วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๓-๑๑


One of five Sikorsky S-70i Royal Thai Air Force in Stratford, Connecticut, USA.(unknow photos source)

มีภาพถ่ายความละเอียดต่ำเพิ่มเติมของถึงเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky S-70i ในโรงงานอากาศยาน ที่มีการติดตั้ง Radar ตรวจสภาพอากาศที่หัวเครื่อง ในสีพรางเทาอ่อนติดเครื่องหมายธงไตรรงค์ไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษ 'Royal Thai Air Force' และภาษาไทย 'กองทัพอากาศ' 
แม้จะที่ไม่ระบุเวลาและสถานที่ แต่จากการติดป้าย 'EXPERIMENTAL' ที่หน้าต่างข้างที่นั่งนักบินทั้งสองฝั่ง รูปแบบทะเบียนอากาศยานก่อนส่งมอบ และสภาพสถานที่โดยรอบ เป็นที่เข้าใจว่าน่าจะถูกถ่ายที่โรงงานอากาศยานของบริษัท Sikorsky สหรัฐฯใน Stratford มลรัฐ Connecticut
กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ S-70i จำนวน ๕เครื่องจาก Sikorsky สหรัฐฯโดยตรง นับเป็นเฮลิคอปเตอร์จาก Sikorsky แบบล่าสุดที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยต่อจากเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๐ ฮ.๑๐ Sikorsky S-92A ฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ กองบิน๒ ครับ

Royal Thai Air Force's RTAF U1-M Unmanned Combat Aerial Vehicle (UCAV) based-on Thailand company RV Connex's Sky Scout-X tactical Unmanned Aerial System (UAS).

Royal Thai Air Force was established Wing 3 Watthananakhon RTAF Base at former 206th Squadron Watthana Nakhon, Sa Kaeo Province as new home base for Unmanned Aerial Vehicle (UAV) fleet.

ตามที่ได้รายงานไปก่อนหน้าว่ากองทัพอากาศไทยได้นำอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลาง RTAF U1 เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๑๗เครื่อง และถูกนำมาวางกำลัง ณ ฝูงบิน๒๐๖ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
ล่าสุดกองทัพอากาศไทยได้มีการจัดตั้ง กองบิน๓  ณ สถานที่ของฝูงบิน๒๐๖ เดิม โดยวางแผนไว้เป็นที่ตั้งของฝูงบิน UAV ที่รวมถึงอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลางติดอาวุธ RTAF U1-M(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html)
ในอดีตกองบิน๓ ที่ถูกยุบลงในปี พ.ศ.๒๕๒๐(1977) เคยมีที่ตั้ง ณ ฐานบินโคราช ร่วมกับโรงเรียนการบินก่อนย้ายไปโรงเรียนการบินกำแพงแสนในปัจจุบัน และกองบิน๑ ย้ายจากฐานทัพอากาศดอนเมือง มาที่โคราชในปัจจุบันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/uh-1h-huey.html)











Saab Gripen C/D figthers of 701st Squadron with all 11 aircrafts 100% Readiness and Saab 340B ERIEYE Airborne Early Warning and Control (AEW&C) of 702nd Squsdron, Wing 7 Surat Thani , Royal Thai Air Force in Elephant Walk, 11 November 2020.

11.11 "SHARK" Elephant Walk
เครื่องบิน Gripen 39 C/D สังกัดฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ พร้อมปฏิบัติการบินทุกเครื่อง คิดเป็น ๑๐๐%
วันที่ ๑๑.๑๑.๒๐๒๐ เวลา ๑๑.๑๑ น. นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์  ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ มอบหมายให้ ฝูงบิน ๗๐๑ และฝูงบิน ๗๐๒ ร่วมบินประกอบกำลังขนาดใหญ่ ฝึกปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ในภารกิจปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลเหนือพื้นที่อ่าวไทย
S - Strong
E - Effective
V - Victory
E - Enhance
N – Nation

นับเป็นเวลากว่า ๙ปีแล้วที่เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ร่วมกับเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ บ.ค.๑ SAAB 340 AEW Erieye ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ ที่อยู่ในชุดโครงการจัดหา
จากจำนวน ๑๒เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นคือการสูญเสียเครื่องบินขับไล่ Gripen C หมายเลข 70108 ในงานวันเด็ก พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่กองบิน๕๖ หาดใหญ่ ซึ่งนักบินเสียชีวิตเนื่องจากการหลงสภาพการบินชั่วขณะ(Spatial Disorientation) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย
นอกจากการจัดหา Gripen C หนึ่งเครื่องทดแทนที่สูญเสียไป ยังรวมการปรับปรุงขีดความสามารถมาตรฐาน MS20 ตามแผนในสมุกปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/gripen-cd-ms20.html) ที่ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่จำกัดภายใต้การระบาด Covid-19 ครับ


Thailand is the first country in the Indo-Pacific to field the RQ-21 Blackjack Unmanned Aerial System.

