Resumption of Rafale deliveries to France
On 29 December 2022, Dassault Aviation’s Merignac plant delivered Rafale B359
(F3R standard) to the Direction Generale de l’Armement (French defense
procurement agency)
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2022 โรงงานอากาศยาน Mérignac ของบริษัท Dassault
Aviation ฝรั่งเศสได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจสองที่นั่งเรียงกัน Rafale
B359(มาตรฐาน F3R)
แก่สำนักงานจัดหากลาโหมฝรั่งเศส(DGA: Direction Générale de l’Armement) บริษัท
Dassault ประกาศในสื่อประชาสัมพันธ์ของตนเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2023
เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการกลับมาเริ่มต้นการส่งมอบเครื่องบินขับไล่
Rafale แก่กองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, Armée de
l'Air et de l'Espace) ได้ใหม่หลังหยุดชะงักไปสี่ปี
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B359
เป็นเครื่องสำหรับกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องในชุด
"tranche 4" ที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน
60เครื่องที่ประกาศสัญญาในปี 2009
ตามความสอดคล้องกับรัฐบัญญัติโครงการทางทหาร(Military Programming Acts)
หลายๆฉบับ การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale
แก่กองทัพฝรั่งเศสได้หยุดชะงักด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ
สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Rafale
หลังจากนั้นมาได้ถูกอุทิศให้คำสั่งจัดหาสำหรับส่งออก(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/eurofighter-typhoon-rafale.html)
เครื่องบินขับไล่ Rafale เพิ่มเติมจำนวน
27เครื่องยังคงจะต้องถูกส่งมอบสำหรับเครื่องชุด tranche 4
เพิ่มด้วยเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 12เครื่องที่สั่งจัดหาโดยฝรั่งเศสในปี
2021 เพื่อชดเชย 12เครื่องที่ขายให้กรีซ(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/rafale.html)
เครื่องบินขับไล่ Rafale ในชุด Tranche 5 ควรจะได้รับการประกาศในปี 2023 นี้
ในบริบททางยุทธศาสตร์ปัจจุบันกลุ่ม Dassault Aviation
มีความภูมิใจเป็นพิเศษที่ะเป็นหุ้นส่วนในการติดตั้งและสนับสนุนกองทัพอากาศฝรั่งเศส
ตามที่ได้ทำสำเร็จเป็นเวลามากกว่าศตวรรษ
นอกจากฝรั่งเศสผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ Rafale ยังถูกส่งออกให้แก่อียิปต์จำนวน
54เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale-30.html), อินเดียจำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html)
กาตาร์จำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html), กรีซจำนวน 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/rafale-6.html), โครเอเชียจำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/rafale.html)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จำนวน 80เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/rafale-f4-80.html) และอินโดนีเซียจำนวน 42เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/mirage-2000.html) รวมมีลูกค้าส่งออกล่าสุด 7ประเทศ
มาตรฐานเครื่องบินขับไล่ Rafale F3R
ประกอบด้วยการปรับปรุงชุดคำสั่งและส่วนอุปกรณ์หลักที่รวมถึงการบูรณาการ
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range
Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสู่งรุ่นนำวิถีด้วย laser
รุ่นล่าสุดแบบ modular แบบ Sagem(ปัจจุบัน Safran) AASM(Armement Air-Sol
Modulaire), AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Thales
RBE2,
กระเปาะชี้เป้าหมายทางอากาศพิสัยไกล Thales TALIOS(Targeting Long-range
Identification Optronic System),
ระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(Auto-GCAS: Automatic Ground Collision
Avoidance System),
ปรับปรุงกระเปาะเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Buddy-Buddy และระบบสงคราม Electronic
แบบ Thales Spectra(Système de Protection et d'Évitement des Conduites de Tir
du Rafale)
เครื่องบินขับไล่ Rafale F3R
รุ่นล่าสุดจะยังคงสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยกลางเพิ่มขยายสมรรถนะแบบ
ASMPA(Air-Sol Moyenne Portée-Amélioré)
ในฐานะส่วนหนึ่งของภารกิจการป้องปรามนิวเคลียร์ทางอากาศ(airborne nuclear
deterrence) ครับ