วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

มาเลเซียนับจำนวนข้อบกพร่องที่พบบนเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship ลำแรก KD Keris

Malaysia tallies deficiencies observed on first Keris-class littoral mission ship



KD Keris , seen here whrere it arrived in Malaysia on 17 January 2020. (Royal Malaysian Navy)

กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ได้รวบรวมรายการข้อบกพร่องที่ถูกสังเกตพบขณะปฏิบัติการเรือตรวจการณ์ชั้น Keris(LMS: Littoral Mission Ship)
และขณะนี้กำลังอยู่ในการหารือกับกลุ่มผู้รับสัญญาที่ถูกเลือกเพื่อจะปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นและเพื่อป้องกันปัญชาเช่นเดียวกันกับเรือลำอื่นในชั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/littoral-mission-ship-kd-keris_19.html)

รัฐบาลมาเลเซียได้ลงนามสัญญาเพื่อจัดหาเรือตรวจการณ์ชั้น Keris จำนวน 4ลำกับ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือจีนในเดือนเมษายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/littoral-mission-ship.html)
เป็นเรือรบแบบแรกที่มาเลเซียจัดหาจากจีน และเรือลำแรกของชั้น KD Keris หมายเลขเรือ 111 ได้เข้าประจำการในเดือนมกราคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/littoral-mission-ship-kd-keris_7.html)

รายการข้อบกพร่องที่ถูกพบ ซึ่งได้ถูกมอบข้อมูลให้แก่ Janes โดยแหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมที่สามารถเข้าถึงการหารือดังกล่าวได้ ตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาที่ถูกตรวจพบบนเรือตรวจการณ์ชั้น Keris นั้น ส่วนใหญ่วนเวียนอยู่กับระบบอุปกรณ์ตรวจจับและระบบการรบที่มีแหล่งที่มาจากจีนของตัวเรือ
เรือตรวจการณ์ชั้น Keris ซึ่งมีความยาวตัวเรือรวม 68.8m ติดตั้งระบบติดตามเป้าหมาย EOTS(Electro Optical Tracking System) แบบ OFC-3 จากสถาบัน Electro-Optics Huazhong(Huazhong Institute of Electro-Optics),

Radar ตรวจการณ์อากาศและผิวน้ำแบบ SR2405A จากสถาบัน Radar ทางทะเล Nanjing(Nanjing Marine Radar Institute) และระบบตรวจจับการแพร่คลื่นไฟฟ้า ESM(Electronic Support Measure) จากสถาบันอุปกรณ์ไฟฟ้าตะวันตกเฉียงใต้จีน(Southwest Institute of Electronic Equipment of China)
เรือยังติดตั้ง Radar นำร่องแบบ VisionMaster FT 250 จากบริษัท Sperry Marine สหราชอาณาจักร ซึ่งทำงานร่วมกับเครื่องแสดงแผนที่และข้อมูลเดินเรือ ECDIS(Electronic Chart Display and Information System) และระบบพิสูจน์ทราบอัตโนมัติ AIS(Automatic Identification System)

ในส่วนของระบบอาวุธเรือตรวจการณ์ชั้น Keris ติดตั้งปืนใหญ่กลเอนกประสงค์ CS/AN3 ขนาด 30mm จาก Chongqing Chang’an Industrial Group Limited จีน ในตำแหน่งปืนเรือหลักที่หัวเรือ
และปืนกลหนัก CS/LM6 ขนาด 12.7mm สองแท่นยิงจาก Sichuan Huaqing Machinery Company Limited จีน ในตำแหน่งปืนรองที่กราบซ้ายและกราบขวาของเรือ

เรือตรวจการณ์ชั้น Keris ลำที่สอง KD Sundang หมายเลขเรือ 112 ที่ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/littoral-mission-ship-kd-sundang.html) ควรน่าจะถูกนำเข้าประจำการภายในปี 2020 นี้จากกำหนดเดิมในเดือนเมษายน 2020
พลเรือเอก Mohd Reza Mohd Sany ผู้บัญชาการกองทัพเรือมาเลเซียในขณะนั้นกล่าวในพิธีต้อนรับเรือตรวจการณ์ KD Keris ว่าเรือชั้น Keris ที่เหลืออีกสองลำหลังซึ่งยังไม่ได้รับการตั้งชื่อคาดว่าจะเดินทางมาถึงมาเลเซียในเดือนพฤษภาคม 2021 และเดือนสิงหาคม 2021 ตามลำดับ

เดิมมาเลเซียมีแผนที่จะให้อู่เรือ Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซียทำการต่อเรือตรวจการณ์ชั้น Keris สองลำหลังผ่านการถ่ายทอดวิทยาการ แต่ได้มีการแก้ไขสัญญาใหม่ให้เรือทั้งหมด 4ลำถูกสร้างในจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/littoral-mission-ship_31.html)
Janes ได้รายงานในเดือนกันยายน 2020 ว่ากองทัพเรือมาเลเซียได้เริ่มขั้นตอนเบื้องต้นที่จะประเมินค่าความเป็นได้ของแบบเรือใหม่สำหรับโครงการเรือตรวจการณ์ LMS ระยะที่สอง โดยมีสี่บริษัทผู้สร้างเรือและหนึ่งกลุ่มร่วมทุนระหว่าง Damen เนเธอร์แลนด์และ Destini มาเลเซียที่เสนอแบบเรือของตนครับ