วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เบลเยียมจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯเพิ่มอีก 11เครื่อง

Belgium commits to additional F-35As





With 35 F-35A aircraft on order, Belgium is now to acquire a further 11. (Lockheed Martin)

เบลเยียมมีความมุ่งมั่นที่จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ชุดใหม่เพิ่มเติมจำนวน 11เครื่องเพื่อเสริมต่อเครื่องที่ได้ทำสัญญาจัดหาและถูกส่งมอบแล้ว
รัฐมนตรีกลาโหมและการค้าต่างประเทศเบลเยียม Theo Francken ได้ทำการประกาศจาก post ในบัญชี X(Twitter เดิม) ทางการของเขาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2025

การประกาศของรัฐมนตรีกลาโหมและการค้าต่างประเทศเบลเยียม Francken ยืนยันรายงานของการเพิ่มจำนวนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ของเบลเยียมที่เผยแพร่วนเวียมาหลายสัปดาห์แล้ว
"เรากำลังจะซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 เพิ่มเติม 11เครื่อง...พวกมันจะถูกผลิตในอิตาลี" Francken กล่าว เขาไม่ได้เปิดเผยว่าสัญญาสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A เพิ่มเติมจะถูกลงนามเมื่อไร หรือมูลค่าของวงเงินสัญญา

ปัจจุบันกองทัพอากาศเบลเยียม(BAC: Belgian Air Component) ได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A แล้วจำนวน 35เครื่อง โดยถูกสร้างเป็นหลักที่โรงงานอากาศยาน Fort Worth ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯในมลรัฐ Texas

เครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 8เครื่องแรกทถูกสร้างเสร็จแล้ว และขณะนี้อยู่ในหน่วยบินเปลี่ยนแบบเครื่องบินขับไล่ F-35 เบลเยียม(BEL F-35 CU: Belgian F-35 Conversion Unit) 
ที่เพิ่งถูกจัดตั้งล่าสุด ณ ฐานทัพอากาศ Luke Air Force Base(AFB) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในมลรัฐ Arizona(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/f-35a.html)

เบลเยียมได้เพิ่มความเป็นไปได้ครั้งแรกของการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A เพิ่มในเดือนเมษายน 2025 โดยนายกรัฐมนตรีเบลเยียม Bart De Wever กล่าวกับรัฐสภาเบลเยียมในเวลานั้นว่า
คำสั่งจัดหาปัจจุบันสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A ของเบลเยียมมีจำนวนไม่เพียงพอและการจัดหาเพิ่มอีก 11เครื่องกำลังอยู่ในการพิจารณา(https://aagth1.blogspot.com/2025/05/f-35a-34.html) 

ในแง่นี้เบลเยียมกำลังเข้าร่วมกับเนเธอร์แลนด์ในการเพิ่มจำนวนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ในโครงการของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/f-16ambm-f-35a.html)
ขณะที่เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/f-35a-8.html) และโปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/f-35a-husarz.html) กำลังพิจารณาการสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ของตนเพิ่มเติมเช่นเดียวกัน

สหราชอาณาจักรยังมีกำหนดที่ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B ชุดใหม่เพิ่มเติมในเร็วๆนี้(https://aagth1.blogspot.com/2025/06/f-35a-12.html, https://aagth1.blogspot.com/2025/05/f-35b.html)
ตามที่กลุ่มชาติยุโรปได้เริ่มต้นที่จะเร่งเครื่องการจัดซื้อจัดจ้างของตนในการเผชิญหน้ากับความกระหายสงคราม(belligerence) อย่างก้าวร้าวของรัสเซียที่เพิ่มขึ้น และการสนับสนุนจากสหรัฐฯที่ลดลงครับ

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

กองทัพไทยร่วมการฝึกผสมนานาชาติ Talisman Sabre 2025 ที่ออสเตรเลียเป็นครั้งแรก

Special Report: Largest ‘Talisman Sabre' kicks off in Australia





The Republic of Korea Marine Corps operates the K1A2 Main Battle Tank during a live-fire activity at Shoalwater Bay Military Training Area during Exercise ‘Talisman Sabre' 2025. (Department of Defence)



