong.

การฝึกร่วมผสมการปฏิบัติการสะเทินสะเทินบก ภายใต้รหัสการฝึก Cobra Gold 2020
ในวันนี้ 27 ก.พ.63 เป็นการฝึกเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ที่หมาย(Ship to Objective) โดย ร.ล.อ่างทอง ทำหน้าที่ เป็นเรือควบคุมหลัก 
เเละลำเลียงกำลังพลขึ้นอากาศยานลำเลียงประเภท CH-53 Super Stallion ทำการฝึกลำเลียงกำลังรบยกพลขึ้นบก ซึ่งใช้จากกำลังทหารนาวิกโยธิน ในการปฏิบัติการ
ทั้งนี้ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือของราชนาวีไทย กับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่ของนาวิกโยธินสหรัฐ ถือเป็นการปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานประเภทนี้ เป็นครั้งเเรก และเป็นอากาศยานลำเลียงขนาดใหญ่ที่สุดที่ได้ทดสอบการขึ้นลงบน ร.ล.อ่างทอง
แสดงถึงขีดความสามารถของยุทธโธปกรณ์ของราชนาวีไทยที่เป็นสากล ที่สามารถตอบสนองการปฏิบัติการร่วมกับต่างชาติ รวมทั้ง ความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการปฏิบัติการทางเรือ เพื่อพัฒนานำไปใช้ปฏิบัติงานร่วมกับนานาชาติต่อไป
Clip: https://www.facebook.com/RTNBYSpokesperson/videos/532095860748936/

นอกจากการฝึก Hanuman Guardian 2020 แล้ว ในห้วงเวลาใกล้เคียงกันยังมีการฝึกผสม Cobra Gold 2020 ระหว่างกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทย กับกองทัพสหรัฐฯ และสิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งในส่วนกองทัพเรือสหรัฐฯนั้นเป็นปีแรกที่ส่งเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHA-6 USS America และนาวิกโยธินสหรัฐฯส่งเครื่องบินขับไล่ F-35B Lightning II ฝูงบิน VMFA-121 และนำเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53E ลงจอดบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทองเป็นครั้งแรก
รวมถึงกองทัพเรือไทยได้เปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๓ ที่เป็นห้วงการฝึกภายในประจำทุกปีด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/lha-6-uss-america-cobra-gold-2020.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_26.html)