วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕

Royal Thai Navy (RTN)'s FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate as Task Unit from Thailand was participated multilateral exercise during International Fleet Review 2022 at Japan on 6-7 November 2022.



Royal Thai Navy was further discussed with China CSOC on Germany MTU 396 diesel-electric generator engine issue replacement by Chinese offer CHD 620 for S26T Submarine, base on People's Liberation Army Navy (PLAN) Type 039B 
during 13-15 December 2022.
Result of latest discussing RTN has yet accept or reject Chinese CHD 620 engine, RTN representatives to be inspecting test and trial at manufacturer facility in China during January-April 2023 and to conclusion in June 2023.
By long delayed on S26T progarmme, RTN to request Thai Cabinet for domestic build second Frigate programme on Defence budget for Fiscal Year 2024,
the list of bidders not yet concluded, bidder with Thailand company partners include Republic of Korea, Spain, France and Russia.




Chinese Shipyard completes sea trials of Thailand's Royal Thai Navy Type 071E Landing Platform Dock (LPD), LPD-792 HTMS Chang(III). (Weibo)

โฆษกกองทัพเรือเผย กองทัพเรือเร่งหารือจีน กรณีเครื่องยนต์เรือดำน้ำ  ยันยังไม่ได้มีการตกลงใจ ย้ำ ยุทโธปกรณ์จะต้องจัดหาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นสำคัญ
พลเรือเอก  ปกครอง  มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 13 - 15 ธันวาคม 2565  กองทัพเรือ โดย  พลเรือเอก ชลธิศ  นาวานุเคราะห์  เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ 
ได้เชิญผู้แทนบริษัท CSOC บริษัทผู้ผลิต และผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สาธารณรัฐประชาชนจีน/กรุงเทพฯ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลจีน เข้าร่วมประชุมเพื่อแก้ปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ แบบ S26T ของกองทัพเรือ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.  บริษัท CSOC ได้เสนอข้อมูลทางเทคนิคเรื่องขีดความสามารถและสมรรถนะของเครื่องยนต์ฯ รุ่น CHD620 ให้ กองทัพเรือ พิจารณาเพิ่มเติม โดย กองทัพเรือ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว และอยู่ระหว่างการพิจารณา 
ทั้งนี้ กองทัพเรือ ยังมิได้ตกลงใจในการตอบรับหรือปฏิเสธการใช้เครื่องยนต์ฯ ดังกล่าว โดยกองทัพเรือ มีความจำเป็นที่จะต้องจัดส่งคณะผู้แทนไปเข้าร่วมการทดสอบทดลอง ณ โรงงานผู้ผลิตที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพิ่มเติม ในระหว่างเดือน มกราคม ถึงเดือนเมษายน 2566  
2.  นอกจากนั้น กองทัพเรือ ยังกำหนดความต้องการว่า เครื่องยนต์ฯ ที่บริษัทเสนอ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานทางทหารจาก กองทัพเรือจีน  ซึ่งเป็นกองทัพเรือของประเทศผู้ผลิต 
โดยกระบวนการดังกล่าว จะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือน มิถุนายน 2566 จากนั้น กองทัพเรือ จะได้รวบรวมข้อพิจารณาเพื่อเสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐบาล เพื่อทราบต่อไป 
โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า   "กองทัพเรือขอยืนยันต่อพี่น้องประชาชนอีกครั้ง ว่างบประมาณที่กองทัพเรือได้รับจะถูกใช้อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำอาจจะมีอุปสรรคบ้างแต่ก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด และขอยืนยันว่าทุกโครงการที่กองทัพเรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ตามนโยบายของ พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ" ในการเป็น " กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ  The Trusted Navy"
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

ล่าสุดกองทัพเรือไทยได้มีการเจรจาอีกครั้งกับ CSOC(China Shipbuilding & Offshore International Co., Ltd) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือจีนผู้ส่งออกเรือดำน้ำ S26T ที่เป็นสัญญาลงนามแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลอีกครั้งระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ผ่านมา 
การพูดคุยหลักเข้าใจว่าจะยังคงเป็นประเด็นเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 ทดแทน MTU 396 เยอรมนี ดังนั้นกองทัพเรือไทยจึงย้ำความต้องการของตนกับจีนว่าจะต้องมีรับเงื่อนไขมีการรับประกันและทดสอบพิสูจน์ผลยืนยันให้ทางกรมอู่ทหารเรือ อร.กองทัพเรือไทยว่า
เครื่องยนต์ CHD 620 มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือดีกว่า MTU 396 ที่เยอรมนีปฏิเสธการส่งมอบให้จีนใช้ติดตั้งกับสำหรับ S26T ของไทยและเรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถาน ทั้งนี้กองทัพเรือไทยยังเน้นกับจีนว่าตนสามารถยกเลิกสัญญากับจีนได้ทุกเมื่อเพราะถือว่าจีนเป็นฝ่ายผิดสัญญากับไทยด้วย

