วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๑








Royal Thai Air Force (RTAF) Children's Day 2024 Activities at RTAF Air Base around Thailand on 13 January 2023 include static displayed and fly-by demonstration of Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU and F-16A/B ADF of 103rd Squadron, Wing 1 Korat; Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli; and Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani. (Royal Thai Air Force, Sompong Nondhasa)




Royal Thai Air Force's Gripen C 70107 Solo Flying Display by Callsign "Cicero" and Gripen D 70102 and Saab 340B ERIEYE 70203 during media tour at Wing 7 Surat Thani on 30 January 2023. (Royal Thai Air Force)

New RTAF White Paper 2024 to be unveiled at Royal Thai Air Force's Symposium 2024 on 29 February 2024 expected content include plan to procure new 12 multirole fighters for replaced F-16A/B of Wing 1 Korat.
Royal Thai Air Force to proposed budget allocation on FY2025 at 19 billion Baht($533,662,880) for 1st batch of 4 new multirole fighters, potential candidates include Swedish Saab Gripen E/F and US Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72.
Commanders-in-chief of Royal Thai Air Force, Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul also told during Media Tour at Wing 7 Surat Thani on 30 January 2024, 
RTAF looking in long term for 18 F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron of replacement in 2037 by Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighters F-35A or 6th Generation fighter aircraft.





F-16 Show งานวันเด็กที่กองบิน 6 ...Photo Sompong Nondhasa

รวมภาพ Gripen D "Shark" หมายเลข 70102 ฝูงบิน 701 กองบิน 7 สุราษฏร์ธานี บินมาโชว์ที่กองบิน 6 ดอนเมือง งานวันเด็ก 13 ม.ค. 2567 ...Photo Sompong Nondhasa

สหรัฐฯเสนอราคาใหม่ F-16 Block 70 ให้ทอ.ไทยพิจารณา! ในขณะนี้การเจรจาเรื่องการซื้อเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 กำลังดำเนินการพิจารณาอยู่ในขั้นตอนที่ 2 เนื่องจากการซื้อขายในครั้งนี้เป็นแบบจีทูจี แบบ FMS ไม่ได้ซื้อตรงจากบริษัทล็อคฮีดมาร์ติน 
หมายความว่ากองทัพอากาศไทยต้องซื้อผ่านทอ.สหรัฐฯโดยได้ขอราคาไปยังกองทัพอากาศสหรัฐฯแล้วทอ.สหรัฐฯจะต้องไปซื้อ F-16 มาขายให้ทอ.ไทยอีกทอดหนึ่ง โดยราคาที่ทอ.สหรัฐฯเสนอให้ทอ.ในครั้งแรกมีราคาที่สูงมากกว่า 86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 
ซึ่งทำความประหลาดใจให้แก่กองทัพไทยเป็นอย่างมาก ถ้าพิจารณาถึงความเป็นจริงแล้ว ราคา Fly away หรือเครื่องบินเปล่า ของ F-16 Block 70 จะประมาณ 65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 
แต่ในการเสนอราคาในครั้งนี้ทำแบบมาตรฐานของทอ.สหรัฐฯ นั่นหมายถึงรวมระบบเอวิโอนิคที่ติดตั้ง ระบบอำนวยความสะดวก อะไหล่ การส่งกำลังบำรุง การฝึกและอื่นๆที่สามารถให้ปฏิบัติการการของ F-16 มีได้อย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้มีราคาสูงดังกล่าว 
ดังนั้นในในการเสนอราคาใหม่นี้จะมีอ๊อปชั่นให้ทอ.ไทยเลือกว่าจะต้องการอะไรบ้าง หรือจะตัดอะไรบ้าง ซึ่งจะทำให้มีราคาลดลง โดยจะเสนอราคาใหม่ในราวสิ้นเดือนนี้ ก็ต้องมาติดตามว่าจะเป็นที่พอใจของทอ.ไทยมากน้อยเพียงใด 
โดยโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่นี้ทอ.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการงบประมาณก้อนแรก 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะจัดหาในเฟสแรกจำนวน 4 เครื่อง โดยมีเครื่องบินที่อยู่ในการพิจารณาอยู่ 2 แบบ คือ 
F-16 Block 70 ของบริษัทล็อคฮีดมาร์ติน จากสหรัฐฯกับ Gripen E/F ของ Saab ประเทศสวีเดน...ซึ่งในการตัดสินใจในครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับการพัฒนากองทัพอากาศไทยว่าจะก้าวไปในทิศทางใด 
ถ้าทอ.ไทยเลือก F-16 Block 70 ก็หมายความว่า ก้าวต่อไปก็ต้องไปถึงเป้าหมายคือ F-35 อย่างแน่นอนในอนาคต เนื่องจากเรามีความคุ้นเคยกับเครื่องบินของสหรัฐฯอยู่แล้วและเป็นการต่อยอดตามสเต็ปที่สหรัฐฯต้องการ...

