วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๑



Type 039B Submarine of the People's Liberation Army Navy (PLAN).

China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.
Royal Thai Navy (RTN) postpone second and third S26T Submarine procurement from China on Fiscal Year 2023 another continuous delay for 4 years since pandemic in 2020. RTN set to delivered first S26T in 2023.


People's Liberation Army Navy (PLAN)'s Type 039G 'Song'-class submarine

Scale mock-up of the new Hangor-class submarine for Pakistan Navy presented by Karachi Shipyards & Engineering Works (KSEW) at IDEAS 2018.

Myanmar Navy's UMS Minye Kyaw Htin (72), the former chinese PLAN's Type 035 'Ming'-class submarine

โฆษกกองทัพเรือ ยืนยันกองทัพเรือไม่เสนอของบประมาณซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และลำที่ 3 โดยจะเน้นการพัฒนาซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์และดูแลสวัสดิการของกำลังพล แต่ยังยืนยันความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ
วันนี้ 6 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น.  พลเรือโท ปกครอง  มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือได้เปิดเผยถึงกรณีที่มีการรายงานข่าวว่ากองทัพเรือไม่เสนอของบประมาณซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และลำที่ 3 ในปีงบประมาณ 2566 

โดย โฆษกกองทัพเรือ ยืนยันว่ากองทัพเรือจะไม่เสนองบประมาณซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และที่ 3 ในวงเงิน 22,500 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 
ทำให้ กองทัพเรือได้รับการจัดสรรงบประมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการมีหนี้ผูกพันเดิมค่อนข้างมาก กองทัพเรือจึงจำเป็นต้อง ใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผล ต้องรักษาสมดุลของ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต 

โดย พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ มีนโยบายที่จะนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในส่วนของกองทัพเรือ ไปเน้นใช้ในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
และจัดการด้านสวัสดิการของกำลังพล โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อย อย่างไรก็ตามกองทัพเรือยังมีความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ เพราะเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่เป็นหลักประกันอธิปไตยและความมั่นคงทางทะเลของไทย เพียงแต่ต้องรอเวลาที่เหมาะสม 

โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า ขอให้เชื่อมั่นในกองทัพเรือภายใต้การนำของ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ซึ่งตระหนักดีว่า งบประมาณที่เราได้รับเป็นภาษีของประชาชน 
ในการพิจารณาดำเนินการเรื่องใดๆ จะดำเนินการตามเหตุผลความเป็นจริงที่สามารถอธิบายได้ โดยจะยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

จีนจะให้เรือดำน้ำใช้แล้วแก่กองทัพเรือไทย …จีนจะเสนอความช่วยเหลือทางด้านการทหารแก่ประเทศไทย ด้วยการให้เรือดำน้ำแก่กองทัพเรือไทย จำนวน 2 ลำ สำหรับการฝึกและศึกษา ในขณะที่เรือดำน้ำแบบ S26T มีท่าทีว่าจะไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา …
กองทัพเรือดำเนินการจ้างสร้างเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรก กับบริษัท China Shipbuilding & Offshore International Co. Ltd. เมื่อเดือน พ.ค. 2560 ในราคา 13,500 ล้านบาท และจีนกำหนดส่งมอบให้ในปี 2566 พร้อมมีออปชั่นสั่งต่อเพิ่มอีก 2 ลำ ในปี 2563 ในราคา 22,500 ล้านบาท 
โดยจะส่งมอบในปี 2569 โดยที่ผ่านมา การจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 ถูกชะลอไปหลายครั้ง เนื่องจากปัญหาทางการเมืองและเรื่องโควิด-19 ที่จำเป็นต้องตัดงบประมาณไม่จำเป็นออก เพื่อนำมาใช้ด้านสาธารณสุขในประเทศ …
เรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรก ซึ่งอยู่ระหว่างสร้างที่อู่ต่อเรือ Wuchang Shipbuilding เมือง Wuhan ในขณะนี้ มีท่าทีว่าจะไม่สามารถสร้างได้แล้วเสร็จภายในกำหนดในเดือนกันยายน 2566 เนื่องจากเกิดสถานการณ์โรคโควิดระบาดตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งจีนจะขอเลื่อนการส่งมอบไปเป็น เมษายน 2567 นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าอู่ต่อเรือของจีน ยังมีปัญหาเกี่ยวกับที่เยอรมันไม่ยอมขายเครื่องยนต์ดีเซล MTU ให้เพื่อติดตั้งกับเรือดำน้ำที่กองทัพเรือไทยสั่งต่อ เพราะเยอรมันจะขายให้เฉพาะเรือดำน้ำของจีนเท่านั้น แต่จะไม่ขายให้กับเรือดำน้ำที่เป็นการส่งออกขายให้กับต่างประเทศ 
ซึ่งอู่ต่อเรือของจีนจะต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วยตนเอง ด้วยการเจรจากับทางเยอรมัน ถ้าไม่ได้ จีนอาจจะเสนอแก้ไขสัญญาให้ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลของประเทศอื่นแทน ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข่าวยืนยันจากกองทัพเรือไทยว่าจะดำเนินการอย่างไร …
ในขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่าจีนกำลังเสนอให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศไทย โดยจะมอบเรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ ให้กับกองทัพเรือไทยเพื่อเป็นการฝึกและศึกษาการใช้งานไปก่อน โดยจะมอบเรือดำน้ำชั้น Ming Type 035B หรือ ชั้น Song Type 039 
ซึ่งเรือทั้ง 2 แบบนี้ยังมีประจำการอยู่ในกองทัพเรือจีน โดยเฉพาะเรือดำน้ำชั้น Ming Type 035B นั้นจีนเพิ่งมอบให้กับกองทัพเรือเมียนมาร์ มีชื่อว่า UMS MINYE KYAW HTIN เข้าประจำการเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา 
ซึ่งในส่วนของกองทัพเรือไทยยังไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรืองนี้อย่างเป็นทางการ โดยขณะนี้กองทัพเรือไทยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการสนับสนุนอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการมีเรือดำน้ำไว้แล้ว 
ถ้ามองในแง่ดี การมีเรือดำน้ำเพิ่มอีก 2 ลำในเวลาอันใกล้นี้ ก็จะทำให้กองทัพเรือไทยสามารถฝึกและเรียนรู้ในการใช้เรือดำน้ำได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง ในระหว่างรอเรือดำน้ำชั้น S26T จำนวน 2 ลำที่ยังถูกชะลอการสั่งซื้อไปอย่างไม่มีกำหนด 
แต่ทว่าเรือดำน้ำใช้แล้วทั้ง 2 ลำนี้ควรจะต้องมีการปรับปรุงใหม่เช่นเดียวกับที่จีนมอบให้กับทร.เมียนมาร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีและปลอดภัยมากที่สุดด้วย …
การเสริมสร้างกำลังทางเรือของเรือดำน้ำในภูมิภาคอาเชี่ยนได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ในเวลานี้ประเทศต่างๆมีเรือดำน้ำ ไว้ใช้รวม 18 ลำคือ เวียดนาม 6 ลำ, อินโดนีเซีย 4 ลำ, มาเลเซีย 2 ลำ, สิงคโปร์ 4 ลำ และ เมียนมาร์ 2 ลำ

