วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สเปนลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ภายใต้โครงการ Halcon II ใหม่ 25เครื่อง

Spain signs for Halcon II Eurofighters





Eurofighter displayed a mock-up in a Halcon II livery at the Paris Air Show 2023. The consortium has now finalised a contract for 25 new aircraft for Spain under the programme, with deliveries to begin in 2030. (Janes/Gareth Jennings)



กลุ่มกิจการค้าร่วม Eurofighter และสเปนได้เสร็จสิ้นการบรรลุผลสัญญาสำหรับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ใหม่จำนวน 25เครื่องที่จะถูกจัดหาภายใต้โครงการ Halcon II
กลุ่มกิจการค้าร่วม Eurofighter นานาชาติยุโรปประกาศข้อตกลงการลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2024 ว่า(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/eurofighter-typhoon-25-halcon-ii.html)

สำนักงานบริหาร Eurofighter และ Tornado NATO(NETMA: NATO Eurofighter and Tornado Management Agency) และรัฐบาลสเปนขณะนี้ได้บรรลุผลสัญญาสำหรับ
เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon รุ่นที่นั่งเดี่ยวจำนวน 21เครื่อง และรุ่นสองที่นั่งจำนวน 4เครื่อง(เครื่องบินขับไล่ C.16 ในประจำการกองทัพสเปน) การส่งมอบจะเริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี 2030

โดย Janes ก่อนหน้านี้ได้รับการบอกจากบริษัท Airbus ยุโรปว่า เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จะถูกประกอบ ณ โรงงานสายการผลิตอากาศยาน Getafe ใกล้กรุง Madrid สเปนในรูปแบบมาตรฐาน Tranche 4+
นี่จะรวมถึง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ European Common Radar System Mark 1(ECRS Mk 1) "บวกกับการปรับปรุงต่างๆอื่นๆบางส่วน"(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/eurofighter-typhoon-e-scan-radar.html)

กองทัพอากาศและอวกาศสเปน(Spanish Air and Space Force, EdAE: Ejército del Aire y del Espacio) ปัจจุบันวางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 จำนวน 17เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 2 จำนวน 32เครื่อง, 
และเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 3 จำนวน 19เครื่อง กองทัพอากาศสเปนได้ทำสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 4 จำนวน 20เครื่องภายใต้โครงการ Halcon I แล้ว ที่จะส่งมอบตั้งแต่ปี 2026(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/eurofighter-typhoon-halcon.html)

โดยเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 4+ จำนวน 25เครื่องภายใต้โครงการ Halcon II จะมีตามมาในฐานะการทดแทนบางส่วนสำหรับเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว EF-18A และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง EF-18B Hornet จำนวน 91เครื่องของกองทัพอากาศสเปน(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/ef-18-hornet-av-8b-harrier-ii.html)
เพิ่มเติมจากเครื่องบินเหล่านี้อาจจะมีการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 5 ภายใต้โครงการ Halcon III ตามมา หรือกองทัพอากาศสเปนอาจจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II ในความสอดคล้องกับธรรมเนียมอันยาวนานของตนในการปฏิบัติงานทั้งเครื่องบินรบของยุโรปและสหรัฐฯคู่ขนานกัน

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2024 บริษัท Airbus ยังได้ประกาศว่า เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon เครื่องทดสอบของกองทัพอากาศและอวกาศสเปนยังได้รับการติดตั้ง radar แบบ ECRS หรือ E-Scan radar ใหม่เป็นครั้งแรก
ฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ที่หลากหลายรุ่นของกองทัพอากาศสเปนอาจจะได้รับการติดตั้งใหม่ด้วย E-Scan radar ใหม่ ภายใต้แผนที่จะติดตั้งการเพิ่มขยายการพัฒนาการระยะยาว(LTE: Long-Term Evolution) ครับ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การฝึกยุทธวิธีร่วม กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘




