ข้อสรุปที่ได้จากการหารือร่วมระหว่าง คณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ กองทัพเรือไทย และตัวแทน CSOC จีนผู้ผลิตเรือดำน้ำ S26T และผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำกรุงเทพฯ ประเทศไทย เกี่ยวกับปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือ
กองทัพเรือไทยยังไม่ยอมรับเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 ทดแทนเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 โดยกองทัพเรือจะส่งคณะตัวแทนไปร่วมการทดสอบทดลองที่โรงงานผู้ผลิตที่จีนระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะได้ข้อสรุปเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ และจะเสนอต่อกระทรวงกลาโหมและรัฐบาลต่อไป ซึ่งนี่เป็นขั้นตอนที่จีนจะต้องดำเนินการให้กองทัพเรือไทยมั่นใจให้ได้ว่าเครื่องยนต์ CHD 620 สามารถทดแทน MTU 396 ที่มีระบุในสัญญาเดิมได้

ระหว่างที่โครงการเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกที่สร้างเป็นเสร็จไปแล้วเกินร้อยละ๕๐ ยังคงเลื่อนและล่าช้าไปเรื่อยๆจากปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า กองทัพเรือไทยก็เตรียมเสนอโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สองที่จะต่อในไทยในงบประมาณปี ๒๕๖๗(2024) ด้วย
รายชื่อของบริษัทจากประเทศต่างๆที่คาดว่าจะสนใจโครงการเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือไทยยังไม่สรุป มีการเปิดเผยว่ามีสี่ประเทศคือสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งน่าจะเป็นเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สอง(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html), ฝรั่งเศส, สเปน และรัสเซีย
ข้อกำหนดสำคัญสำหรับผู้เข้าแข่งขันคือจะต้องมีความร่วมมือเสนอแบบเรือฟริเกตกับหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมทางเรือของไทยเพื่อต่อเรือในไทยด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่าการตัดสินใจเห็นชอบโครงการนี้อาจจะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งใหญ่ของไทยในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖

การทดลองเรือในทะเลของเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) สำหรับกองทัพเรือไทย ซึ่งเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E LPD สำหรับส่งออกที่กองทัพเรือไทยเป็นลูกค้ารายแรกของจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๕ นั้น
การเผยแพร่ภาพเพิ่มเติมและรายงานข่าวในสื่อของรัฐบาลจีนแสดงให้เห็นว่าระบบพื้นฐานที่ติดตั้งในเรือ ทั้งเครื่องจักรใหญ่ เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และอู่ลอยถูกติดตั้งและทดสอบการใช้งานสมบูรณ์แล้ว กำลังพลชุดรับเรือของกองทัพเรือได้เดินทางไปที่จีนเพื่อทำการฝึกกับเรือแล้ว
ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) มีกำหนดรับมอบเรือในราวเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) โดยเรือ Type 071E ของไทยนั้นแตกต่างจาก Type 071 ที่จีนใช้เองบางจุด เช่นดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือที่ยาวกว่ารองรับ ฮ.ขนาดใหญ่ได้พร้อมกัน ๓เครื่อง แต่ระบบอาวุธนั้นคาดว่าจะถูกติดตั้งเมื่อเรือมาถึงไทย

ภายล่าสุดของ รล.ช้างที่จีนนั้นพบว่ามีการทำสีหมายเลขเรือ "792" ที่หัวเรือ โดยเป็นทราบบว่าใช้เลขเรือนี้ตามที่มีการตั้ง Facebook page "เรือหลวงช้าง - LPD 792" ซึ่งกำลังพลชุดรับเรือที่เดินทางไปฝึกที่จีนมีการสวมหมวกที่มีตราสัญลักษณ์และชื่อเรือภาษาอังกฤษ LPD-792 HTMS Chang
มีข้อสังเกตุว่าตามหลักการกำหนดหมายเลขเรือของกองทัพเรือไทย ที่เลขตัวแรก "7" ถูกกำหนดสำหรับเรือประเภทเรือยกพลขึ้นบกและเรือระบายพล เลขตัวที่สองเป็นหมายเลขชุดของเรือโดยเรือที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจะจัดรวมในชุดเดียวกัน และเลขตัวที่สามเป็นลำดับที่ของเรือในชุดเรือนั้น
ร.ล.ช้าง 792 เป็นหมายเลขเรือที่ต่อจากเรืออู่พลขึ้นพลลำแรกของกองทัพเรือไทย เรือหลวงอ่างทอง "791" LPD-791 HTMS Angthong แสดงให้เห็นว่าแม้เป็นเรือคนละชุดกันแต่กองทัพเรือไทยจัดให้ ร.ล.อ่างทอง และ ร.ล.ช้าง เป็นเรือประเภทเดียวกันตามขีดความสามารถของเรือครับ