การเลื่อนการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒และลำที่๓ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) นับเป็นครั้งที่สี่แล้วตั้งแต่มีการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕(2020-2022) จากสถานการณ์โรคระบาดที่ยาวนาน(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
ตามที่การรับมอบ S26T ลำแรกล่าสุดถูกเลื่อนเป็นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) การมีเรือดำน้ำใช้งานเพียงลำเดียวทำอะไรไม่ได้มากนอกจากการฝึกเป็นหลัก หรือแย่กว่าคือกองทัพเรืออาจจะโดนบังคับให้ยกเลิกการจัดหาเรือลำแรกไปด้วย 
เกรงว่าจะจบแบบเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Project 877 Kilo ชื่อ Delfinul ของโรมาเนียที่มีลำเดียวและใช้งานจริงไม่ได้(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/s521-delfinul.html) และอาจจะทำให้โครงการ S26T จะเป็นความพยายามการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย 

ยังรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลว่าเยอรมนีไม่ส่งออกสิทธิบัตรการผลิตและติดตั้งเครื่องยนตร์ดีเซล MTU เพื่อติดตั้งในเรือดำน้ำ S26T สำหรับไทยแก่จีน ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Hangor ๘ลำที่ปากีสถานจะสร้างในประเทศ ๔ลำที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B เช่นเดียวกับ S26T ด้วย
นั่นทำให้มีข่าวใหม่ขึ้นมาอีกว่าจีนกำลังเจรจากับไทยเพื่อเสนอที่จะบริจาคเรือดำน้ำชั้น Type 035B Ming เช่นเดียวกับที่มอบให้กองทัพเรือพม่า หรือเรือดำน้ำชั้น Type 039G Song ที่ทันสมัยกว่า ๒ลำชดเชยความล่าช้าของเรื่อดำน้ำ S26T ลำที่๒ และ๓ และปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ MTU เยอรมนี
อย่างไรก็ตามที่มาแหล่งข่าวแรกเริ่มไม่ได้มีความน่าเชื่อถือมากนัก(เป็นนักข่าวสายทหารในสื่อหลักที่คือนักข่าวการเมืองที่ติดตามอดีตนายทหารเกษียณแล้วที่ผันตัวมาเป็นนักการเมือง รู้ดีว่าใครเป็นพวกใดสายไหนแต่ไม่รู้เรื่องอาวุธอะไรเลย) ข่าวเรือดำน้ำจีนมือสองจึงอาจจะไม่มีความถูกต้องนักครับ




Royal Thai Navy (RTN) frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej. 

การเลื่อนการจัดหาเรือดำน้ำS26T ลำที่๒และ๓ ได้มีรายงานตามมาด้วยการจัดหาเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชลำที่สองแทน สอดคล้องกับที่รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี เข้าพบ นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีกลาโหมไทย ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามในต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๕ ผู้บัญชาการทหารเรือไทยได้ปฏิเสธรายงานของสื่อไทยว่ากองทัพเรือไทยจะจัดหาเรือฟริเกตใหม่แทนเมื่อยังไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำได้ โดยเน้นว่ากองทัพเรือไทยมีมีข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงไม่สามารถมีโครงการใหญ่ใดๆได้ในตอนนี้
เรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทยมีความต้องการรวม ๒ลำสำหรับ กองเรือฟริเกตที่๑ กองเรือยุทธการ กฟก.๑ กร.เพื่อทดแทนเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ปลดประจำการไป(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html

เดิมกองทัพเรือไทยตั้งเป้าที่จะสร้างเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองภายในไทย โดยการถ่ายทอดวิทยาการจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)  
แต่จากที่กองทัพเรือไทยมองการจัดหาเรือดำน้ำ S26T เป็นโครงการหลักสำคัญ ทำให้เป็นไปได้มากกว่าที่จะไม่มีการผลักดันโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ขึ้นมาแทนการจัดหาเรือดำน้ำ โดยกองทัพเรือไทยน่าจะรอต่อไปจนกว่าสถานการณ์ด้านงบประมาณจะเอื้ออำนวยให้กับโครงการเรือดำน้ำของตน 
อีกทั้งถึงจะมีการจัดหาชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองจริง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณการลงทุนอู่ต่อเรือในไทย และการความความต่อเนื่องในการทิ้งช่วงระเวลาการจัดหาเรือมานาน ทำให้ไม่น่าที่จะสร้างเรือฟริเกตใหม่ในไทยแต่จะเป็นการสร้างที่สาธารณรัฐเกาหลีเช่นเรือลำแรกครับ

