วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563

อินโดนีเซียจะซื้อเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสหรือไม่? ถ้าไม่ได้ Su-35 รัสเซียเพราะอาจถูกสหรัฐฯคว่ำบาตร

Will scars from US sanctions drive Indonesia to buy Rafale?

A Rafale departs on a delivery flight to India, which has ordered 36 examples Source: Dassault


Indonesia has held off concluding a deal for 11 Su-35s owing to fears of US sanctions Source: UAC

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จำเป็นต้องมีเครื่องบินขับไล่ใหม่ นั่นเป็นเรื่องที่มีความชัดเจนมากพอ
แต่ความต้องการดั้งเดิมสำหรับการจัดหาทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซียและสหรัฐฯของอินโดนีเซียอาจจะต้องล้มเลิกไปจากความกลัวต่อการกำหนดนโยบายตามความพอใจของรัฐบาลสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้ที่จะเปิดโอกาสแก่เครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสหรือไม่?
แน่นอนในต้นเดือนธันวาคม 2020 ได้ปรากฎในสื่อฝรั่งเศสว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังหารือที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 48เครื่อง โดยรัฐมนตรีกระทรวงกองทัพฝรั่งเศส นาง Florence Parly กล่าวว่าข้อตกลง "มีความก้าวหน้าเป็นอย่างดีมาก"

ภายในไม่กี่วันหลังจากเครื่องบินขับไล่ Rafale ตกเป็นข่าวใหญ่ ได้ตามมาด้วยรายงานจากหนังสือพิมพ์ Nikkei Asian Review ว่าอินโดนีเซียได้รับการอนุมัติจากสหรัฐฯสำหรับความเป็นไปได้ในการขายทั้งเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15E และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet 
น่าแปลกที่รายงานซึ่งอ้างถึงแหล่งข่าวในรัฐบาลอินโดนีเซียต่อมาได้ถูกถอดออกไป เครื่องบินขับไล่ของบริษัท Boeing สหรัฐฯสองแบบคาดว่าน่าจะถูกหารือระหว่างการเยือนอินโดนีเซียของรักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ Christopher Miller
ไม่มีการกล่าวถึงในแถลงการณ์การปฏิบัติประจำของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯจากการประชุมดังกล่าว และไม่มีการอนุมัติการขายในรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) สำหรับเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบ ถึงแม้ว่าถ้า Nikkei รายงานถูกต้อง เรื่องดังกล่าวอาจจะยังไม่มาถึงในตอนนี้

รายงานล่าสุดเหล่านี้ได้เพิ่มกระแสข่าวที่เกี่ยวกับความต้องการเครื่องบินขับไล่ใหม่ของอินโดนีเซียรวมถึงหลายเรื่องที่น่าสนใจในปี 2020 ในเดือนกันยายน 2020 ปรากฎว่ารัฐบาลอินโดนีเซียยังคงถกเถียงกับรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี
เกี่ยวกับโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X(Korean Fighter eXperimental/Indonesian Fighter eXperimental) ของบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งอินโดนีเซียเป็นหุ้นส่วนรอง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/kf-x.html)
สองเดือนก่อนหน้าในเดือนกรกฎาคม 2020 อินโดนีเซียได้แสดงความสนใจในการซื้อเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ของออสเตรียที่ผ่านการใช้งานแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/eurofighter-typhoon.html)

และในปี 2019 อินโดนีเซียยังมีการเจรจาที่จะสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 72 Viper สหรัฐฯ 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-16v-su-35.html)
เป็นข้อเสนอที่ดูเป็นรูปธรรมมากกว่าข่าวลือที่มีมาหลายปีที่ว่าอินโดนีเซียให้ความสนใจในเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/f-35.html)
และท้ายที่สุดการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) รัสเซีย 11เครื่องของอินโดนีเซียที่ล่าช้าไม่จบไม่สิ้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/su-35.html)