December 7 , 2022
Vice Admiral Apakorn Yukongkaew, Commander of the 3rd Naval Area Command as a representative of commander-in-chief, Royal Navy along with along with his spouse, Mrs. Sasiwimon Yukongkaew attended the International Fleet Review(IFR) 2022 
that hose by Admiral M Shaheen Iqbal, NBP, NUP, ndc, afwc, psc , Chief of the Naval Staff, Bangladesh Navy with Chief Guest, Sheikh Hasina, Hon’ble Prime Minister of Govt. of the People's Republic of Bangladesh.
This time the International Fleet Review 2022 is the first ever International Fleet Review to commemorate the Birth Centenary of Father of the Nation Bangabandhu Sheikh Mujibur Rahman 
and cerebrate the Golden Jubilee of the independence of the People's Republic of Bangladesh. Royal Thai Navy has organized HTMS Prachuap Khiri Khan Participated in this fleet review in Cox's bazar , People's Republic of Bangladesh.
HTMS Prachuap Khiri Khan was build by the Royal Thai Navy as a great success. By the royal speech of His Majesty King Bhumibol Adulyadej at the keel laying ceremony of the PGM 91 boat in 1967, saying, 
"When large ships are expensive The navy should have a ship of the right size. And can build it yourself" is therefore the beginning of the Navy to build and use her.
HTMS Prachuap Khiri Khan is the second offshore patrol boat. She was developed and adapted from HTMS Krabi to have more performance and capability. 
She can operate at sea continuously for at least 14 days without receiving support. She can also monitor and identify air and surface targets both during the daytime and nighttime . 
Also she can attack water targets beyond the horizon with a guided weapon, close-range air defense including electronic warfare. And the most importantly, she can work with a helicopter of at least 11.5 tons weight both by day and night. 
As the main mission of the Royal Thai Navy is to protect Thai territorial waters from being invaded and encroaching on sovereignty. 
Therefore, our offshore patrol ships operating must be ready to prevent enemy invasions. She is another pride that the Royal Thai Navy can build ships that have the potential to compete with other countries since then.

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 พลเรือโท อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็นผู้แทน ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย นางศศิวิมล อยู่คงแก้ว คู่สมรส เข้าร่วมพิธีสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 
ในโอกาสเฉลิมฉลองปีที่ 50 ของการได้รับเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ 
โดยมี H.E. SHEIKH HASINA นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นประธาน และ Admiral M Shaheen Iqbal, NBP, NUP, ndc, afwc, psc ผู้บัญชาการทหารเรือสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ให้การต้อนรับ 
การสวนสนามทางเรือในครั้งนี้ จัดขึ้นในวาระเฉลิมฉลอง 50 ปี การประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ กองทัพเรือไทยได้จัด เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติในครั้งนี้ ที่เมือง Cox’s bazar สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
"เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์" ต่อโดยกองทัพเรือไทย นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จากกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.๙๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ความว่า 
"เมื่อเรือขนาดใหญ่มีราคาแพง กองทัพเรือจึงควรมีเรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง" จึงจุดเริ่มต้นของกองทัพเรือที่จะสร้างเรือไว้ใช้ราชการภายในประเทศ 
"เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์" เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่สอง ที่พัฒนาดัดแปลงจาก เรือหลวงกระบี่ ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น โดยสามารถออกปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้อย่างน้อย ๑๔ วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง 
อีกทั้งยังสามารถตรวจการณ์ และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ และเป้าอากาศยานได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โจมตีเป้าพื้นน้ำในระยะพ้นขอบฟ้าได้ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ป้องกันภัยทางอากาศได้ในระยะประชิด รวมถึงการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ 
และที่สำคัญยังสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ขนาดไม่ต่ำกว่า ๑๑.๕ ตัน ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยภารกิจหลักของกองทัพเรือ คือการปกป้องน่านน้ำไทยไม่ให้ถูกรุกรานและรุกล้ำอธิปไตย 
ดังนั้น เรือรบตรวจการณ์ไกลฝั่งที่ออกปฏิบัติการจะต้องมีความพร้อมป้องกันการรุกรานของศัตรู นับเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจที่กองทัพเรือสามารถต่อเรือที่มีศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศ ตราบจนปัจจุบัน







Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier; FFG-422 HTMS Taksin, the Naresuan-class missile frigate; FF-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya class frigate ;and AOR-871 HTMS Similan replenishment ship have involved 2nd Frigate Squadron (FS2), Royal Thai Fleet (RTF) exercise during 6-7 December 2022 at Gulf of Thailand.

