วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566

อนาคตของกองเรือฟริเกตที่๑ กองทัพเรือไทย หลังปลดประจำการเรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปี และเรือหลวงสุโขทัยอับปาง




Royal Thai Navy (RTN) was decommissioned FF-431 HTMS Tapi on 30 September 2022. 
FF-432 HTMS Khirirat, the second Tapi-class patrol frigate (or consider as corvette) to be decommission from 1st Frigate Squadron (FS1), Royal Thai Fleet (RTF) in 2023. (Royal Thai Navy)






RTN's FF-431 HTMS Tapi assigned to 2nd Naval Area Command, was conducted PASSEX (passing exercise) with Japan Maritime Self Defense Force (JMSDF)'s DD-117 JS Suzutsuki, the Akizuki-class destroyer at Gulf of Thailand on 30 March 2022. (JMSDF)

"ลับมีดให้คม เตรียมพร้อมอยู่เสมอ" ฝึก #PASSEX ระดับยุทธวิธี ระหว่าง ทร.ไทย และ กองกำลังป้องกันตนทางทะเลญี่ปุ่น (The Japan Maritime Self-Defense Force : JMSDF) 
วันที่ ๓๐ มี.ค.๖๕  เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. ทัพเรือภาคที่ ๒ โดย ร.ล.ตาปี ทำการฝึก PASSEX ระหว่างเรือพิฆาต JS SUZUTSUKI อันเป็นการฝึกปฏิบัติการทางเรือในระดับยุทธวิธี ระหว่าง ทร.ไทย และ กองกำลังป้องกันตนทางทะเลญี่ปุ่น (The Japan Maritime Self-Defense Force : JMSDF ) โดยมีหัวข้อการฝึก ประกอบด้วย  FLASHEX  FLAG SIGNALS และ PHOTOEX / FAREWELL ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของ ทร.และ JMSDF ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในโอกาสที่เรือของ JMSDF ได้เดินเรือผ่านน่านน้ำไทย 
ซึ่งเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่มีลักษณะเป็นสากลสำหรับ ทร.ประเทศที่เป็นพันธมิตรที่ดี พึงดำเนินการระหว่างกัน 

กองเรือฟริเกตุที่ ๑ จัดพิธีทำบุญเรือก่อนปลดระวางประจำการ ร.ล.ตาปี
วันที่ ๒๗ ก.ย.๖๕ กองเรือฟริเกตุที่ ๑ จัดพิธีทำบุญเรือก่อนปลดระวางประจำการ ร.ล.ตาปี
ณ บริเวณถนนเลียบท่าเรือแหลมเทียน

ด้วยรักและความผูกผัน ๕๐ ปี ที่รับใช้ราชนาวีไทย ถึงเวลาพักแล้ว ปลดระวางประจำการ เรือหลวงตาปี 












Royal Thai Navy's FSG-442 HTMS Sukhothai, the second Rattanakosin-class guided missile corvette sail along with her sister FSG-442 Rattanakosin during exercise in Gulf of Thailand on 6-7 December 2022.



LCU-785 HTMS Ravi, the Mattaphon-class landing craft utility (LCU) support operation of Diving and Explosive Ordnance Disposal Division, Naval Ordnance Department (NORDD) and Naval Special Warfare Command (NSWC) or RTN Navy Seals on exploring HTMS Sukhothai and finding still missing crews.

Scanned pictuerd from TSM 2022 Mk3 Mine Hunting Sonar of MCS-631 HTMS Bangrajun Minesweeper on HTMS Sukhothai sunk at depth around 40m on bottom of Gulf of Thailand.

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 เรือหลวงสุโขทัย จัดพิธี รับ-ส่ง หน้าที่ผู้บังคับการ
เรือหลวงสุโขทัย  ระหว่าง นาวาโท โชติวิทย์  วัฒนะคีรี  ผู้บังคับการเรือ ท่านเก่า  กับ นาวาโท พิชิตชัย  เถื่อนนาดี ผู้บังคับการเรือ  ท่านใหม่

เรือหลวงสุโขทัย "พร้อมทุกภารกิจ"
เรือหลวงสุโขทัย ออกเรือ เพื่อทำการฝึกใช้อาวุธประจำเรือ                    
เพื่อสร้างความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ในทะเลต่อไป

กองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑(1st Frigate Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) สามารถย้อนประวัติกลับไปได้ตั้งแต่สมัยยังเป็น กองเรือปราบเรือดำน้ำ กปด.(Anti-Submarine Squadron) ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖(1953)
ซึ่งเป็นหน่วยใช้กำลังรบทางเรือที่เก่าแก่ที่สุดหน่วยหนึ่ง ที่มีประจำการด้วยเรือที่มีขีดความสามารถในสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warafare) จนมีการเปลี่ยนนามหน่วยเป็นเช่นในปัจจุบันตามการแก้ไขอัตราจัดกองเรือยุทธการใหม่เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕(1992)
โดยมีการจัดตั้งหน่วยใช้กำลังทางเรือใหม่รวมถึง กองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒(2nd Frigate Squadron) ที่ประจำการด้วยเรือฟริเกตที่จัดหาจากจีนคือชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๔ลำ และชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำ พร้อมการเปลี่ยนหมายเลขเรือ(pennant number) จากเลขตัวเดียวเป็นเลขสามหลัก

การเปลี่ยนแปลงกำลังทางเรือของกองเรือฟริเกตที่๑ ที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือการปลดประจำการเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๒ลำ ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เคยประจำการในกองเรือสหรัฐฯ(US Navy) ที่จัดหาช่วงในปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๔๐(1994-1997)
คือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html)
กองเรือฟริเกตที่๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านกำลังทางเรือที่สำคัญของตนอีกครั้ง ตามที่ล่าสุดได้มีการปลดประจำการเรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปี ร.ล.ตาปี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) และผู้บัญชาการทหารเรือเปิดเผยว่าเรือหลวงคีรีรัฐ จะปลดประจำการตามมาในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

คณะรัฐมนตรีของไทยได้อนุมัติการจัดหาเรือฟริเกตตรวจการณ์(Patrol Frigate) แบบ PF-105(PF-103) ที่สร้างโดยอู่เรือบริษัท American Shipbuilding และบริษัท Norfolk Shipbuilding & Drydock สหรัฐฯ ๒ลำ เป็นวงเงินลำละ $7,878,000 ในขณะนั้น เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๑(1968) 
เรือหลวงตาปี(หมายเลขตัวเรือในกองทัพเรือสหรัฐฯตามความช่วยเหลือทางทหาร PF-107) ถูกวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒(1969) ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๓(1970) และขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔(1971)
เรือหลวงคีรีรัฐ(PF-108) ถูกวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕(1972) ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๖(1973) และขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๗(1974) ร.ล.ตาปี และ ร.ล.คีรีรัฐ มีหมายเลขเรือ (5) และ (6) ตามลำดับในขณะนั้น

เรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี มีความยาวเรือ 82.7m กว้าง 9.92m กินน้ำลึกสุด 5.33m ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,138tonne ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล Fairbanks-Morse สองเครื่องกำลังเครื่องละ 2,800shp ความเร็วสูงสุด 15knots ความเร็วมัธยัสถ์ 12knots ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,428nmi
ในฐานะเรือฟริเกตตรวจการณ์(สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำ) ที่สหรัฐฯจัดหาให้มิตรประเทศตามการช่วยเหลือทางทหาร เดิมติดตั้งอาวุธปืนเรือ Mk34 3"/50cal สองแท่นยิง, ปืนกล Bofors 40mm/L60 สองลำกล้องหนึ่งแท่นยิง และแท่นยิงระเบิดปราบเรือดำน้ำ Hedgehog
ต่อมาปรับปรุงระบบอาวุธเป็นปืนเรือ OTO Melara 76mm/62 หนึ่งแท่น, ปืนกล Bofors 40mm/L70 ลำกล้องเดี่ยวหนึ่งแท่น, ท่อยิง torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม Mk32 MOD5 ขนาด 324mm สองแท่น Torpedo เบา Mk44 MOD1, ปืนกล Rheinmetall GAM CO-1 ขนาด 20mm สองแท่น