Royal Thai Navy's PGB-561 HTMS Laemsing

Model of BAE Systems 99m Corvette known as Khareef-class of Royal Navy of Oman in Defense & Security 2015  
99m Corvette likely be successor of BAE Systems 90m Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) both OPV-551 HTMS Krabi and OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan 

Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV), OPV-511 HTMS Pattani.

video presentation of statement for policy performance by Commandant of Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) that need the results in the first 100 days,
show strength development programme of RTF, RTN with three projects on Fiscal year 2023 include procurement for two of new Patrol Gun Boats, one of new OPV and modernization of current two of Pattani-class OPV. 

Royal Thai Navy proposes to upgrade to Pattani-class OPVs, procure more vessels
The Royal Thai Navy (RTN) has proposed separate programmes to upgrade the service's two Pattani-class offshore patrol vessels (OPVs) and procure at least three additional assets.

วีดิทัศน์การแถลงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บัญชาการกองเรือยุทธการที่ต้องการเห็นผลใน ๑๐๐วันแรก แสดงโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือประจำงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖ ๓โครงการคือที่ทั้งหมดเป็นโครงการในส่วนกองเรือตรวจอ่าว(Patrol Squadron) กตอ. คือ 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืน ๒ลำที่น่าจะเป็นเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์จาก Marsun ไทยเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันมีเรือตรวจการณ์ปืนสามชุดคือ เรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ ๖ลำ เรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงหัวหิน ๓ลำ และเรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.แหลมสิงห์ ๑ลำ
โดยที่ชุด ร.ล.สัตหีบเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๙(1983-1986) ชุด ร.ล.หัวหิน เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๔(2001) และ ร.ล.แหลมสิงห์ เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ซึ่งทั้งหมดสร้างในไทย ความต้องการเรือ ตกป.ใหม่จึงน่าจะเป็นการทดแทนเรือเก่าที่ใช้งานมานาน

โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ๑ลำ ซึ่งปัจจุบันมี ๒ชุดคือชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๔๘(2005) และชุดเรือหลวงกระบี่ ๒ลำ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) และ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ตามลำดับ
ประสบการณ์สร้างชุด ร.ล.กระบี่ในไทยโดยใช้แบบเรือ BAE Systems 90m OPV นั้น กองทัพเรือไทยยังต้องการเรือ ตกก.อีก ๒ลำ รวม ๖ลำโดยต้องการแบบเรือที่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ อย่างที่เห็นวีดิทัศน์คือเรือคอร์เวต BAE Systems 99m Corvette หรือเรือคอร์เวตชั้น Khareef ที่ส่งออกให้โอมาน
และโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ซึ่งตามข้อมูลเดิมจะเปลี่ยนระบบอำนวยการรบใหม่เช่น Thales TACTICOS ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM40 Block 3 หรือ Harpoon Block II และแท่นยิงปืนกลขนาด 30mm หรือ 40mm ใหม่

ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้พูดคุยกับตัวแทนของบริษัทอู่กรุงเทพที่เป็นผู้จัดหาสิทธิบัตรแบบเรือ BAE Systems 90m OPV ในหลายๆงาน ทั้ง Defense & Security หรือ Ship Tech กล่าวถึงประการณ์การต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ทั้งสองลำคือ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า
กองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีดาดฟ้าและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือเหมือนชุด ร.ล.ปัตตานี แต่มีขนาดใหญ่รองรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลขนาด 10 tons อย่างเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B หรือเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๕ MH-60S ได้
รวมถึงติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ(Anti-Ship-Missile) แต่ตามที่กำหนดแบบเป็นเรือ OPV จึงไม่มีขีดความสามารถสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) รวมถึงไม่ต้องการติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ(SAM: Surface to Air Missile) หรือระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-in Weapon System) ด้วย

ซึ่งผ่านมาทางบริษัท BAE Systems เสนอแบบเรือคอร์เวต 99m Corvette ที่ตรงความต้องการนี้ โดยระบุว่าแบบเรือมีพื้นฐานความร่วมเหมือนกับหลายส่วนกับแบบเรือ 90m OPV ที่ไทยมีประสบการณ์สร้างทั้ง ๒ลำ แต่อ่อนตัวต่อการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีและมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ในตัวเรือ 
แต่ตอนนั้นทางอู่กรุงเทพเองก็ยังกล่าวตนอาจจะเลือกแบบเรืออื่นก็ได้ซึ่งก็มีการพิจารณาอยู่แต่ไม่ได้ระบุรายชื่อว่ามีอะไรบ้าง โดยการสร้างชุด ร.ล.กระบี่ ทั้ง ๒ลำที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ก็มีการแก้ไขปัญหาติดขัดต่างๆเรื่องความพร้อมของอู่เรือกว่าเรือจะต่อเสร็จเข้าประจำการได้
ฉะนั้นถ้าแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่ ๑ลำที่กองทัพเรือไทยจะเสนอในงบประมาณปี ๒๕๖๖ จะไม่ใช่ BAE Systems 99m Corvette หรืออาจจะไม่ได้ต่อเรือในไทยด้วยเหตุผลค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนาอู่เรือให้รองรับสูงกว่าสั่งต่อเรือจากต่างประเทศ ส่วนตัวก็คิดว่าไม่น่าแปลกใจเท่าไรครับ



Artist impression of Royal Thai Air Force 's Lockheed Martin F-35A Lightning II. (My Own retouch)

Air Chief Marshal Naphadet Thupatemi, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) and senior officers include former Air Attache and Deputy Defence Attache to Washington DC, USA and cadets who graduated from USAF Academy meet representative of Lockheed Martin at RTAF Headquarters.