การคัดเลือกกำลังพลของเพื่อส่งไปเข้ารับการฝึกการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับแบบ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack ที่สหรัฐฯในอีก ๕เดือนข้างหน้าน่าจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ากองทัพเรือไทยกำลังอยู๋ระหว่างจัดหา RQ-21 Blackjack UAV แล้ว โดยไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิกที่จัดหา
และนับเป็นระบบอากาศยานไร้คนขับแบบล่าสุดที่กองทัพเรือไทยจัดหาต่อจากอากาศยานไร้คนขับ Aeronautics Defense Orbiter 3B อิสราเอล ที่ได้ถูกนำมาใช้งานจริงเช่นการตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมายแล้ว และอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Schiebel Camcopter S-100 ออสเตรีย
ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ พ.ศ.๒๕๖๓ ก่อนหน้านโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ยังมีการระบุถึงโครงการจัดหาระบบอากาศยานโจมตีไร้คนขับ จำนวน ๑ระบบประกอบด้วย UCAV ๓เครื่อง ระบบตรวจจับและอาวุธแบบเดียวกับ General Atomics MQ-1 Predator ด้วยครับ







Thailand's Defence Technology Institute demonstrated firing domestic DTI-2 122mm on SR4 wheeled self-propelled Multiple Launch Rocket System and Range Instrument Radar at Royal Thai Army Artillery Center Range, Lopburi province, 11 November 2020.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ร่วมยิงสาธิตจรวด DTI-2 ขนาด 122 มม. ระยะยิง 10 กม. (จรวดฝึก) แบบต่อเนื่อง จำนวน 10 นัด

โดยมี พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เดินทางเข้าร่วมการสาธิตยุทโธปกรณ์และอำนาจการยิงของเหล่า ป. ประจำปี 2563 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์การทหารปืนใหญ่ 
เพื่อแสดงขีดความสามารถของอาวุธยุทโธปกรณ์ของเหล่าทหารปืนใหญ่ ให้กับคณะนักศึกษา วปอ.สปท., นักศึกษา วทบ., วทอ. และนักเรียนเสธ. เหล่าทัพ โดย พล.ท.วิโรจน์ เกิดแสง ผอ.วปอ.สปท. เป็นหัวหน้าคณะนักศึกษา  และมี ผบ.ศป. เป็นประธานการจัดการสาธิตฯ 

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ร่วมยิงสาธิตจรวด DTI-2 ขนาด 122 มม. ระยะยิง 10 กม. (จรวดฝึก) แบบต่อเนื่อง จำนวน 10 นัด จากรถฐานยิงจลก. แบบ SR4 ที่ได้รับการสนับสนุนจาก พล.ป. เพื่อแสดงขีดความสามารถของลูกจรวด DTI-2  
ซึ่งเป็นผลงานวิจัยภายใต้บันทึกข้อตกลงร่วมพัฒนาระบบ จลก. ขนาด 122 มม. ระหว่าง ทบ. กับ สทป. ในการใช้งานกับยุทโธปกรณ์รถฐานยิง จลก. แบบ SR4 
และยังได้ร่วมนำผลงานวิจัย รถฐานยิงจรวด DTI-2, รถฐานยิง DTI-1G และชุดท่อยิงจรวด ลูกจรวดและชิ้นส่วนจรวด และ เรดาร์ RIR  ร่วมจัดแสดง โดยจัดขึ้น ณ สนามยิงปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 11 พ.ย.63

การสาธิตการยิงระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 กองทัพบกไทย ด้วยจรวด DTI-2 ขนาด 122mm ระยะยิง 10km ต่อเนื่อง๑๐นัด นับเป็นความประสบความสำเร็จล่าสึดของความก้าวหน้าของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดสมรรถนะสูง DTI-2
ซึ่งได้มีการทดสอบล่าสุดไปเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ รวมถึงการทดสอบการยิงจากแท่นยิงดัดแปลงใหม่บนรถแคร่ฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑ บนพื้นฐานรถสายพานลำเลียงแบบ๓๐ รสพ.๓๐ Type 85
การสาธิตล่าสุดนี้ยังน่าจะเป็นครั้งแรกที่ได้มีการแสดง Radar วัดระยะพิสัยการยิง(RIR: Range Instrument Radar) ในการวัดค่าการทดสอบอาวุธยิงจำลองพิสัยไกลควบคู่ไปกับผลงานก่อนหน้าเช่นระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องนำวิถีอัตตาจร DTI-1G ขนาด 302mm ครับ


Walkaround Video: Royal Thai Army's Norinco VN1 8x8 wheeled armoured vehicle at Cavalry Center, Fort Adisorn, Saraburi province, Thailand in November 2020.


Royal Thai Army's VT 4 vs Oplot-M at firing range.

Royal Thai Army's Norinco VT4 on moving and firing at target about 1,500m.