กองบิน 7 ให้การต้อนรับ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะเครือข่ายสัมพันธ์ กองทัพอากาศ
พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะ พร้อมด้วยเครือข่ายสัมพันธ์ กองทัพอากาศ จัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์เพื่อความมั่งคงกองทัพอากาศ โดยเยี่ยมชมการปฏิบัติภารกิจของกองบิน 7 ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2567
โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก ณัฏฐวุธ  ดวงสูงเนิน ผู้บังคับการกองบิน 7 พร้อมด้วยรองผู้บังคับการกองบิน 7, เสนาธิการกองบิน 7, หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองบิน 7, ข้าราชการ และทหารกองประจำการ กองบิน 7 เข้าร่วมให้การต้อนรับฯ ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 7, 
ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจ ของกองบิน 7 ณ ห้องประชุม กองบิน 7 ตลอดจนชมการตั้งแสดงอากาศยาน และการแสดงด้านการบิน ณ อาคารสนับสนุนการบิน กองบิน 7 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567

วันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมาในส่วนกองทัพอากาศไทยก็ได้มีกลับมาจัดงานหลักที่กองบิน๖ ดอนเมืองเช่นเดิม หลังจากงานวันเด็กปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ปีที่แล้วได้ย้ายไปจัดงานหลักที่โรงเรียนการบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
แม้ว่าผลตอบรับเรื่องปัญหาความลำบากในการเดินทางจะลดลง แต่ผู้เข้าชมงานวันเด็กที่กองบิน๖ ปีนี้จะผิดหวังตรงที่การแสดงสาธิตการบินภาคอากาศจะมีเฉพาะการบินผ่านเท่านั้นเพื่อลดปัญหาการจราจรทางอากาศ แม้แต่กองบินอื่นๆที่ไม่ได้มีที่ตั้งร่วมกับท่าอากาศยานพาณิชย์ก็ลดการบินแสดงด้วย
ขณะที่งานในหน่วยที่ตั้งนอกกรุงเทพฯ อย่างกองบิน๒๓ อุดรธานี กองบิน๑ โคราช กองบิน๔ ตาคลี กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี อาจจะยกเว้น กองบิน๒ โคกกระเทียม ที่ฝนตกหนักทำให้ต้องยกเลิกการแสดงช่วงบ่าย สามารถจัดการแสดงการบินได้น่าสนใจกว่ากองบิน๖ แต่ก็ลดลงจากหลายปีก่อนหน้า

ผลกระทบเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มเคลื่อนไหวการรณรงค์ที่ต้องการให้เด็กเยาวชนออกห่างจากกิจกรรมของกองทัพอากาศที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากแนวคิดว่า "เด็กไม่ควรเกี่ยวข้องกับอาวุธฆ่าคน" ยังเป็นการลดขีดความสามารถการประชาสัมพันธ์ต่อภาคประชาชนของกองทัพอากาศไทยด้วย
การจัดแสดงภาคอากาศและภาคพื้นดินของเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศไทยในงานวันเด็ก ๒๕๖๗ ยังถูกตั้งข้อสังเกตจากผู้ไม่หวังดีด้วยว่า เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU, F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ และ F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ มีสภาพโทรมมาก
แม้แต่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ ที่ประจำการมาได้เพียง ๑๑-๑๓ปีและได้รับการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 ก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีสีตัวเครื่องซีดด้วย นำมาสู่การโจมตีของผู้ไม่หวังดีว่ากองทัพอากาศกำลังมีปัญหาความพร้อมการซ่อมบำรุงที่ลดลง

ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ที่จะเริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ กองทัพอากาศไทยได้มองที่จะของบประมาณวงเงินราว ๑๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($540,894,470) สำหรับการตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ที่ใช้งานมานาน
ถ้าดูจากวงเงินจะเป็นการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องจากทั้งหมด ๑๒เครื่องเพื่อทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ ที่การปลดประจำการจะเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๗๑(2028) ซึ่งเดิมกองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A แต่สหรัฐฯปฏิเสธการขายให้ไทย
ตัวเลือกที่มีความเป็นไปได้ล่าสุดมีสองแบบคือเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯซึ่งทางบริษัท Lockheed Martin เสนอรุ่น Block 70 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F100-GE-129D มากกว่า Block 72 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Pratt & Whitney F100-PW229EEP ที่ราคาสูงกว่า

กับเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F สวีเดนซึ่งบริษัท Saab เสนอในราคาที่เครื่องละราว $89 million พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการและข้อตกลงชดเชย offset package ต่างๆ เปรียบเทียบกับ F-16C/D Block 70 ที่เสนอราคาพร้อมอาวุธ อุปกรณ์ และการฝึกที่เกี่ยวข้องที่ราวเครื่องละ $86 million จากราคาเครื่องเปล่า flyaway cost $65 million
ข้อเสนอของ Gripen E/F อาจจะรวมการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE วงเงินราว ๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($142,373,070) เข้าไปในข้อตกลงด้วย ซึ่งนั่นอาจจะเป็นข้อได้เปรียบถ้าเทียบกับ F-16 ซึ่งไม่ได้ให้ข้อเสนอแบบบูรณาการเช่นเดียวกัน
ด้านเครื่องบินขับไล่ KF-21 สาธารณรัฐเกาหลีที่แสดงความสนใจจะเสนอให้ไทยนั้นล่าสุดอาจจะถูกตัดออกจากตัวเลือกแล้วเนื่องจากยังมีสถานะเป็นเครื่องต้นแบบอยู่ ทั้งนี้กองทัพอากาศไทยมีแผนจะเปิดเผยสมุดปกขาว RTAF White Paper ฉบับล่าสุดในงาน Symposium วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

แต่อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ยังคงมีหลายปัจจัยที่อาจจะทำให้ไม่ประสบผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ โรคระบาด และการเมืองภายในของไทยที่พัฒนาไปสู่สถานการณ์ที่ต้องตัดงบประมาณลง
อีกทั้งความเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมที่ต่อต้านกองทัพไทยยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เช่นในกรณีที่ JUSMAGTHAI ออกเอกสารขอให้กองทัพเรือไทยชี้แจงเหตุเรือคอร์เวตเรือหลวงสุโขทัยจม ฝ่ายการเมืองได้ชี้นำว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดซื้่ออาวุธรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) กับสหรัฐฯ
โดยหากว่าความสัมพันธ์ของสหรัฐฯกับไทยมีปัญหามากขึ้น ในกรณีถ้ากองทัพอากาศไทยเลือก F-16 Block 70 สหรัฐฯก็อาจจะไม่อนุมัติการขายให้ไทย หรือถ้าเลือก Gripen E/F สวีเดนสหรัฐฯก็อาจปฏิเสธที่จะส่งออกเครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F414 ของตนมาติดกับเครื่องบินของไทยได้

Saab สวีเดนเคยเกือบจะมีลูกค้าส่งออกรายใหญ่สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตี Viggen ของตนคืออินเดียในปี 1978 แต่สหรัฐฯได้ปฏิเสธที่จะส่งออกสิทธิบัตรวิทยาการของตนสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น Volvo RM8 ให้อินเดีย ทำให้ Viggen ไม่มีลูกค้าส่งออกแม้แต่รายเดียวจนปลดประจำการในปี 2005
ซึ่งไทยเป็นเพียงพันธมิตรเก่าแก่ในภูมิภาคนี้เท่านั้น สหรัฐฯไม่จำเป็นจะต้องสนใจว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการผลักไทยไปหาฝ่ายตรงข้ามอย่างจีนด้วย ดูตัวอย่างได้จาก ตุรกี ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่สหรัฐฯปฏิเสธการขายหรือไม่ส่งมอบอาวุธที่สั่งซื้อและสร้างไปแล้วให้
ถ้าเป็นเช่นนั้นเมื่อเข้าสู่ปี 2030s กองทัพอากาศไทยจะเผชิญปัญหากำลังรบทางอากาศลดลงจากการที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ และ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ต้องปลดประจำการลงโดยไม่มีเครื่องบินขับไล่ใหม่ใดๆมาทดแทน

ความคืบหน้าเพิ่มเติมได้มีขึ้นตามมาในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยกองทัพอากาศไทยได้เชิญสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการสาธิตการปฏิบัติการของกองบิน๗ สุราษฎร์ธานี โดยผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ได้ให้สัมภาษณ์สื่อเพิ่มเติมในหลายๆประเด็น
เช่นในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ นี้จะมีโครงการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง บล.๘ C-130H ที่ใกล้จะประจำการมา ๔๐ปีโดยเน้นการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ให้ประหยัดเชื้อเพลิงขึ้นร้อยละ๑๒ การปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ก BT-67 ด้านขีดความสามารถการดับไฟป่ารวมถึงถังน้ำ avionics radar ตรวจสภาพอากาศ และระบบหลีกเลี่ยงภูมิประเทศ
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศไทยอาจจะไม่จัดหา บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D เพิ่มเติม ๓เครื่องทดแทนเครื่องที่เสียไปในอุบัติเหตุปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) โดยมองว่า ๑๑เครื่องที่มีเพียงพอแล้วเพราะความพร้อมสูงมากเกินร้อยละ๗๐ การจัดหาจึงควรจะเป็นเครื่องบินทดแทนทั้งฝูงบินที่ใช้งานมานานไปเลย

