วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563

อินโดนีเซียกำลังหารือกับ Naval Group ฝรั่งเศสสำหรับเรือดำน้ำชั้น Riachuelo บราซิล

Indonesia in talks with Naval Group for variant of Riachuelo-class submarine



Brazil’s first Riachuelo-class submarine, seen here in prior to its sea trials in 2020. Indonesia is studying a variant of the class for its naval requirements. (Naval Group)





คณะเจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกำลังอยู่ในการหารือกับกลุ่มกิจการค้าร่วม(consortium) ที่นำโดยบริษัท Naval Group ฝรั่งเศสสำหรับความเป็นไปได้ในการสั่งจัดหาเรือดำน้ำชั้น Riachuelo บราซิล(เรือดำน้ำแบบ Scorpene รุ่นปรับปรุง)
แหล่งข่าวหลายรายที่แยกกันต่างหากในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงที่ใกล้ชิดกับการเจรจาได้ยืนยันกับ Janes(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/scorpene-s40-riachuelo_22.html)

การหารือเป็นความคืบหน้าล่าสุดในสิ่งที่เรื่องราวที่มีการพูดถึงเป็นระยะๆ ระหว่างกลุ่มนักวางแผนกลาโหมอินโดนีเซียและ Naval Group ฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2016
เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียได้ระบุครั้งแรกว่าตนให้ความสนใจในเรือดำน้ำแบบ Scorpene 1000 สำหรับความต้องการทางเรือของตน(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html)

การตรวจสอบวิเคราะห์ประเมิน(Due diligence)โดยเฉพาะสำหรับเรือดำน้ำชั้น Riachuelo ได้เริ่มต้นหลังจากที่เรือดำน้ำชั้นนี้ได้ถูกนำเสนอโดย Naval Group ฝรั่งเศส ตามที่แบบเรือดำน้ำมีความเหมาะสมสำหรับความต้องการของอินโดนีเซียแหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรายหนึ่งกล่าว
นอกเหนือจากการหารือทางเทคนิค การเจรจากับ Naval Group และกิจการค้าร่วมของตนยังก้าวไปในเรื่องตัวเลือกทางการเงินและโอกาสต่างๆสำหรับข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการระหว่างฝรั่งเศสและบริษัทด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศต่างๆของอินโดนีเซีย แหล่งข่าวเสริม

เรือดำน้ำชั้น Riachuelo จำนวน 4ลำซึ่งได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil) เรือลำแรกของชั้นเรือดำน้ำ S40 Riachuelo ถูกปล่อยลงน้ำโดย Naval Group ในเดือนธันวาคม 2018
เรือลำที่สองเรือดำน้ำ S41 Humaitá, ลำที่สามเรือดำน้ำ S42 Tonelero และลำที่สี่ลำสุดท้ายเรือดำน้ำ S43 Angostura มีกำหนดการจะถูกปล่อยลงน้ำในปี 2020, 2021 และ 2022 ตามลำดับ

เรือดำน้ำชั้น Riachuelo มีขนาดระวางขับน้ำ 1,800tonne ความยาวเรือ 75m ความกว้างเรือ 6.2m และสามารถรองรับกำลังพลประจำเรือจำนวน 31นาย รวมนายทหาร 6นาย
มีขีดความสามารถการใช้อาวุธ Torpedo หนักแบบ F21 และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำใต้น้ำ MBDA Exocet SM39 Block 2 Mod 2 จากท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm หกท่อยิง และสามารถดำได้ลึกสุดถึง 350m

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นเพียงราวหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ Naval Group ฝรั่งเศสประกาศการจัดตั้งสำนักงานของตนใน Manila เพื่อผลักดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/naval-group-manila.html)
กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ปัจจุบันมีประจำการด้วยเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Cakra(Type 209/1300) ที่จัดหาจากเยอรมนี 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1981

และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(Type 209/1400, DSME 1400) จากสาธารณรัฐเกาหลี 3ลำคือ KRI Nagapasa 403, KRI Ardadedali 404 และ KRI Alugoro 405 ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำแรกที่สร้างในอินโดนีเซีย และกำลังจัดหาเพิ่ม 3ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/nagapasa-3.html)
ล่าสุดเรือดำน้ำชั้น Nagapasa อินโดนีเซียกำลังจะได้รับการติดตั้งระบบก่อกวนและเป้าลวงทางเสียงต่อต้าน Torpedo แบบ Zoka จากบริษัท Aselsan ตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/torpedo-aselsan-nagapasa.html) ครับ