The Royal Thai Navy (RTN) individual and tactical training of Royal Thai Fleet (RTF) for Fiscal Year 2025 at Sattahip Bay, Chonburi Province, Gulf of Thailand on 10-12 December 2024, involved weapons live firing exercise of joint task group include CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier,  FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided-missile frigate, FFG-421 HTMS Naresuan and FFG-422 HTMS Taksin the Naresuan-class guided-missile frigates; FFG-456 HTMS Bangpakong and FFG-457 HTMS Kraburi the Chao Phraya-class frigates, FSG-441 HTMS Ratanakosin corvette,  and PF-432 HTMS Khirirat the Tapi-class patrol frigate. (Royal Thai Navy/NUTTAPUMIN PARNLAK) 





”เรือหลวงจักรีนฤเบศร“กับ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ ซึ่งการฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือในครั้งนี้เป็นการฝึกระดับกองเรือยุทธการเพื่อให้องค์บุคคลประจำเรือ อากาศยานและ ศปก.กร. มีความรู้ความเข้าใจและวิธีการที่ต้องใช้ในการปฏิบัติการร่วมเพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติการร่วมกัน 
ซึ่งการฝึกในครั้งนี้ประกอบด้วยอาทิ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงภูมิพลเดช  เรือหลวงนเรศวร  พร้อมทั้งอากาศยาน การออกเรือในครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ไปติดตามพร้อมกัน

"แสนยานุภาพ กองเรือพิฆาตทัพเรือไทย"​
กองเรือยุทธการ ฝึกยิงอาวุธทางเรือ กองเรือรบฟริเกต ดำรงความพร้อมรบ ตามแผนป้องกันประเทศ
***กองทัพเรือ โดย พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการ กองเรือยุทธการ ในฐานะผู้นำหน่วยกำลังรบทางเรือ อันทรงแสนยานุภาพของกองทัพเรือไทย ได้เปิดปฏิบัติการฝึกยุทธวิธีกองเรือร่วม กองเรือยุทธการ เพื่อดำรงความพร้อมรบ ตามแผนป้องกันประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ พื้นที่อ่าวไทย อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
***โดยกองเรือรบ เรือฟรีเกต ซึ่งเป็นเรือพิฆาตที่สามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ สามารถต่อต้านภัยคุกคาม และทำลายเป้าหมาย บนฟ้า ผิวน้ำ และใต้น้ำ โดยมีเรือรบฟริเกต ที่เข้าร่วมในภารกิจยิงอาวุธในทะเล ประกอบด้วย เรือหลวงตากสิน เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงกระบุรี เรือหลวงคีรีรัฐ เรือหลวงบางประกง และมีเรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นเรือบัญชาการรบ ซึ่งภารกิจจะมีการระดมยิงปืนประจำเรือ เข้าสู่เป้าหมายกลางทะเล
***และในวันนี้ เรือหลวงตากสิน หมายเลข 422 (ในภาพ) ซึ่งเป็นหนึ่งในกองเรือฟริเกต อันทรงแสนยานุภาพ จะเปิดฉากระดมยิงปืนหัวเรือ ปืนใหญ่เรือเอ็มเค-45 มอด 2 ขนาด 5 นิ้ว หรือ 127 มิลลิเมตร โดยมีการบรรจุกระสุน จำนวน 21 นัด ระดมยิงใส่เป้าหมาย เพื่อทดสอบความแม่นยำ 
นอกจากนี้ ยังมีการยิงเอ็มเอสไอ - ดีเอสแอล ดีเอส 30 เอ็มอาร์ ซึ่งเป็นปืนลำกล้องเล็ก อัตโนมัติ ขนาด 30 มิลลิเมตร ที่มีประจำการอยู่บนเรือ ทั้งกาบซ้าย และกาบขวา จำนวน 2 กระบอก และปืนกล
***เรือหลวงตากสิน ยังได้มีระบบควบคุมการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแนวดิ่ง เอ็มเค .41 จำนวน 8 ท่อยิง สำหรับอาร์ไอเอ็ม-162 อีเอสเอสเอ็ม 32 ลูก เครื่องยิงขีปนาวุธพื้นสู่พื้นอาร์จีเอ็ม-84 ฮาร์พูน 8 เครื่อง และ แท่นยิงเอ็มเค-32 มอด.5 แฝดสาม ขนาด 324 มิลลิเมตร จำนวน 2 ท่อยิง ล้วนเป็นอาวุธที่ทันสมัยทรงพลังในการทำลายล้าง
***พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กล่าวว่า กองเรือยุทธการ ถือเป็นหน่วยกำลังรบหลักทางเรือของกองทัพเรือ มีภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และรักษาอธิปไตยของชาติ การฝึกกำลังรบทางเรือ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ ตลอดจน เท่าทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งด้านอาวุธ และการรับมือต่อภัยคุกคามทุกรูปแบ
บ เมื่อกำลังพลเกิดความเข้มแข็ง เป็นกำลังรบที่มีประสิทธภาพ ย่อมส่งผลให้หน่วยกำลังรบของกองทัพเรือไทย จะดำรงไว้ซึ่งแสนยานุภาพ พร้อมที่จะปกป้องประเทศยามศึกสงคราม ที่สำคัญ นอกจากการฝึกด้านการรบแล้ว กำลังพลทุกนายยังพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ และการบรรเทาสาธารณภัย ได้อย่างทันท่วงที 
เพื่อให้กองเรือยุทธการ และกองทัพเรือ เป็นกองทัพที่ประชาชนเชื่อมั่น และภาคภูมิใจ
***ณัฐภูมินทร์-พัชรพล ปานรักษ์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 0649893235