รวมถึงติดตั้ง radar ควบคุมการยิงแบบ Signaal WM22/61 ในช่วงปี 1980s อย่างไรก็ตามมีรายงานผลกระทบการปรับปรุงระบบอาวุธของเรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี ทั้งสองลำว่าทำให้สมดุลน้ำหนักเรือเปลี่ยนไปโดยหัวเรือหนักขึ้นท้ายเรือเบาลง จึงต้องถ่วงน้ำหนักที่ท้ายเรือเพื่อให้ตัวเรือมีความสมดุล
เมื่อมีปรับอัตรากำลังกองเรือยุทธการใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ร.ล.ตาปี และ ร.ล.คีรีรัฐ ได้เปลี่ยนหมายเลขเรือใหม่เป็น (431) และ (432) ตามลำดับ นับเป็นชุดเรือที่ประจำการมานานที่สุดในกองเรือฟริเกตที่๑ รองจากเรือหลวงปิ่นเกล้า พ.ศ.๒๕๐๒(1959) และเรือหลวงมกุฏราชกุมาร พ.ศ.๒๕๑๖(1973)
ร.ล.ตาปี ถูกปลดประจำการลงเมื่อมีอายุการใช้งานเรือเกือบ ๕๑ปี และ ร.ล.คีรีรัฐ คาดว่าจะถูกปลดประจำการตามมาในปีงบประมาณ๒๕๖๖ อาจจะเป็นวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ หรือ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ อายุเรือ ๔๙ปี ทำให้ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) กองเรือฟริเกตที่๑ จะมีส่วนกำลังรบทางเรือดังนี้

กองเรือฟริเกตที่๑ พ.ศ.๒๕๖๗
หมวดเรือที่๑ : เรือฟริเกต ร.ล.มกุฏราชกุมาร, เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์
หมวดเรือที่๒ : เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช, เรือพิฆาตคุ้มกัน(Destroyer Escort) ร.ล.ปิ่นเกล้า
หมวดเรือที่๓ : เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุดเรือหลวงคำรณสินธุ ร.ล.คำรณสินธุ, เรือหลวงทยานชล เรือหลวงล่องลม

ตามที่ ร.ล.ปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นเรือรบผิวน้ำที่ประจำการมานานที่สุดลำหนึ่งของกองทัพเรือไทยไม่ได้ถูกใช้ในงานปฏิบัติทางยุทธการแต่เป็นเรือที่ถูกสงวนใช้ในงานพิธี(Heritage) มากกว่า และ ร.ล.มกุฏราชกุมาร มักจะถูกจัดให้อยู่ในหมู่เรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือหรือนักเรียนจ่าทหารเรือเป็นประจำ
กองทัพเรือไทยมองการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่มาทดแทนเรือที่ปลดประจำการไปคือเรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ถูกทดแทนด้วย ร.ล.ภูมิพลดุลยเดช แล้ว ๑ลำ และมีแผนที่จะจัดหาเรือฟริเกตใหม่อีก ๑ลำที่จะสร้างในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html)
อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงได้รับผลกระทบอย่างมากจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมจากสถานการณ์ Covid-19 มาต่อเนื่องถึงสี่ครั้ง โดยกองทัพเรือมองจะเสนอโครงการแข่งขันแบบเรือจากต่างประเทศที่มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมของไทยในปีงบประมาณ ๒๕๖๗

แต่ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดต่อการพัฒนาและเสริมสร้างส่วนกำลังรบของกองเรือฟริเกตที่๑ คือเหตุเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัยอัปปางเมื่อวันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งขณะที่เขียนบทความนี้หลังเกิดเหตุ ๑๕วันมีทหารเรือเสียชีวิตแล้ว ๒๔นาย และยังคงสูญหาย ๕นาย(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/blog-post_21.html)
เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ จำนวน ๒ลำได้ถูกสั่งจัดหาเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖(1983) จากบริษัท Tacoma Boatbuilding สหรัฐฯ เป็นวงเงิน $143 million หรือราว ๓,๒๙๖,๑๕๐,๐๐๐บาท ตามค่าเงินสมัยนั้น หรือคิดเป็นลำละ ๑๖๔,๘๐๗,๕๐๐บาท โดยบริษัท Italthai Marine เป็นตัวแทนของฝ่ายไทยร่วมกับกองทัพเรือไทยในการลงนามสัญญากับสหรัฐฯ
ตามแผนพัฒนากำลังของกองทัพเรือไทยในช่วงนั้นที่จัดหาเรือเร็วโจมตีปืนชุดเรือหลวงชลบุรี ๓ลำ รจป.จากต่างประเทศ และเรือตรวจการณ์ปืนและเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำที่สร้างในไทยเช่นเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ ๖ลำ ตกป. และเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุด ร.ล.คำรณสินธุ ตกด.

