วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โอกาสของเครื่องบินขับไล่ KF-21 เกาหลีใต้กับกองทัพอากาศไทย



Korea Aerospace Industries (KAI) displayed model of its KF-21 Boramae fighter aircraft at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos/Royal Thai Air Force)

New Emblem of 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat, Royal Thai Air Force (RTAF) was seen in 2022, shown what appear likely be silhouette of F-35 and also some similar to KF-21. (Royal Thai Air Force)




Lockheed Martin displayed models of its F-16 Block 70/72 fighter and C-130J transport aircraft in Royal Thai Air Force liveries at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)


Lockheed Martin's F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (Royal Thai Air Force/Defense Info media TH)




Saab displayed models of its Gripen E and Saab 340 Erieye AEW&C (Airborne Early Warning and Control) at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. 
MBDA model its missiles include Meteor BVRAAM (Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) on Gripen E at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)


Embaer displayed model of its C-390 Millennium transport aircraft at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)

The Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul and Mr.Sutin Klungsang the Minister of Defence of Thailand and RTAF senior officers were visit Lockheed Martin, Saab, Embraer and KAI pavilions 
during the Defense & Security 2023 show. 
Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force told media, selection committee for new fighter for F-16 replacment has established. initial types include Lockheed Martin F-16 Block 70/72, Saab Gripen E/F and KAI KF-21.

ตามที่แม้ว่ากองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU และ F-16A/B ADF Fighting Falcon ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช
แต่สหรัฐฯได้ปฏิเสธที่จะขายเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตนแก่ไทยด้วยเหตุผลที่กองทัพอากาศไทยยังไม่พร้อมและต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมของตน(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/f-35a.html)
เช่นเดียวกับรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่กระทรวงกลาโหมไทยได้ขอกองทัพอากาศไทยเลื่อนการจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ของตนไปเป็นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/f-16ab.html)

อย่างไรก็ตามในงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ที่อาคาร Challenger Hall 9-12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมาได้เห็นการอุ่นเครื่องของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่
โดยผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย นาย สุทิน คลังแสง พร้อมคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศไทยและเจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมไทยได้เข้าร่วมเยี่ยมชมงานแสดง Defense & Security 2023 นั้น
บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารรัฐเกาหลี ที่มาจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-kggb.html) กำลังมองที่จะนำเสนอเครื่องบินขับไล่ KF-21 Boramae ของตนแก่กองทัพอากาศไทยที่ได้มีรายงานว่าได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่แล้ว

บริษัท KAI สาธารรัฐเกาหลีได้จัดแสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ KF-21 ของตนในไทยเป็นครั้งแรกในงาน Defense & Security 2022 ในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-lig-nex1-kggb.html) ร่วมกับผลิตภัณฑ์อากาศยานอื่นๆของตน
เครื่องบินขับไล่ KF-21 นับเป็นเครื่องบินรบแบบที่สองที่ออกแบบพัฒนาและสร้างในสาธารณรัฐเกาหลีต่อจากเครื่องบินไอพ่นตระกูล T-50 Golden Eagle ที่ส่งออกได้หลายประเทศรวมถึงกองทัพอากาศไทยในชื่อเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ใน ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี
เครื่องต้นแบบเครื่องแรก KF-21 หมายเลข 001 ได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/kf-21-boramae.html) และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/kf-21.html

จนถึงตอนนี้ KAI ได้สร้างเครื่องต้นแบบของ KF-21 แล้วจำนวน ๖เครื่องประกอบด้วยเครื่องที่นั่งเดี่ยวหมายเลข 001, 002, 003 และ 005 และเครื่องสองที่นั่งเรียงกันหมายเลข 004 และ 006 โดยถูกใช้ในการทดสอบหลากหลายรูปแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kf-21-006.html)
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีให้รายละเอียดของโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 ว่าสายการผลิตจำนวนมากขั้นต้นจะเริ่มต้นได้ภายในปี 2024 และการพัฒนาระยะแรกจะเสร็จสิ้นในปี 2026
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) จะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ KF-21 Block I เครื่องแรกจากสายผลิตจำนวนมากในปี 2026 และครบจำนวน ๔๐เครื่องในปี 2028 และจะได้รับเครื่องบินขับไล่ KF-21 Block II อีก ๘๐เครื่องรวม ๑๒๐เครื่องภายในปี 2032