On 11 January 2022, Ministries Cabinet of Thailand has approved budget value 13,800,000,000 baht ($413,563,782) on Fiscal Years 2023-2026 for Royal Thai Air Force's F-16A/B fighter aircraft replacement programme.

Lockheed Martin เข้ามอบข้อมูลการจัดหา F-35 ให้ทอ.ไทยเรียบร้อยแล้ว! …ทำอย่างไรถึงจะซื้อ F-35 ได้ในราคาถูก! …
จากกรณีที่ผู้บัญชาการทหารอากาศออกมาพูดเกี่ยวกับแนวความติดที่จะซื้อเครื่องบินรบ แบบ F-35 “Lightning II” จากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งที่ 2 เมื่อตอนปีใหม่นี้นั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยล 
บางคนแสดงความคิดเห็นว่าเป็นไปได้ยากเพราะมีราคาแพง ถึงแม้ว่าราคาจะลดลงมากในปัจจุบัน, ผบ.ทอ.พูดไม่หมดเรื่องราคา, หรือผบ.ทอ.มีข้อมูลไม่เพียงพอ, ขั้นตอนการจัดซื้อต้องผ่านหลายด่านอาจไม่ผ่านความเห็นชอบ, ทอ.ไม่อธิบายในรายละเอียด ประชาชนอาจไม่เข้าใจไม่สนับสนุน อะไรทำนองนี้  ซึ่งบางอย่างก็ไม่เป็นจริงอย่างที่กล่าวมา แต่ทำไมไม่คิดทางออกหรือมีวิธีว่าจะทำอย่างไรที่กองทัพอากาศไทยจะมี F-35 ในราคาที่จับต้องได้ …Battlefield Defense จะขอนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งให้เป็นข้อคิดในมุมบวก ... 

เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2564 บริษัท Lockheed Martin ได้เข้าพบผู้บัญชาการทหารอากาศ เกี่ยวกับเรื่องที่ทอ.มีความสนใจในการจัดหา F-35 พร้อมรับฟังสิ่งที่ทอ.ต้องการทราบรายละเอียดต่างๆ และต่อมาในปลายเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา 
บริษัท Lockheed Martin ได้เข้าพบผู้บัญชาการทหารอากาศอีกครั้ง โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่และผู้ที่เกี่ยวข้องของกองทัพอากาศร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน ซึ่งครั้งนี้ บริษัท Lockheed Martin ได้นำข้อมูลรายละเอียดของการจัดซื้อ F-35 มามอบให้กับทอ.ไทยเพื่อเป็นข้อมูลทั้งหมด 
อันแสดงให้เห็นว่าทอ.มีข้อมูลเรียบร้อยแล้ว แต่ที่ไม่ได้ออกมาบอกทั้งหมดเพราะอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและกระบวนการดำเนินการที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งขั้นตอนต่อมาก็คือทอ.จะต้องตั้งคณะกรรมการในส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดหา 
รวบรวมรายละเอียดพร้อมทั้งประสานไปยัง JUSMAG ประจำประเทศไทย เนื่องจากคงต้องซื้อผ่านโครงการ FMS และเสนอไปยังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อการส่งต่อไปยังรัฐบาลสหรัฐฯและสภาครองเกรสในการเห็นชอบที่จะขาย F-35 ให้ไทยได้หรือไม่ 
(การซื้อผ่าน FMS ไม่ได้หมายความว่าจะมีราคาสูงกว่าการซื้อโดยตรงจากผู้ผลิตเสมอไป เนื่องจากมีค่าบริหารจัดการ) ซึ่งขั้นตอนส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯนั้น อาจมีการเจรจาถึงความช่วยเหลือระหว่างไทยกับสหรัฐฯซึ่งเป็นมิตรประเทศกัน 
เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯได้เห็นความสำคัญถึงความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค และประเทศไทยเป็นมหามิตรกับสหรัฐฯมาช้านานโดยเฉพาะด้านการทหารที่มีความแนบแน่นมาตลอด จะเห็นได้จากมีการพบปะกันของผู้นำทางทหารระดับสูงของทั้ง 2 ประเทศตลอดมา 
รวมถึงประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางในอาเชี่ยน ที่สหรัฐฯให้ความสำคัญเป็นอย่างมากด้วยในปัจจุบัน ซึ่งการซื้อ F-35 โดย FMS นั้น รัฐบาลไทยต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ แล้วรัฐบาลสหรัฐฯจึงจะไปจ่ายให้ บริษัท Lockheed Martin อีกทอดหนึ่ง 
ถ้าสหรัฐฯช่วยเหลือไทย เราก็อาจซื้อ F-35 ได้ราคาถูกลง เพราะส่วนต่างนั้นรัฐบาลสหรัฐฯจะเป็นผู้จ่ายให้บริษัท Lockheed Martin เอง นอกจากนี้การฝึกบิน การใช้งานและการซ่อมบำรุง ตลอดจนฝึกทางยุทธวิธี นักบินและจนท.ฝ่ายการช่างของทอ.ไทย ก็ต้องไปฝึกกับทอ.สหรัฐฯ 
ซึ่งผู้ที่ซื้อ F-35 ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทอ.สหรัฐฯด้วย แต่ถ้าเราได้รับการช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายตรงนี้เราก็จะประหยัดไปได้อีกเยอะทีเดียว ส่วนที่มีคนเรียกร้องจะให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับความแนวความคิดในการจัดซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหมนั้น 
ก็ต้องมามองถึงความจริงว่าไทยเราไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการของ F-35 และที่สำคัญเราซื้อจำนวนน้อยแถมขอลดราคาลงอีก จะเอาอะไรไปต่อรองกันล่ะ แค่เขาขายให้ก็ดีแล้ว อีกทั้งการที่เรามีเครื่องบินรบที่ทันสมัยในยุคที่ 5 ที่มีเทคโนโลยีสเตลท์นั้น 
เราก็ได้เทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้มาอยู่แล้ว ถ้ามีก็คุ้มแล้ว จะไปเรียกร้องอะไรอีก ถึงเขาให้เรามีส่วนร่วมสร้างชิ้นส่วนหรืออื่นๆ ที่เป็นการสร้างงานในประเทศ เราจะมีเงินลงทุนมั๊ย มันไม่คุ้มกัน เพราะเราไม่ได้ซื้อจำนวนมากพอ ...

