วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รับมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสเครื่องแรกจาก 80เครื่อง

UAE accepts first Rafale combat aircraft





The first of 80 Dassault Rafale combat aircraft was handed over to the UAE during a ceremony in Istres, southern France, on 29 January. (Dassault)



เครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสเครื่องแรกจากจำนวน 80เครื่องได้ถูกส่งมอบอย่างเป็นทางการแก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates) ตามที่มีประกาศเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2025
ผู้อำนวยการบริหารบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส Éric Trappier และรัฐมนตรีกระทรวงกองทัพฝรั่งเศส Sébastien Lecornu นำเสนอเครื่องบินขับไล่ Rafale มาตรฐาน F4 หมายเลขแพนหาง 1101(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/thales-ai-talios-rafale.html)

แก่รัฐมนตรีกิจการกลาโหมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Mohamed Bin Mubarak Fadhel Al Mazroue ระหว่างพิธีส่งมอบที่มีขึ้น ณ โรงงานอากาศยาน Istres ของบริษัท Dassault ในตอนใต้ของฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/rafale.html)
"กระทรวงกลาโหมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศการยอมรับเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสชุดแรกในข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่จะเพิ่มขยายขีดความสามารถต่างๆของกองทัพสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์" กระทรวงกลาโหมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กล่าว

โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อ้างอิงถึงลักษณะทางธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่า 'ประวัติศาสตร์' ว่าเป็นคำสั่งจัดหาทางกลาโหมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/rafale-f5.html)
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้กล่าวว่ามีเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวนกี่เครื่องที่รวมอยู่ในเครื่องบินชุดแรก แต่การส่งมอบดังกล่าวก่อนหน้าแก่ลูกค้าส่งออกต่างๆโดยปกติจะประกอบด้วยจำนวน 4-6เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/rafale-asmpa.html)

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 80เครื่องในเดือนธันวาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/rafale-f4-80.html) หลังการเจรจาต่างๆที่ย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ปี 2008
เมื่อเข้าประจำการในกองทัพอากาศและป้องกันภัยทางอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAEAFAD: United Arab Emirates Air Force and Air Defence) เครื่องบินขับไล่ Rafale F4 จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000 ฝรั่งเศส

ในเวลาเดียวกับที่จะเสริมต่อเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16E/F Block 60 Desert Falcon ของกองทัพอากาศและป้องกันภัยทางอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จัดหาจากสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/saab-globaleye-5.html)
ในการลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เข้าร่วมกลุ่มลูกค้าส่งออกที่รวมถึง โครเอเชีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-6-12.html), อียิปต์(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale-30.html),

Rafale ยังแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องขับไล่ใหม่ของซาอุดีอาระเบีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/rafale-typhoon-f-15ex.html) รวมถึงได้รับการสั่งจัดหาจากอินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/rafale-42-18.html) และเซอร์เบียครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/rafale-12.html)

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568

สเปนจะนำอากาศยานไร้คนขับ SIRTAP ปฏิบัติการบนเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อู่ลอย Juan Carlos I

Spain to take SIRTAP to sea







The SIRTAP seen aboard the Juan Carlos I amphibious assault ship. Airbus and Navantia are to integrate the unmanned aircraft system onto the aircraft carrier for the Spanish Navy. (Airbus)



สเปนมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติการระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft System) แบบ Airbus SIRTAP จากทะเล ด้วยข้อตกลงที่จะบูรณาการเข้ากับเรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวของตนที่ประกาศเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2025
บริษัท Airbus ยุโรป และบริษัท Navantia สเปนรัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือได้ประกาศข้อตกลงซึ่งจะได้เห็นระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE: Medium-Altitude Long-Endurance UAS) แบบ SIRTAP

ตามโครงการระบบบูรณาการสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับสมรรถนะสูง(Integrated System for High-Performance Unmanned Air System, SIRTAP: Sistema Remotamente Tripulado de Altas Prestaciones)
ปฏิบัติการจากเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม(amphibious assault ship)/เรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อู่ลอย L61 Juan Carlos I (LHD: Landing Helicopter Dock) ของกองทัพเรือสเปน(Spanish Navy, Armada)