วันที่ 13 กรกฎาคม 2568 พลเอก ไพบูลย์  วรวรรณปรีชา รองเสนาธิการทหาร และเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากรัฐบาลและกองทัพของทั้ง 19 ชาติที่เข้าร่วมการฝึก ยืนร่วมกันในพิธีเปิดการฝึก Talisman Sabre 25 บนเรือหลวง HMAS Adelaide ณ เมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย
พลเรือเอกจัสติน โจนส์ ผู้บัญชาการปฏิบัติการร่วมแห่งออสเตรเลีย จะร่วมกับ พลโทโจเอล บี. โวเวลล์ ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก ในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ณ ฐานทัพเรือ Garden Island เมืองซิดนีย์
โดยการฝึก Talisman Sabre 2025 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 และนับเป็นการฝึกสงครามที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนผืนแผ่นดินออสเตรเลีย
ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์กำลังพลมากกว่า 35,000 นาย จากออสเตรเลียและประเทศพันธมิตรจะกระจายกำลังเข้าปฏิบัติการในรัฐควีนส์แลนด์ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี เวสเทิร์นออสเตรเลีย นิวเซาท์เวลส์ และเกาะคริสต์มาส เป็นครั้งแรก ที่จะมีการปฏิบัติกิจกรรมฝึกนอกประเทศออสเตรเลียที่ ประเทศปาปัวนิวกินี
นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศพันธมิตรอื่น ๆ เข้าร่วม ได้แก่ แคนาดา, ฟิจิ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, ปาปัวนิวกินี, ฟิลิปปินส์, สาธารณรัฐเกาหลี, สิงคโปร์, ไทย, ตองกา และสหราชอาณาจักรขณะที่ มาเลเซีย และเวียดนาม จะเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์
การฝึกในปีนี้จะประกอบด้วย การฝึกยิงจริง การฝึกภาคสนาม การเตรียมกำลัง การยกพลขึ้นบก การเคลื่อนกำลังพลภาคพื้นดิน การปฏิบัติการรบทางอากาศ และการปฏิบัติการทางทะเล

กองกำลังผสมทางทหารจาก ๑๙ประเทศจากทั่วโลกจัดแถวพวกตนเพื่อต่อต้าน 'ศัตรูร่วม'(common enemy) กันคือประเทศสมมุติในแนวความคิดที่มีชื่อว่า 'สาธารณรัฐประชาชนโอลวานา'(People's Republic of Olvana)
การแสดงถึงความตั้งใจนี้ได้เกิดขึ้นภายใต้วาระการฝึกผสมพหุภาคีนานาชาติรหัส Talisman Sabre 2025 ที่จัดขึ้นทั่วออสเตรเลียที่เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) และดำเนินไปจนถึงวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๘

ก่อนการฝึก Talisman Sabre 2025 ซึ่งเป็นการฝึกครั้งที่๑๑ เริ่มต้นขึ้น พลจัตวา(Brigadier) Damian Hill ผู้อำนวยการการฝึก Talisman Sabre กล่าวกับ Janes ว่าการฝึกมีส่วนร่วมจากกำลังพลมากกว่า ๔๐,๐๐๐นายตลอดทั่วทั้งดินแดนออสเตรเลียที่วัดความยาวได้ 5,300km ตั้งแต่ตะวันตกถึงตะวันออก
"เราขอต้อนรับห้าชาติใหม่ อินเดีย, สิงคโปร์, ไทย, เนเธอร์แลนด์, และนอร์เวย์เข้าร่วมการฝึก และเรามีสองชาติผู้สังเกตุการณ์ มาเลเซีย และเวียดนามซึ่งมาถึงและได้มองที่การฝึกและตัดสินใจว่ามีอะไรบ้างที่พวกตนจะมองหาที่จะมีส่วนร่วมในอนาคต"

ชาติอื่นๆที่กลับเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึก Talisman Sabre 2025 ครั้งล่าสุดนี้คือ แคนาดา, ฟิจิ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์, ปาปัวนิวกินี, ฟิลิปปินส์, สาธารณรัฐเกาหลี, ตองกา, สหราชอาณาจักร, และสหรัฐฯ
พลจัตวา Hill เน้นถึงขอบเขตการฝึกที่กว้างขวางกระจายทั่วทั้งมากกว่า ๘๐พื้นที่การฝึกและฐานทัพ และมีส่วนร่วมจากอากาศยานมากกว่า ๑๕๐เครื่อง, เรือมากกว่า ๓๐ลำ, ๗การฝึกยิงด้วยกระสุนจริง โดยเป็นครั้งแรกที่ปาปัวนิวกินีจะเป็นสถานที่จัดการฝึกด้วย "ผมอธิบายการฝึกนี้ว่าเป็นการฝึกทางทหารระดับ mini-Olympics" เขากล่าวครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

