วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๓-๙


Royal Thai Navy was ordered new 6 of Chaiseri First Win II Armoured Multi-Purpose Vehicle 4x4 for Royal Thai Marine Corps, but due FY2020 defense budget cut RTN to be order only 2 examples.


Directorate of Transportation, Royal Thai Air Force (RTAF) was ordered 2 of newest Chaiseri First Win ALV (Armoured Light Vehicle) 4x4.(https://www.facebook.com/Thaifighterclub.org/)

ทร.จะซื้อยานยนต์หุ้มเกราะล้อยางใหม่เพียง 2 คันก่อน...ข่าวความคีบหน้าการจัดหายานยนต์หุ้มเกราะล้อยางใหม่ของกองทัพเรือโดยจะมีการปรับแผนให้ ขส.ทร. จัดหายานยนต์หุ้มเกราะล้อยางจากเดิม 6 คัน รวมวงเงิน 99.9 ล้านบาท 
เป็นจัดซื้อยานยนต์หุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (แบบ 4X4) จำนวน 2 คัน วงเงิน 33.3 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณปี 2563 ส่วนอีก 4 คันจะจัดซื้อในปี 2564 
โดยได้เลือกยานยนต์หุ้มเกราะล้อยางแบบ First Win II จากบริษัทชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์จำกัด ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด เพื่อที่จะนำไปให้นาวิกโยธินใช้ปฏิบัติการไปก่อน ...Photo Sompong Nondhasa

ตามที่กองทัพเรือไทยได้เลือกบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย เป็นผู้ชนะในโครงการจัดซื้อยานยนต์หุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ล้อ (แบบ ๔ x ๔) จำนวน ๖คัน โดย กรมการขนส่งทหารเรือ สำหรับ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่กองทัพเรือไทยถูกตัดลดงบประมาณลง ทำให้แผนเดิมที่จะจัดซื้อทั้งรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ทั้ง ๖คันเป็นวงเงิน ๙๙,๙๐๐,๐๐๐บาท($3,210,155) จะจัดหาเพียง ๒คันวงเงิน ๓๓,๓๐๐,๐๐๐บาท($1,062,523)
โดยในงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔(2021) จึงจะจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win II 4x4 อีก ๔คันวงเงิน ๖๖,๖๐๐,๐๐๐บาท($2,124,572) ให้ครบ ๖คันตามความต้องการเดิม สะท้องถึงการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยแม้ว่าจะมีปัญหาด้านงบประมาณของกองทัพเรือไทย

กรมขนส่งทหารอากาศ กองทัพอากาศไทย ยังได้เลือกบริษัท Chaiseri ไทยเป็นผู้ชนะโครงการซื้อรถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จํานวน ๒คัน ที่เข้าใจว่าน่าจะเป็นรถหุ้มเกราะล้อยางขนาดเบา First Win ALV 4x4 สำหรับกองร้อยรถเกราะ กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
และล่าสุดการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU:Memorandum of Understanding) โครงการพัฒนายานเกราะล้อยาง 4x4 ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI กับ บริษัท Chaiseri นั้นเป็นไปเพื่อสนับสนุนการส่งออกรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II จำนวนถึง ๒๐๐คันแก่ฟิลิปปินส์
ที่คาดว่าจะมีวงเงินถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($31,877,590) ซึ่งฟิลิปปินส์ต้องการจัดซื้อในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลกับไทย เป็นความสำเร็จล่าสุดหลังจากที่ส่งออกให้มาเลเซียและอินโดนีเซียก่อนหน้าครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/first-win-4x4.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/04/chaiseri-first-win-deftech-av4.html)


China Aerospace Science & Industry Corporation Limited (CASIC) FK-3 is export version of HQ-22 new generation medium-range surface-to-air missile that serviced in China People's Liberation Army.