เครื่องบินขับไล่ KF-21 ยังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการส่งออก โดยอินโดนีเซียได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนโครงการกับ KAI สาธารรัฐเกาหลีในชื่อเครื่องบินขับไล่ IF-X(Indonesian Fighter eXperimental) นำโดย PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอากาศยานของอินโดนีเซีย
กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มองที่ได้รับเครื่องบินขับไล่ KF-21 ที่จำนวนราว ๕๐เครื่อง อย่างไรก็ตามอินโดนีเซียยังคงมีการเจรจากับสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อแก้ปัญหาการค้างการชำระค่าใช้จ่ายในโครงการของตนอยู่
โปแลนด์ยังแสดงความสนใจใน KF-21 Block-II ซึ่งจะเริ่มการพัฒนาในปี 2026 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ที่จะเข้าร่วมโครงการและจัดหา KF-21 ในเดือนกันยายน 2023 ฟิลิปปินส์และเปรูยังแสดงความสนใจ KF-21 ด้วย

เครื่องบินขับไล่ KF-21 Block-I ซึ่งมีเครื่องต้นแบบแล้ว ๖เครื่องขณะที่ถูกจัดเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ โดยยังคงมีขีดความสามารถจำกัดในการรบอากาศสู่อากาศ ที่ระบบอาวุธประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศ M61A2 ขนาด 20mm ความจุกระสุน ๔๘๐นัด ตำบลอาวุธใต้ปีก ๖จุดแข็ง และใต้ท้อง ๔จุดแข็งรวม ๑๐จุดแข็ง
ระบบอาวุธนำวิถีที่ทดสอยยิงไปแล้วรวมถึงการยิงปืนใหญ่อากาศ 20mm การปลดตัวอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor ที่ติดในช่องติดตั้งอาวุธกึ่งภายในลำตัว(semi-recessed) ได้ ๔นัด
และการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl AIM-2000 IRIS-T(InfraRed Imaging System-Tail control) การทดสอบต่อไปยังรวมถึงบูรณาการกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) ที่จะติดตั้งในใต้ช่องรับอากาศเข้าด้านขวาของเครื่อง

แบบจำลองเครื่องบินขับไล่ KF-21 ที่แสดงในงาน Defense & Security 2023 และงานอื่นๆก่อนหน้าจะแสดงการติดตั้งระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM ซึ่งขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่พื้นจะเพิ่มมากขึ้นในรุ่น KF-21 Block II ที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ โดยมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว(internal weapons bay)
อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่า KF-21 ยังคงถูกออกแบบให้สามารถใช้งานระบบอาวุธพื้นฐานที่มีใช้งานในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีรวมถึงลูกค้าส่งออก เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X Sidewinder และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM
ตัวแทนของ KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับผู้เขียนว่า บริษัทสามารถที่เสนอขายเครื่องบินขับไล่ KF-21 แก่กองทัพอากาศไทยได้ที่ราคาเครื่องเปล่า(flyaway cost) ราว $65 million(เข้าใจว่าอาจจะใช้วิธีนำเครื่องจากสายการผลิตสำหรับกองทัพเกาหลีเองมาให้เช่นเดียวกับ FA-50 ของโปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/fa-50pl-sniper-atp.html))