แต่เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องระดับชาติ หมายความว่าต้องเป็นการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญยิ่ง เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการป้องกันประเทศโดยรวม ในขณะที่รอบบ้านเรา ประเทศต่างๆก็เริ่มเสริมกำลังรบแสนยานุภาพทางอากาศมากขึ้น 
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องก้าวให้ทันละต้องให้ล้ำหน้าไปอีกก้าวหนึ่ง รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนเป็นแม่งานในการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ใช่ให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดหาตามลำพังเหมือนการซื้ออาวุธโดยทั่วๆไป 
ที่สำคัญกระทรวงกลาโหม, สภาผู้แทนราษฏรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต้องร่วมกันไฟเขียว รวมถึงประชาชนตลอดจนสื่อมวลชนต้องเข้าใจและให้การสนับสนุนอีกทางหนึ่งด้วย การจัดหา F-35 จึงจะประสบความสำเร็จ ...
ที่คนมองว่าโครงการนี้มีราคาแพงต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ทางออกที่ดี ก็คือทอ.ควรจัดหาทีละน้อยๆเครื่องเช่นครั้งละ 4 เครื่อง และมีอ็อปชั่นจัดหาเพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งมีบางประเทศเขาก็ทำกัน 
ก็จะทำให้กองทัพอากาศสามารถบริหารจัดการใช้เงินงบประมาณของตนเองได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ...
ขอให้อดใจรอสักหน่อย เมื่อทุกอย่างได้ข้อยุติ กองทัพอากาศคงออกมาแถลงอย่างเป็นทางการถึงการจัดซื้อ F-35 ให้พวกเราชาวไทยได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงกันอย่างแน่นอน ...ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเชิงบวกที่เราอยากจะแสดงให้เห็นในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นไปได้ครับ #สนับสนุนซื้อF35

(เรื่องการจัดหา F-35 ของกองทัพอากาศไทยเรามีมานานแล้ว พร้อมๆกับการจัดหาของทอ.สิงคโปร์ ทอ.ไทยได้มีการพูดคุยกับ Lockheed Martin มาอย่างต่อเนื่อง 
ซึ่งทอ.ไทยตั้งใจที่จะเอามาแทน F-16 แต่ติดขัดที่ช่วงแรกๆ F-35 มันมีราคาแพง ทำให้เกิดทางเลือกที่จะจัดหาเอาแค่ F-16V ก็น่าจะเหมาะสมกว่า ....

แต่มาณ ปัจจุบัน ราคาของ F-35 ถูกลง ซึ่งราคาไม่ห่างจาก F-16V มากนัก เชื่อว่า Lockheed Martin คงแนะนำให้ทอ.ไทยจัดหา F-35 ตามที่ทอ.ไทยตั้งใจไว้แต่ต้น ที่สำคัญคือมันต้องมองการไกลที่จะใช้งานเครื่องบินรบรุ่นใหม่ให้ไปได้อีก 30-40 ปีข้างหน้า ...
คำตอบก็มาอยู่ที่ F-35 เครื่องบินรบในยุคที่ 5 ซึ่งมีเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยกว่าเครื่องบินในยุคที 4.5 ไปมาก การเป็นเครื่องบินสเตลท์เป็นสิ่งที่ทอ.ชาติต่างๆคิดว่ามันจะได้เปรียบเครื่องบินรบที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน 
ในการใช้กำลังรบทางอากาศ การได้เปรียบกันน้อยนิด มันหมายถึงชัยชนะ กันเลยทีเดียว คนที่เป็นนักบินคงจะรู้ดีกว่าพวกเรา จะเห็นได้ว่าทั้งรัสเซียและจีนตอนนี้กำลังสร้างเครื่องบินสเตลท์แข่งขันกับสหรัฐฯ พร้อมที่จะขายในตลาดโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ...

มีหลายคนคิดว่ามันมีราคาแพงเกินกว่าที่เราจะมีจ่าย ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ถ้าเรามีแผนโครงการระยะยาวจัดหาทีละ 4 เครื่อง ผ่อนจ่ายเป็นระยะๆ ทีละน้อยทอ.สามารถที่จะใช้งบประมาณตามปรกติที่ได้รับได้ ไม่ได้ไปขอเป็นก้อนหลายหมื่นล้านบาท 
เพียงแต่บริหารจัดการให้มีความเหมาะสมเท่านั้น มันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร เหมือนคนที่พยายามใช้ข้อมูลให้เกิดความสับสนเท่านั้น เราก็คิดว่าคนไทยทุกคนคงต้องการให้กองทัพอากาศมีเครื่องบินรบที่ทันสมัยไว้ใช้งานด้วยกันทั้งนั้น ...
อย่าเขียนเสือให้วัวกลัวไว้ก่อนอะไรทำนองนั้น ..ขอฝากไปยังนักวิจารณ์ กูรู หรือผู้หยั่งรู้เรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่เป็นคนนอกทั้งหลายด้วยความเคารพครับ)

ครม.ไฟเขียวงป. 13,800 ล้านบาท สำหรับเครื่องบินรบฝูงใหม่แทน F-16 แล้ว! ...