การฝึกยิงอาวุธทางเรือ การฝึกยุทธวิธีกองเรือร่วม กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ของของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่อ่าวไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) นั้น
นอกจากการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/awav-8x8.html) กองเรือยุทธการ กร.ได้จัดกำลังกองเรือร่วมประกอบด้วยเช่น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กบฮ.(HCS: Helicopter Carrier Squadron ) เป็นเรือธงและเรือบัญชาการรบ, 
เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช, เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์ และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปี เรือหลวงคีรีรัฐ กองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑(1st FS: 1st Frigate Squadron) และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางประกง และเรือหลวงกระบุรี และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร และเรือหลวงตากสิน กองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒(2nd FS: 2nd Frigate Squadron) เป็นต้น

กำลังเรือรบจากกองทัพเรือภาคที่๑ ทรภ.๑(1st NAC: First Naval Area Command) จากฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ทำการฝึกยิงอาวุธประจำเรือต่างๆต่อเป้าหมายซ้อมยิงปืนเรือบนเกาะสันฉลาม ในอ่าวแสมสาร จังหวัดชลบุรี รวมถึงปืนเรือ Mk 45 Mod2 5"/54caliber และปืนกล DS30MR 30mm รวมถึงปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 .50cal ของ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน เป็นต้น การฝึกกองเรือร่วมล่าสุดเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า 
ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่ได้ทำการฝึกเป็นเรือบัญชาการและเป็นเป็นเรือฝึกการปฏิบัติการร่วมระหว่างกองเรือและเฮลิคอปเตอร์ของกองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) เช่น เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๕ ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ยังมีความพร้อมปฏิบัติการตลอดเวลา ไม่ได้จอดที่ท่าเรือเป็นจุดท่องเที่ยวให้เปลืองภาษีประชาชนอย่างที่มีผู้ไม่หวังดีกล่าวหา
เช่นเดียวกับ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ที่มีข่าวลือหลังกลับจากการฝึก Kakadu 2024 ที่ออสเตรเลียว่าเครื่องจักรใหญ่เครื่องยนต์ดีเซล MTU เยอรมนีพังต้องจอดรอซ่อม ก็เห็นชัดว่าเรือยังคงเดินเรือทำการฝึกต่างๆได้ รวมถึง ร.ล.คีรีรัฐ ที่เกิดอุบัติเหตุถูกปืนเรือ 76/62 ของเรือเร็วโจมตีปืน เรือหลวงชลบุรี ลั่นใส่ท้ายเรือในเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ ก็เห็นได้ว่าเรือซ่อมเสร็จและออกเรือปฏิบัติการได้แล้ว แม้จะมีอายุการใช้งานมานานและใกล้จะปลดประจำการตาม ร.ล.ตาปี ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/blog-post.html)