และมองว่าในระยะยาวเครื่องบินขับไล่ F-35A หรือเครื่องบินขับไล่ยุคที่๖(6th Generation Fighter) จะนำมาทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ ทั้ง ๑๘เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๘๐(2037) ที่จัดหาในโครงการ Peace Naresuan III เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๓๙(1995-1996) ด้วย
แต่ถึงตอนนั้นสหรัฐฯจะอนุมัติการขาย F-35 ให้ไทยหรือไม่ หรือเครื่องบินขับไล่ยุคที่๖ เช่น NGAD สหรัฐ(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/northrop-grumman-ngad.html), GCAP สหราชอาณาจักร-อิตาลี-ญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ai-loyal-wingman-uav.html), FCAS ฝรั่งเศส-เยอรมนี-สเปน-เบลเยียม(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/fcasscaf.html) รวมถึงสวีเดนที่อาจจะพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่๖ ของตนเองจะพร้อมขายส่งออกให้ไทยหรือไม่ หรือทั้งหมดจะมีราคาแพงมากเกินงบประมาณที่มีของไทยหรือไม่ ก็ยังเป็นเรื่องในอนาคตอีกไกล

ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยยังยอมรับว่าเครื่องบินขับไล่(ยุคที่๔ 4th Generation Fighter)ในปัจจุบันมีราคาแพงมากที่เครื่องละมากกว่า $80 million(ราคาเครื่องเปล่า flyaway cost) รวมถึงสถานการณ์ความมั่นคงทั่วโลกตั้งแต่สงครามยูเครน-รัสเซีย จนถึงสงครามอิสราเอลกับกลุ่มก่อการร้าย
ที่ทำให้ยอดการสั่งซื้อและสายผลิตอาวุธต่างๆรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบต่างๆจากประเทศต่างๆทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้ากองทัพอากาศไทยจะเลือกจัดหา F-16C/D Block 70/72 รุ่นล่าสุดก็จะต้องรอการผลิตและส่งมอบนานสักระยะตามที่มียอดสั่งซื้อถึงมากกว่า ๑๓๕เครื่องจากแปดประเทศ
แม้ว่า Lockheed Martin กำลังเพิ่มสายการผลิตจำนวนเครื่องในโรงงาน Greenville ของตนอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/f-16-block-70-16.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/01/lockheed-martin-f-16-block-70.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/01/f-16-block-70-12.html)

(การจะหาราคาต่อเครื่องสำหรับโครงการของกองทัพอากาศไทยที่ราว $134 million ด้วยวิธีนำวงเงินโครงการทั้งหมดหารจำนวนเครื่องเป็นค่าเฉลี่ยดูจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง เพราะอย่างที่เห็นในเอกสารการอนุมัติการขายของ DSCA สหรัฐนอกจากตัวเครื่องบินเปล่ายังมีสิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้วย
ทำให้การขายเครื่องบินรบแบบเดียวกันแต่คนละประเทศจะหารออกมาราคาไม่เท่ากันเพราะมีสิ่งอุปกรณ์และอาวุธประกอบต่างกัน ตัวอย่างล่าสุดที่สหรัฐฯอนุมัติการขาย F-35A ๔๐เครื่องให้กรีซ $8.6 billion ถ้าหารออกมาจะเป็น $215 million ต่อเครื่องโดยที่ไม่มีระบบอาวุธใดๆเลยมาด้วย
กับสหรัฐฯอนุมัติขาย F-16C/D Block 70 ใหม่ให้ตุรกี ๔๐เครื่อง $23 billion ถ้าหารออกมาจะเป็น $575 million โดยไม่ได้คิดว่ารวมการปรับปรุงความทันสมัย F-16C/D Block 40/50+ อีก ๗๙เครื่องที่ตุรกีมีอยู่แล้ว และอาวุธและอุปกรณ์จำนวนมากด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/f-35a-f-16-block-70-40.html))

หรือในกรณีถ้าเลือกจัดหา Gripen E/F นอกจากการคัดค้านหรือขัดขวางการส่งออกแก่ไทยด้วยเหตุด้านการเมืองระหว่างประเทศในข้างต้น ยังมีประเด็นที่มีผู้ใช้น้อยรายด้วยคือสวีเดนกับบราซิลในปัจจุบัน โดยขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งขึ้น
พล.อ.อ.พันธ์ภักดี กล่าวกับสื่อว่าตนและรัฐบาลไทยจะไม่เข้าไปแทรกแซงการคัดเลือกแบบของคณะกรรมการ ซึ่งการจัดหาจะต้องถูกยอมรับโดยนักบินและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงชดเชย offset ด้านการค้าและเศรษฐกิจ และโปร่งใสเป็นที่ยอมรับของประชาชน
ทั้งนี้งานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่สิงคโปร์ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ก็จะเป็นอีกงานที่กองทัพอากาศไทยน่าจะจัดคณะนายทหารไปเยี่ยมชมงานและพูดคุยขอข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำต่างๆที่ไปจัดแสดงในงาน ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ




Royal Thai Navy (RTN)'s PGB-561 HTMS Laemsing Patrol Gun Boat was displayed at Royal Thai Naval Academy (RTNA) in Samut Prakan Province during Children's Day 2024 on 13 January 2023. (Royal Thai Navy)

Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided-missile frigate at Gulf of Thailand. (Royal Thai Navy)