ตามที่ได้รายงานการวิเคราะห์ความเป็นไปได้จากชุดภาพนิทรรศการวันแลกแปลี่ยนความรู้ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ณ กองพันต่อสู้อากาศยานที่๑๑ กรมต่อสู้อากาศยานที่๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. กองทัพเรือไทย ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓
ว่าโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่(Mobile Medium-Range Surface-to-Air Missile) ระยะที่๑ วงเงิน ๑,๙๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($63,982,850) จะเป็นการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอัตตาจร FK-3 จีนจำนวน ๑ระบบ
ซึ่งตามแผนวางกำลังที่ หนึ่ง พัน.สอ.จะมี SAM จะมี SAM ระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ๑ระบบ ทำให้ สอ.รฝ.มีอยู่สองกรม สอ.จะมีความต้องการระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร FK-3 รวม ๔ระบบ ครอบคลุมการป้องกันภัยทางอากาศทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามันครับ


People's Liberation Army Navy Marine Corps's ZTD-05 amphibious light tank during exercise Blue Strike 2016 with Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy in Thailand



Royal Thai Navy selects Norinco for AAV requirement

เป็นจริงแล้ว ! ทร.จะซื้อรถังสะเทินน้ำสะเทินบกจากจีน .... 
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา กองทัพเรือได้ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ 1 โดยวิธีเฉพาะเจาะจง แบบ ZTD 05A จากนอรินโค ประเทศจีนที่เสนอขาย จำนวน 3 คัน เป็นเงิน 398 ล้านบาทเศษ ตกราคาคันละ 132 ล้านบาท 
ซึ่งทางจีนได้ลดราคาให้ตามงป.ที่มีจำกัดของกองทัพเรือ โดยจะมีการส่งมอบภายหลังการเซ็นต์สัญญาประมาณ 1 ปี จุดประสงค์เพื่อเพิ่มอำนาจการยิงเชิงรุกให้กับกองกำลังนาวิกโยธินในการรบรุกทางบก โดยจะประจำการบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น TYPE 071 ที่สั่งต่อจากจีนเช่นเดียวกัน 
..ZTD 05A หรือรุ่นส่งออกเรียกว่า VN 16 จัดเป็นรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก มีน้ำหนักประมาณ 26.5 ตัน ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มม. เกราะทำด้วยอลูมิเนียมอัลลอย มีความเร็วบนถนน 65 กม./ชม. ความเร็วในน้ำ 25 กม./ชม. ซึ่งความเร้วในน้ำนี้ถือเป็นจุดเด่นของรถถังเบารุ่นนี้ 
...การจัดหา รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ ZTD 05A นี้ ก็เสมือนเพื่อการทดแทนรถถังแบบ Type 69-II ที่นาวิกโยธินเคยมีไว้ใช้งานและปัจจุบันปลดประจำการไปแล้ว อีกทั้งกองทัพเรือไทยได้เคยเห็นสมรรถนะและขีดความสามารถของรถถังเบานี้มาแล้วในการซ้อมรบ Blue Strike ในปี 2559 
ซึ่งนาวิกโยธินจีนได้นำมาร่วมในการฝึกครั้งนี้พร้อมทั้งรุ่น ZBD 05 ( VN 18) ซึ่งเป็นรุ่นลำเลียงพลติดปืนกลอัตโนมัติขนาด 30 มม. การจัดหาครั้งนี้จะเป็นล็อตแรก และจะมีการจัดหาเพิ่มเติมอีกในปีต่อๆไป ...Photo Sompong Nondhasa

กห ๐๕๑๓.๓/๒๖ ซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ ๑ 

Website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย ประกาศโครงการซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) ระยะที่ ๑ จำนวน ๓คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน วันกำหนดราคากลาง ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓
เป็นเงิน ๓๙๘,๑๔๓,๔๐๐บาท($12,579,570.05) สำหรับรถถัง ๓คัน ผู้นำเข้าคือ บริษัท จันทร์เกษมอินเตอร์เนทชั่นแนล จำกัด(Chankasem International co.,ltd.) เข้าใจว่าน่าจะเป็นยานเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกจู่โจม VN16 ของ Norinco จีน จากความต้องการยาน AAV รวม ๖คัน
ซึ่งกองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย มีความต้องการรถถังแบบใหม่เพื่อทดแทนรถถังหลัก Type 69-II ๕คัน มานาน หลังจากที่ไม่สามารถจัดหารถถังเบา LT-105 ASCOD ๑๕คันจากสเปนในช่วงปี 1990s ได้เนื่องจากการตัดงบประมาณกลาโหมเพราะวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) ครับ