รัสเซียอาจจะละทิ้งการซ่อมเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov

Russia may abandon refit of Admiral Kuznetsov



The Russian aircraft carrier, Admiral Kuznetsov, is seen in a photograph released by the Russian Ministry of Defence on 24 January 2017. (Russian Ministry of Defence)




Admiral Kuznetsov aircraft carrier at Murmansk, Kola Peninsula. (Massimo Frantarelli)

ตามรายงานโดยหนังสือพิมพ์รัสเซีย Izvestia งานที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับการซ่อมปรับปรุงคืนสภาพใหม่(refurbishment) และการปรับปรุงความทันสมัยของเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ของกองทัพเรือรัสเซีย(RFN: Russian Federation Navy) ได้ถูกระงับมาระยะหนึ่งแล้ว
ตัวแทนจากกองทัพเรือรัสเซียและ United Shipbuilding Corporation(USC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของรัสเซียจะตัดสินใจในเร็วๆนี้ว่าการเดินหน้าทำงานต่อมีความคุ้มค่าพอหรือไม่

ตั้งแต่ที่กลับจากการวางกำลังปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของตนในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 เรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ได้ถูกจอดที่คาบสมุทร Kola Peninsula ในรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_24.html)
ครั้งแรกที่อู่ซ่อมเรือหมายเลข28(No 82 Ship Repair Yard) ของ USC รัสเซียใกล้ Roslyakovo และจากนั้นที่โรงงานซ่อมเรือ35(35th Ship Repair Plant) ที่ Rosta(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/admiral-kuznetsov.html) และล่าสุดในปี 2025 ที่ท่าเรือใน Murmansk

งบประมาณระยะแรกเป็นวงเงินประมาณ $800 million ได้รับการจัดสรรเพื่อซ่อมทำใหญ่(overhaul) ระบบตรวจจับต่างๆ, ระบบอาวุธป้องกันตัว, และระบบภารกิจต่างๆของเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov
อย่างไรก็ตามในเดือนตุลาคม 2017 รายงานต่างๆบ่งชี้ว่างบประมาณส่วนนี้ได้ถูกลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง และการซ่อมบำรุงเล็ก(refit) นั้นได้ถูกเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับการปรับปรุงใหม่(renovating) ของสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งกำเนิดพลังงานของเรือแทน

การเสร็จสิ้นงานซ่อมบำรุงเล็กนี้เดิมมีกำหนดในปี 2021 แต่แทบจะทันทีที่เริ่มต้นงานก็ประสบปัญหาต่างๆมากมาย(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/admiral-kuznetsov-2022.html)
การขาดแคลนอู่แห้ง(graving dock) ที่มีขนาดเพียงพอจะรองรับ USC รัสเซียถูกบังคับให้ใช้งานอู่ลอย PD-50 ซึ่งเป็นอู่แห้งลอยแบบเดียวที่สามารถรองรับเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ได้

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2018 อู่ลอย PD-50 ได้จมลงขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov อยู่ภายในอู่ลอย(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/admiral-kuznetsov.html
และขณะที่ตัวเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ถูกรักษาไว้ได้แต่เรือก็ได้รับความเสียหายบางส่วนจากการที่ดาดฟ้าเรือถูกแขนยก crane ของอู่ลอยถล่มลงมาใส่(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/admiral-kuznetsov.html)

หายนะได้เกิดขึ้นกับเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov อีกครั้งในเดือนธันวาคม 2019 เมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นบนเรือ นำไปสู่การเสียชีวิตของคนงานอย่างน้อย 2ราย(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/admiral-kuznetsov.html) จนถึงตอนนี้กำหนดการส่งมอบเรือได้ถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ
กองทัพเรือรัสเซียกำลังประสบปัญหาความล่าช้าต่อทั้งการซ่อมและสร้างเรือขนาดใหญ่จากข้อจำกัดของอู่ต่อเรือที่ส่วนใหญ่จะเป็นอู่เรือสำหรับเรือขนาดเล็ก รวมถึงการขาดแคลนงบประมาณที่มีผลจากสงครามกับยูเครนที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปี 2022 ครับ