Royal Thai Navy CVH-911 HTMS Chakri Naruebet at Singapore Strait 4 December 2022.

“รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” 
ในระหว่างวันที่ 6 – 7 ธ.ค.65 กำลังพลเรือหลวงกระบุรี เข้าร่วมการฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ ในการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ กฟก.2 ประจำปีงบประมาณ 66 
โดยมีการฝึกที่สำคัญ เช่น การปฏิบัติการร่วมของเรือและอากาศยาน  การแปรกระบวน การรับ - ส่งสิ่งของในทะเล การปราบเรือดำน้ำ การเข้าต่อตีกำลังข้าศึก เป็นต้น
การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือประจำปีนั้น เป็นการฝึกที่มีความสำคัญ เพื่อเป็นทบวนการปฏิบัติต่าง ๆ หลังจากที่ได้รับการอบรมในห้องเรียน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความชำนาญ ในการปฏิบัติการทางเรือต่าง ๆ ตั้งแต่ภาวะปกติ 
เพื่อเตรียมความพร้อมด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี ให้เรือมีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตามที่จะได้รับมอบหมาย ในห้วงต้นของการฝึก จะเป็นการอบรมในห้องเรียนเพื่อทบทวนหลักการ หลักปฏิบัติ และหลักยุทธวิธี ให้เข้าใจถูกต้อง ตามหลักการ และ เห็นเป็นภาพเดียวกันทั้งกองเรือ
หลังจากนั้นเป็นห้วงของการฝึกภาคทะเล เพื่อฝึกการปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่ได้รับการอบรมมาในห้วงแรก และนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในการฝึกภาคทะเล เพื่อเป็นการทดสอบแผนการปฏิบัติ และแนวทางการปฏิบัติการร่วม รวมถึงการอำนวยการยุทธ์ ของการปฏิบัติในยุทธวิธีตามสาขาการรบต่าง ๆ  
โดยมีคณะผู้ประเมินผลการฝึกของกองการฝึกกองเรือยุทธการ เป็นผู้กำหนดหัวข้อการฝึก และสถานการณ์รบที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริง การประเมินผลการฝึก ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญว่า ความชำนาญในการปฏิบัติการต่าง ๆ อยู่ในระดับใด
ต้องปรับปรุงแก้ไขสิ่งใดบ้าง เพื่อให้ทุกส่วนที่เข้าร่วมการฝึก ได้นำบทเรียนที่ได้รับไปปรับปรุงแก้ไข ให้รายละเอียดในการปฏิบัติ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนเรือรบขนาดใหญ่ของกองทัพเรือไทยโดยเฉพาะเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ เรือหลวงสิมิลัน ก็ยังคงถูกผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพเรือโจมตีว่าเป็นเรือที่สิ้นเปลืองวันๆจอดอยู่แต่ที่ท่าเรือไม่ไปไหนเปลืองภาษีประชาชน
ทั้งที่ในความเป็นจริงเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ที่ผ่านมาคือวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ร.ล.จักรีนฤเบศร ก็พบภาพว่าเดินเรือในช่องแคบสิงคโปร์ และระหว่างวันที่ ๖-๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ ก็ฝึกร่วมกับกองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒ กองเรือยุทธการ กร. พร้อมกับ ร.ล.สิมิลัน
รวมถึงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงกระบุรี แม้ว่าภาพล่าสุดจะเห็นได้ว่าดาดฟ้าบินของ ร.ล.จักรีนฤศเบศร กำลังอยู่ในวงรอบที่ต้องได้รับการซ่อมทำและทำสีพื้นดาดฟ้าใหม่ แต่ก็สามารถออกเรือเมื่อได้รับคำสั่งตลอดเวลาครับ




At Latitude 11 degrees 0.39 north minutes, longitude 99 degrees 53.94 east minutes, Royal Thai Navy's FSG-442 HTMS Sukhothai, the second Rattanakosin-class guided missile corvette laid on depth around 40m on bottom of Gulf of Thailand.
HTMS Sukhothai has been sunk during strong monsoon winds in the Gulf of Thailand 20nmi off coast of Bang Saphan District Prachuap Khiri Khan Province at local time 0012 on 19 December 2022.
76 aboard crews of and additional RTN Air and Coastal Defence Command (ACDC) and Royal Thai Marine Corps (RTMC) 30 passengers that was planned to involved 142nd years of Prince Abhakara Kiartivongse and Royal Thai Fleet day ceremony at Sairee Beach, Chumphon Province on 19 December 2022,
from total 105 men, 76 have been rescued, 24 have been killed and 5 still missing.


