วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๒


Royal Thai Army's Norinco VT4 Main Battle Tank and VN1 8x8 wheeled armored vehicle with UW4B Remote-Controlled Weapon Station (RCWS) has delivered from China to Thailand, 3 December 2019.
https://aagth1.blogspot.com/2019/12/vn1-stryker-rta-icv.html


Thailand receives VN1 and VT4s from China
https://www.janes.com/article/93045/thailand-receives-vn1-and-vt4s-from-china

VN1 เป็นยานเกราะล้อยาง 8 X 8 ขับเคลื่อนทุกล้อ ระบบพยุงตัวรถเป็นแบบอิสระ เพลาขับมีอุปกรณ์ล็อคเฟืองท้าย ช่วยให้รถมีสมรรถนะยอดเยี่ยมในการใช้งานในภูมิประเทศ 
ตัวรถและป้อมปืนทำจากแผ่นเกราะที่มีความแข็งสูง และเสริมด้วยเกราะคอมโพสิต ทำให้เกิดการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ใช้ยางรันแฟล็ต ทำให้ปฏิบัติการต่อไปได้ แม้ยางจะไม่มีลม มีระบบปรับอากาศในตัวรถ เพิ่มความสบายให้กับกำลังพลและพลประจำรถ(11+2) 
ระบบอาวุธที่ติดตั้งใช้งานบนป้อมปืน แบบควบคุมจากภายในป้อมปืน ประกอบด้วยปืนใหญ่อัตโนมัติ ขนาด 30 มม., ปืนกลร่วมแกน ขนาด 7.62 มม., อาวุธต่อสู้รถถัง Red Arrow 73D, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด 40 มม. และเครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด 76 มม....
ทั้งหมดนี้คือจุดเด่นของ VN1 เขี้ยวเล็บตัวใหม่ของกองทัพบกไทย..
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/2036212119815222


11th Infantry Division, Royal Thai Army's Stryker RTA ICV 8x8 (Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) with M2 Flex .50cal heavy machine gun and STK 40 AGL(Automatic Grenade Launcher) 40mm at the Calvary Center, Saraburi province, December 2019
https://www.facebook.com/media/set/?set=p.2791772310846134

Clip: กองพลทหารราบที่ 11 ดำเนินการฝึกยานลำเลียงพลทหารราบ เอ็ม 1126 สไตรเกอร์ (M1126 Stryker ICV) เพื่อภารกิจการลำเลียงทหารราบเข้าสู่พื้นที่การรบ ห้วง 12 พ.ย.-19 ธ.ค. 62 ณ สนามยิงปืนใหญ่รถถัง ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี
https://www.facebook.com/armyprcenter/posts/2632189693513393

ช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) กองทัพบกไทยได้รับมอบยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ชุดแรกในโครงการจัดหาระยะที่๑ วงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) แบ่งเป็นยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 8x8 APC(Armored Personal Carrier) ๓๔คัน,
ยานเกราะกู้ซ่อม VS27 Recovery Vehicle 8x8 ๒คัน, รถซ่อมบำรุงเครื่องมือทางกล ๑คัน และรถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า ๑คัน และมีแผนจัดหาระยะที่๒ วงเงิน ๒,๒๕๑,๙๒๘,๐๘๖บาท($66,233,179) ประกอบด้วยรถ ๕แบบรวม ๓๙คัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/vn1.html)
การส่งมอบVN1 ยังมาพร้อมกับ รถถังหลัก VT4 ระยะที่๒ จำนวน ๑๐ คัน พร้อมรถซ่อมบำรุง ๑คัน ที่สั่งจัดหาในปี ๒๕๖๐ เพิ่มเติมจากระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน และแผนจัดหาระยะที่๓ อีก ๑๔คัน รวมทั้งสิ้น ๕๒คัน(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html)