Display stands presentation of 1st Ammunition Depot, Ordnance Ammunition Depot Division, Ordnance Department, Royal Thai Army show data of three type of anti-tank guided missiles that was procured or to be procured by RTA include US Lockheed Martin AGM-114 Hellfire and Raytheon-Lockheed Martin FGM-148 Javelin and Israeli Rafale Spike MR.

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 เวลา1400-1500 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นผู้แทนผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก(2) และคณะ ร่วมชมการยิงทดสอบป้อมปืนอัตโนมัติRWS โดยมี เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก และ กำลังพล ของกองคลังแสงฯ ร่วมให้การต้อนรับ ผลการปฎิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
คลังแสง 4 คส.สพ.ทบ

สำหรับข้อมูลของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังสามแบบที่ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก นำมาจัดแสดงระหว่างการยิงทดสอบป้อมปืน Remote แบบ Kongsberg PROTECTOR Dual บนรถเกราะล้อยาง V-100 4x4 นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/v-100-remote.html)
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire เป็นที่เข้าใจว่าจะจัดหามาสำหรับเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i Little Bird จำนวน ๘เครื่องที่รวมอยู่ในชุดการจัดหาตามที่สหรัฐฯได้อนุมัติการขายไป(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-6i.html)
ขณะที่อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin สหรัฐ และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike อิสราเอลเป็นในส่วนการทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง M47 Dragon ที่ใช้งานมานานโดยได้มีการจัดหาหรือกำลังอยู่ระหว่างการจัดหา แจกจ่ายให้ผู้ใช้งานภาคสนามเช่น กองพลทหารราบที่๖ ครับ


The new batch of Chinese NORINCO VT4 main mattle tanks and VN1 8x8 wheeled armored vehicles was delivered from China to Thailand at Royal Thai Army Cavalry Center, Fort Adisorn, Saraburi province in mid-September 2020.

การส่งมอบยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ระยะที่๒ ที่สั่งจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และรถถังหลัก VT4 ชุดสุดท้ายสำหรับกองทัพบกไทยนั้นกำหนดเดิมจะถูกจัดส่งจากจีนมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๓ แต่เลื่อนมาเป็นเดือนกันยายนนั้นเนื่องจากการระบาดของ coronavirus Covid-19 ในจีน
ยานเกราะล้อยางตระกูล VN 8x8 ที่ประกอบด้วยรถเกราะ ๕แบบรวมจำนวน ๗๕คันจะถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๑๐ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เป็นหน่วยแรก เข้าใจว่า กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๒ หน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ จะได้รับมอบในระยะต่อไป
ส่วนรถถังหลัก VT4 ที่กองทัพบกไทยมีแผนจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน, ระยะที่๒ จำนวน ๑๐คัน, ระยะที่๓ จำนวน ๑๔คัน และระยะที่๔ ๑๐คัน รวมเป็นทั้งสิ้น ๖๒คัน จะถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๖ และ กองพันทหารม้าที่๒๑ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ครับ

Stryker RTA ICV 8x8 (Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) of 112th Infantry Regiment, 11th Infantry Division was demonstrated for Light Mechanized Infantry Regiment capability to commanders and cadets of Chulachomklao Royal Military Academy (CRMA).