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สโลวีเนียรับมอบเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan อิตาลีเครื่องที่สองเป็นเครื่องสุดท้าย

Slovenia receives second and final Spartan airlifter





Slovenia now operates a pair of Leonardo C-27J Spartan airlifters, with the second aircraft being handed over on 17 December. (Slovenian Ministry of Defence)





สโลวีเนียได้รับมอบเครื่องบินลำเลียง Leonardo C-27J Spartan อิตาลีเครื่องที่สอง กระทรวงกลาโหมสโลวีเนียประกาศเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2024 โดยได้รับการตั้งชื่อของเครื่องบินตาม Edvard Rusjan ผู้บุกเบิกการบินชาวสโลวีเนีย
เครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด turboprop แบบ C-27J Spartan เครื่องที่สองได้ถูกส่งมอบแก่ฐานทัพอากาศ Cerklje ob Krki หลังจากที่เครื่องแรกได้มาถึง ณ ฐานบินที่เดียวกันในเดือนธันวาคม 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/leonardo-c-27j-spartan.html)

เครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan ทั้ง 2เครื่องจะถูกประจำการใน กองการบินที่15(15th Aviation Wing, 15th PVL: 15th Polk Vojaskega Letalstva) หน่วยขึ้นตรงร่วมของกองทัพสโลวีเนีย(SAF: Slovenian Armed Forces, SV: Slovenska vojska)
สโลวีเนียได้ลงนามจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan เครื่องที่สองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2023 เป็นการลงนามแก้ไขเพิ่มเติมต่อสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างเดิมในเดือนพฤศจิกายน 2021 สำหรับเครื่องบินลำเลียง C-27 หนึ่งเครื่อง

ตามการประกาศ สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมวงเงิน 48.85 million Euros($52.05 million ณ เวลานั้น) ได้เห็นเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan เครื่องที่สองถูกส่งมอบในรูปแบบเดียวกับเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan เครื่องแรก
มูลค่าทั้งหมดของการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan จำนวน 2เครื่องสำหรับสโลวีเนียอยู่ที่ 128.91 million Euros ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT: Value-Added Tax)(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/c-27j-spartan.html)

เครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan รุ่นมาตรฐานมีน้ำหนักภารกรรมบรรทุกที่ 11tonne และมีพิสัยการบินเดินทางที่ 3,070nmi(5,685km, 3,532mile) ปัจจุบันบริษัท Leonardo อิตาลีได้เสนอเครื่องบินลำเลียง C-27J Next-Generation(NG) รุ่นใหม่
ที่รวมจอแสดงผลห้องนักบินใหม่, radar ตรวจการณ์สภาพอากาศ, ระบบนำร่องสมัยใหม่ และอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ เช่นเดียวกับ "คุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์ขั้นก้าวหน้า" ตามการอธิบายของบริษัท Leonardo

ขณะที่ไม่ได้ถูกระบุโดยบริษัท ชุดภาพของเครื่องบินลำเลียง C-27J NG ได้แสดงถึงคุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์เหล่านี้ได้รวมถึงปลายปีก winglets ขณะที่ใบพัด vanes, ครีบ strakes และชิ้นส่วนอื่นๆ
ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง และด้วยเหตุนี้น้ำหนักบรรทุก/พิสัยการบิน/ระยะเวลาทำการบินยังน่าจะเพิ่มขึ้นด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/leonardo-c-27j-spartan-ng.html)

เครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan ได้อยู่ในประจำการหรือได้รับการสั่งจัดหาแล้วโดยกองทัพของ ออสเตรเลีย, อาเซอร์ไบจาน(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/c-27j-spartan.html), บัลแกเรีย, ชาด, กรีซ, อิตาลี, เคนยา, ลิทัวเนีย, เม็กซิโก, โมร็อกโก, เปรู, โรมาเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, แทนซาเนีย, 
เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐฯ แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) จะเลิกใช้งานในปี 2013 และต่อมาได้โอนเครื่องให้แก่หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: US Coast Guard) และกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM: US Special Operations Command) ด้วยเหตุผลทางด้านงบประมาณ และแซมเบียครับ