กองทัพเรือ ส่งอากาศยานไร้คนขับ (UAV) Schiebel S-100  ขึ้นค้นหาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัย อย่างต่อเนื่อง โดยมีฐานปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ท่าเทียบเรือบางสะพาน 


ปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) Schiebel camcopter S-100  ในการค้นหาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัย 
- วันที่ 271265 เดินทางจากท่าเทียบเรือน้ำลึก อ.บางสะพาน ไปยังปากน้ำชุมพร เพื่อทำการบินลาดตระเวน
คุณลักษณะของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) Schiebel camcopter S-100
- รัศมีทำการ 54 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 100 กิโลเมตร จากจุด takeoff 
- ระยะเวลาในการบิน 5 ชั่วโมง ที่เพดานบินสูงสุด 12,000 feets 
- สามารถขึ้น-ลง ทางดิ่ง (VTOL) จากฐานปฏิบัติการทั้งบนบกและบนเรือ
- กล้องตรวจการณ์ระยะไกลแบบ MX-10 สามารถตรวจการณ์ได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนด้วยระบบ EO/IR

ในเรื่องของบประมาณในการซ่อมทำเรือโดยกองทัพเรือจะส่งงป.การซ่อมทำให้หน่วยงานทางเทคนิคที่รับผิดชอบในการซ่อมทำเรือเช่น กรมอู่ทหารเรือ กรมอิเล็คทรอนิคทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือและกรมต่างๆที่ดูแลการซ่อมเรือ 
โดยข้อมูลย้อนหลังเปรียบเทียบกับงป.ที่ได้รับประจำปีมีเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน งป.ซ่อมบำรุงยังคงเดิม แต่กองทัพเรือได้คำนึงถึงการใช้งป. ต้องทำให้ยุทโธปกรณ์คุ้มค่าโดยมีแผนที่จะปลดประจำการเรือต่างๆที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าข้อกำหนดเช่น 
เรือฟริเกตใช้อายุราชการ 40 ปี จึงปลดประจำการ เรือขนาดเล็ก เรือตรวจการณ์ มีอายุราชการ 20 ปี ในปีที่ผ่านมากองทัพเรือได้ปลดประจำการเรือฟริเกต ร.ล. ตาปี ไป 1 ลำ เรือตรวจการณ์ปืนไป 2 ลำ และในอนาคตก็จะปลดประจำการเรือฟริเกต ร.ล. คีรีรัฐ 
เพื่อลดงป.ในการซ่อมทำ และมุ่งที่จะต่อเรือรบรุ่นใหม่ทดแทนเรือที่หมดสภาพในการใช้งาน ซึ่งก็จะปลดประจำการไปตามแผนของกองทัพเรืออยู่แล้ว  เพราะฉะนั้นโดยสรุปแล้วงป.ของการซ่อมบำรุงไม่ได้ลดลง 
และมีการปลดประจำการเรือเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลงและมีการต่อเรือรุ่นใหม่เพื่อทดแทนเรือที่ปลดประจำการไป ร.ล. สุโขทัย ถึงแม้จะปฏิบัติราชการมาแล้ว 36 ปี แต่สภาพ ขีดความสามารถและอุปกรณ์บนเรือทุกประเภททุกชนิดยังใช้การได้ดี ทุกอย่างยังใช้งานได้ตามปกติ 
ยังมีขีดความสามารถสูงในปัจจุบัน ระบบอาวุธทั้งหมดยังสามารถใช้งานได้ กองทัพเรือมีแนวความคิดที่จะขยายอายุของเรือคอร์เวต ร.ล. สุโขทัยและ ร.ล. รัตนโกสินทร์ ให้ใช้งานต่อไปได้อีกอย่างน้อย 5- 10 ปีในอนาคต ร.ล. สุโขทัยเพิ่งได้รับการซ่อมทำขนาดใหญ่เป็นระยะเวลา 2 ปี 
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเตรียมการที่จะไปปฏิบัติการในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป แต่แผนดังกล่าวยังไม่อาจดำเนินการได้ เนื่องจากการสร้างหรือขุดลอกท่าเรือไม่เป็นไปตามแผน จึงยังไม่ส่ง ร.ล. สุโขทัยไปปฏิบัติการในฝั่งทะเลอันดามัน 

จากข้อมูลนับตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2565 มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างอะไหล่และวัสดุซ่อมทำที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมทำของ ร.ล. สุโขทัยทั้งสิ้น 60 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 40.76 ล้านบาท 
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการซ่อมทำและการบำรุงรักษาของ ร.ล. สุโขทัยนั้นเป็นไปตามวงรอบและมีการซ่อมทำขนาดใหญ่ด้วย ไม่ได้ขาดการซ่อมทำหรือเรือไม่สมบูรณ์ก่อนที่จะออกปฏิบัติการตามที่มีคนเขียนกล่าวอ้างหรือสงสัยแต่อย่างไร 
อีกทั้งงบประมาณในการซ่อมเรือรบของกองทัพเรือก็ไม่ได้ลดน้อยหรือถูกโยกย้ายเอาไปซื้ออาวุธใหม่ๆ เหมือนกับผู้ที่ออกมาวิจารณ์เขียนออกมาแต่อย่างใดเช่นกัน 
จึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังข้อมูลข่าวสารให้รอบด้าน เพื่อที่จะได้รับทราบความจริงให้ถูกต้องต่อไป …Photo Sompong Nondhasa