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นที่ปรากฎชื่อว่าน่าจะเป็นตัวเลือกในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ กองทัพอากาศไทย เครื่องบินขับไล่ KF-21 เป็นเครื่องบินแบบเดียวที่ยังคงอยู่ในสถานะกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาที่มีเฉพาะเครื่องต้นแบบอยู่
ขณะที่ตัวเลือกอื่นที่มีรายชื่อก่อนหน้าเช่นเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Eagle II ที่แม้ว่าบริษัท Boeing สหรัฐฯจะไม่เคยมาร่วมงาน Defense & Security ในไทยเลย เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน 
เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องที่พัฒนาเสร็จมีสายการผลิตพร้อมแล้ว ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆอย่างเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสก็ไม่เคยมางานในไทยเลย เครื่องบินขับไล่ J-10CE และเครื่องบินขับไล่ FC-31 จีนที่ระบบไม่เข้ากับกองทัพอากาศไทย และรัสเซียที่ถูกห้ามร่วมงานก็ระบบไม่เข้ากันเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ KF-21 ยังสามารถมองได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ก่อนโอนย้ายไปร่วมกับฝูงบิน๑๐๓ ตามที่เป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้น(FIS: Fighter Interceptor Squadron) ที่เน้นการรบอากาศสู่อากาศเป็นหลัก
ขีดความสามารถที่จำกัดในการรบอากาศสู่อากาศด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor ที่กองทัพอากาศไทยมองจะจัดหาในอนาคต และสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T อาจรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้อยู่แล้ว
เช่นเดียวกับปืนใหญ่อากาศ M61A2 20mm ที่เป็นอาวุธภายในตัวของ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B อยู่แล้วด้วย ตัวแทน KAI ยังกล่าวว่าบริษัทของเขายังสามารถที่จะเสนอการปรับแต่งและถ่ายทอดวิทยาการตามความต้องการของกองทัพอากาศไทยได้เช่นเดียวกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/t-50th-sniper-atp.html)

ในงาน Defense & Security 2023 เช่นกัน บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯยังได้จัดแสดงแบบจำลองของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper ในลวดลายฝูงบินขับไล่๑๐๓ กองบิน๑ เช่นเดียวกับเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules ในเครื่องหมายกองทัพอากาศไทย
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยและนายทหารกองทัพอากาศไทยรวมถึงรัฐมนตรีกลาโหมและคณะยังได้รับฟังข้อมูลและทดลองเครื่องจำลองการบิน F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html)
Lockheed Martin สหรัฐฯยังคงมั่นใจว่าเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ของตนมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ ตามที่นักบินและช่างอากาศยานมีความคุ้นเคยง่ายต่อการเปลี่ยนแบบและใช้ระบบสนับสนุนที่มีอยู่เดิมได้เกือบทั้งหมด

เช่นเดียวกับที่การทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ด้วยเครื่องบินลำเลียง C-130J ที่มีสายการผลิตยาวนาน มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากทั่วโลก และได้ถูกพิสูจน์การใช้งานจริงมาแล้วก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะที่สุดกับกองทัพอากาศไทยเช่นกัน
สายการผลิตของเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ณ โรงงานอากาศยาน Greenville ในมลรัฐ South Carolina กำลังผลิตทั้งเครื่องใหม่และชุดปรับปรุงเครื่องที่มีอยู่แก่ลูกค้าส่งออก ๖ประเทศทั่วโลกรวมแล้วถึง ๑๔๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/f-16v-block-70.html)
อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Lockheed Martin สหรัฐฯกล่าวกับผู้เขียนว่า โรงงาน Greenville สามารถมีแผนจะเพิ่มสายการผลิตเป็นที่ระดับ ๔เครื่องต่อเดือนขึ้นไปภายในปี 2024-2025 ซึ่งถ้ากองทัพอากาศไทยเลือกจัดหา F-16C/D Block 70/72 สร้างใหม่ก็จะได้รับมอบเครื่องตรงตามกำหนดเวลา