ข้อตกลงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียของอินโดนีเซียเห็นได้ชัดว่าถูกละทิ้งไปแล้วแม้ว่าจะไม่ถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงก็ตาม เนื่องจากความกลัวต่อการถูกมาตรการคว่ำบาตรจากรัฐบาลสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องกับ
รัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นกฎหมายที่จะลงโทษประเทศที่ทำธุรกรรมกับศัตรูของสหรัฐฯ เช่น อิหร่าน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และรัสเซีย
เครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II จำนวน 14เครื่องที่เดิมจะถูกทดแทนด้วยเครื่องบินขับไล่ Su-35SK ได้ถูกปลดประจำการจากกองทัพอากาศอินโดนีเซียในปี 2016 หลังจากใช้งานมาเกือบ 40ปี

ความจำเป็นในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของอินโดนีเซียถูกผลักดันจากข้อกังวลด้านสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่เป็นหมู่เกาะที่กว้างใหญ่ สภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างโอนอ่อนในช่วงปี 1990s-2000s ได้เปิดทางไปสู่การยุคใหม่ทางการแข่งขันด้านมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลจีนใต้
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประท้วงอย่างเป็นทางการต่อการแสดงตนของเรือสัญชาติจีนในน่านน้ำอาณาเขตใกล้หมู่เกาะ Natuna โดยรอบของตน "แน่นอนจีนได้เติมเชื้อไฟต่อความกังวลของอินโดนีเซียเกี่ยวกับความเปราะบางทางทะเลโดยรอบหมู่เกาะ Natuna
ด้วยการรุกล้ำทางทะเลเข้าสู่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: Exclusive Economic Zone) ของอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว(2019)" Natalie Sambhi ผู้เชี่ยวชาญกิจการทางทหารอินโดนีเซียเช่นเดียวกับผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารของ Verve Research กล่าว

ข้อมูลจาก Cirium fleets data ระบุว่าเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่ประจำการในปัจจุบันมีจำนวนเพียง 48เครื่องจากสองผู้ผลิตคือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Sukhoi Company ในเครือ United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซีย
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-16 รวม 32เครื่อง(แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-16A และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16B รวมจำนวน 9เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-16C และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16D รวมจำนวน 23เครื่อง),
เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27 รวม 5เครื่อง(แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Su-27SK จำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Su-27SKM จำนวน 3เครื่อง) และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Sukhoi Su-30MK2 จำนวน 11เครื่อง

ฝูงเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียปัจจุบันกำลังได้รับการปรับปรุง Falcon Star ของ Lockheed Martin สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการดำเนินงานโดย Indonesian Aerospace หรือ PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซีย
การปรับปรุง Falcon Star จะยืดอายุการใช้งานโครงสร้างอากาศยานจากเดิม 4,000ชั่วโมงบิน เป็น 8,000ชั่วโมงบิน และปรับปรุงระบบ Avionic ต่างๆ และ Radar แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯและรัฐบาลอินโดนีเซียจะดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมาล่าสุด
แต่ย้อนไปในช่วงตั้งแต่ปี 1999-2005 สหรัฐฯได้สั่งห้ามการขายอาวุธให้อินโดนีเซียจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในติมอร์ตะวันออก ส่งผลให้ฝูงบิน F-16A/B ต้องถูกงดบิน เหตุการณ์ในอดีตและความน่าสะพรึงกลัวของการคว่ำบาตผ่านกฎหมาย CAATSA น่าจะทำให้การซื้อ Su-35 รัสเซียถูกยุติลง