Royal Thai Navy's OPV-511 HTMS Pattani, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel at Songkhla Naval Base, Second Naval Area Command (2nd NAC), Songkhla Province, Thailand. (Royal Thai Navy)

Royal Thai Navy's LPD-792 HTMS Chang (III), Type 071ET Landing Platform Dock at Sattahip Naval Base, Chonburi Province, Thailand. (Royal Thai Navy)








Royal Thai Navy's FSG-442 HTMS Sukhothai, the second Rattanakosin-class guided missile corvette in memories, Commissioned: 19 February 1987 - Sunk: 18 December 2022. (Royal Thai Navy)

เรือหลวงสุโขทัย กึกก้อง  ท้องนที
คิดถึงวันเก่าๆ
ภาพจำในอดีต 2556

สหรัฐพร้อมช่วยสำรวจ ร.ล.สุโขทัย
รร.เตรียมทหาร 26 ม.ค.-ผบ.ทร. เผยสหรัฐจะลงไปสำรวจ ร.ล.สุโขทัย ให้ เป็นความร่วมมือในส่วนของการฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ ไม่ต้องใช้งบประมาณ ขออย่าใช้คำว่า “กู้เรือ” สิ่งสำคัญคืออาวุธ-ศพลูกน้องที่อยู่ในเรือ
“เรื่องการประมูลบริษัทมากู้ ร.ล.สุโขทัยให้ชะลอไปก่อน เพราะสหรัฐฯ ยินดีช่วยเหลือเรา จึงไม่จำเป็นต้องเสียงบประมาณ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฎิบัติตามกฎระเบียบของสหรัฐฯ โดยสหรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงของเรา 
ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เป็นขั้นตอนปกติ  แต่เป็นการให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง โดยผมเป็นคนไปเจรจากับสหรัฐฯ ด้วยตัวเอง เบื้องต้นยังไม่จำเป็นต้องกู้เรือขึ้นมา” ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าว
พล.ร.อ.อะดุง กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างที่สหรัฐฯ กำลังพิจารณาว่าจะต้องดำเนินการในขั้นตอนใดบ้าง คาดว่าจะเป็นที่พึงพอใจของประชาชนทุกคน ขออย่าใช้คำว่ากู้เรือ เพราะมีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยเราได้ 
เช่นเครื่องมือที่มีความพร้อม การที่เราไม่ได้ติดต่อเขาตั้งแต่ต้นเพราะอยากจะยืนด้วยตัวเองก่อน ครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ขณะนี้รอทางสหรัฐฯ ตอบกลับคำขอของไทยอยู่
เมื่อถามว่าจะเป็นการเอาอาวุธปืน ขึ้นมาบางส่วนใช่หรือไม่ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า ใช่ เราเสนอไปหลายเรื่อง ทั้งเรื่องอาวุธ และสหรัฐฯ จะเข้ามาดูศพที่คาดว่าอยู่ในเรือด้วย ร.ล.สุโขทัยจะขึ้นมาหรือไม่ ไม่สำคัญเท่าชีวิตลูกน้องที่คาดว่าอยู่ในเรือ 
และเรื่องอมภัณฑ์ต่าง ๆ ถ้าสหรัฐฯ ช่วยได้จบ เราจะพิจารณาอีกครั้ง ถ้าสหรัฐฯ ช่วยเราครั้งนี้ แล้วตอบโจทย์ทั้งหมดก็อาจทิ้งไว้ให้เป็นอนุสรณ์สถานใต้ทะเล ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ส่วนงบประมาณกู้เรือที่เราขอรัฐบาลไป ถ้าสหรัฐฯ ช่วยเราแล้วไม่มีค่าใช้จ่าย ก็จะคืนรัฐบาล
เมื่อถามว่าแสดงว่าสหรัฐฯ จะช่วยไขสาเหตุเรืออัปปางใช่หรือไม่ พล.ร.อ.อะดุง กล่าวว่า ใช่ เขาจะลงไปถ่ายรูปแล้วมาเทียบผลสอบสวนที่ พล.ร.อ.ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือทำไว้ปีก่อน
เมื่อถามย้ำว่าห่วงหรือไม่ หลังเปิดผลสอบสวนออกมาจะมีแรงกระเพื่อม ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า เป็นคนทำงานตรงไปตรงมา ข้อมูลและข้อเท็จจริงจะตอบโจทย์เอง ไม่มีเบื้องหลังกับทุกเรื่อง มีแต่เบื้องหลังที่ทำให้ประเทศไทยและกองทัพเรือได้ประโยชน์สูงสุด
:สำนักข่าวไทย

การอภิปรายงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาจะเห็นว่ากองทัพเรือไทยมองที่จะขอการจัดสรรงบประมาณสำหรับหลายโครงการสำคัญของตนรวมถึง โครงการเพิ่มขีดความสามารถเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงช้าง วงเงิน ๙๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($27,140,151)
โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส วงเงิน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($11,427,756) และโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สอง วงเงิน ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($485,568,620) สามโครงการหลักเท่านั้น
ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าสำหรับ ร.ล.ช้างจะเป็นการติดตั้งปืนเรือ 76mm, ปืนกล 30mm และระบบควบคุมการยิง สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานีจะเป็นการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) ใหม่ และการจัดหาเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลดุลยเดช ลำที่สอง