"Airbus และ Navantia ลงนามข้อตกลงที่จะสำรวจการบูรณาการของระบบอากาศยานไร้คนขับ SIRTAP เข้ากับเรือธงของกองเรือสเปนเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อู่ลอย Juan Carlos I
นี่มุ่งเป้าที่จะเป็นก้าวย่างแรกเพื่อจะรับประกันการทำงานร่วมกันของ SIRTAP UAS กับระบบต่างๆทั้งหมดของเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เช่น ระบบอำนวยการรบ SCOMBA(Sistema de COMbate de Buques de la Armada)" บริษัท Airbus Defence and Space ยุโรปกล่าว

ตามที่เน้นในการประกาศ กิจกรรมการบูรณาการต่างๆจะมุ่งเป้าไปที่สามแกนหลักของระบบบัญชาการและควบคุม(C2: command-and-control), การบูรณาการระบบการรบ, และการสนับสนุนระบบนำร่อง(รวมถึงการปฏิบัติการบินขึ้นและลงจอด)
"ความพยายามร่วมนี้มองที่จะบรรลุผลระบบที่ถูกบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบ, สร้างมั่นใจความเข้ากันได้ที่สมบูรณ์ระหว่างระบบอากาศยานไร้คนขับ SIRTAP และเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Juan Carlos I, การเพิ่มขีดความสามารถภารกิจต่างๆของตน, และประสิทธิภาพโดยรวมของทั้งสองระบบในสถานการณ์การปฏิบัติการที่หลากหลาย"

"ข้อตกลงนี้จะกำหนดเส้นทางที่จะเสนอกองทัพเรือสเปนด้วยขีดความสามารถต่างๆเพิ่มเติมที่ได้รับการพัฒนาในสเปน การเสริมความแข็งแกร่งภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศในผลประโยชน์ของอธิปไตยทางยุทธศาสตร์ของตน" บริษัท Airbus Defence and Space เสริม 
ข้อตกลงระหว่างบริษัท Airbus และบริษัท Navantia สเปนได้รับลงนามบนเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อู่ลอย Juan Carlos I ซึ่งยังได้เห็นชุดภาพของอากาศยานไร้คนขับ SIRTAP ที่อยู่บนดาดฟ้าบินของเรือที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2025

บริษัท Airbus ได้ประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2024 ว่าตนได้เปิดสายการผลิตใหม่สำหรับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ SIRTAP ณ โรงงานอากาศยานของตนใน Getafe ใกล้กรุง Madrid สเปน สายการผลิตขั้นต้นจะสร้างต้นแบบอากาศยานไร้คนขับ SIRTAP UAV จำนวน 2เครื่องสำหรับกระทรวงกลาโหมสเปน 
หลังเสร็จสิ้นการทบทวนการออกแบบสำคัญ(CDR: Critical Design Review) ในเดือนมิถุนายน 2024 จากสัญญาทั้งหมด 9ระะบบที่ประกอบด้วยตัวอากาศยานจำนวน 27เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้นดิน 9ระบบสำหรับกองทัพบกสเปน(Spanish Army, Ejército de Tierra) และกองทัพอากาศและอวกาศสเปน(Spanish Air and Space Force, EdAE: Ejército del Aire y del Espacio) ครับ

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568

ญี่ปุ่นจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian สหรัฐฯ 23เครื่อง

Japan to procure 23 MQ-9B SeaGuardians





The Japan Maritime Self-Defense Force plans to acquire 23 MQ-9B SeaGuardians from GA-ASI to fulfil its requirement of long-endurance unmanned aerial vehicles for intelligence, surveillance, and reconnaissance. (GA-ASI)



กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังทำงานเพื่อจะบรรลุผลเสร็จสิ้นสัญญากับบริษัท General Atomics Aeronautical Systems Inc(GA-ASI) สหรัฐฯเพื่อจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับ(RPA: Remotely Piloted Aircraft) แบบ MQ-9B SeaGuardian 
สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force) โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ว่า "กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีแผนจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian จำนวน 23เครื่อง

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่า ถ้ากระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นสามารถที่จะลงนามสัญญากับบริษัท GA-ASI สหรัฐฯภายในปีงบประมาณ 2025 ตนคาดว่าอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian จะถูกส่งมอบให้กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้ในปีงบประมาณ 2028