ผลกระทบจาก Covid-19 ที่ทำให้มีการตัดลดงบประมาณกลาโหมในปี พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๔(2020-2021) ยังส่งผลให้กองทัพบกไทยเลื่อนการจัดหายานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker RTA ICV 8x8 ระยะที่๒ จำนวน ๕๐คัน จากที่ได้จัดหาระยะที่๑ จำนวน ๗๐คันไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
เข้าใจว่ากองทัพบกไทยจะมีการจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker เพิ่มเติมอีก ๑๐คันรวมเป็นทั้งหมด ๑๓๐คันเพื่อนำเข้าประจำการใน กองพันทหารราบที่๑, กองพันทหารราบที่๒ และกองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ให้ครบอัตราเป็นกรมทหารราบยานเกราะเบาที่สมบูรณ์
นอกจากรุ่นยานเกราะล้อยางลำเลียงพล M1126 ICV รถอีก ๓รุ่นที่กองทัพบกไทยจะจัดหายังมี รถเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm M1129 MC(Mortar Carrier), รถเกราะที่บังคับการ M1130 CV(Commander's Vehicle) และรถเกราะพยาบาล M1133 MEV(Medical Evacuation Vehicle) ครับ


Royal Thai Air Force's 2 of 6 new Airbus Helicopters H135 trainers was spotted at Donauworth factoy, Germany.

ชุดภาพล่าสุดที่โรงงานอากาศยานของบริษัท Airbus Helicopters ใน Donauworth เยอรมนีแสดงถึงเฮลิคอปเตอร์ H135 สองเครื่องถูกทำสีเทาและตัวอักษรภาษอังกฤษว่าจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/h135.html)
กองทัพอากาศไทยได้การลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึก Airbus Helicopters H135 จำนวน ๖เครื่อง วงเงิน ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท($43,353,707) ในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2020 ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓
คาดว่าเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๒ ฮ.๑๒ H135 จะถูกส่งมอบเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ซึ่งฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ มีเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ประจำการอยู่แล้ว ๑๒เครื่องครับ


Lockheed Martin C-130H Hercules tactical trasport aircraft serial 60110, 601st Squadron, Wing 6 Don Muang, Royal Thai Air Force in special scheme for 40th Anniversary ceremony in 24 September 2020.



เครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ที่ได้มีการจัดพิธีครอบ ๔๐ปีการเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓ นับว่าเป็นหนึ่งในอากาศยานม้างานที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชนไทยมายาวนานมากแบบหนึ่ง
เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H จำนวน ๑๒เครื่องนั้นจะยังคงใช้ต่อไปอีกนาน ตามที่มีแผนปรับปรุงยืดอายุการใช้งานที่เครื่องชุดสุดท้ายน่าจะยังประจำการจนถึงปี พ.ศ.๒๕๘๓(2040) ครบรอบ ๖๐ปีเลยทีเดียว(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rolls-royce-c-130h.html)
ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) มีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่จำนวน ๑๒เครื่องทดแทน บ.ล.๘ C-130H แต่เข้าใจว่าน่าจะมีการเลื่อนออกไปเนื่องจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมเพราะผลกระทบจาก Covid-19 ครับ


Royal Thai Air Force was conducted Decommissioning ceremony for Pacific Aerospace Corporation CT-4A Airtrainer basic trainer aircraft of 604 Squadron "Sunny", Wing 6 Don Mueang RTAF Base in 17 September 2020.


Royal Thai Air Force orders 12 Beechcraft T-6C Texan II aircraft for USD162 million.

กองทัพอากาศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านแบบอากาศยานฝึกของตน ทั้งการปลดประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่๑๖ บ.ฝ.๑๖ Pacific Aerospace Corporation(PAC) CT-4A Airtrainer ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๖๐๔  กองบิน๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓
ซึ่งเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๖/ก CT-4A/B/E ในส่วนฝูงบิน๖๐๔ จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินฝึก Diamond DA-40 ออสเตรีย ที่จะเข้าประจำการระยะแรก ๘เครื่องและระยะที่สอง ๖เครื่องรวม ๑๔เครื่อง ยังคงเหลือเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๖ก CT-4E ในโรงเรียนการบินกำแพงแสน ในฐานะเครื่องบินฝึกขั้นประถม
โดยเครื่องบินฝึกขั้นมัธยมทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 ของโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาเครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6C Texan II สหรัฐฯ ๑๒เครื่องที่จะเข้าประจำการในชื่อเครื่องบินฝึกใบพัด T-6TH ครับ