การปฏิบัติค้นหาดำน้ำลงใต้ทะเล เพื่อสำรวจหาร่างผู้สูญหาย พร้อมกับการค้นหาและช่วยเหลือกำลังพล กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปางในพื้นที่ลาดตระเวนตามแผน นอกจากการลาดตระเวนบนผิวน้ำ และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งแล้ว 
ในวันนี้เรือหลวงบางระจัน ได้กำหนดตำบลที่ใต้น้ำ และติดตั้งทุ่นลอยบริเวณเรือหลวงสุโขทัย ที่ได้เคยติดตั้งไว้แล้วก่อนหน้านี้ แต่ภายหลังพบว่าได้หลุดหายไปจากการทำประมง 
โดยเจ้าหน้าที่ชุดถอดทำลายอมภัณฑ์ ได้ปฏิบัติภารกิจในการสำรวจและค้นหาผู้ประสบภัยรอบตัวเรือหลวงสุโขทัยบริเวณเหนือดาดฟ้าหลัก โดยมี รล.ราวี เป็นฐานปฏิบัติการ ซึ่งจากการสำรวจและค้นหา ยังไม่ปรากฏร่างของผู้เสียชีวิตในบริเวณที่สำรวจ 
ซึ่งนักประดาน้ำได้ลงดำน้ำสำรวจที่ความลึก 40 เมตร พบว่า ยังมีกระแสน้ำค่อนข้างแรงและขุ่น ทำให้การทำงานทั้งวัน จำนวน 3 ไดฟ์ เป็นไปด้วยความล่าช้า แต่เบื้องต้นสามารถเข้าถึงรอบเรือได้ ก่อนที่จะประเมินความเสียหายและวางแผนกู้เรือในอนาคต 
ส่วนอวนประมงที่ติดลำเรืออยู่นั้น ได้นำออกไปได้แล้วส่วนหนึ่ง

อุบัติเหตุเรือคอร์เวตชั้นเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ หลังจากเผชิญคลื่นลมแรงจนเรือพลิกคว่ำน้ำเข้าเรือเครื่องยนต์ดับ เอียงจนจมลงในเวลาประมาณ ๐๐๑๒ ของวันที่ ๑๙ ธันวาคม นอกชายฝั่งอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราว 20nmi
ปฏิบัติร่วมครั้งใหญ่ของกองทัพไทยในการค้นหาและช่วยเหลือจาก เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงกระบุรี เรือหลวงนราธิวาส เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงราวี เรือ ต113 เรือ ต.114 และเรือ ต.270 เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B 
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๔ S-76B ฮ.ลล.๒ Bell 212 ฮ.ลล.๖ H145M เครื่องบินลาดตระเวน บ.ลว.๑ Do 228 เครื่องบินลำเลียง บ.ลล.๑ F-27 MK400 อากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Schiebel Camcopter S-100 และอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้า บร.ตช.๒ RQ-21A Blackjack