GA-ASI สหรัฐฯประกาศในต้นเดือนธันวาคม 2024 ว่าอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian ได้รับเลือกโดยกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นสำหรับโครงการอากาศไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ระยะทำการนาน
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้ทำการทดสอบอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 บริษัท GA-ASI กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/mq-9b-uav-31.html)

การร้องของบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ 2025 ของญี่ปุ่นเน้นย้ำแผนของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่จะจัดหาอากาศไร้คนขับ UAV ระยะทำการนานหลายระบบเพื่้อที่จะ 
"เสริมความแข็งแกร่งขีดความสามารถข่าวกรองและการการตรวจการณ์ต่างๆ ขณะที่ลดการสูญเสียของมนุษย์ลงให้น้อยที่สุด"(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/jsdf-uav.html)

GA-ASI สหรัฐฯกล่าวว่ากองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้ดำเนินการทดสอบหลายอย่างที่แตกต่างกันกับอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian รวมถึงการประเมินค่าเกี่ยวกับการใช้อากาศไร้คนขับ RPA 
เพื่อดำเนินภารกิจต่างๆที่ปัจจุบันดำเนินการปฏิบัติงานโดยระบบอากาศยานแบบมีนักบินที่เป็นมนุษย์บังคับภายใน(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/kawasaki-p-1.html)

ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Unmanned ระบบอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian มีความยาวที่ 11.7m, ปีกกว้างที่ 24m, น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) ที่ 5,670kg และมีภารกรรมบรรทุกภายนอกสูงสุดที่ 2,155kg 
อากาศยานไร้คนขับ MQ-9B SeaGuardian RPA มีมีเพดานบินปฏิบัติการที่ 40,000feet, ความเร็วสูงสุดที่ 210knots, พิสัยทำการไกลสุดที่ 6,000nmi และมีระยะเวลาปฏิบัติการนานสุดที่ 30ชั่วโมงครับ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2568

เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-70 USS Carl Vinson สหรัฐฯเยือนไทย



LAEM CHABANG, Thailand (Jan. 27, 2025) The Nimitz-class aircraft carrier USS Carl Vinson (CVN 70) arrives at Port Laem Chabang, Thailand, Jan. 27, 2025. 
The visit demonstrates the continuation of a long-standing partnership among allied countries rooted in close people-to-people, economic and security ties. Vinson, the flagship of Carrier Strike Group ONE, is currently pier-side in Laem Chabang, Thailand, for a scheduled port visit. (U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist Seaman Kenneth Ostas) 






SOUTH CHINA SEA (Jan. 26, 2025) An F-35C Lightning II, assigned to the “Warhawks” of Strike Fighter Squadron (VFA) 97, 
An F/A-18E Super Hornet, assigned to the “Stingers” of Strike Fighter Squadron (VFA) 113, 
An F/A-18E Super Hornet, assigned to the “Golden Dragons” of Strike Fighter Squadron (VFA) 192,
An F/A-18F Super Hornet assigned to the “Bounty Hunters” of Strike Fighter Squadron (VFA) 2,
recovers on the flight deck of the Nimitz-class aircraft carrier USS Carl Vinson (CVN 70), Jan. 26, 2025. 
Vinson, flagship of Carrier Strike Group ONE, is underway conducting routine operations in the U.S. 7th Fleet area of operations. (U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist 3rd Class Nate Jordan)


A CMV-22B Osprey, assigned to the “Titans” of Fleet Logistics Multi-Mission Squadron (VRM) 30 at Wing 6 Don Muang Royal Thai Air Force (RTAF) base, Jan. 26, 2025. (Love Airplanes, Thailand)