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงิน 13,800 ล้านบาท ในงบประมาณ ปี 2566 สำหรับกองทัพอากาศ เพื่อการจัดหาเครื่องบินรบมาทดแทน F-16 ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ระบุว่าเป็น F-35 แต่ก็เป็นที่ทราบกัน พล.อ.อ. นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ.ได้เคยบอกว่าสนใจ F-35 
ดังนั้นกองทัพอากาศจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการสำหรับโครงการนี้ โดยมี พล.อ.อ.ธนศักดิ์ เมตะนันท์ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาว่าเครื่องบินแบบใดจะเหมาะสมที่จะมาแทน F-16 
และอีกคณะหนึ่งคือกรรมการจัดหา มี พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล เป็นประธาน โดยกรอบงบประมาณอยู่ที่ 13,800 ล้านบาท ผูกพันตั้งแต่ปีงป. 2566-2569 เป็นระยะ 4 ปี ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงวงเงินก้อนนี้ ถ้าจะมาซิ้อ F-35A น่าจะได้ 4 เครื่องรวมแพ็คเกจทั้งการฝึก อาวุธและการซ่อมบำรุง 
ถ้าคิดเป็นราคาต่อเครื่องแบบเหมารวม จะมีราคาตกเครื่องละ 3,450 ล้านบาท หรือ 111.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราคาเครื่องเปล่า Flyaway จะอยู่ที่ 77.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2,414 ล้านบาท) 
ถ้าเป็นในลักษณะนี้ทอ.คงจะซื้อเฟส 2 และเฟส 3 ตามมาเป็นลำดับ แต่ในงป.ทั้งหมดนี้ยังไม่มีรายละเอียดออกมาว่าจะรวม Wingman Valkyrie ด้วยหรือเปล่า ...

บทสรุปตอนนี้ก็คือทอ.ตั้งงบประมาณไว้แล้ว 13,800 ล้านบาท และจะเสนอในปีนี้ และครม.ไฟเขียวแล้ว ต่อไปก็ต้องไปติดตามว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะขายให้รึเปล่า และด่านสุดท้ายจะมาอยู่ที่สภาผู้แทนของไทยจะผ่านความเห็นชอบด้วยหรือไม่ ...
แต่พอข่าวนี้ออกไป ฝ่ายค้านก็จ้องจะล้มโครงการนี้เสียแล้ว ..ก็ต้องมาดูและติดตามว่าจะมีดราม่าเหมือนกรณีที่กองทัพเรือเสนอขอซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และ3 หรือเปล่า ...

ค่าใช้จ่าย F-35 จะถูกลงเพราะ? หลังจากที่กองทัพอากาศไทยได้รับไฟเขียวจากคณะรัฐมนตรี ให้ทอ.ไทยสามารถจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่ โดยกรอบงบประมาณอยู่ที่ 13,800 ล้านบาท ผูกพันตั้งแต่ปีงป. 2566-2569 เป็นระยะ 4 ปี 
ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงวงเงินก้อนนี้ ถ้าจะมาซื้อ F-35A น่าจะได้ 4 เครื่องรวมแพ็คเกจทั้งการฝึก และการซ่อมบำรุงและอื่นๆ ถ้าคิดเป็นราคาต่อเครื่องแบบเหมารวม จะมีราคาตกเครื่องละ 3,450 ล้านบาท หรือ 111.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 
(ราคาเครื่องเปล่า Flyaway ในปี 2565 นี้จะอยู่ที่ 77.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2,414 ล้านบาท) ถ้าเป็นไปตามนี้ก็ถือว่ากองทัพอากาศไทย ซื้อ F-35 ได้ในราคาถูกกว่าประเทศอื่น ทั้งนี้เป็นผลพวงมาจากการซื้อ-ขายผ่านระบบ FMS ที่เป็นการช่วยเหลือทางด้านการทหารที่สหรัฐฯให้กับฝ่ายไทย 
แต่ในความเป็นจริงสหรัฐฯจะต้องจ่ายค่าเครื่องบินในราคาเต็มของ Flyaway cost ให้กับ Lockheed martin  โดย FMS จะต้องขอราคาจริงของ F-35 จาก Lockheed martin แล้วมาบวกค่าดำเนินการ ค่าฝึกสอนนักบิน  ค่าฝึกสอนเจ้าหน้าที่ฝ่ายการช่างที่ต้องดูแลรักษาเครื่องบิน, Warranty, 
ค่าใช้จ่ายต่างๆ และอื่นๆ หาก ทอ./รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือกับ ทอ.ไทย ก็คงหาทางลดค่าใช้จ่ายต่างๆให้ ทอ.ไทย  ค่าเครื่องบินหากรัฐบาลสหรัฐฯ จะลดให้ รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ต้องลดลงเอง และต้องจ่ายให้ Lockheed Martin ตามจริง 
ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐฯที่เข้าใจและเห็นใจช่วยเหลือกองทัพอากาศไทย ...

