วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

KAI เกาหลีใต้จะดัดแปลงเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ติดระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

KAI to modify FA-50 with Cobham refuelling probe


KAI has so far delivered FA-50 combat aircraft to South Korea, Royal Thai Air Force and the Philippines Source: Korea Aerospace Industries/(https://www.facebook.com/people/Tanapol-Arunwong/100002183542138)

Lockheed Martin adapted T-50A trainer for refuelling by boom-equipped tanker Source: Lockheed Martin

บริษัท Cobham Mission Systems สหราชอาณาจักรจะส่งมอบขีดความสามารถการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศสำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50 Fighting Eagle สาธารณรัฐเกาหลี
การประกาศการได้รับเลือกในฐานะผู้รับสัญญาหลักสำหรับการดัดแปลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2020 บริษัท Cobham กล่าวว่าตนจะ "ออกแบบ, พัฒนา และปรับความเหมาะสมแนวทางท่อรับเชื้อเพลิงทรงกระบอก" สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบาเครื่องยนต์ไอพ่นเดียวความเร็วเหนือเสียง FA-50

การติดตั้งท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศ(probe) ทำให้เครื่องขับไล่โจมตีเบา FA-50 จะดำเนินการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจากด้านหลังเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่ติดตั้งระบบส่งเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบตระกร้า(drogue) ได้
โดยมุ่งเป้าไปที่ "การเพิ่มขยายความยืดหยุ่นและการทำงานร่วมกันในการปฏิบัติการของอากาศยาน" Cobham Mission Systems สหราชอาณาจักรกล่าว

"โดยการให้การสนับสนุนแก่ KAI เป็นเวลากว่าทศวรรษ เรามีความยินดีที่จะส่งมอบขีดความสามารถการปฏฺิบัติการใหม่สำหรับเครื่องบินรบไอพ่น FA-50 ที่น่าประทับใจของพวกเขา"
Russell Bailey รองประธานฝ่ายระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศของบริษัท Cobham Mission Systems ในสหราชอาณาจักรกล่าว

"ทีมที่ทุ่มเทของเรามองไปข้างหน้าที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ KAI เพื่อจะสร้างการออกแบบท่อรับเชื้อเพลิง probe ที่น่าเชื่อถือสำหรับ FA-50 ที่จะมอบการเพิ่มขยายขีดความสามารถการปฏิบัติการแก่ผู้ใช้ปลายทาง" เขาเสริม
Cobham คาดการณ์ว่าข้อตกลง "จะนำไปสู่การกำหนดความต้องการสายการผลิตจำนวนมากในอนาคตสำหรับฐานลูกค้าของ KAI"

Cirium fleets data แสดงข้อมูลว่าเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ที่พัฒนาจากเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50 Golden Eagle ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippines Air Force) 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html)
และกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) จำนวน 60เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/fa-50.html)

กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีมีประจำการด้วยเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus Defence & Space A330 Multi Role Tanker Transport(MRTT) จำนวน 4เครื่อง
ที่ได้รับติดตั้งระบบกระเปาะส่งเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบสายตระกร้า(drogue) ใต้ปีก และท่อส่งเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ boom ที่กลางโครงสร้างลำตัวใต้เครื่อง

ในเดือนพฤศจิกายน 2020 โรงเรียนนักบินทดสอบนานาชาติแคนาดา(International Test Pilots School Canada) ยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding)
กับ KAI สาธารณรัฐเกาหลีที่จะส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เครื่องขับไล่โจมตีเบา FA-50 สำหรับหน้าที่การฝึกทางยุทธวิธีและข้าศึกสมมุติ

ถ้าได้รับการจัดหาไปใช้โดยลูกค้าเช่น อินโดนีเซีย และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html)
การเพิ่มท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ probe จะแสดงถึงเครื่องบินไอพ่นตระกูล T-50 ที่สร้างโดย KAI เกาหลีใต้แบบแรกที่มีขีดความสามารถนี้

ในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์เครื่องบินฝึกไอพ่น T-50A สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/kai-t-50-t-x.html)
บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้นำระบบรับเชื้อเพลิงกลางอากาศจากเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ boom มาใช้กับเครื่องต้นแบบ T-50A โดยเพิ่มช่องรับเชื้อเพลิงที่ติดตั้งกลางแกนสันหลังกลางลำตัวเครื่องด้านหลังห้องนักบินแบบสองที่นั่งเรียงกันครับ