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

กองทัพเรือไทยและสหรัฐฯเสร็จสิ้นการฝึกผสม CARAT 2025




The Royal Thai Navy Naresuan-class frigate HTMS Naresuan (FFG 421), Chao Phraya-class frigate HTMS Saiburi (FFG 458), and the Ratanakosin-class corvette HTMS Ratanakosin (CVT 441), alongside the Independence-class littoral combat ship USS Santa Barbara (LCS 32) 
engages a simulated target during a gunnery exercise (GUNNEX) for Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand 2025 in the Gulf of Thailand, July 13, 2025. (U.S. Navy photo by Electronics Technician 2nd Class Alex Klee) 








U.S. Coast Guard personnel, Royal Canadian Navy members, and members of the Royal Thai Navy conduct Visit, Board, Search, and Seizure (VBSS) training as part of Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand 2025 at Sattahip Naval Base, Thailand, July 10, 2025. (U.S. Marine Corps photo by Sgt. Mitchell Johnson)




Royal Thai Navy service members prepare for the arrival of the USS Santa Barbara (LCS 32) following sea-phase exercises for Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand at Chuk Samet Port, in Sattahip, Thailand, July 14, 2025. (U.S. Air Force photo by Staff Sgt. Destani Hill)








A Royal Thai Navy (RTN) Sikorsky S-76B lands on the flight deck of the Independence-class littoral combat ship USS Santa Barbara (LCS 32) during Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand 2025 in the Gulf of Thailand, July 12, 2025. (U.S. Navy photo by Electronics Technician 2nd Class Alex Klee) 



CARAT Thailand 2025 Concludes, Strengthening U.S.-Thailand Maritime Partnership
This year marks the 31st iteration of CARAT, a multinational exercise series designed to enhance U.S. and partner navies' abilities to operate together in response to traditional and non-traditional maritime security challenges in the Indo-Pacific region.

การฝึกผสม CARAT 2025(Cooperation Afloat Readiness and Training 2025) ระหว่างกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) และกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: U.S. Navy) ได้เสร็จสิ้นลงแล้วตามพิธีปิดการฝึกเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ ฐานทัพเรือสัตหีบ ประเทศไทย
การฝึกผสม CARAT 2025 เป็นการฝึกครั้งที่๓๑ ที่เริ่มต้นตามพิธีเปิดการฝึกเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ จนถึงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ได้ถูกออกแบบเพื่อเพิ่มขยายการทำงานร่วมกันทางทะเล, เสริมความแข็งแกร่งการเป็นหุ้นส่วน และส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค

การฝึกผสม CARAT 2025 ปีนี้ได้เห็นการมีส่วนร่วมจากกองทัพเรือสหรัฐฯที่นำเรือโจมตีชายฝั่ง(LCS: Littoral Combat Ship) ชั้น Independence เรือโจมตีชายฝั่ง LCS-32 USS Santa Barbara ที่วางกำลังด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางทะเล MH-60S Seahawk บนเรือ
ร่วมไปกับกองทัพเรือไทยที่นำเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงสายบุรี และเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์ ทำการฝึกที่มีขึ้นทางบนฝั่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และในทะเลในอ่าวไทย

"การฝึก CARAT Thailand 2025 แสดงความสำเร็จความแข็งแก่งและการปรับตัวได้ของความเป็นหุ้นส่วนทางทะเลระหว่างไทยและสหรัฐฯ ตลอดสิบวันที่ผ่านมากลาสีและนาวิกโยธินของเราทำงานเคียงข้างไปกับกองทัพเรือไทยคู่หูของพวกตน
เพิ่มขยายขีดความสามารถต่างๆที่ผสมผสานของพวกเรา และเสริมสร้างความผูกพันของมิตรภาพอันลึกซึ้งที่เชื่อมโยงทั้งสองชาติของเราเข้าด้วยกัน" นาวาเอก Matt Scarlett ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่๗(DESRON 7: Destroyer Squadron 7) และหัวหน้าตัวแทนฝ่ายสหรัฐฯกล่าว

ณ ขั้นการฝึกในทะเล(sea phase) การฝึดได้รวมถึงสถานการณ์การฝึกต่างๆที่ซับซ้อนที่มุ่งเน้นไปที่การฝึกสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare), การฝึกการป้องกันภัยทางอากาศ, การประสานงานกองเรือปฏิบัติการผิวน้ำ(SAG: Surface Action Group), การปฏิบัติการตรวจค้นเรือ(VBSS: Visit, Board, Search and Seizure) 
ในความร่วมมือกับกำลังพลจากหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: U.S. Coast Guard) และกองทัพเรือแคนาดา(RCN: Royal Canadian Navy), การต่อต้านทุ่นระเบิด และการฝึกการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue) การฝึกต่างๆเหล่านี้มอบโอกาสที่ประเมินค่าไม่ได้สำหรับทั้งกองทัพเรือสหรัฐฯและกองทัพเรือไทยเพื่อขัดเกลายุทธวิธี, เทคนิค, ขั้นตอนการปฏิบัติของพวกตน

"การบรรลุผลในการฝึก CARAT 2025 เป็นผลของความร่วมมือการทำงานระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ ผมอยากขอให้ผู้เข้าร่วมการฝึกทุกท่านนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้...เพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถของหน่วยของท่านให้พร้อมสำหับภารกิจต่างๆ
ขอขอบคุณต่อคณะทำงานผู้ที่มีส่วนร่วมในการวางแผน, การเตรียมการและการดำเนินการปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลให้การฝึก CARAT 2025 เสร็จสิ้นโดยประสบความสำเร็จ" นาวาเอก สามารถ ศรีม่วง กองทัพเรือไทยกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/essm.html)

นอกเหนือจากการฝึกในทะเล การฝึก CARAT Thailand 2025 ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งผ่านกิจกรรมต่างๆบนชายฝั่งที่หลากหลายรวมถึง โครงการบริการชุมชน, การแข่งกีฬา, การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม, และการแลกเปลี่ยนผู้ชำนาญการเฉพาะทาง(SMEE: Subject Matter Expert Exchange),
และการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเช่น การหยั่งรู้มิติทางทะเล, การแพทย์ และการเก็บกู้วัตถุระเบิด(EOD: Explosive Ordnance Disposal) เพิ่มเติมต่อการเพิ่มขยายการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันองค์ความรู้(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/carat-2024-open.html)

CARAT เป็นชุดการฝึกที่มีมายาวนานที่ออกแบบเพื่อเพิ่มขยายความสามารถของกองทัพเรือสหรัฐฯและกองทัพเรือชาติหุ้นส่วนที่จะปฏิบัติการร่วมกันในการตอบสนองต่อความท้าทายความมั่นคงทางทะเลตามแบบและนอกแบบในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
กองเรือพิฆาตที่๗ ยังคงมุ่งมันที่จะสร้างความเป็นหุ้นส่วนและส่งเสริมความมั่นคงมทางทะเลตลอดทั้งภูมิภาค กองเรือที่๗(7th Fleet) เป็นกองเรือส่วนหน้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนกองเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ และมีการติดต่อและปฏิบัติการเป็นประจำกับพันธมิตรและหุ้นส่วนต่างๆเพื่อสงวนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างครับ

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต GCAP เครื่องสาธิตจะทำการบินในปี 2027 เครื่องต้นแบบในปี 2030 และเข้าประจำการในปี 2035

BAE Systems reveals demonstrator design for GCAP future fighter, on track to fly in 2027



BAE Systems has revealed a single image of the final design for the Flying Combat Air Demonstrator that will help inform the UK's work on GCAP, and which is expected to fly in 2027. (BAE Systems)

Global Air and Space Chiefs 2025: GCAP air forces expect flying prototype in 2030, ahead of 2035 initial capability

A rendering showing a pair of GCAP combat aircraft over Rome. An official from the Italian Air Force said he and his colleagues in Japan and the UK expect a flying prototype in 2030, ahead of entry into service in 2035. (BAE Systems)

บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรได้เปิดเผยว่าการออกแบบสุดท้ายสำหรับเครื่องบินสาธิตที่ได้รับการพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงโครงการการรบทางอากาศทั่วโลก(GCAP: Global Combat Air Programme)
กล่าวว่าเครื่องบินสาธิตกำลังอยู่ในแผนที่จะทำการบินครั้งแรกของตนในปี 2027(https://aagth1.blogspot.com/2025/06/edgewing-gcap.html) การพูดคุยกับ Janes และสื่อกลาโหมอื่นๆก่อนหน้าการเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2025 

เจ้าหน้าที่บริษัท BAE Systems ได้แสดงและหารือภาพวาดที่สร้างจาก computer ของเครื่องบินสาธิตที่ขณะนี้กำลังได้รับการสร้างในฐานะส่วนหนึ่งของกิจการค้าร่วม Team Tempest ที่หลากหลายของสหราชอาณาจักร
กับกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร, สำนักงานขีดความสามารถเร็ว(RCO: Rapid Capabilities Office) กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force), บริษัท Leonardo อิตาลี, บริษัท MBDA ยุโรป และบริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักร

ภาพเดี่ยวของเครื่องบินสาธิตทางการบินรบทางอากาศ(Flying Combat Air Demonstrator) ที่เผยแพร่โดยบริษัท BAE Systems แสดงถึงรูปแบบห้องนักบินเดี่ยว, แพนหางแนวตั้งคู่แบบเอียง, และสองเครื่องยนต์ไอพ่นที่ได้รับการเปิดเผยก่อนหน้า
แต่ภาพล่าสุดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงปีกทรงสามเหลี่ยม(delta-wing)แบบถูกตัดขนาดที่ใหญ่กว่า และโครงสร้างลำตัว(fuselage) แบบมีคางสำหรับคุณลักษณะถูกตรวจพบได้ต่ำ(LO: Low Observable) ต่างๆ

แง่การออกแบบต่างๆเหล่านี้ เครื่องบินสาธิตมีเค้าโครงภายนอกที่ปรากฏรูปทรงคล้ายคลึงเป็นส่วนใหญ่กับภาพวาดสร้างจาก computer ที่ถูกเผยแพร่สำหรับโครงสร้างอากาศยาน(airframe) ของ GCAP ที่มีจุดประสงค์ที่จะลดความเสี่ยง
แม้ว่าปีกทรงสามเหลี่ยมแบบตัดของเครื่องสาธิตจะดูไม่มีความเหมือนเป็นส่วนใหญ่กับปีกทรงสามเหลี่ยมแท้ของเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต GCAP โดยก่อนหน้างานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2024

ชุดภาพวาดแนวความคิดใหม่ของเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต GCAP แสดงถึงคุณลักษณะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นปีกทรงสามเหลี่ยมแท้มากขึ้นเหนือปีกทรงสามเหลี่ยมแบบหักมุมที่ได้รับการดัดแปลงที่เผยแพร่ก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gcap.html)
บ่งชี้ถึงการให้ความสำคัญมากขึ้นในคุณลักษณะด้านพิสัยทำการบิน(ความจุเชื้อเพลิงภายในที่มากขึ้น/แรงต้านอากาศน้อยลง), ความเร็ว(แรงต้านอากาศลดลง), และภารกรรมบรรทุก(แรงยกมากขึ้น/แรงต้านลดลง) เหนือความคล่องแคล่วในการรบระยะประชิด dogfight แบบดั้งเดิม classic

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, กองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, AMI: Aeronautica Militaire Italiana) และกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ในโครงการการรบทางอากาศทั่วโลก GCAP 
คาดว่าเครื่องบินต้นแบบจะทำการบินได้ในปี 2030 ก่อนหน้าแผนที่จะนำเข้าประจำการโดยมีความพร้อมรบขั้นต้นในปี 2035(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/loyal-wingman-uav-gcap.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ai-loyal-wingman-uav.html)

การพูดคุยในการประชุม Global Air and Space Chiefs' Conference 2025 ในกรุง London(ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล และคณะนายทหารกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย(https://www.facebook.com/rtafnews.mi.th/posts/pfbid0mgHDbjfDC7FimH6AHU6YLtQeP2BAWBKMixqzMkCC2UoFMYGdtNGRtbcn4eoRNuyMl))
ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอิตาลี พลอากาศโท Antonio Conserva กล่าวว่าเขาและผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรและกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีความมั่นใจว่ามีเจตจำนงทางการเมืองที่ตรงต่อกำหนดระยะเวลาที่มีความท้าทายสูงสำหรับโครงการไตรภาคี

"ผมเชื่อว่ามันมีความมุ่งมั่นทางการเมืองที่แข็งแกร่งอย่างมาก และกองทัพอากาศทั้งสามชาติมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะบรรลุความเป็นไปได้ในการบินเครื่องบินต้นแบบในปี 2030 และเครื่องบินขับไล่เครื่องแรกที่มีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นบางส่วนในปี 2035
มีงานอีกมากที่ต้องทำให้เสร็จ(สำหรับการนำเข้าประจำการ)ในเพียง 10ปีตั้งแต่ตอนนี้ แต่ผมคิดว่าเราได้นำวิศวกรที่ดีที่สุดของเรา, ผู้ใช้งานระบบที่ดีที่สุดของเรา และนักบินที่ดีที่สุดของเรามารวมไว้ด้วยกันในคำสั่งที่จะบรรลุผลโครงการที่ดีที่สุดในโลกเท่าที่เคยเห็น" พลอากาศโท Conserva กล่าวในการประชุมเมื่อเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2025 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ร่วมฝึกกับสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในการฝึกผสม AIR THAISING 2025
















The Royal Thai Air Force (RTAF) Beechcraft AT-6TH Wolverine light attack aircrafts of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base involved with the Republic of Singapore Air Force (RSAF) Lockheed Martin F-16C/D/D+ Fighting Falcon for first time in the exercise AIR THAISING 2025 at Wing 1 Korat RTAF base, Thailand on 14-25 July 2025. (Royal Thai Air Force)



พิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2025
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568 นาวาอากาศเอก ณัฎฐ์  คำอินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ฝ่ายกองทัพอากาศ พร้อมด้วย COL Ng Han Lin ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ฝ่ายกองทัพอากาศสิงคโปร์ 
เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
การฝึกผสม AIR THAISING เป็นการฝึกผสมร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลของกองทัพอากาศทั้งสองประเทศได้พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบินและหน่วยที่เข้าร่วมการฝึก ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติทางอากาศผสมของหน่วยบิน ที่มีความแตกต่างทั้งในเรื่องของภาษา แนวคิด รวมถึงวัฒนธรรม 
อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ ให้สามารถปฏิบัติการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดกับทั้งสองประเทศ
การฝึกผสมในครั้งนี้กองทัพอากาศได้นำเครื่องบินแบบ บ.จ.8 (AT-6TH) จากฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกด้วย ถือเป็นการฝึกผสม “ครั้งแรก“ ของเครื่อง AT-6 ที่เข้าร่วมฝึกการปฏิบัติการทางอากาศร่วมกับอากาศยานต่างชาติ
โดยในช่วงเช้าของพิธีเปิด ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันเปิดแพนหางของเครื่องบินแบบ F-16D ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ได้จัดทำลวดลายพิเศษเป็นตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สิงคโปร์ เพื่อเป็นการแสดงถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน 
ซึ่งผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมทั้งสองชาติยังได้ร่วมกันเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสานต่อมิตรภาพที่ยาวนานนี้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปในระหว่างร่วมกันปลูกต้น “Friendship Tree” เพื่อเป็นสื่อสัญลักษณ์ของความเจริญเติบโต ความยั่งยืน และความสัมพันธ์ที่งอกงามของทั้งไทยและสิงคโปร์
ทั้งนี้ กองทัพอากาศไทยเริ่มต้นเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ครั้งแรก เมื่อปี 2526 ภายใต้รหัสการฝึก “AIR THAISING 1/83” ซึ่งครั้งนั้นได้ทำการฝึกภาคบังคับการ (Command Post Exercise – CPX) ณ ฐานทัพอากาศ PAYA LEBAR ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 10-26 สิงหาคม 2526 
และทำการฝึกปฏิบัติภาคอากาศ (Air Maneuvering Exercise – AMX) ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19-23 กันยายน 2526 โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ HUNTER เข้าร่วมการฝึกกับเครื่องบินแบบ F-5 ของกองทัพอากาศไทย จากนั้นได้ทำการฝึกร่วมกันรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ 
คือ การฝึกที่บังคับการ (Command Post Exercise – CPX) จะทำการฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์ ส่วนการฝึกภาคปฏิบัติ (Air Maneuvering Exercise – AMX) จะทำการฝึกที่ประเทศไทย ต่อมากองทัพอากาศทั้งสองประเทศก็ได้เข้าร่วมการฝึกอื่น ๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกผสม Cope Thunder และการฝึกผสม Cope Tiger 
ทำให้กำลังพลของทั้งสองประเทศ ทั้งในส่วนของผู้ทำการบินและฝ่ายสนับสนุน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างความสัมพันธ์อันดีมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการฝึก AIR THAISING 2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-25 กรกฎาคม 2568 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