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16V Viper เป็นการนำโครงสร้างอากาศยานเครื่องเดิมมาสร้างใหม่ที่ได้ทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกองทัพอากาศไทยไม่น่าเลือกที่จะนำ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU/ADF ของตนมาปรับปรุงเป็นมาตรฐาน F-16V ตามที่เครื่องใกล้ถึงกำหนดหมดอายุการใช้งานแล้ว
เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ General Electric F100-GE-129D เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 72 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ Pratt & Whitney F100-PW229EEP (บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น P&W F100-PW-220)
แม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะมีความคุ้นเคยกับ ย.P&W F100 แต่ Lockheed Martin กล่าวว่าตนเชื่อว่ากองทัพอากาศไทยจะเลือกจัดหา F-16 Block 70 ที่ใช้ ย.GE ที่มีราคาเครื่องเปล่า(flyaway cost) ที่ราว $60 million มากกว่า F-16 Block 72 ที่ใช้ ย.P&W ราคาแพงกว่าเล็กน้อยที่ราว $63 million
(ผู้เขียนเข้าใจว่าเหตุผลที่ F-16C/D Block 72 มีราคาแพงกว่า F-16C/D Block 72 เนื่องจากสายการผลิตเครื่องสร้างใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่น Block 70 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นของ General Electric ทำให้รุ่น Block 72 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นของ Pratt & Whitney ถูกสั่งสร้างน้อยกว่าราคาจึงแพงกว่า)

ในงาน Defense & Security 2023 บริษัท Saab สวีเดนยังได้นำแสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ Gripen E และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW&C(Airborne Early Warning and Control) และผลิตภัณฑ์อื่นๆของตนแก่กองทัพไทย
ตามที่ Saab สวีเดนได้เสร็จสิ้นการปรับปรุงมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 สำหรับเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี แล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-saab-accs.html)
ในส่วนของกองทัพอากาศไทย นอกจาการปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW&C บริษัท Saab ยังมุ่งหวังที่จะนำเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของตนสำหรับการทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/fmv-gripen-e.html)

แม้ว่าจะยังคงมีลูกค้าส่งออกรายเดียวคือบราซิลที่จัดหาพร้อมการถ่ายทอดวิทยาการการผลิตในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/f-39e-gripen-e.html) Saab สวีเดนเชื่อว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการของกองทัพอากาศไทย
ทั้งค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงานตลอดอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าคู่แข่ง การถ่ายทอดวิทยาการและความอ่อนตัวในการปรับแต่งระบบตามความต้องการอย่าง datalink Link-TH รวมถึงความเข้ากันได้กับระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System) ของกองทัพไทย
ถึงราคาเครื่องเปล่า(flyaway cost)จะสูงกว่าคู่แข่งที่ราว $85 million และอาจจะสูงถึง $120 million ใน package แบบเต็มรูปแบบ แต่เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จะเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดสำหรับกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/saab-gripen.html)

ในงาน Defense & Security 2023 บริษัท MBDA ยุโรปได้จัดแสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E ที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีของตนรวมถึง อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ASRAAM อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone
ซึ่ง Meteor นั้นกองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหามาใช้กับ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D มาตรฐาน MS20 ในอนาคต ร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T ที่ยังใช้กับ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ KAI KF-21 สาธารรัฐเกาหลีด้วย
ด้านบริษัท Embraer บราซิลก็ยังคงนำเสนอเครื่องบินลำเลียง KC-390 Millennium แก่กองทัพอากาศไทย โดยบริษัทกล่าวว่า C-390 ของตนเป็นระบบแห่งอนาคตที่ดีกว่า C-130 ซึ่งออกแบบมานานจนล้าสมัยแล้ว และนอกจากลูกค้าส่งออกในยุโรป ๕ชาติแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/kc-390.html) บริษัทกำลังจะมีลูกค้ารายแรกในเอเชีย-แปซิฟิกด้วยครับ

ปล.Academy ออกชุดแบบจำลอง KF-21 อัตราส่วน 1/72 แล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือน DAPA สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนลิขสิทธิ์ให้ แต่ดูเหมือนสินค้ายังไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทยตอนที่เขียนบทความนี้ ท่านใดสนใจโดยเฉพาะจะลองทำตัวไทยติดตามข่าวดูครับ