กองพลทหารราบที่๑๑ ยังได้เสร็จสิ้นการฝึกยานเกราะล้อยางลำเลียงพลทหารราบ M1126 Stryker RTA ICV(Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) 8x8 ช่วงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ สนามยิงปืนใหญ่รถถัง ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี
ยานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV ได้ทำการฝึกลำเลียงทหารราบเข้าพื้นที่ โดยรวมการฝึกการยิงปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 Flex .50cal(12.7x99mm) และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ STK 40 AGL ขนาด 40x53mm ใส่เป้าหมายประกอบกำลังเป็นชุดรบ Stryker Combat Team
กำลังทหารราบที่ทำการฝึกร่วมกับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker ยังใช้ปืนประจำการแบบใหม่ที่น่าจะเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม FN SCAR-L 5.56x45mm แสดงถึงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ในส่วน กรมทหารราบที่๑๑๒ พล.ร.๑๑ ฉะเชิงเทรา ที่กำลังรับมอบรถในระยะที่๑ จำนวน ๗๐คัน ครับ


China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand

China State Shipbuilding Corporation (CSSC) was displayed ET39 533mm active/passive acoustic+wake homing+wire guidance heavyweight submarine-launched torpedoes for exoport at Defense and Security 2019(https://www.facebook.com/thaiarmedforce)
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-marsun-cssc-csoc.html

ขณะที่กองทัพเรือพม่าได้รับมอบเรือดำน้ำชั้น Kilo จากอินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/kilo.html) แม้ว่าจะยังไม่เข้าประจำการในวันกองทัพเรือพม่าร่วมกับเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD-1501 UMS Moattama ก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/lpd-ums-moattama.html)
แต่การจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีนของกองทัพเรือไทยยังคงเผชิญกับความพยามในการยกเลิกโครงการจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ใช้กระบวนการทางกฎหมายในการระงับงบประมาณสำหรับการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ และระยะที่๓ วงเงินราว ๒๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($745 million)
เรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกที่มีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) คาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) นั้นไม่ควรจะเป็นเรือดำน้ำเพียงลำเดียวหรือถูกยกเลิกการจัดหาที่สร้างความเสียหายแก่กองทัพเรือไทยครับ





Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet, FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej, FS-441 HTMS Ratanakosin, FF-433 HTMS Makut Rajakumarn and FF-431 HTMS Tapi with Sikorsky SH-60B Seahawk 
at Bang Saphan district, Prachuap Khiri Khan Province in 22-23 December 2019

ร.ล.มกุฏราชกุมาร เเละ ร.ล.ตาปี เปิดให้เยี่ยมชมเพิ่มเติมในวันนี้ (๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒) เนื่องด้วยมีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นจำนวนมาก ทำให้ในวันนี้หมู่เรือฝึกเปิด เรือหลวงมกุฏราชกุมาร เเละเรือหลวงตาปี ให้ประชาชนได้เยี่ยมชมเพิ่มเติมอีก ๒ ลำ
เรียกว่าเดินทางมาที่ท่าเรือน้ำลึก บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด เพียงครั้งเดียวได้เยี่ยมชมเรือพร้อมกันหลาย ๆ ลำ โดยกำลังทางเรือที่เข้าจอดในท่าเรือเเห่งนี้ ประกอบด้วย ร.ล.จักกรีนฤเบศร ร.ล.ตาปี ร.ล.มกุฎราชกุมาร เเละ ร.ล.รัตนโกสินทร์ เป็นโอกาสที่หาดูได้ยากในพื้นที่นอกฐานทัพเรือสัตหีบ

ความรู้สึกของเยาวชนที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศรที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 22-23 ธ.ค.ในระหว่างการฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองการบินทหารเรือ และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ประจำปีงบประมาณ 2563

ประชาชนดีใจ เรือหลวงจักรีนฤเบศร แวะเยือน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ขึ้นชมเรือ
เรือหลวงจักรีนฤเบศร เข้าเทียบท่าเรือ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด และเปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม ระหว่างเข้าร่วมการฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองการบินทหารเรือ และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ประจำปีงบประมาณ 2563