กองทัพอากาศไทย เครื่องบินตรวจการณ์และฝึก บ.ตฝ.๒๐ DA42 MPP เครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A และเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรือตำรวจน้ำ เฮลิคอปเตอร์ Bell 212 เฮลิคอปเตอร์ Bell 429 และเฮลิคอปเตอร์กู้ภัย AS365 N3+ กองบินตำรวจ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เฮลิคอปเตอร์กู้ภัย Ka-32A11BC
กำลังพลประจำเรือ ๗๕นายและทหารเรือจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอรฝ. และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย. ๓๐นาย รวมทั้งหมด ๑๐๕นาย ที่โดยสารมากับเรือเพื่อเข้าร่วมงานวันคล้ายวันประสูติ กรมหลวงชุมพรฯ และวันกองเรือยุทธการ ที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร 
ได้รับการช่วยเหลือปลอดภัย ๗๖นาย เสียชีวิต ๒๔นาย และยังหายสาบสูญ ๕นาย เนื่องจากข้อกังวลด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อมและการกีดขวางการจรจรทางทะเล กองทัพเรือไทยจะมีแผนกู้ ร.ล.สุโขทัย จากความลึกราว 40m อย่างไรก็ตามจากภารกิจหลักตอนนี้ยังคงเป็นการค้นหาผู้สูญหายอยู่ครับ
(น่าเศร้าแทนลูกประดู่ที่ว่า เหตุการสูญเสียนี้นอกจากได้กลบคุณงามความดีที่ราชนาวีไทยทำมาตลอดทั้งปีแล้ว ยังกลับเป็นโอกาสอันวิเศษยิ่งของกลุ่มภัยความมั่นคงของชาติในการเคลื่อนไหวโจมตีกล่าวหาทหารเรือทั้งที่เสียชีวิตหรือรอดชีวิตต่างๆนานาจากช่องทางสื่อไร้จรรยาบรรณทั้งหลาย
ตั้งแต่ว่า "ทหารเรือมันโง่ทำเรือจมเอง ทหารเรือซ่อมเรือไม่เป็นจนเรือรั่วโดนคลื่นเบาๆสูงแค่ 6m ก็จมเอง เป็นทหารเรือแต่ว่ายน้ำไม่เป็นสมควรตาย เป็นเรือรบแต่มีเสื้อชูชีพไม่พอสมควรจม จับพวกนายพลเรือกับผู้การเรือมาแขวนซะ" โดยต้องการให้มีการลงโทษเพื่อนำไปสู่การยุบกองทัพเรือในที่สุด
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การหาคนผิดมาลงโทษ ซึ่งถ้าหาคนผิดที่ชัดเจนเป็นรายตัวไม่ได้ ก็ต้องลงโทษทุกทหารเรือนาย ตามแนวคิดที่ว่า "ลงโทษคนบริสุทธิ์เจ็ดหมื่นคน ดีกว่าปล่อยคนผิดรอดไปคนเดียว" เช่นที่โทษประหารไม่ได้ทำให้คนที่ถูกฆ่าฟื้น แต่ทำให้คนที่ยังอยู่รู้สึกดีว่าคนร้ายได้รับการลงโทษ
กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่มีความเคลื่อนไหวเป็นภัยต่อบ้านเมืองพวกนี้จึงไม่ได้หวังดีต้องการให้กองทัพเรือออกมาสอบสวนหาสาเหตุการจมของ ร.ล.สุโขทัย เพื่อความโปร่งใสแก่ประชาชนหรอก มันอยากให้ทหารเรือไทยทุกคนตาย! แค่เรือจมลำเดียวมีทหารตาย ๒๔นายไม่พอ ทร.ต้องตายให้หมด!
ถ้าว่ากันตรงๆคนส่วนหนึ่งในประเทศไม่ได้สนใจหรอกว่าเรือหลวงของราชนาวีไทยจมไปแล้วจะทำไม? หรือจะมีทหารเรือไทยตายสักกี่นาย? คนพวกนี้อยากเห็นกองทัพเรือพบจุดจบอันพินาศต่างหาก เพราะกองทัพเรือเป็นศัตรูของประชาชน กองทัพเรือจะต้องถูกกำจัดทิ้งโดยทุกวิธีการ เรื่องก็มีแค่นั้น)


The Royal Thai Air Force (RTAF) has sent a letter to the US government asking for the procurement of Lockheed Martin F-35A fifth-generation fighters.
Acquisition of the aircraft could prompt the RTAF to retire old fighter types in service, such as Northrop F-5s and Lockheed Martin F-16A/Bs


The opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2023 (ATOC 2023) at Chandy Range, Lopburi, Thailand on 1 December 2022.
Royal Thai Air Force's Air Power demonstration include Lockheed Martin F-16A and F-16B of 103rd Squadron, Wing 1 Korat. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708/permalink/8863209403697038/)

เป็นที่คาดว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A แก่กองทัพอากาศไทยเพื่อแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B และ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๓ ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖ นี้ตามรายงานที่เปิดเผยก่อนหน้า
แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานยืนยันว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินความสามารถของกองทัพอากาศไทยสำหรับการปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ที่เคยมีรายงานว่าจะเป็นช่วงปลายปี ๒๕๖๕ แล้วหรือไม่(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/f-35.html)
แต่กองทัพอากาศไทยผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของผู้บัญชาการทหารอากาศไทยยืนยันว่าตัวเลือกที่มองในการทดแทน F-16A/B มีเพียง F-35A เท่านั้น และยังไม่มีแผนสำรองสำหรับเครื่องบินขับไล่แบบอื่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งใหญ่ครับ








The Royal Thai Air Force's CT-4E, Pilatus PC-9 and Diamond DA42 trainer aircrafts on displayed and demonstration flight at Kamphaeng Saen flying school during KPS Air Force Base Open House & Air Show on 8 December 2022.