Rare Item จาก USA ที่มาเยือนไทยวานนี้ (26 ม.ค. 68) ได้แก่เฮลิคอปตอร์ Bell Boeing CMV-22B Osprey หมายเลข 169452 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา (U.S. Navy / USN) ที่ได้นำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลาโหมของไทย พร้อมด้วยคณะคณะผู้แทนกระทรวงกลาโหม และเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย 
เดินทางเพื่อเยี่ยมชมเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vinson ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งจอดอยู่ บริเวณอ่าวไทย จังหวัดชลบุรี
V-22 Osprey เป็นอากาศยานแบบผสมระหว่างเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินปีกตรึง (Tiltrotor Aircraft) ที่พัฒนาโดย Boeing และ Bell Helicopter เพื่อใช้งานทางการทหาร มีความสามารถพิเศษในการบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง (Vertical Takeoff and Landing: VTOL) และบินแบบปีกตรึงด้วยความเร็วสูง 
คุณสมบัตินี้ช่วยให้ V-22 ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย เช่น การขนส่งทหาร อุปกรณ์ และการกู้ภัยในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง โดยมีความเร็วสูงสุดประมาณ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรัศมีปฏิบัติการกว่า 1,600 กิโลเมตร 
เป็นอากาศยานสำคัญในหลยหน่วยของกองทัพสหรัฐฯ เช่น กองทัพเรือ, หน่วยนาวิกโยธิน (United States Marine Corps), กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐ (United States Special Operations Command - USSOCOM) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ (United States Air Force / USAF) 
สำหรับเรือ USS Carl Vinson เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz  มีระวางขับน้ำ 97,000 ตัน รองรับลูกเรือได้มากถึง 6,000 นาย  มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสหรัฐฯ โดยเคยปฏิบัติภารกิจในสงครามสำคัญ เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย สงครามอิรัก และสงครามอัฟกานิสถาน รวมถึงภารกิจด้านมนุษยธรรม 
เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเฮติ ได้รับการขนานนามว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขวัญใจชาวอเมริกัน และมีส่วนสำคัญในการแสดงแสนยานุภาพของกองทัพเรือสหรัฐฯ
In cooperation with : Autt Saram

กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้นำเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Nimitz ลำที่สาม เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-70 USS Carl Vinson เรือธง(Flag Ship) ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่1(CSG1: Carrier Strike Group ONE)  เดินทางมาเทียบท่าที่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ในอ่าวไทย ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) เพื่อเป็นการพักผ่อนกำลังพลประจำเรือ
หนึ่งก่อนหน้าเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๘ กองทัพเรือสหรัฐฯได้เชิญ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีกลาโหมไทย, พลเอก ไตรศักดิ์ อินทรรัศมี เลขานุการรัฐมนตรีกลาโหมไทย, พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยกลาโหม, พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม, คณะนายทหารกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
รวมถึง พลเรือเอกสุวิน แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการทหารเรือ, พลเรือเอกณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ, พลอากาศเอก วชิรพล เมืองน้อย เสนาธิการทหารอากาศ และพลอากาศโทอนุรักษ์ รมณารักษ์ เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ พร้อมกับ Robert F. Godec เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย เดินทางไปเยี่ยมชมการปฏิบัติงานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-70 USS Carl Vinson ในอ่าวไทยด้วย

ปัจจุบันเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-70 USS Carl Vinson วางกำลังด้วยกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่2 (CVW-2: Carrier Air Wing Two) ซึ่งมีอากาศยานแบบต่างๆในแต่ฝูงบินประกอบด้วย
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-2 (Strike Fighter Squadron 2) "Bounty Hunters"  ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18F Super Hornet 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-97 (Strike Fighter Squadron 97) "Warhawks" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Lockheed Martin F-35C Lightning II 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-113 (Strike Fighter Squadron 113) "Stingers" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-192 (Strike Fighter Squadron 192) "Golden Dragons" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
ฝูงบินโจมตี Electronic VAQ-136 (Electronic Attack Squadron 136) (VAQ-136) "Gauntlets"  ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler 
ฝูงบินแจ้งเตือนทางอากาศประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน VAW-113 "Black Eagles" ประจำการด้วยเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Northrop Grumman E-2D Advanced Hawkeye
ฝูงบินพหุภารกิจส่งกำลังบำรุงกองเรือ VRM-30 (Fleet Logistics Multi-Mission Squadron 30)  "Titans" ประจำการด้วยอากาศยานใบพัดกระดกลำเลียง Bell Boeing CMV-22B Osprey 
ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์รบทางทะเล HSC-4 (Helicopter Sea Combat Squadron 4) "Black Knights" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปประจำเรือ Sikorsky MH-60S Knightwak 
และฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางทะเล HSM-78 (Helicopter Maritime Strike Squadron 78) "Blue Hawks" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Sikorsky MH-60R Seahawk

กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่1 ร่วมกับกองเรือพิฆาตที่1(DESRON1: Destroyer Squadron one) ประกอบด้วยเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke สองลำคือเรือพิฆาต DDG-104 USS Sterett และเรือพิฆาต DDG-110 USS William P. Lawrence และเรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga เรือลาดตระเวน CG-59 USS Princeton กำลังอยู่ระหว่างการวางกำลังในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-70 USS Carl Vinson ได้เดินทางเยือนเมืองท่าของมิตรประเทศหลายประเทศ โดยก่อนหน้าที่จะเดินทางเยือนท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ได้แวะที่จอดเทียบท่า Port Klang มาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ถึง วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/cvn-71-uss-theodore-roosevelt.html)
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz หลายลำของกองทัพเรือสหรัฐฯได้เดินทางมาแวะพักที่ไทยระหว่างการวางกำลังในอินโดแปซิฟิกโดยเฉพาะในทะเลจีนใต้เกือบทุกปี การเดินทางเยือนไทยครั้งล่าสุดของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vinson ยังได้มีการแสดงการสาธิตการฝึกปฏิบัติการของอากาศยานประจำเรือต่างๆให้ตัวแทนรัฐบาลไทยและนายทหารกองทัพไทยชมแสดงถึงความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งยาวนานของทั้งสองชาติครับ

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2568

มาเลเซียจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ NSM ใหม่บนเรือฟริเกตชั้น Lekiu

Malaysia to incorporate anti-surface missile on Lekiu-class frigate





The file images of the Lekiu-class frigate, KD Jebat . The warship's anti-surface missile capabilities are being refreshed amid a proliferation of longer range anti-ship weapons in the region. (Royal Malaysian Navy)

มาเลเซียจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นใหม่เข้ากับเรือฟริเกตชั้น Lekiu หนึ่งในสองลำของกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia)
และ Janes ได้รับการแจ้งให้ทราบว่าน่าจะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Naval Strike Missile(NSM) จากบริษัท Kongsberg นอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/kedah-nsm.html)

ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นใหม่นี้จะถูกรวมเข้ากับเรือฟริเกตชั้น Lekiu ลำแรก เรือฟริเกต FFGH-29 KD Jebat ซึ่งปัจจุบันติดตั้งด้วยแท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM40

รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamed Khaled Nordin ได้เปิดเผยครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2025 ผ่านการกล่าวปราศัยประจำปีว่า มาลาเซียจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำใหม่
บูรณาการเข้ากับเรือฟริเกต KD Jebat ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรือมาเลเซียตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1999(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/kd-jebat-kd-gagah-samudera-kd-pendekar.html

เรือฟริเกต KD Jebat เป็นหนึ่งในเรือฟริเกตชั้น Lekiu จำนวน 2ลำที่ได้ถูกส่งมอบให้แก่กองทัพเรือมาเลเซียโดยอู่เรือบริษัท Yarrow Shipbuilders สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/10.html)
ซึ่งปัจจุบันอู่เรือ Yarrow ได้ถูกเป็นเจ้าของโดยบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร เรือน้องสาว(หรือเรือพี่สาว)ของเรือฟริเกต KD Jebat เรือฟริเกต FFGH-30 KD Lekiu ถูกนำเข้าประจำการในเดือนตุลาคม 1999

รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamed Khaled ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับระบบที่ถูกนำมาบูรณาการรวมเข้ากับเรือฟริเกตชั้น Lekiu แต่แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับประเด็นนี้ยืนยันกับ Janes ว่า
เรือฟริเกต KD Jebat จะถูกติดตั้งด้วยแท่นยิงและอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ NSM ที่มีอยู่ในคลังอาวุธอยู่แล้วที่ได้ถูกจัดส่งแล้วโดย Kongsberg นอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/maharaja-lela-lcs.html)