ส่วนค่าซ่อมบำรุงที่มีการตื่นตระหนกกันว่าชั่วโมงบินละ 1 ล้านบาทหรือประมาณ 33,000 เหรียญสหรัฐฯทอ.ไทยจะรับมือไหวมั๊ยนั้น ในความเป็นจริงแล้ว มันลดลงทุกปี เนื่องจากสายการผลิตที่เพิ่มขึ้น (ยอดผลิต F-35 มีไปแล้ว 750 เครื่อง) 
ในปี 2566 คาดว่าค่าใช้จ่ายใน 1 ชั่วโมงบิน จะลดลงเหลือ 30,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 930,000 บาท และในปี 2568 ทาง Lockheed Martin คาดว่าจะเหลือ 25,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 77,5000 บาท 
สำหรับทอ.ไทยถ้าสั่งซื้อปีนี้ คาดว่าจะได้รับเครื่องภายใน 5-7 ปี และกว่าจะปฏิบัติภารกิจตามแผนป้องกันประเทศก็ต้องใช้เวลา 10-12 ปี ซึ่งในตอนนั้น ยอดผลิต F-35 น่าจะเกือบ 2,000 เครื่อง 
เชื่อว่าค่าใช้จ่ายจะลดลงมาอีกเหลือประมาณ 20,000 กว่าๆเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 620,000 กว่าบาท เท่านั้น ซึ่งก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่ทอ.ไทยจะบริหารจัดการได้ โดยไม่ต้องไปเอางป.บินของฝูงบินอื่นๆมาทดแทน เหมือนที่มีการพูดกันในโลกโซเชี่ยล 
อีกทั้งในเวลานี้ F-16 ADF ก็ปลดไปแล้ว และ F-16 ฝูงบิน 103 ก็จะทยอยปลดไปในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ทำให้ทอ.ไทยลดค่าใช้จ่ายในการบินเครื่องบินขับไล่ไปเป็นจำนวนมาก ก็สามารถเอามาเกลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายในการบินของ F-35 ได้ 
ซึ่งทอ.ก็ได้วางแผนบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างรอบคอบแล้ว คนนอกที่ไม่เกี่ยวข้องจะรู้ดีไปกว่าทหารอากาศได้อย่างไร? ดังนั้นอย่าเอาค่าใช้จ่ายปัจจุบันไปตัดสินอนาคตเสียทั้งหมด!  …

อีกเรื่องหนึ่งที่มีการพูดกันว่าถ้าจ้าง Lockheed martin บริหารจัดการในการซ่อมบำรุงจะทำให้ช่างของไทยไม่มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงเองนั้น ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะทอ.ไทยเราทำตามขั้นตอนแบบเดียวกันกับโครงการจัดหา F-16 โดยวิธีการ FMS 
กล่าวคือทอ.ไทยมีการจ้างวิศกรช่างเทคนิคของ Lockheed Martin มาดูแลด้านการซ่อมบำรุงในประเทศไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีในการซ่อมบำรุงให้ด้วย ดังนั้นจนท.ฝ่ายการช่างของไทยก็จะสามารถปฏิบัติการซ่อมบำรุง F-35 ได้เหมือนกับที่เราซ่อมบำรุง F-16 เฉกเช่นเดียวกัน 
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราน่าจะภูมิใจที่ช่างอากาศไทยสามารถซ่อมบำรุงเครื่องบินรบระดับเวิลด์คลาสของโลกได้ อีกทั้งการมี F-35 จะทำให้นักบินไทยได้เรียนรู้และมีประสบการณ์กับเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยในยุคที่ 5 ที่มีเทคโนโลยีสูงได้โดยอัตโนมัติ 
ที่สำคัญศักยภาพทางอากาศก็จะเป็น “The Best” เป็นที่ยำเกรงต่อข้าศึกที่คิดจะมารุกล้ำรุกรานประเทศไทย สร้างความมั่นคงปลอดภัยโดยรวมให้กับประเทศชาติของเรา ...

ในอนาคตเครื่องบินรบของกองทัพอากาศไทยก็จะถูกปรับให้มีจำนวนน้อยลง แต่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป็นการทดแทน ที่สำคัญคือมีความทันสมัยก้าวล้ำนำหน้าในภูมิภาคนี้ ...
ก็ต้องขอขอบคุณ พล.อ.อ. นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่เพิ่งมารับตำแหน่งใหม่ แต่มีสายตาอันยาวไกล และความคิดอันแหลมคม สร้างเซอร์ไพรซ์สานฝันการมีเครื่องบินรบแบบ F-35 ได้สำเร็จด้วยเวลาอันรวดเร็ว  ประดุจดังความเร็วของเครื่องบินขับไล่ทีเดียว ...
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ Battlefield Defense ต้องการให้คนไทยได้รับรู้ข้อมูลในแง่บวก+ ซึ่งเป็นอีกมุมมองหนึ่ง ในการจัดหา F-35A ของกองทัพอากาศไทย 
และหวังว่าประชาชนจะรับรู้ในสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีคนออกมาให้ข้อมูล เพื่อที่จะได้สนับสนุนโครงการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ของกองทัพอากาศไทยที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ #ค่าใช้จ่ายF35ไม่แพงอย่างที่คิด

ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปเตมีย์ แสดงความชัดเจนมาสามครั้งแล้วว่ากองทัพอากาศไทยต้องการจะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ F-35A ที่จะเสนอในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖
การจัดหาอากาศยานแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทยได้มีกาจัดตั้งคณะการทำงานมีการศึกษาที่ครอบคลุมครบถ้วนทุกด้านอย่างเหมาะสม ไม่ได้เป็นไปตามที่มีสื่อไร้จรรยาบรรณโจมตีว่าเป็นความต้องการส่วนตัวของ ผอ.ทอ.ที่อยากจะสร้างผลงานของตนเหมือนอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศผู้เป็นบิดา
นอกจากความเป็นไปได้ในการจัดหาระบบอาวุธเบื้องต้นเช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9X ถ้า IRIS-T ยังไม่พร้อมรองรับ อาวุธสมรรถนะสูงอื่นน่าจะรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor และยังมองถึงอาวุธปล่อยนำวิถีดาวเทียมเช่นระเบิดนำวิถี JDAM และ SDB ด้วย

มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มว่าทางบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้ผลิตกับกองทัพอากาศไทยได้มีพูดคุยในเรื่อง F-35 มาสักพักแล้ว เชื่อคณะทำงานของกองทัพอากาศที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาการจัดหาเครื่องบิบขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙ F-16A/B ได้พิจารณาอย่างครอบคลุมรอบด้านแล้วว่า
เครื่องบินขับไล่ F-35 เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับกองทัพอากาศในอนาคต ที่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๔/๔.๕ ที่มีปัจจุบันทั้ง บ.ข.๑๙ F-16A/B และ บ.ข.๒๐ Gripen C/D จะไม่สามารถรับมือภัยคุกคามในอนาคตได้แล้ว โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติวงเงินโครงการในกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา
งบประมาณวงเงินประมาณ ๑๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ถ้าแปลงเป็นเหรียญสหรัฐฯจะอยู่ที่ราว $415 million สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง งบประมาณผูกพันสี่ปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) นับว่าเป็นการจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ที่ถูกที่สุดโลก

สมัยก่อนที่ General Dynamics จะขายแผนกอากาศยานของตนจนมีการปรับเปลี่ยนควบรวมกิจการมาเป็น Lockheed Martin ในปัจจุบัน เครื่องบินขับไล่ F-16 ใน Block แรกๆ ที่ถูกจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯช่วงต้นปี 1980s มีปัญหาร้ายแรงหลายอย่าง
โดยเฉพาะระบบควบคุมการบิน Flight Control System แบบ Fly-by-wire ที่แสดงปัญหามาตั้งแต่เครื่องต้นแบบในกรณี Flight zero ขณะทดสอบบนทางวิ่ง จนถึงเครื่องในสายการผลิตชุดแรกๆที่ถึงขั้นพานักบินไปตายจนมีการสร้างภาพยนตร์กึ่งสารคดีเกี่ยวกับปัญหานี้ขึ้นมา(เช่น Afterburn ปี 1992)
ช่วงการจัดหา บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงแรกของกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16a-adf.html) ก็มีการต่อต้านคัดค้านการซื้ออย่างมากในหลายๆสื่อเช่นกัน(เช่นใน MV เพลง "สบายกว่า" ของวงคาราบาว) แต่จนถึงปัจจุบัน F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มียอดการผลิตสูงที่สุดแบบหนึ่งและถูกนำเข้าประจำการในหลายประเทศทั่วโลก

มีวิเคราะห์ถึงปัญหาถ้ากองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินขับไล่ F-35A เข้าประจำการในแง่ค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่สูง โดยเทียบกับสหรัฐฯที่มีใช้งานกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN) และนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC) รวมเกือบสิบฝูงบินหลายร้อยเครื่องในสามรุ่นที่แตกต่างกัน
มองว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะยกตัวอย่างการจัดการจากประเทศในยุโรปหลายชาติที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM เช่น เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, เดนมาร์ก และเบลเยียม รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์และฟินแลนด์ที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D มากกว่า
ซึ่งประเทศขนาดไม่ใหญ่มากในกลุ่มชาติยุโรป NATO เหล่านี้เคยมี F-16A/B เป็น ๑๐๐-๒๐๐กว่าเครื่องในช่วงสงครามเย็นปี 1980s แต่ต่อมาลดขนาดกองทัพอากาศของตนเหลือ F-16AM/BM ราว ๓๐-๔๐เครื่อง และมีฝูงบินขับไล่เพียงสองถึงสามฝูงบินที่จะทดแทนด้วย F-35A ๒๐-๔๐กว่าเครื่องครับ









Air Chief Marshal Naphadet Thupatemi, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force was visited Wing 21 Ubon Ratchathani and take flight on back seat with upgraded F-5F TH Super Tigris serial 21106 of 211st Squadron during 11-12 January 2022. (Thanawat Wongsaprom)

ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๘ (บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH)) ซึ่งผ่านการอัพเกรดแล้ว หมายเลข 21106

"ผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยมกองบิน ๒๑"
พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์  ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย คุณปัญญดาว ธูปะเตมีย์ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ  และคณะเดินทางมาตรวจเยี่ยมกองบิน ๒๑ เพื่อมอบนโยบายและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่กำลังพลกองบิน ๒๑ 
ตลอดจนรับทราบแนวทางการพัฒนาและปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติภารกิจของหน่วย โดยมีนาวาอากาศเอก พฐา แก่นทับทิม ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ พร้อมด้วย คุณ ชนิกา แก่นทับทิม ประธานชมรมแม่บ้านทหารอากาศ กองบิน ๒๑ 
ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการกองบิน ๒๑ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ลานจอดอากาศยาน แผนกช่างอากาศ กองบิน ๒๑ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๒ มกราคม ๒๕๖๕

เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ค บ.ข.๑๘ค F-5F TH Super Tigris หมายเลข 21106 ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ซึ่งผู้บัญชาการทหารอากาศไทย ได้ทำการบินในที่นั่งหลังพร้อมหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง DASH IV เป็นการยืนยันถึงการปรับปรุงความทันสมัยล่าสุดของเครื่องตามโครงการ
อย่างไรก็ตามจากอุบัติเหตุตกของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ค F-5F TH หมายเลข 21105 ที่สนามฝึกชัยบาดาล เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งเป็นเครื่องแรกที่ได้รับการปรับปรุงตามโครงการ Super Tigris นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-5th-super-tigris.html
จะทำให้ฝูงบิน๒๑๑ เหลือ บ.ข.๑๘ค F-5F รุ่นสองที่นั่งเพียง ๒เครื่องคือ หมายเลข 21104 และหมายเลข 21106 ในภาพล่าสุด ถ้าทุกเครื่องได้รับการปรับปรุงเมื่อรวมกับเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข บ.ข.๑๘ข F-5E TH รุ่นที่นั่งเดียว จำนวน F-5TH ที่มีจะลดลงเป็น ๑๓เครื่องจากเดิม ๑๔เครื่องครับ