อย่างไรก็ตามการอภิปรายของฝ่ายค้านในรัฐสภาไม่มีการพูดถึงโครงการวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ภายในประเทศของกองทัพเรือไทยเช่น รวมถึงโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B หนึ่งระบบ(UAV ๔เครื่อง+สถานีควบคุม) วงเงิน ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท($1,028,322)
และการฝึกกองทัพเรือประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ที่จะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จะเป็นครั้งแรกที่จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมการฝึก โดย ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ยังมีกำหนดที่จะทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM และ Torpedo ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๗ ด้วย
แต่ก็ยังคงได้รับผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) และความล่าช้าในโครงการเรือดำน้ำอยู่ เช่นกองทัพเรือไทยยังไม่ได้เสนอโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์เพิ่ม ๒ลำในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ นี้

ด้านการกู้เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย ที่อัปปางในอ่าวไทยในความลึกราว 40-50m เมื่อวันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ซึ่งกองทัพเรือไทยมีความตั้งใจที่จะกู้เรือขึ้นมาทั้งลำโดยไม่ตัดชิ้นส่วนใดๆ โดยมีการประมูลแข่งขันผู้รับงานวงเงินราว ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาทนั้น
ล่าสุดพลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือไทยให้ข้อมูลระหว่างการสัมภาษณ์สื่อระหว่างานวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ๒๖ มกราคม ๒๕๖๗ ว่า กองทัพเรือสหรัฐฯเสนอที่จะช่วยเหลือในการสำรวจเรือในช่วงการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2024 ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2024
นอกจากการสำรวจการกู้เรือ การเก็บภาพหลักฐานสวบสวนหาสาเหตุอุบัติเหตุ จะรวมการค้นหาทหารเรือที่ยังสูญหาย ๕นายว่าร่างยังอยู่ในเรือหรือไม่ด้วย อาจจะมีการกู้อาวุธยุทโธปกรณ์บางส่วนขึ้นมา แต่อาจจะให้เรือทั้งลำตั้งเป็นอนุสรณ์ใต้น้ำ ซึ่งกองทัพเรือก็จะคืนงบประมาณการกู้เรือกลับให้รัฐได้
(ทั้งนี้เราคงไม่สามารถไปตำหนิฝ่ายการเมืองหรือคณะกรรมาธิการการทหารของรัฐสภาได้ เพราะพวกเขามีหน้าที่ในฐานะผู้แทนประชาชนในการคัดค้านทุกอย่างของกองทัพเรือโดยเฉพาะที่ไม่ได้มาจากฝ่ายตนเอง ในสงครามการเมืองแต่ละฝ่ายก็คิดว่าตัวเองถูก แต่มีแค่ทหารเรือไทยเท่านั้นที่ตายจริง)

สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีกลาโหมไทยได้ให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๗ ว่าอัยการสูงสุดได้พิจารณาตีความแล้วว่าการแก้ไขสัญญาโครงการเรือดำน้ำ S26T ซึ่งเป็นสัญญาแบบรัฐต่อรัฐนั้นเป็นอำนาจคณะรัฐมนตรี โดยจะเชิญผู้บัญชาการทหารเรือไทยประชุมหารือร่วมกับฝ่ายนโยบายและฝ่ายกฎหมาย 
โดยให้ผู้บัญชาการทหารเรือไทยหรือตัวแทน ผบ.ทร.รับมอบอำนาจจากคณะรัฐมนตรีลงนามสัญญาแก้ไขกับฝ่ายจีนที่น่าจะคือบริษัท China Shipbuilding and Offshore International Company(CSOC) ผู้สร้างเรือที่แสดงท่าทีไม่ยอมให้ไทยยกเลิกการจัดหาเรือที่ตนสร้างไปแล้วมากกว่าร้อยละ๕๐
ซึ่งการตัดสินใจพิจารณาจะยึดหลักสามประการคือ 
๑.ความต้องการของกองทัพเรือ 
๒.ผลประโยชน์ของประเทศต้องไม่เสียหาย 
๓.ไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ขณะเดียวกันร่างแก้ไขสัญญาของโครงการเรือดำน้ำ S26T กองทัพเรือไทยได้ถูกยื่นเรื่องให้หน่วยงานต่างๆตีความว่าสามารถดำเนินการได้โดยไม่ผิดกฎหมายหรือระเบียบการอะไรหรือไม่ถึง ๗หน่วยงานคือ
๑.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (Office of the Council of State) 
๒.สำนักงบประมาณ (Bureau of the Budget)
๓.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) (National Economics and Social Development Council, NESDC)
๔.สำนักงานอัยการสูงสุด (Office of the Attorney General) อีกรอบ
๕.กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs)
๖.กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance)
๗.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (Office of the Auditor General)