ความสง่างามของเรือหลวงจักรีนฤเบศวร CVH - 911 ในการฝึกองค์บุคคลองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองการบินทหารเรือ และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือกองเรือยุทธการ
ในขั้นตอนของการตรวจความพร้อมในการรับมือหากเกิดภัยพิบัติทางฝั่งทะเลตะวันออก โดยในครั้งนี้ได้จำลองสถานการณ์ฝึกบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำบอกเล่าจาก “ธาม ธรณ์ธันย์” ผู้สังเกตการณ์บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร
การบินขึ้น-ลง ของเฮลิคอปเตอร์ที่ประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ ประจำปีงบประมาณ 2563
ทำให้ผมเห็นถึงศักยภาพของอากาศนาวีและนักบินทหารเรือ ที่สามารถทำภารกิจการบินขึ้นลงบนดาดฟ้าเรือรบที่กำลังเดินเรืออยู่ในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นการยืนยันขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพเรือเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้เป็นอย่างดีครับ
ธาม ธรณ์ธันย์ ผู้สังเกตการณ์บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร
Cr : ภาพภ่ายโดย หมิว “จ.ต.หญิง ลลิตา สังข์สำราญ”

กองทัพเรือฝึกยุทธวิธีกองเรือกลางอ่าวไทยอย่างเข้มข้น ส่งท้ายปีเก่า บันทึกภาพโดย ทีมงาน สารคดีกองทัพเรือ นำมาฝากครับ
การฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองการบินทหารเรือ และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ประจำปีงบประมาณ 2563 ระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม ที่ผ่านมา
ในการฝึกครั้งนี้ กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ได้บันทึกภาพมานำเสนอให้รับชมกัน ซึ่งนอกเหนือจากการฝึกทางทะเลแล้ว ก็ยังมีกิจกรรมนำผู้สังเกตการณ์ขึ้นเรือเพื่อบอกเล่าเรื่องราวการปฏิบัติงานในทะเลของเหล่าทหารเรือเรา และการเปิดให้พี่น้องประชาชนขึ้นชมเรือ ชมสาธิตการปฏิบัติการณ์ทางทหาร ในการนำเรือเข้าเทียบที่ท่าเรือประจวบ ซึ่งมีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากเข้าชมนับหมื่นคน นับได้ว่าเป็นการฝึกที่นอกจากจะฝึกความชำนาญในการปฏิบัติการทางเรือให้กับทหารเรือเองแล้ว ยังเป็นการส่งมอบคุณค่าให้กับพี่น้องประชาชนอีกด้วย
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/992837594417608/

หมู่เรือฝึกที่ประกอบด้วยเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือคอว์เวตเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือฟริเกตเรือหลวงมกุฎราชกุมาร และเรือฟริเกตเรือหลวงตาปี รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk
เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกองค์บุคคลเเละองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองการบินทหารเรือ เเละหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและเด็กเยาวชนเยี่ยมชมหมู่เรือนอกที่ตั้งปกติ เช่น ฐานทัพเรือสัตหีบ
โดยได้มีการสาธิตการปฏิบัติการ เช่น การฝึกตรวจค้นเรือประมงต้องสงสัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำให้ชมที่ท่าเทียบเรือน้ำลึก บริษัท ท่าเรือประจวบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒๒-๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ และเกาะเต่า ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ครับ 

Royal Thai Navy's retired Lockheed UP-3T serial 1206, 102 Sqaudron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division on static display at Royal Thai Naval Air Division Museum Park (Unknow Photos Source)

Royal Thai Navy's OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 HTMS Naratiwat, Pattani-class Offshore Patrol Vessel (Unknow Photos Source)

RGM-84L Harpoon Block II anti-ship missile launchers on Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel
https://aagth1.blogspot.com/2019/09/blog-post_28.html

แนวทางการปฏิบัติตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓
https://marines.navy.mi.th/doc/Policy63/plan-c.pdf