รถถังหลัก VT 4 ของกองทัพบกไทย โชว์การยิงอาวุธปืนใหญ่ขนาด 125 มม. ครั้งล่าสุด ...ตรงเป้า....แม่นมาก ...Photo Sompong Nondhasa

การจัดแสดงยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 รถถังหลัก VT4 และรถถังหลัก Oplot กองทัพบกไทยในการสาธิตสมรรถนะและอำนาจการยิงของเหล่าทหารม้า แก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ. ณ ค่ายอดิศร ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
น่าจะเป็นครั้งแรกที่กองทัพบกไทยเปิดตัวรถเกราะล้อยาง VN1 ของตนแก่สาธารณชน ซึ่งเป็นยานเกราะล้อยางตระกูล VN1 8x8 ที่มีความทันสมัยก้าวหน้าที่สุดที่จีนส่งออกให้ต่างประเทศ ถ้าเทียบกับ VN1 ที่ส่งออกให้แก่นาวิกโยธินเวเนซุเอลาก่อนนี้ที่ยังใช้ป้อมปืนแแบบมีพลประจำภายในอยู่
ด้วยป้อมปืน Remote แบบ UW4B การออกแบบตัวรถนับว่าทันสมัยกว่ายานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ยูเครน แต่ยังไม่เท่ายานเกราะล้อยาง Stryker สหรัฐฯ เช่นประตูหลังแบบปิดเปิดด้านข้างเหมือนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 ที่ประจำการในกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะก่อนหน้าครับ



The prototype of domestic thai company KHT FIREARMS 9mm suppressor submachine gun. 

ยิงในรถก็ได้ ยิงในห้องก็ดี สรรพคุณดีต่อหู  9มม
กระบอกแรกในประเทศไทยที่ใช้แมกกาซีนsig320 ติดตามรอชมคลิปทดสอบได้เร็วๆนี้ ที่เพจKHT FIREARMS 
KHT FIREARMS บริษัทที่ได้รับการผลิตอาวุธ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

KHT FIREARMS ยังไม่ได้เปิดจำหน่ายให้แก่ภาคพลเรือน รอร่างกฎหมายหน่อยนะครับ



MOD 963 AR 14.5" length barrel 5.56x45mm based-on NARAC556 assault rifles by NRC Defence for Ministry of Defence of Thailand.

เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ บริษัท KHT FIREARMS ไทยได้เปิดตัวอาวุธปืนใหม่ของตนคือปืนกลมือพร้อมท่อลดเสียงขนาด 9x19mm ซึ่งยังคงใช้พื้นฐานจากปืนเล็กตระกูล AR15 เช่นเดียวกับปืนเล็กยาวลำกล้อง 7" แบบ DTI7 ที่ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI
จากข้อมูลโดย KHT FIREARMS ปกม.ขนาด 9mm ใหม่ของตนนี้ใช้ซองกระสุนร่วมกับปืนพก SIG Sauer P320 ที่ได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯในชื่อปืนพก M17(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/sig-sauer-p320-xm17.html) ทดแทนปืนพก M9(Beretta 92FS)
ตามที่ปืนพก P320 ได้ถูกจัดหาโดยกองทัพบกไทยจำนวนหนึ่งเพื่อทดแทนปืนพก ปพ.๘๖ Colt M1911 เช่นเดียวกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยจัดหาเป็นปืนสวัสดิการ โดย ปกม.9mm ของ KHT FIREARMS มีรูปแบบคล้ายปืนกลมือ Colt 9mm SMG ที่ผลิตมาก่อนหน้าแต่ถูกปรับปรุงใหม่ให้ดีกว่า

นอกจากนี้ผู้เขียนได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาบ้างเล็กน้อยว่ากองทัพบกไทยกำลังจะเริ่มการนำอาวุธประจำกายเก่าที่มีอายุการใช้งานมานานบางแบบออกจากหน่วยที่เป็นส่วนกำลังรบ ส่วนสนับสนุนการรบ และส่วนช่วยรบ เพื่อเก็บเป็นอาวุธสำรองสงครามโดยไม่ใช้งานเป็นอาวุธประจำหน่วยหลักอีกแล้ว
ซึ่งอาวุธเหล่านี้รวมถึงปืนเล็กยาว ปลย.๑๑ HK33 ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑(1968) ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm รุ่นเก่าอย่าง M193 ขณะที่ปืนเล็กยาว M16A1 ที่เข้าประจำการในช่วงใกล้เคียงกันบางส่วนน่าจะได้รับการเปลี่ยนลำกล้องใหม่ให้ใช้กระสุนมาตรฐาน NATO เช่น M855 ได้
โดยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมากองทัพบกไทยมีการจัดหาปืนเล็กยาวหลายแบบเข้าประจำการในหลายหน่วย ตรงนี้ก็หวังว่าปืนที่ผลิตในไทยอย่างปืนเล็กยาวตระกูล MOD 963 ที่ได้รับการจัดหาใช้งานในหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหมไทยแล้วจะได้รับการจัดหาจากกองทัพบกไทยเช่นกันบ้างครับ