AT-6TH (Wolverine) กับการฝึกผสมครั้งแรกใน AIR THAISING 2025
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568 นาวาอากาศโท ฤทธวรรณ อมรินทร์รัตน์ ผู้บังคับฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำนักบินพร้อมรบ พร้อมทั้งเครื่องบินโจมตีเบาแบบ AT-6TH  จากฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมการฝึก AIR THAISING 2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
ซึ่งการฝึกในครั้งนี้นับเป็นการฝึกผสมครั้งแรกของเครื่องบินแบบ AT-6 ที่ได้เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการทางอากาศร่วมกับอากาศยานต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักบินพร้อมรบที่เพิ่งสำเร็จหลักสูตรมานั้นได้ดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพเพื่อให้พร้อมในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการปกป้องอธิปไตยของชาติ และการรักษาความมั่นคงของประเทศ
เครื่อง AT-6TH  ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับภารกิจ ได้แก่ 
- การบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support)
- ผู้ควบคุมอากาศยานหน้า(Forward Air Control-Airborne)
- การลาดตระเวนรบติดอาวุธ (Armed Reconnaissance)
- การโจมตีทางอากาศ (Air Strike)
- การเฝ้าระวัง การข่าวกรองและการลาดตระเวน (Surveillance and Reconnaissance : ISR)
- การบินค้นหาช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (Combat Search and Rescue)
- การสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัย (Disaster Area Imagery)
- การถ่ายภาพภัยพิบัติ (Disaster Area Imagery)
- การสนับสนุนปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่า
รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในภารกิจด้านความมั่งคง การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้ทำพิธีเปิดการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2025 เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ กองบิน๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย โดยการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ที่ดำเนินในระหว่างวันที่ ๑๔-๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ 
เป็นการฝึกระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพอากาศไทยและและกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ได้กลับมาจัดการฝึกอีกครั้งหลังยุติไปเมื่อเริ่มการฝึกผสมไตรภาคี Cope Tiger ครั้งแรกระหว่างไทย, สิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ซึ่งหลังการฝึกผสม Cope Tiger 2025 ล่าสุดระหว่างวันที่ ๑๖-๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/cope-tiger-2025.html)

กองบิน๑ โคราช ได้เป็นเจ้าภาพในอีกหลายการฝึกรวมถึงการฝึกผสมทางอากาศ ELANG THAINESIA XX/2025 ระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ระหว่างวันที่ ๙-๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/06/elang-thainesia-2025.html)
และการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAMAL 33/2025 ระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน-๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/07/air-thamal-2025.html) ซึ่งทั้งสองการฝึกอินโดนีเซียและมาเลเซียได้นำอากาศยานของตนมาวางกำลังฝึกในไทย

ขณะที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้นำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52 Fighting Falcon ฝูงบิน143(143 Squadron) และเครื่องบินขับไล่ F-16D Block 52+ ฝูงบิน145(145 Squadron)(https://aagth1.blogspot.com/2025/02/lockheed-martin-f-16cdd.html) สนับสนุนโดยเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules ฝูงบิน122(122 Squadron) เข้าร่วมการฝึก AIR THAISING 2025 ที่กองบิน๑ โคราช
ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16D Block 52 ที่ทำลวดลายพิเศษที่แพนหางของเครื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสิงคโปร์และไทยแแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เข้าร่วมการฝึกผสมกับอากาศยานของมิตรประเทศด้วย

กองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ที่ตนสั่งจัดหาเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ครบทั้ง ๘เครื่องในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/at-6th-8.html) ซึ่งได้มีการฝึกนักบินพร้อมรบและการฝึกการปฏิบัติการภารกิจต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/at-6th.html)
ในการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ครั้งล่าสุดนี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-close.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-open.html) ยังจะรวมถึงการฝึกใช้อาวุธของเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/at-6th.html)