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567

โปรตุเกสสั่งจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด A-29N Super Tucano บราซิลรุ่นใหม่ 12เครื่อง

Portugal orders Super Tucanos







An artist's impression of an Embraer A-29 Super Tucano in Portugal markings. The European NATO country has ordered 12 such aircraft for training and light strike duties. (Embraer)



กองทัพอากาศโปรตุเกส(Portuguese Air Force, FAP: Força Aérea Portuguesa) ได้เป็นลูกค้าเปิดตัวสำหรับเครื่องบินฝึกและโจมตีเบาเครื่องยนต์ใบพัด turboprop แบบ Embraer A-29N Super Tucano รุ่นมาตรฐาน NATO
สัญญาสำหรับเครื่องบินฝึกและโจมตีเบาใบพัด A-29N Super Tucano จำนวน 12เครื่องได้รับการลงนามระหว่างกองทัพอากาศโปรตุเกสและบริษัท Embraer บราซิลผู้ผลิตเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2024

ข้อตกลงมูลค่าวงเงินเกือบ 200 million Euros($210 million) ยังรวมถึงเครื่องฝึกจำลองการบิน flight simulator และสิ่งอุปกรณ์และการบริการต่างๆสำหรับการดำรงสภาพการส่งกำลังบำรุง กระทรวงกลาโหมโปรตุเกสกล่าว
ไม่มีข้อมูลเปิดเผยเกี่ยวกับกำหนดการส่งมอบ เมื่อเข้าประจำการฝูงบินเครื่องบินฝึกและโจมตีเบาใบพัด A-29N จะดำเนินการปฏิบัติภารกิจการป้องกันทางอากาศใกล้ชิด, การฝึกนักบินขั้นก้าวหน้า และการลาดตระเวนและตรวจการณ์

การจัดหาเครื่องบินฝึกและโจมตีเบาใบพัด A-29N Super Tucano บราซิลเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกำลังทางการบินแห่งชาติของกองทัพอากาศโปรตุเกส ที่เรียกในภาษาโปรตุเกสว่าแผน Força Aérea 5.3
ในเดือนพฤศจิกายน 2023 ผู้อำนวยการกรมการช่างและโครงการ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกรมซ่อมบำรุงระบบอาวุธ ของกองทัพอากาศโปรตุเกส พลอากาศตรี João Rui Ramos Nogueira กล่าวกับ Janes ว่า

เครื่องบินโจมตีสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดจำนวนระหว่าง 8-12เครื่องจะถูกจัดซื้อภายในปี 2025(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/29n-super-tucano.html) โครงการจะยังมีการมีส่วนร่วมจากภาคอุตสาหกรรมโปรตุเกส
เพื่อปรับแต่งรูปแบบเครื่องบินฝึกและโจมตีเบาใบพัด A-29N Super Tucano ให้เป็นมาตรฐาน NATO และตามคุณลักษณะต่างๆ บริษัท OGMA–Indústria Aeronáutica de Portugal โปรตุเกส ซึ่งเป็นเจ้าของโดยบริษัท Embraer จะเป็นผู้ให้บริการเครื่องบิน

สิ่งอุปกรณ์มาตรฐาน NATO อย่างเช่น เครือข่าย datalink ทางยุทธวิธี และระบบพิสูจน์ฝ่าย IFF(Identification Friend-or-Foe) จะถูกเพิ่มให้แก่เครื่องบินฝึกและโจมตีเบาใบพัด A-29N Super Tucano ในโปรตุเกส
ศูนย์การพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต(The Engineering and Product Development Centre, CEiiA), บริษัท Empordef Tecnologias de Informação(ETI) โปรตุเกส และบริษัท GMV Portugal โปรตุเกส จะยังมีบทบาทในสัญญาด้วย

โปรตุเกสจะเป็นชาติแรกในยุโรปที่ได้สั่งจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด A-29 Super Tucano ซึ่งกองทัพอากาศโปรตุเกสยังได้สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 Millennium จาก Embraer บราซิลแล้ว 5เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/kc-390-c-130k.html)
นอกจากบราซิลประเทศผู้ผลิต Super Tucano ยังถูกส่งออกให้แก่ อัฟกานิสถาน, แองโกลา, บูร์กินาฟาโซ, ชิลี, โคลอมเบีย, โดมินิกัน, เอกวาดอร์, กานา, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, เลบานอน, มาลี, มอริเตเนีย, ไนจีเรีย, ปารากวัย, ฟิลิปปินส์, เติร์กเมนิสถาน, อุรุกวัย และสหรัฐฯครับ