การบินแสดงของเครื่องบินฝึกแบบ PC-9, CT-4E และ DA-42 วันที่ 8 ธ.ค. 2565 เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนการบินกำแพงแสน

โรงเรียนการบิน จัดกิจกรรม KPS Air Force Base open House เปิดบ้านสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โรงเรียนการบิน จัดกิจกรรม KPS Air Force Base open House เปิดบ้านสร้างแรงบันดาลใจเชิงรุกในวัยเรียนให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา 
ได้เข้าถึงการปฏิบัติภารกิจ ของโรงเรียนการบิน และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการเลือกอาชีพในอนาคต

กิจกรรม KPS Air Force Base Open House & Air Show 2022 เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ณ โรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทย เป็นงานแสดงการบินที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๔ปีของโรงเรียนการบินที่ย้อนประวัติกลับไปได้ตั้งสมัยเริ่มกิจการการบินของสยามประเทศ
ตั้งแต่การจัดแสดงภาคพื้นดินและการแสดงการบินทางอากาศเครื่องบินฝึกที่ใช้งานในปัจจุบันทั้ง บ.ฝ.๑๖ก CT-4E จากฝูงบินฝึกขั้นต้น, บ.ฝ.๑๙ PC-9 และ บ.ฝ.๒๐ DA42 จากฝูงบินขั้นปลาย รวมถึงเครื่องบินฝึกในอนาคต บ.ฝ.๒๒ T-6TH(T-6C) ที่ ๒เครื่องแรกมาถึงไทยในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕
การจัดแสดงยังรวมถึงการสาธิตปฏิบัติการของอากาศโยธิน, สุนัขทหาร K-9, โดดร่ม Parasail, การดำรงชีพในป่า และเครื่องจำลองการบิน VR flight simulator แก่เด็กและเยาวชนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งน่าจะเห็นได้ว่างานแสดงในวันเด็กประจำปี ๒๕๖๖ อาจจะกลับมาจัดเต็มรูปแบบได้ครับ




9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center (AAC), Royal Thai Army (RTA) has received new 4 of Sikorsky UH-60M Black Hawk utility helicopters serial 7450, 7451, 7452 and 7453 on early December 2022.

วีดิทัศน์บน Youtube ช่วงวันที่ ๔-๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ได้เปิดเผยว่า กองพันบินที่๙, กรมบิน, ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. กองทัพบกไทยได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60M Black Hawk ใหม่ ๔เครื่องแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องที่สั่งจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
ทำให้ปัจจุบัน กองพันบินที่๙ ศบบ.มีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60M รวมทั้งหมด ๗เครื่องจากที่มีอยู่แล้ว ๓เครื่อง เมื่อรวมกับรุ่นอื่นคือ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60L จำนวน ๕เครื่อง, ฮ.ท.๖๐ UH-60L ติด radar ตรวจสภาพอากาศ จำนวน ๓เครื่อง
และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60A (Refurbished) จำนวน ๓เครื่อง รวม ฮ.ท.๖๐ UH-60L/M/A ทุกรุ่น ๑๘เครื่อง อย่างไรก็ตามแผนจัดหา ฮ.ท.๖๐ UH-60A ระยะที่๒ เพิ่ม ๙เครื่องได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งอาจจะเปลี่ยนเป็น ฮ.ท.๖๐ UH-60M สร้างใหม่แทนถ้าได้รับการอนุมัติครับ

Defence Technology Institute (DTI) has testing D-Lion 4x4 Mine-Resistant Ambush Protected (MRAP) vehicle from Thailand company's JATUNAPAS to Defence Science and Technology Department, Ministry of Defence of Thailand at Army Transportation Department, Royal Thai Army's Tha Muang test range, Kanchanaburi Province. (DTI)



DTI also test firing EOS R150S ultra light remote weapons systems (RWS) with M2 .50cal HMG fitted on D-Lion 4x4 at Thung Prong firing range, Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy (RTN) during 6-8 December 2022. (DTI)

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ได้เผยแพร่ภาพและข้อมูลการทดสอบมาตรฐานและทดลองยิงป้อมปืน EOS R150S พร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal ของรถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4 ของบริษัท จตุนภัส จำกัด(Jatunapas CO., LTD) ไทย
ที่มีพื้นฐานจากรถหุ้มเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิด Mbombe 4 ของ Paramount Group แอฟริกาใต้ สำหรับ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก.(CTOC: Counter Terrorism Operations Center) หน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) 
ตามที่การทดสอบที่มีขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ถ้า D-Lion 4x4 ชนะคำสั่งจัดหาจาก ศตก.CTOC บริษัท Jatunapas วางแผนที่จะสร้างรถในไทย รวมถึงมองกองทัพบกไทยเป็นลูกค้าเพิ่มเติม และวางแผนที่จะส่งออกให้แก่ประเทศในกลุ่มชาติ ASEAN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยครับ