Japan pushes forward with JNAAM co-development
Computer-generated image of the Joint New Air-to-Air Missile (JNAAM). Japan’s Ministry of Defense has requested JPY1.2 billion (USD11.4 million) to advance the co-development of the JNAAM with the UK. (Japanese Ministry of Defense)
ในฐานะส่วนหนึ่งของการร้องของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2021 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้เรียกร้องต่อกระทรวงการคลังญี่ปุ่นสำหรับงบประมาณวงเงิน 1.2 billion Yen($11.4 million)
เพื่อเดินหน้าผลักดันการพัฒนาร่วมของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศใหม่ร่วม(JNAAM: Joint New Air-to-Air Missile) กับสหราชอาณาจักร
การเรียกร้องงบประมาณส่วนนี้มีเพื่อการทดสอบการผลิตของต้นแบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ JNAAM เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยืนยันระหว่างการบรรยายสรุปต่อสื่อเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2020
โครงการร่วมได้ย้ายเข้าสู่ระยะต้นแบบในปีงบประมาณ 2018 และคาดว่าจะเสร็จสิ้นการทดสอบการผลิตของต้นแบบระหว่างปีงบประมาณ 2022 ตามเอกสารของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
ตามมาด้วยญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรทั้งสองประเทศจะประเมินค่าสมรรถนะของอาวุธปล่อยนำวิถีและจากนั้นจะตัดสินใจว่าจะนำอาวุธเข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากหรือไม่
โครงการวิจัยร่วมญี่ปุ่น-สหราชอาณาจักนี้ได้ริเริ่มโดยทั้งสองประเทศในปี 2014 มีกำหนดที่จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีงบประมาณ 2023 ซึ่งคือเดือนมีนาคม 2024 ในญี่ปุ่น
Janes เข้าใจว่าวิทยาการอาวุธปล่อยนำวิถีของสหราชอาณาจักรรวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ Meteor ของบริษัท MBDA ยุโรป
ทางด้านญี่ปุ่น กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังมองที่จะบูรณาการวิทยาการตัวค้นหาความถี่วิทยุ(RF: Radio-Frequency) ขั้นก้าวหน้าที่ได้รับการพัฒนาโดบบริษัท Mitsubishi Electric Corporation ญี่ปุ่นสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AAM4B
โดยมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มขยายความแม่นยำและสมรรถนะของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา และสนับสนุนการพัฒนาของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ JNAAM
ทั้งญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรน่าจะมองที่จะบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถี JNAAM เข้ากับฝูงเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II ของตนในอนาคตตามลำดับ
ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) เป็นผู้ใช้งานที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 รายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35.html)
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) จำนวน 105เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) จำนวน 42เครื่องครับ