The ‘Elang Hitam’ will have an endurance of 30h, and be capable of carrying weapons. Source: Indonesian Aerospace
https://www.flightglobal.com/indonesia-rolls-out-indigenous-male-uav/135989.article
Indonesian Aerospace(PTDI: PT Dirgantara Indonesia) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซียได้เปิดตัวต้นแบบเครื่องแรกของอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle)
ที่เห็นได้ว่าเป็นอีกภารกิจการพัฒนาภายในประเทศจำนวนมากของอินโดนีเซีย โดยอากาศยานไร้คนขับ MALE UAV ต้นแบบได้มีพิธีเปิดตัวเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2019 ณ โรงงานอากาศยานของ PTDI อินโดนีเซียใน Bandung
อากาศยานไร้คนขับ Elang Hitam(Black Eagle 'อินทรีดำ' ในภาษาอินโดนีเซีย) มีรูปแบบเป็นอากาศยานตามแบบด้วยแพนหางแนวตั้งรูปตัว V, ใบพัดขับเคลื่อนด้านท้าย, อัตราส่วนขนาดปีกกว้างกว่าโครงสร้างลำตัวสูง และฐานล้อลงจอดแบบสามล้อ
Elang Hitam MALE UAV มีปีกกว้าง 16m และลำตัวยาว 8.65m สามารถบรรทุกได้หนัก 300kg และสามารถลงจอดบนทางวิ่งความยาว 700m หรือบินขึ้นจากทางวิ่งความยาว 500m ได้ มีระบบเวลาปฏิบัติการนานสุดที่ 30ชั่วโมง และมีความเร็วเดินทางที่ 127knots
Elang Hitam MALE UAV เครื่องต้นแบบสองเครื่องจะถูกสร้างและใช้ในการทดสอบสำหรับทั้งการบินและโครงสร้าง PTDI หวังที่จะบรรลุการได้รับการรับรองแบบจากศูนย์การอนุมัติสิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในปี 2021
และได้รับการรับรองแบบทางทหารในปี 2023 ซึ่งจะรวมถึงระบบอาวุธ สื่ออินโดนีเซียรายงานอ้างคำพูดของ Elfien Goentoro ประธาน PTDI อินโดนีเซียที่กล่าวว่าการบินครั้งแรกของ Elang Hitam UAV มีแผนจะมีขึ้นในปี 2020
สื่อรายงานว่าระบบตรวจจับที่ Elang Hitam MALE UAV ติดตั้งจะรวมถึง Synthetic Aperture Radar สำหรับสร้างภาพแผนที่ภูมิประเทศ แต่เครื่องต้นแบบเครื่องแรกนี้ดูเหมือนจะไม่มีระบบตรวจจับ เช่น แท่นติดกล้องตรวจการณ์ Electro-Optical/Infrared(EO/IR)
Elang Hitam UAV ติดตั้งระบบขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ของ Rotax ออสเตรีย โดยเครื่องสามารถที่จะควบคุมจากระยะไกลผ่านดาวเทียมได้ PTDI เสริมว่าระบบควบคุมการบินมีแหล่งที่มาเป็นของยุโรปคือจากสเปน
เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียรายหนึ่งได้ถูกอ้างคำกล่าวว่ารัฐบาลอินโดนีเซียมีความต้องการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ UAV ของตนเอง เพื่อสร้างฐานวิทยาการ และผู้จัดส่ง UAV จากต่างประเทศนั้น "ไม่ยอมมอบวิทยาการหลักที่สำคัญต่างๆแบบให้เปล่า"
PTDI อินโดนีเซียได้ทำงานโครงการตั้งแต่ปี 2015 หลักการศึกษาอย่างกว้างขวาง จึงได้เริ่มดำเนินงานการผลิตต้นแบบสองเครื่องใน 2019 รวมถึงการทำเครื่องมือและการผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสมในเครื่องอบแรงดัน autoclave
ภารกิจที่มองไว้สำหรับ Elang Hitam MALE UAV รวมถึงการตรวจการณ์เพื่อต่อต้านปัญหาอย่าง การก่อการร้าย, การลักลอบเข้าเมืองและลำเลียงสิ่งผิดกฎหมาย, โจรสลัด, ไฟป่า เช่นเดียวกับการลักลอบตัดไม้และการประมงแบบผิดกฎหมาย
ปัจจุบันกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ได้มีการจัดหาอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ Wing Loong I จำนวน 4ระบบจากจีนมาก่อนแล้ว
รวมถึง PTDI อินโดนีเซียได้มีความร่วมมือกับ Turkish Aerospace ตุรกีในการสนับสนุนการถ่ายทอดวิทยาการอากาศยานไร้คนขับ Anka ตุรกี ในการพัฒนาร่วมและผลิตภายในอินโดนีเซียครับ
(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/wing-loong-i-uav-4.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/anka-uav.html)