ในช่วงราวปี พ.ศ.๒๕๓๑(1987) มีรายงานว่ากองทัพเรือไทยเคยมีแผนที่จะสร้างเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ลำที่สามในไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการจากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจุดเปลี่ยนสำคัญของแนวคิดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๒(1989) หลังจากที่ไทยได้ประสบเหตุวาตภัยพายุไต้ฝุ่น Gay
ซึ่งภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเขตอ่าวไทยครั้งนั้นเรือส่วนใหญ่ของกองทัพเรือมีขนาดเล็กเกินไปที่จะออกเดินเรือไปช่วยเหลือประชาชนได้ ทำให้กองทัพเรือไทยเปลี่ยนหลักนิยมกำลังเรือในการจัดหาเรือฟริเกตที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูงกว่าเรือคอร์เวต รวมถึงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร
โดยที่เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี รจอ.ทั้งชุดเรือปราบปรปักษ์ ๓ลำ และเรือหลวงราชฤทธิ์ ๓ลำถูกปลดประจำการลงหมดแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/exocet.html) ตามที่เรือประเภทนี้มีความสิ้นเปลืองมากเกินไปและเล็กเกินไปในรูปแบบสงครามทางเรือสมัยปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่ากองทัพเรือไทยได้ใช้งานเรือรบของตนได้อย่างยาวนานและเกินคำว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับกองทัพเรือต่างประเทศเช่นชาติ NATO ที่เรือรบผิวน้ำอย่างเรือฟริเกตจะปลดประจำการลงเมื่อมีอายุการใช้งานเกิน ๓๕ปี แต่กองทัพเรือไทยตั้งไว้ที่ ๔๐ปี แต่ปลดประจำการจริงเมื่อเรือมีอายุถึง ๕๐ปี
ในส่วนของชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ที่ ร.ล.รัตนโกสินทร์ เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๒๙(1986) และ ร.ล.สุโขทัย พ.ศ.๒๕๓๐(1987) มีอายุตัวเรือเฉลี่ยที่ราว ๓๖ปี กองทัพเรือไทยจึงน่าจะมองที่จะใช้งานเรือชุดนี้ต่อไปอีก ๕-๑๐ปี ตามที่มีการซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบบางส่วนให้ทันสมัยขึ้น
แต่ทั้งนี้การสูญเสีย ร.ล.สุโขทัย นอกจากจะให้กองทัพเรือเสียเรือรบผิวน้ำที่ปฏิบัติการรบสามมิติได้ไป ๑ใน๕ แล้ว ร.ล.รัตนโกสินทร์ ที่ยังคงอยู่อาจจะถูกประเมินว่าต้องปลดประจำการเร็วขึ้นตามไปด้วย ถ้าผลการสอบสวนสาเหตุการอับปางพบว่าอายุการใช้งานและการซ่อมทำตัวเรือมีผลต่อการเกิดเหตุ

เหตุ ร.ล.สุโขทัย อับปางยังมีผลสำคัญต่อพัฒนาการกำลังทางเรือของกองทัพเรือไทย ซึ่งฝ่ายการเมืองในรัฐสภาไทยรวมถึงสื่อมวลชนไทยที่คัดค้านโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ที่ถูกมองว่าไทยเสียเปรียบจีนอย่างไม่เป็นธรรมมาตลอด ก็จะยกเหตุการณ์ ร.ล.สุโขทัย ขึ้นมาโจมตีกองทัพเรือด้วย
ประเด็นนี้จะมีผลอย่างมากและน่าจะเห็นได้ชัดหลังการเลือกตั้งใหญ่ของไทยที่คาดว่าจะมีขึ้นในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖ จากกระแสภาคประชาสังคมด้านวิกฤติศรัทธาต่อกองทัพเรือน่าจะมีผลกดดันให้รัฐบาลไทยชุดใหม่จะตัดสินใจไม่อนุมัติโครงการจัดหาเรือใดๆของกองทัพเรือโดยง่ายด้วย
นั่นทำให้หากว่าไม่สามารถจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒ และการทดแทนเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ได้ ประวัติศาสตร์การพัฒนากำลังรบกองทัพเรือไทยอาจจะถูกแบ่งเป็น 'ยุคก่อนและยุคหลังเรือหลวงสุโขทัยอับปาง' ที่อาจส่งผลเทียบเท่ากับกรณีกบฏ Manhattan พ.ศ.๒๔๙๔(1951) ครับ