อาวุธปล่อยนำวิถี NSM ที่มีในคลังนี้เดิมมีจุดประสงค์ที่จะติดตั้งกับเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela ของกองทัพเรือมาเลเซีย แต่โครงการที่เต็มไปด้วยปัญหาได้มีความล่าช้าอย่างร้ายแรงโดยปัจจัยต่างๆที่หลากหลาย(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/lcs-kd-maharaja-lela.html)
บริษัท Kongsberg ได้ยืนยันในปี 2018 ว่าตนได้รับสัญญาวงเงิน 125 million Euros($130 million) เพื่อจัดส่งอาวุธปล่อยนำวิถี NSM ที่ไม่ระบุจำนวนนัดแก่กองทัพเรือมาเลเซียครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/maharaja-lela-lcs-2026.html)

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2568

เวียดนามกำลังเจรจากับเกาหลีใต้เพื่อจะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9

Vietnam negotiates K9 deal with South Korea





Vietnam is likely to be interested in procuring the K9 to replace its inventory of ageing towed howitzers. (Hanwha Aerospace)

สาธารณรัฐเกาหลีและเวียดนามกำลังเจรจาสัญญาเพื่อจะสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 155 mm/52calibre SPH(Self-Propelled Howitzer) ของบริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลี สำหรับกองทัพบกประชาชนเวียดนาม(VPA: Vietnam People's Army)
Janes เข้าใจว่าข้อตกลงจะทำให้การจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 ของเวียดนามสามารถกำลังดำเนินการคืบหน้าผ่านช่องทางรัฐบาลได้ แต่รายละเอียดต่างๆไม่ได้รับการเปิดเผย(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/hanwha-aerospace-k9a3.html)

โฆษกบริษัท Hanwha Aerospace กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2025 ว่าสัญญาที่เป็นไปได้กำลังอยู่ภายใต้การเจรจาและกำลังดำเนินการคืบหน้าผ่านข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีใน Seoul และรัฐบาลเวียดนามใน Hanoi
กระทรวงกลาโหมเวียดนามรายงานการแสดงความสนใจความต้องการในเดือนเมษายน 2024 ที่จะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 จำนวนมากกว่า 100ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/k9.html)

เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมเวียดนามได้เดินทางเยือนโรงงานของบริษัท Hanwha ในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้า(2023) เพื่อตรวจสอบพิจารณาระบบปืนใหญ่อัตตาจร K9 ในฐานะส่วนหนึ่งของการประเมินการจัดซื้อจัดจ้างของตน
น่าจะเป็นไปได้ว่ากระทรวงกลาโหมเวียดนามต้องการปืนใหญ่อัตตาจร K9 เพื่อทดแทนปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งลากจูง M114 ขนาด 155mm และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง M101 ขนาด 105mm ของกองทัพบกประชาชนเวียดนาม ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ต้นปี 1970s

ตามข้อมูลจาก Janes Land Warfare Platforms: Artillery & Air Defence ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยน้ำแบบ MTU MT 881 Ka-500 V8 กำลัง 1,000hp เยอรมนี และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว(transmission) อัตโนมัติเต็มรูปแบบของ Allison สหรัฐฯ  
ปฏิบัติการด้วยกำลังพลจำนวน 5นาย มีน้ำหนักระบบที่ 47tonne ปืนใหญ่อัตตาจร K9 สามารถยิงกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155mm ได้ที่ระยะระหว่าง 18-40km สามารถทำความเร็วบนถนนได้สูงสุดที่ 67km/h และมีระยะปฏิบัติการที่ 360km สามารถลุยน้ำลึกได้ที่ 1.5m และปีนที่ลาดชันได้สูงสุดที่ร้อยละ60 และข้ามเครื่องกีดขวางได้สูงสุดที่ 0.75m

ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 ติดตั้งปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 155mm/52calibre สามารถบรรทุกกระสุนได้ 48นัดพร้อมดินส่งพร้อมใช้และมีระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ โดยสามารถบรรจุกระสุนได้เพิ่มเติมจากรถจ่ายกระสุน K10
Janes ประเมินว่ากองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army) และนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี(ROKMC: Republic of Korea Marine Corps) มีปืนใหญ่อัตตาจรสายพานตระกูล K9 ในประจำการรวมกันจำนวนราว 1,300ระบบ