รวมถึงอาจจะมีอิทธิพลต่อแนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ในอนาคตของอินโดนีเซีย "แม้ว่าจะมีนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดก็ตาม อินโดนีเซียได้มีรอยแผลเป็นจากการคว่ำบาตรโดยสหรัฐฯในปลายปี 1990s ซึ่งทำให้เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์บางส่วนหยุดชะงัก
นั่นกล่าวได้ว่านโยบายการกระจายความหลากหลายของผู้จัดส่งมาพร้อมความท้าทายของตนเอง กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียจะต้องสนับสนุนการฝึกเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงและวิศวกร ไม่ต้องกล่าวถึงการซื้ออะไหล่สำหรับเครื่องบินรบหลายแบบซึ่งไม่มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง" Sambhi กล่าว
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่หนึ่งแบบในรูปแบบอย่าง Dassault Rafale ฝรั่งเศส ควรจะกำจัดปัญหาดังกล่าวจากการมีฝูงเครื่องบินขับไล่ผสมหลายแบบ และยังช่วยป้องกันความน่าปวดหัวที่เกิดจากนโยบายการปฎิบัติตามอำเภอใจของกลุ่มนักการเมืองสหรัฐฯ

สำหรับบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส การสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 48เครื่องจากอินโดนีเซียจะเป็นอีกการส่งออกหนึ่งต่อจากอียิปต์(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/scalp-rafale.html), กรีซ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale-18.html),
อินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html) และกาตาร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html) และอาจจะเป็นการได้รับลูกค้าเปิดตัวรายแรกจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเครื่องบินขับไล่ Rafale ถ้าข้อตกลงบรรลุผลจริง
กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ Rafale รายใหญ่ที่สุดอันดับสองรองจากฝรั่งเศส จากมุมมองทางเทคนิค เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Rafale มีประสิทธิภาพตลอดทุกภาคส่วนอย่างเต็มรูปแบบทั้งภารกิจอากาศสู่อากาศและภารกิจอากาศสู่พื้น

มีแนวโน้มว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะเสนอข้อตกลงชดเชยที่สำคัญเกี่ยวกับการซื้อ Rafale อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะดึงดูดความต้องการของอินโดนีเซียที่จะพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการบินของตน อินโดนีเซียเป็นตลาดหลักของบริษัท Airbus Defence & Space ยุโรปอยู่แล้ว
และอินโดนีเซียมีขีดความสามารถในการผลิตเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี CN235 และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C295 อย่างไรก็ตามอุปสรรคหนึ่งต่อการจัดซื้ออาวุธใดๆของของอินโดนีเซียคือสภาพเศรษฐกิจของประเทศซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ coronavirus Covid-19
แต่ Sambhi แย้งว่ามันอาจจะมีอย่างอื่นอีก, ความเป็นส่วนตัวมากขึ้น, แรงจูงใจเพื่อทำให้ข้อตกลงเครื่องบินขับไล่เสร็จสิ้น สิ่งนี้วนเวียนโดยรอบความทะเยอทะยานทางการเมืองที่ทราบของรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2014

"ข้อตกลงที่ประสบความสำเร็จในการจัดหาเครื่องบิน 50-100เครื่อง น่าจะช่วยหนุนการอ้างของ Prabowo เมื่อเขาไปสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ว่าเขาเคยปกป้องอธิปไตยของอินโดนีเซีย 
นี่จะช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือของเขาสำหรับการลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียครั้งใหม่ในปี 2024 หรือตำแหน่งทางการเมืองใดๆในอนาคต" เธอกล่าว มากกว่านั้นการเลือก Rafale ของอินโดนีเซียจะเลี่ยงความเสี่ยงต่อการถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องกับการซื้ออาวุธของรัสเซีย
เช่นเดียวกับความเสี่ยงต่อการถูกคว่ำบาตรในกรณีที่อินโดนีเซียเกิดความบาดหมางกับรัฐบาลสหรัฐฯอีกครั้ง เครื่องบินขับไล่ฝรั่งเศสจะยังคงจับเป้าหมายในอินโดนีเซียได้หรือไม่ นักการเมืองสหรัฐฯสามารถคาดหวังที่จะได้รับ 'การ์ดขอบคุณ' จาก Dassault ฝรั่งเศสได้หรือไม่ครับ