สรุปข่าวสั้น จาก โอวาท ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เนื่องในวันสถาปนากองเรือยุทธการ โดยมีการกระจายเสียงในระบบวิทยุกระจายเสียง ความถี่ต่างๆ ของ ทร.
- กองเรือยุทธการ ใกล้จะมีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ในอีกไม่ช้า
- อยู่ระหว่างการจัดหา อากาศยาน 2 แบบ คือ เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล (MPA: Maritime Patrol Aircraft) และ เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยทางทะเล(Maritime Search and Rescue Helicopter)
ในเรื่องการฝึก ในปีนี้ จะมีการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีจำนวน 3 แบบ หลังจากที่ปีที่แล้วประสบความสำเร็จในการยิง C-802A(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/c-802a.html) โดยปีนี้ จะมีการยิง
- Harpoon Block 1 C ต่อเป้าพื้นน้ำ ในระยะที่ไกลกว่าที่เคยยิงมา
- Harpoon Block 2 ต่อเป้าหมายบนฝั่ง (CTS)(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html)
- Exocet MM38 ต่อเป้าพื้นน้ำ โดยเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ลำสุดท้าย ของ ทร. ก็คือ ร.ล.ราชฤทธิ์(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_22.html)

โครงการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลจำนวน ๓เครื่องทดแทนได้ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ พร้อมกับเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยทางทะเล สำหรับ กองการบินทหารเรือ ในช่วงงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดในขณะนี้
การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM38 ครั้งสุดท้ายของเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงราชฤทธิ์คือ ร.ล.ราชฤทธิ์ ที่ใกล้จะปลดประจำการหลังเสร็จสิ้นการยิง เป็นสิ้นสุดการมีเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีประจำการในกองทัพเรือไทย
โดยกองทัพเรือไทยยังมองแผนที่จะปรับปรุงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM40 รุ่นใหม่ล่าสุดด้วย

การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84D Harpoon Block 1C ที่ติดตั้งใน เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ๒ลำคือ ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำคือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ในการฝึก Sing Siam 2020 กับกองทัพเรือสิงคโปร์
ขณะที่อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84L Harpoon Block II ที่มีขีดความสามารถโจมตีเป้าหมายชายฝั่งได้รับการติดตั้งในเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง คือ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช มีแผนจะทำการยิงใน งป.๒๕๖๔ 
รวมถึงโครงการจัดหายานโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vassel) อย่างน้อย ๖ยาน หรือยานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft Air Cushion) อย่างน้อย ๒ลำด้วย ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดครับ

Royal Thai Navy's FFG-455 HTMS Chao Phraya, Type 053HT frigate (Unknow Photos Source)

Royal Thai Navy's FFG-461 HTMS Phutthayotfa Chulalok was Decommissioned in 30 September 2017  follow her sister FFG-462 HTMS Phutthaloetla Naphalai which was Decommissioned in 1 April 2016

Royal Thai Navy's FFG-458 HTMS Saiburi, Type 053HT(H) frigate (Unknow Photos Source)

Bangladesh Navy F16 BNS Umar Farooq and F19 BNS Abu Ubaidah, the upgraded Type 053H3 (Jiangwei II) class frigates former People's Liberation Army Navy FFG-522 Lianyungang and FFG-521 Jiaxing

รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แจ้งว่าจะทำการสร้างและส่งมอบ(น่าจะหมายถึงการปรับปรุง)เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๒ลำที่เข้าใจว่าคือ ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง โดยแลกกับซากเรือฟริเกตเก่าที่กองทัพเรือไทยปลดประจำการแล้วสองลำเพื่อกลับนำไปเป็นพิพิธภัณฑ์
ไม่แน่ใจว่าซากเรือที่ว่าจะคือ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๒ลำ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html) หรือไม่
แต่อาจจะไม่ใช่เพราะติดข้อจำกัดของสหรัฐฯ และกองทัพเรือไทยมีแผนที่จะนำเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ไปเป็นพิพิธภัณฑ์บนบกในไทยมากกว่า อีกทั้งเรือชุด ร.ล.เจ้าพระยา ทั้งสองลำเองกองทัพเรือก็ไม่น่ามีแผนจะปลดประจำการในอนาคตอันใกล้ด้วย
ทั้งนี้กองทัพเรือไทยได้แจ้งความต้องการรับมอบเรือฟริเกตชั้น Type 053H3(NATO กำหนดรหัส Jiangwei II) จากจีนที่กำลังปลดประจำการ ซึ่งทันสมัยกว่าเรือฟริเกตชุดเรือหลวงกระบุรี ๒ลำคือ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี เช่นเดียวกับที่จีนปรับปรุงและส่งมอบให้กองทัพเรือบังคลาเทศสองลำครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/type-053h3-2.html)