ปืนใหญ่อัตตาจร K9 ปัจจุบันได้รับสั่งจัดหาจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึง เอสโตเนีย จำนวน 36ระบบ, ฟินแลนด์ จำนวน 96ระบบ, นอร์เวย์ จำนวน 28ระบบ, โรมาเนีย จำนวน 54ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/k9.html), 
และโปแลนด์ในส่วนรถแคร่ฐานสำหรับปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Krab จำนวน 168ระบบ ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9A1 จำนวน 218ระบบ และปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9PL จำนวน 146ระบบ, อินเดีย จำนวนกว่า 200ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/k9-100.html), ออสเตรเลีย และอียิปต์ครับ

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2568

เกาหลีใต้เริ่มกระบวนการคัดกรองรายละเอียดเรือฟริเกต FFX Batch IV ใหม่

South Korea begins process to refine details of FFX Batch IV frigate
A computer-generated image of South Korea's future FFX Batch IV frigate. (Hanwha Ocean)




The RoKN commissioned its first Chungnam (FFX-III)-class frigate, ROKS Chungnam in December 2024. (HD Hyundai Heavy Industries)

กลุ่มของหลายบริษัทของสาธารณรัฐเกาหลีได้เริ่มต้นกระบวนการคัดกรองรายละเอียดต่างๆสำหรับเรือฟริเกต FFX Batch IV ในอนาคตสำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) 
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีเปิดเผยเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา

กลุ่มของบริษัทต่างๆเหล่านี้รวมถึงบริษัท Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งได้รับสัญญาวงเงิน 839.1 billion Korean Won($586.4 million) เพื่อสร้างเรือฟริเกต FFX Batch IV สองลำแรกของโครงการในเดือนธันวาคม 2024
บริษัทอื่นๆในกลุ่มรวมถึงบริษัท LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตระบบ electronic ทางกลาโหม และบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตสิ่งอุปกรณ์ทางทหาร(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/kdx-ii-cms.html)

กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีประจำการด้วยเรือฟริเกตชั้น Incheon(FFX-I) จำนวน 6ลำคือ เรือฟริเกต FFG-811 ROKS Incheon เข้าประจำการในปี 2013, เรือฟริเกต FFG-812 ROKS Gyeonggi เข้าประจำการในปี 2014, 
เรือฟริเกต FFG-813 ROKS Jeonbuk และเรือฟริเกต FFG-815 ROKS Gangwon เข้าประจำการในปี 2015, เรือฟริเกต FFG-816 ROKS Chungbuk, และเรือฟริเกต FFG-817 ROKS Gwangju เข้าประจำการในปี 2016

และเรือฟริเกตชั้น Daegu(FFX-II) จำนวน 8ลำคือเรือฟริเกต FFG-818 ROKS Daegu เข้าประจำการในปี 2018, เรือฟริเกต FFG-819 ROKS Gyeongnam เรือฟริเกต FFG-820 ROKS Seoul และเรือฟริเกต FFG-822 ROKS Donghae เข้าประจำการในปี 2021,
เรือฟริเกต FFG-823 ROKS Daejeon เรือฟริเกต FFG-825 ROKS Pohang, เรือฟริเกต FFG-826 ROKS Cheonan และเรือฟริเกต FFG-827 ROKS Chuncheon เข้าประจำการในปี 2023

นอกเหนือจากเรือฟริเกตชั้น Incheon และเรือฟริเกตชั้น Daegu กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือฟริเกตชั้น Chungnam(FFX-III) ลำแรก เรือฟริเกต FFG-828 ROKS Chungnam ในเดือนธันวาคม 2024
และมีกำหนดที่จะได้รับมอบเรือฟริเกตชั้น Chungnam เพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 5ลำ รวมถึงเรือลำที่สองเรือฟริเกต FFG-829 ROKS Jinhae ตามมา(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/ulsan-batch-iii-ffg-828-roks-chungnam.html)

สำหรับเรือฟริเกต FFX-IV ผู้กำหนดนโยบายกลาโหมของสาธารณรัฐเกาหลีได้เรียกร้องสำหรับการเพิ่มระยะตรวจจับของเรือขึ้นอย่างน้อยสองเท่าเพื่อให้สามารถที่จะตรวจจับอาวุธ, เรือ และอากาศยานได้เมื่อเปรียบเทียบกับเรือฟริเกต FFX-III 
จากแถลงการณ์ที่ออกโดย DAPA สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2025 เช่นเดียวกับเรือฟริเกตรุ่นก่อนหน้า เรือฟริเกต FFX-IV ยังสามารถที่จะติดตั้งทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น และอาวุธปราบเรือดำน้ำด้วย 

