วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ปากีสถานทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่หกที่สร้างในประเทศลำที่สอง

Pakistan Navy lays the keel of the 2nd Hangor-class submarine



Keel laying ceremony of the second Hangor-class submarine (Pakistan Navy photo)



กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ประกาศการทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่6 ซึ่งเป็นลำที่2 ที่สร้างในประเทศ ณ อู่เรือ Karachi Shipyard & Engineering Works(KS&EW) ในมหานคร Karachi เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2024
การบรรลุอีกเหตุการณ์สำคัญในโครงการการพัฒนาเรือดำน้ำในประเทศในปากีสถาน พิธีวางกระดูงูเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่สองได้ถูกจัดขึ้นโดยหัวหน้าคณะเสนาธิการกองทัพเรือปากีสถาน พลเรือเอก Naveed Ashraf ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี

ตามข้อตกลงด้านกลาโหมระหว่างปากีสถานและจีนสำหรับการพัฒนาเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำ เรือดำน้ำ 4ลำแรกกำลังถูกสร้าง ณ อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group(WSIG) ในจีน
ในทางตรงกันข้ามเรือดำน้ำชั้น Hangor ที่เหลือ 4ลำหลังกำลังได้รับการสร้าง ณ อู่เรือ KS&EW ปากีสถานภายใต้ข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการ(ToT: Transfer of Technology)

นี่เป็นเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่สองที่ได้รับวางกระดูกงูเรือที่อู่เรือ KS&EW ก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม 2022 พิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกที่สร้างในปากีสถาน เรือดำน้ำ PNS Tasnim
ได้ถูกดำเนินการโดยประสบความสำเร็จแล้ว เรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่5 เรือดำน้ำ PNS Tasnim อยู่ในขั้นระยะมีความคืบหน้าในการสร้าง(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/hangor-pns-tasnim.html)

การกล่าวสุนทรพจน์ในพิธี พลเรือเอก Naveed Ashraf กล่าวว่ามันเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นพยานในพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำชั้น Hangor ณ อู่เรือ Karachi ในความร่วมมือกับ China Shipbuilding & Offshore International Co. Ltd(CSOC) รัฐวิสาหกิจการสร้างเรือของจีน
เขายกย่องความพยายามและการดำเนินงานร่วมกันของกระทรวงการผลิตกลาโหมปากีสถาน, กองทัพเรือปากีสถาน, KS&EW ปากีสถาน และ CSOC จีน สำหรับการสร้างเรือดำน้ำเหล่านี้

ผู้บัญชาการกองทัพเรือปากีสถานเน้นย้ำว่าการสร้างภายในประเทศเป็นลำดับความสำคัญสูงสุดของนโยบายกองบัญชาการกองทัพเรือปากีสถานซึ่งได้เป็นที่ประจักษ์โดยการสร้างเรือดำน้ำอันล้ำสมัยเหล่านี้ที่อู่เรือ KS&EW
ก่อนหน้านั้นระหว่างการกล่าวต้อนรับผู้นำกองทัพเรือปากีสถาน ผู้อำนวยการการจัดการอู่เรือ KS&EW พลเรือตรี Salman Ilyas เน้นย้ำว่าอู่เรือ Karachi ตระหนักอย่างเต็มที่และสอดคล้องอย่างสมบูรณ์กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ลำดับที่สี่โดยรัฐบาลปากีสถานและกองทัพเรือปากีสถาน

ในการผลักดันการพึ่งพาตนเองในการสร้างเรือดำน้ำ เรือดำน้ำเหล่านี้เป็นประจักษ์พยานถึงความมุ่งมั่นของเราต่อเป้าหมายระดับชาตินี้ เขายังขอบคุณกระทรวงการผลิตกลาโหมและกองทัพเรือปากีสถานสำหรับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและความร่วมมือในการตระหนักถึงหลากหลายโครงการในมือ
พิธีได้เชิญตัวแทนจากสถานฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำปากีสถาน, CSOC จีน, อู่เรือ WSIG จีน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอื่นๆ รวมถึงแขกผู้มีเกียรติจากกระทรวงการผลิตกลาโหมปากีสถานและกองทัพปากีสถาน

เรือดำน้ำชั้น Hangor ปากีสถานเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) 
ปากีสถานยอมรับการจัดซื้อเรือดำน้ำ 8ลำจากจีนในเดือนเมษายน 2015 ตามข้อตกลงเรือดำน้ำ 4ลำหลังจะถูกสร้างในอู่เรือ KS&EW ปากีสถาน ในเวลาเดียวกับที่เรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างในจีน

เรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำมีกำหนดที่จะส่งมอบในระหว่างปี 2022-2028 หัวหน้าผู้อำนวยการของโครงการเปิดเผยในเดือนสิงหาคม 2016 ว่าเรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกส่งมอบในช่วงปี 2022-2023 โดยเรือ 4ลำสุดท้ายจะส่งมอบตามมาในปี 2028 
กองทัพเรือปากีสถานไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับระบบย่อยหรือระบบอาวุธเฉพาะของเรือดำน้ำชั้น Hangor ระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) แบบวัฏจักร Stirling ถูกใช้ในแบบเรือดำน้ำ S26T ของ CSOC จีน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายรายสันนิษฐานว่าเรือดำน้ำชั้น Hangor มีพื้นฐานมา แต่ทางการปากีสถานไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนของเรือดำน้ำชั้น Hangor

ตามข้อมูลจาก blog ด้านความมั่นคงของปากีสถาน Quwa เรือดำน้ำชั้น Hangor มีความยาวเรือ 76m และมีระวางขับน้ำที่ 2800tons ทำให้เรือมีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย และมีระวางขับน้ำหนักกว่าแบบเรือดำน้ำ S26T เดิม
ปัจจุบันกองทัพเรือปากีสถานมีประจำการด้วยเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Khalid(Agosta 90B) ทีมีระบบ AIP จำนวน 3ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/khalid.html) และเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hashmat(Agosta 70) จำนวน 2ลำ

เรือดำน้ำแบบ Agosta 90B 3ลำได้รับการปรับปรุงครึ่งอายุภายใต้สัญญาที่ลงนามในปี 2016 กับบริษัท STM ตุรกีในฐานะผู้รับสัญญาหลัก STM ได้ส่งมอบเรือลำแรกที่ได้รับการปรับปรุงแล้วเรือดำน้ำ S139 PNS Hamza ในปี 2020 
ขอบเขตของการปรับปรุงความทันสมัยของเรือดำน้ำคือการเปลี่ยนระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), ชุด Sonar, ระบบสงคราม electronic(EWS: Electronic Warfare System), Radar และระบบกล้องตาเรือ(นำร่องและโจมตี)

เรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง 8ลำจะสร้างความแข็งแกร่งอย่างมีนัยสำคัญแก่กองทัพเรือปากีสถาน ปากีสถานน่าจะที่จะเพิ่มขีดความสามารถต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธการใช้พื้นที่(A2/AD: Anti-Access/Area Denial) ในภูมิภาคหลังโครงการเสร็จสมบูรณ์
ตามที่ยังไม่มีการยืนยันเป็นทางการว่าเรือมีระบบอาวุธอะไรบ้าง เป็นที่ชัดเจนว่าปากีสถานจะได้รับขีดความสามารถการโจมตีทางลึกถ้าเรือดำน้ำชั้น Hangor ได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำ Babur-3 (SLCM: Submarine-Launched Cruise Missile) ครับ