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

นาวิกโยธินไทยนำรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ร่วมฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกครั้งแรก




















Amphibious Exercise for individual and tactical training of Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Marine Corps (RTMC) and Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) was held at Hat Yao beach, Sattahip District, Chonburi Province, Gulf of Thailand on 13 December 2024.
RTMC's three AWAV (Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 domestic designed and manufactured by Thai firm Chaiseri metal & rubber Co. Ltd., were participated RTN field amphibious exercise for first time.
Amphibious Exercise also involved with RTMC's three VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles, four AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles, one BTR-3E1 8x8 armored personnel carrier, and one HMMWV 4x4 utillity truck with TOW 2A RF anti-tank guided missile (ATGM);
LPD-792 HTMS Chang(III) the Type 071ET Landing Platform Dock (LPD); LST-722 HTMS Surin the Sichang class landing ship tank (LST), LCU-782 HTMS Man Klang the Mannok class landing craft utility (LCU) and LCU-771 HTMS Thongkaeo the Thongkaeo class landing craft utility;
Royal Thai Naval Air Division (RTNAD) Sikorsky MH-60S Knighthawk, Leonardo (AgustaWestland) Super Lynx 300, Cessna T-337 Skymaster; and RTF Naval Special Warfare Command (NSWC/RTN SEALs) and RTMC Marine Reconnaissance Battalion operators. (Royal Thai Navy/NUTTAPUMIN PARNLAK)



กองเรือยุทธการ สร้างกองเรือเข้มแข็ง ฝึกความพร้อมรบ เปิดฉาก “ยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก”
***เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.67 กองทัพเรือ โดย พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พร้อมคณะทำงาน ผู้บัญชาการในส่วนกำลังรบทางเรือ กองเรือยุทธการ (กร.) กำลังรบทหารราบ นาวิกโยธิน (นย.) กำลังรบทหารต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) และหน่วยกำลังสนับสนุนต่างๆ 
ร่วมชมการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสเทินบก ในการฝึกยุทธวิธีกองเรือร่วม ของกองเรือยุทธการ ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ เนินคนดู สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 15 หาดยาว ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
***การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล ของการฝึกยุทธวิธีกองเรือร่วม ของกองเรือยุทธการ เป็นการฝึกสถานการณ์ต่อเนื่องจากการฝึกยุทธวิธีร่วมของกองเรือในทะเล โดยมีการประกอบกำลังของหน่วยกำลังรบกองเรือ กองบิน และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ระหว่างกองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานรักษาฝั่ง
***ทั้งนี้ การฝึกได้มีการจำลองสถานการณ์ การปฏิบัติการโจมตีจากในทะเลต่อที่หมายสำคัญของฝ่ายตรงข้าม ที่มีฐานที่ตั้งอยู่แนวชายฝั่ง ด้วยกำลังรบยกพลขึ้นบก สนับสนุนด้วยกำลังทางอากาศ และกำลังทางเรือ ส่วนกำลังรบที่สำคัญเข้าร่วมการฝึกครั้งนี้ ประกอบด้วย 
เรือหลวงช้าง 792 ซึ่งเป็นเรือลำเลียงยานรบยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ที่เป็นทั้งศูนย์บัญชาการ และระบายพลยานรบ อาทิ รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV ยานเกราะ AWAV ยานเกราะ VN16 รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ BTR ฮ.ซูเปอร์ลิงซ์ ฮ.Knighthawk นอกจากนี้ ยังมีเรือยกพลขึ้นบก เรือหลวงมันกลาง และเรือหลวงสุรินทร์ เข้าร่วมในภารกิจครั้งนี้
*** พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กล่าวว่า กองเรือยุทธการ ถือเป็นหน่วยกำลังรบหลักทางเรือของกองทัพเรือ มีภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และรักษาอธิปไตยของชาติ การฝึกกำลังรบทางเรือ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ ตลอดจน เท่าทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งด้านอาวุธ และการรับมือต่อภัยคุกคามทุกรูปแบ
บ เมื่อกำลังพลเกิดความเข้มแข็ง เป็นกำลังรบที่มีประสิทธภาพ ย่อมส่งผลให้หน่วยกำลังรบของกองทัพเรือไทย จะดำรงไว้ซึ่งแสนยานุภาพ พร้อมที่จะปกป้องประเทศยามศึกสงคราม ที่สำคัญ นอกจากการฝึกด้านการรบแล้ว กำลังพลทุกนายยังพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ และการบรรเทาสาธารณภัย ได้อย่างทันท่วงที 
เพื่อให้กองเรือยุทธการ และกองทัพเรือ เป็นกองทัพที่ประชาชนเชื่อมั่น และภาคภูมิใจ

การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ในการฝึกยุทธวิธีกองเรือร่วมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ สนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข๑๕ หาดยาว ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีของกองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) 
และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(NSWC: Naval Special Warfare Command/RTN SEALs) รวมถึง หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย.(RTMC: Royal Thai Marine Corps) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) ของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ประจำปี ๒๕๖๘ ที่เป็นการฝึกบูรณาการร่วมกันนั้น 
ยังเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นรถหุ้มเกราะล้อยางชนิดลำเลียงพล 8x8 แบบ AWAV(Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) จำนวน ๓คัน ของ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย.(Marine Assault Amphibian Vehicle Battalion, Marine Division) ที่ออกแบบและผลิตภายในประเทศไทยเข้าร่วมการฝึกภาคสนามเป็นครั้งแรก

การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ณ สนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข๑๕ หาดยาว ได้วางกำลังเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย(LPD: Landing Platform Dock) เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) เป็นเรือบัญชาการ ร่วมกับเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงสีชัง เรือหลวงสุรินทร์, เรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงมันนอก เรือหลวงมันกลาง, และเรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงทองแก้ว ร.ล.ทองแก้ว วางกำลังยกพลขึ้นบก
โดยมี ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) แบบ Norinco VN16 จำนวน ๓คันเป็นคลื่นที่๑(1st Wave), รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS จำนวน ๔คันพร้อมทหารราบนาวิกโยธิน(Marines Infantry) เป็นคลื่นที่๒(2nd Wave) และรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 จำนวน ๓คัน เป็นคลื่นที่๓(3rd Wave)
ตามมาด้วยการสนับสนุนจากรถยนต์บรรทุก รยบ.HMMWV 4x4 ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW 2A RF ในกองร้อยต่อสู้รถถัง(anti-tank company) จำนวน ๑คัน และ ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8 ในกองร้อยยานเกราะ(armored company) จำนวน ๑คัน(ยังคงใช้งานได้แม้ยูเครนผู้ผลิตจะอยู่ในภาวะสงครามเกือบ ๓ปีแล้ว) ของกองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน พัน.ถ.พล.นย.(Marine Tank Battalion, Marine Division)

รวมถึงการสนับสนุนทางอากาศจาก เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300 จำนวน ๑เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๕ ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk จำนวน ๑เครื่อง และเครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บ.ตช.๑ Cessna T-337 Skymaster ๑เครื่องของกองการบินทหารเรือ กับชุดปฏิบัติการ SEALs และกองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน พัน.ลว.นย.(Marine Reconnaissance Battalion)
บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทยได้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 จำนวน ๗คันในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/chaiseri-awav-8x8.html) ตามสัญญาที่ประกาศเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/awav-8x8-chaiseri.html)
โดยได้มีพิธีรับมอบและการสวนสนามยานยนต์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีย่ำพระสุริย์ศรี(sunset ceremony)ในโอกาสอำลาชีวิตราชการของกำลังพลกองทัพเรือไทยในวันเดียวกัน(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/awav-8x8.html) เป็นเวลาให้หลังราวเกือบสามเดือนหลังจากรับมอบ แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยที่กองทัพเรือไทยให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องครับ