นอกเหนือจากระบบการรบเหล่านี้ เรือฟริเกต FFX-IV จะมีคุณลักษณะระบบขับเคลื่อนและเครื่องกำเนิดพลังงานแบบเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูลการซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้องแบบอัตโนมัติแก่กำลังพลประจำเรือ ซึ่งจะเพิ่มเวลาการตอบสนองที่ดีขึ้น  
ในการตอบสนองต่อคำถามต่างๆจาก Janes ตัวแทนจาก Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีเน้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2025 ว่าบริษัทยังไม่สามารถที่จะเปิดเผยรายละเอียดอื่นๆของเรือฟริเกต ณ จุดนี้ได้ครับ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2568

ฟิลิปปินส์จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH เกาหลีใต้เพิ่ม 12เครื่อง

Philippines details new military procurements





Korea Aerospace Industries FA-50PH fighter aircraft (seen here at the exercise Pitch Black 2024 in Australia) is one of the primary air defence platforms of the PAF. (Commonwealth of Australia)

รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังวางแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50PH สาธารณรัฐเกาหลีเพิ่มเติม และระบบอาวุธยุทธโธปกรณ์หลากหลายแบบในความพยายามที่จะเพิ่มขยายการวางกำลังป้องกันของตน

ในรายงานการติดตามการจัดซื้อจัดจ้าง(PMR: Procurement Monitoring Report) ต่างๆที่เปิดเผยต่อสาธารณะในเดือนมกราคม 2025 กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ในนครหลวง Manila ได้ให้รายละเอียดการประกาศสัญญา
ที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/s-70i-black-hawk-32.html) และเครื่องบินโจมตีสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด(CAS: Close Air Support)(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/29b-s-70i.html) สำหรับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force)

และอุปกรณ์ระบบสื่อสารสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/hyundai-ff-06-brp-miguel-malvar.html) เอกสารรายงานต่างๆยังเปิดเผยว่าฟิลิปปินส์ได้บรรลุผลเงื่อนไขการอ้างอิงสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH ชุดใหม่
ข้อตกลงรัฐบาลต่อรัฐบาลกับสาธารรัฐเกาหลีเพื่อจะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH ชุดใหม่ได้รับการอนุมัติงบประมาณวงเงิน 40 billion Philippine Peso($683 million) ตามข้อมูลในรายงานการติดตามการจัดซื้อจัดจ้าง PMR ต่างๆ

เอกสารต่างๆยังแสดงข้อมูลว่าการประชุมสัมมนาก่อนการจัดซื้อจัดจ้างได้ถูกจัดขึ้นในกลางเดือนธันวาคม 2024 ที่ผ่านมา ขณะที่เอกสารรายงาน PMR ต่างๆไม่ได้ระบุจำนวนเครื่องบินที่จะจัดซื้อสำหรับวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ระบุความต้องการก่อนหน้านี้สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH เพิ่มเติมอย่างน้อยจำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/mrf.html)

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์มีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH จำนวน 12เครื่องอยู่แล้วซึ่งได้รับการจัดหาในปี 2014 เป็นวงเงินที่ 19 billion Philippine Peso เอกสารรายงานการติดตามการจัดซื้อจัดจ้าง PMR ต่างๆได้แสดงว่า
ฟิลิปปินส์ได้ลงนามสัญญาวงเงิน 6.39 billion Philippine Peso ในเดือนธันวาคม 2023 เพื่อจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 412(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/ch-146-griffon.html

โครงการจัดซื้อนี้มีขึ้นภายใต้โครงการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพฟิลิปปินส์(AFP: Armed Forces of the Philippines) Horizon 2 ซึ่งดำเนินการระหว่างปี 2018-2022(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/bell-bell-412epi.html)
ขณะที่รายงาน PMR ไม่ได้ระบุว่ามีเฮลิคอปเตอร์จำนวนกี่เครื่องที่ได้รับสัญญาจัดหา ราคาแต่หน่วยของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 412 EPX หนึ่งเครื่องในปี 2021 อยู่ที่เครื่องละ $12 million ตามข้อมูลจาก Janes Markets Forecast ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/subaru-uh-2.html)