การพิจารณาตีความของหน่วยงานต่างๆจะเสร็จสิ้นอย่างเร็วในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ และจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเร็วเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อหาข้อสรุปในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นี้แล้ว และอาจจะเข้าสู่การอภิปรายในคณะกรรมธิการการทหารรัฐสภาด้วย
เนื้อหาสำคัญในร่างแก้ไขสัญญา G-to-G คือการยืดระยะเวลาส่งมอบเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกจากสัญญาเดิมที่ลำแรกจะต้องส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ แล้วให้เป็นในอีก ๑,๒๑๗วัน หรือราว ๔ปีข้างหน้า พ.ศ.๒๕๗๐-๒๕๗๑(2027-2028)
และการเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลกำเนินพลังงานไฟฟ้าจากเดิมตราอักษร MTU รุ่น 16V 396 SE84-GB31L ที่เยอรมนีไม่ส่งออกสิทธิบัตรให้จีน เป็นตราอักษร HND รุ่น CHD620V16H6 จีน(เครื่องยนต์ทั้งสองแบบต่างผลิตในจีน) แต่จะเป็นสำหรับเรือดำน้ำลำเดียวเท่านั้น ไม่มีลำที่๒ และลำที่๓

ในขออนุมัติงบประมาณกลาโหมในส่วนกองทัพเรือปี ๒๕๖๗ จึงเป็นอีกปีที่ไม่มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ และระยะที่๓ ลำที่สองและลำที่สาม มีเฉพาะโครงการก่อสร้างท่าเรือและอู่เรือเพื่ออำนวยความสะดวกสนับสนุนเรือดำน้ำ ซึ่งถ้าไม่ได้เรือดำน้ำมาก็ยังสามารถใช้กับเรือแบบอื่นได้
ซึ่งถ้าโครงการเรือดำน้ำ S26T ต้องถูกยกเลิกก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบใหม่ขึ้นมาได้ เพราะก็ตามที่ทราบว่าเรือดำน้ำได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่ใช้โจมตีเพื่อทำลายขีดความสามารถการปฏิบัติการทางทะเลและความน่าเชื่อถือของกองทัพเรือไทยไปแล้ว
หรือในแนวความคิดการบูรณาการการจัดซื้อจัดจ้างทางกลาโหมแบบมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับนโยบายและทิศทางการจัดหายุทโธปกรณ์ของแต่ละเหล่าทัพให้เป็นไปในทางเดียว ไม่ใช่ต่างคนต่างจัดหาแบบปัจจุบันซึ่งทางรัฐมนตรีกลาโหมไทยให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับแนวคิดนี้มาหลายครั้งนั้น

ทำให้มีข่าวลือตั้งแต่งาน Defense & Security 2023 ว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเลือกการจัดหาเรือดำน้ำมือสองสวีเดนให้กองทัพเรือไทยถ้ากองทัพอากาศไทยจะจัดหา Gripen E/F สวีเดน อย่างไรก็ตามผู้บัญชาการทหารอากาศไทยได้ตอบคำถามสื่อในเรื่องนี้ว่า Saab สวีเดนไม่ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเงื่อนไขดังกล่าวนี้
ข้อเท็จจริงคือเรือดำน้ำของกองทัพเรือสวีเดนที่จะปลดในเร็วๆนี้มีเพียงเรือดำน้ำชั้น A17 Södermanland ๒ลำ ซึ่งปรับปรุงจากเรือดำน้ำชั้น Västergötland เดิม ๔ลำ ที่ส่งออกให้สิงคโปร์ ๒ลำในชื่อเรือดำน้ำชั้น Archer ซึ่งสิงคโปร์กำลังจะทดแทนด้วยเรือดำน้ำชั้น Type 218SG Invincible ๔ลำ
แต่ความล่าช้าในการสร้างเรือดำน้ำชั้น A26 Blekinge ๒ลำเพื่อทดแทนชั้น A17 ก็ทำให้เรือดำน้ำชั้น A19 Gotland ๓ลำ ต้องประจำการต่ออีกสักระยะไปด้วย รวมไปถึงอีกข่าวลือว่าหลังการรับมอบเรือดำน้ำ S26T ลำแรก จะมีการจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ ๒ลำจากยุโรปหรือสาธารณรัฐเกาหลีที่ไม่น่าจะจริงในขณะนี้ด้วยครับ(ที่มาของข่าวลือเหล่านี้มาจากนักข่าวสายทหารในสื่อกระแสหลักที่มีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนในเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์มาตลอด)








Royal Thai Army (RTA) has shown its AH-1F Cobra attack helicopter of 3rd Aviation Battalion and UH-60M utility helicopter of 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center (AAC) 
during Children's Day 2024 event at Fort Princess Srinagarindra, the RTA AAC Headquarters in Lopburi Province, Thailand on 13 January 2024. (Royal Thai Army)

บรรยากาศงานกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ศูนย์การบินทหารบก ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา จ.ลพบุรี วันที่ 13 ม.ค. 67  บรรยากาศเต็มไปด้วยความครื้นเครงและสนุกสนาน

เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Boeing AH-6i จำนวน ๘เครื่องสำหรับกองทัพบกไทยที่มีกำหนดส่งมอบเครื่องชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ah-6i-apkws.html) ถูกระบุว่าเป็นการทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra จำนวน ๗เครื่อง
โดยในงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ณ ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๗ ได้เห็นเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ AH-1F กองพันบินที่๓ กรมบิน ศบบ อย่างน้อย ๑เครื่องที่ถูกนำมาจัดแสดงและแสดงการบินในช่วงท้ายของาน
ทั้งนี้กองทัพบกไทยยังคงมองที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ในรูปแบบการขาย FMS จากสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ตัวเลือกมีเพียงสองแบบคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้กองทัพบกไทยยังไม่ได้รับงบประมาณจัดหา

ในช่วงหลังการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงต่อเนื่องจาการสถานการณ์ระบาด Covid-19 กองทัพบกไทยจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60M Black Hawk สร้างใหม่เพิ่มเติมเป็นหลัก ซึ่งมีความอ่อนตัวในการนำไปใช้งานช่วยเหลือประชาชนต่างๆมากกว่า
อย่างไรก็ตามความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๗ ที่ผ่านมาเนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งใหญ่เช่นกัน ทำให้กองทัพบกไทยยังไม่ได้รับการอนุมัติโครงการจัดซื้อ ฮท.๖๐ UH-60M เพิ่ม ๔เครื่อง ซึ่งทำให้ต้องไปรออนุมัติในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ ต่อไป
แต่มีการรายงานจากสื่อบางรายที่คลาดเคลื่อนว่า กองทัพบกไทยต้องรีบซื้อ UH-60M ผ่านรูปแบบ FMS เพราะสหรัฐฯจะเลิกใช้แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงกองทัพบกสหรัฐฯจะเลิกใช้เฉพาะรุ่นเก่าอย่าง UH-60A และ UH-60L บางส่วนเท่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/uh-60-black-hawk.html) ซึ่งบริษัท Sikorsky ยังคงผลิตเฮลิคอปเตอร์ตระกูล Black Hawk ส่งออกต่างประเทศอยู่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/uh-60m-35.html)




Royal Thai Army (RTA) Special Warfare Command and US Army Special Forces of 1st Special Forces Group (Airborne) are conduting the exercise Balance Torch 24-3 during 26 January to 14 February 2024 in 2nd Army Area at Northeast of Thailand and the exercise Balance Torch 24-4 during 27 January to 4 March 2024 in 4th Army Area at Southern of Thailand. (Royal Thai Army) 

การฝึกในที่ตั้ง ห้วง 26 - 27 ม.ค. 67 กำลังพลส่วนรับการฝึก จาก ทบ.ไทย ทำการฝึกร่วม ทบ.สหรัฐฯ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคนิคหลักนิยมทางยุทธวิธีที่สำคัญ เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนขีดความสามารถด้านการปฏิบัติการพิเศษ
เกาะติดการฝึก Balance Torch 24 - 3 วางแผนจัดกำลัง
ภาพการฝึกระหว่าง ฝ่ายอำนวยการฝึก ทบ.ไทย ทำการฝึกร่วม ทบ.สหรัฐฯ ในกระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร 7 ขั้นตอน กำหนดเป้าหมายบนแผนที่ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันสามารถเห็นภาพสนามรบและข้อตกลงใจในการปฏิบัติขั้นต่อไป
29/1/67 กองพันย่าโม

การฝึกผสม Balance Torch 24-3 ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ มกราคม-๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ ในพื้นที่กองทัพภาคที่๒ ทางภาคอีสานของไทย และการฝึกผสม Balance Torch 24-4 ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ มกราคม-๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในพื้นที่กองทัพภาคที่๔ ทางภาคใต้ของไทย
เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกผสมรหัส Balance Torch 2024 ระหว่างกองทัพบกไทย และกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการปฏิบัติการพิเศษของหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกไทยและสหรัฐฯ โดยมีหน่วยทหารราบในพื้นที่กองทัพภาคเป็นหน่วยรับผิดชอบเข้าร่วมการฝึกด้วย
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของโครงสร้างกำลังรบเหล่าทหารราบกองทัพบกไทยที่จะเกิดขึ้นตามการลดกำลังพลและยกเลิกการมีทหารกองประจำการยามปกติคือการปรับลดขนาดหมู่ปืนเล็ก(rifle squad) จากเดิม ๑๑นาย เหลือ ๙นายเท่ากองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งบางหน่วยของกองทัพบกไทยเช่นกองพลทหารราบที่๙ และกองพลทหารราบที่๑๑ ที่เป็นกองพลทหาราบเบาก็ใช้อัตราจัดนี้มานานแล้วครับ