Lockheed Martin was displayed model of its F-16V Block 70/72 Fighting Falcon (Viper) 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat Royal Thai Air Force at Defense and Security 2019.(My Own Photo)

SAAB was displayed model of its Gripen C 701st Tactical Fighter Squadron, Wing 7 Surat Thani, Royal Thai Air Force at Defense and Security 2019.(My Own Photo)

Korea Aerospace Industries (KAI) was displayed model of its FA-50 multi-role light combat aircraft at Defense and Security 2019.(My Own Photo)

ตามที่ได้มีสื่อกระแสหลักนำเสนอว่ากองทัพอากาศไทยมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช วงเงินราว ๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($160 million) งบประมาณผูกพันปี พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๖(2020-2023)
รวมถึงโครงการปรับปรุงขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุง, สมรรถนะด้านวิทยาการ และอุปกรณ์การฝึกสำหรับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen C/D ที่ประจำการในฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฏร์ธานี วงเงินราว ๓,๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐($122 milion) งบประมาณผูกพันปี ๒๕๖๓-๒๕๖๖
และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle ระยะที่๓ วงเงินราว ๒,๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($81 million) นั้นล้วนแต่เป็นการเขียนข่าวที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของสื่อที่ไม่เคยมีการตรวจสอบกับกองทัพอากาศครับ

Opening ceremony of joint exercise COPE TIGER 2020 between Royal Thai Air Force, Republic of Singapore Air Force and US Air Force at Paya Labar air base, Singapore, 12 December 2019, F-15SG RSAF in background.

พิธีเปิดการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ประจำปี ๒๕๖๓ COPE TIGER 2020

พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ พร้อมด้วย พลอากาศตรี เคลวิน คอง บุน เหลียง (Major General Kelvin Khong Boon Leong) 
ผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ พลอากาศตรี เดวิด เบอร์คี่ (Major General David B. Bergy) ผู้ช่วยผู้บัญชาการ Air National Guard ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ๒๐๒๐ ณ ฐานทัพอากาศ Paya Labar สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒

สำหรับการฝึกในครั้งนี้ แบ่งเป็น การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) ระหว่างวันที่ ๒-๕ ธันวาคม ๒๕๖๒,การประชุมวางแผนขั้นสุดท้าย (Final Planning Conference : FPC) ระหว่างวันที่ ๘-๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ 
และการฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๗ มีนาคม ๒๕๖๓ ณ กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี และ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี


Royal Thai Air Force's F-16A 10311 and F-16B 103 in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range, Lopburi, Thailand, 18 December 2019

Clip: การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี2563
กองทัพอากาศมุ่งเน้นการพัฒนาในทุกด้านอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อเป็นกองทัพอากาศที่ปฏิบัติภารกิจได้อย่างชาญฉลาด และมีความยั่งยืน พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนากองทัพอากาศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงแห่งชาติ ความผาสุขของพี่น้องประชาชน

การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ ที่มีพิธีเปิดในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และ การฝึกผสม Cope Tiger 2020 ระหว่างกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศสิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ
ก็เป็นการฝึกที่มีมาอย่างต่อเนื่องของกองทัพอากาศไทยในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดยในพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีก็เป็นอีกปีที่มีการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศให้ประชาชนได้รับชม
เป็นการแสดงถึงศักยภาพความพร้อมของกองทัพอากาศไทยทั้งกำลังพลนักบิน เจ้าหน้าที่ และอากาศยานที่มีประสิทธิภาพสูง คุ้มค่าต่องบประมาณจากภาษีประชาชนครับ