วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567

เรือดาดฟ้าเรียบ flattop deck แบบใหม่ของจีนออกเดินเรือครั้งแรก

Update: Unidentified Chinese flattop vessel conducts maiden voyage




A graphic of the new Chinese flat-deck vessel. (Janes)



เรือดาดฟ้าเรียบแบบใหม่ของจีนที่ล่าสุดพบที่อู่เรือ Guangzhou Shipyard International(GSI) ของจีนได้กำลังดำเนินการเดินเรือครั้งแรกของตน ชุดภาพต่างๆบนสื่อสังคม online ของจีนได้แแสดงให้เห็น
เรือดาดฟ้าเรียบแบบใหม่มีคุณลักษณะสองหอเรือ(island) โดยแยกจากปล่องเรือตรงโครงสร้างด้านท้ายเรือ ซึ่งทั้งหมดตั้งอบู่ทางกราขวาของเรือ และมีดาดฟ้าเรือยาวตลอดทั้งลำเรือคล้ายคลึงกับเรือบรรทุกเครื่องบิน

เรือดาดฟ้าเรียบแบบใหม่ของจีนได้ถูกประมาณว่าจะมีความยาวเรือที่ 200m และกว้างเกือบ 40m และมีความเป็นเป็นได้ที่จะเป็นเรือทดสอบสำหรับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) หรือเฮลิคอปเตอร์ Janes ประเมิน
หอเรือหลักของเรือปรากฎที่จะตั้งอยู่ในตอนกลางของกราบขวาของเรือ และยาว โครงสร้างหลายชั้นโดยมีความเป็นไปได้ที่ด้านท้ายจะเป็นสะพานเดินเรือ(bridge) ที่ตั้งเผชิญกับดาดฟ้า

สะพานเดินเรือที่หอเรือหลักอาจจะถูกใช้เพื่อการประสานงานการลงจอดโดยอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL: Vertical Take-Off and Landing) ทั้งแบบอากาศยานที่มีนักบินบังคับ และอากาศยานไร้คนขับ UAV
ส่วนยอดบนสุดของดาดฟ้ายก(superstructure) เป็นเสากระโดงระบบสนับสนุนแบบปิด ที่ปรากฎว่าจะเป็นระบบ radar ทางเรือ หอเรือด้านหน้าที่ขนาดเล็กกว่าปราฎว่าที่ที่ตั้งของสะพานเดินเรือที่เป็นส่วนควบคุมการเดินเรือ

หอเรือด้านหน้าดังกล่าวได้รวมแผงสายอากาศหลากหลายแบบที่เกี่ยวข้องกับ radar นำร่องของเรือ โครงสร้างปล่องเรือที่ด้านท้ายสุดของเรือประกอบด้วยท่อไอเสียหลายท่อ ซึ่งบ่งชี้ว่าเรือใช้ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล
เรือดาดฟ้าเรียบแบบใหม่ของจีนยังรวมถึงระบบแขนยก crane ทางด้านท้ายของเรือโดยมรดาดฟ้าโรงเก็บอากาศยาน(hangar) ส่วนที่เปิดออกไปยังพื้นที่ดาดฟ้าเรือส่วนล่างลงไปเปิดเผยให้เห็นเรือชูชีพ(lifeboat) ที่สามารถนำมาใช้งานได้

ชุดภาพได้แสดงให้เห็นว่าหอเรือที่สามได้มีตราอักษร logo ของ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของจีน(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/2024-s26t.html)
จากภาพถ่ายดาวเทียมจากเมื่อต้นปี 2024 ประกอบกับภาพถ่ายหลายรูปในสื่อสังคม online ของจีนเปิดเผยว่าเรือได้ถูกสร้างที่อู่เรือ GSI บนเกาะ Longxue ทางตอนเหนือของ Hong Kong ใน Website ของตน GSI จีนอธิบายตนเองว่าเป็น "วิสาหกิจขนาดใหญ่มาก" ภายใต้เครือ CSSC จีน 

ภาพเพิ่มเติมของเรือที่เผยแพร่ตามมาในสื่อสังคม online ของจีนได้แสดงถึงดาดฟ้าบินของเรือมีการทำสีและเครื่องหมายต่างๆแล้ว โดยไม่พบการติดตั้งระบบรางดีดส่งอากาศยาน catapult ใดๆ บ่งชี้ว่าเรือถูกออกแบบสำหรับปฏิบัติการกับอากาศยานปีกหมุนหรืออากาศยานปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่ง VTOL เท่านั้น
ยังไม่มีรายละเอียดใดๆเปิดเผยว่าเรือดาดฟ้าเรียบแบบใหม่นี้จะเป็นเรือของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) หรือไม่ ข้อมูลในสื่อสังคม online จีนบางรายอ้างว่าเรือใหม่นี้เป็นเรือสำรวจหรือเรือสนับสนุนรูปแบบใหม่ของหน่วยยามฝั่งจีน(CCG: China Coast Guard) ครับ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567

Thales กำลังติดตั้ง AI ในกระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS สำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส

Thales installing AI on TALIOS pod for Rafale





A file image of the TALIOS pod fitted to a Rafale fighter. Thales is developing AI for the pod to reduce the pilot workload, though the company stresses that a human will always be responsible for targeting decisions. (Thales)



บริษัท Thales ฝรั่งเศสกำลังติดกระเปาะชี้เป้าหมายทางอากาศระยะไกลแบบ Thales TALIOS(TArgeting Long-range Identification Optronic System) ของตนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์(AI: Artificial Intelligence)
เพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/rafale-f5.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/07/rafale.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/05/rafale-asmpa.html)

บริษัท Thales ฝรั่งเศสประกาศการปรับปรุงเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2024 กล่าวว่าระบบการวิเคราะห์ภาพทางอากาศอัตโนมัติผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI จะมอบการช่วยเหลือ "อย่างล้ำค่า" แก่เหล่านักบินเครื่องบินขับไล่ Rafale
"การเสริมกำลังโดยปัญญาประดิษฐ์ กระเปาะชี้เป้าหมาย laser TALIOS ของเครื่องบินขับไล่ Rafale ตรวจพบวัตถุในความสนใจ(objects of interest)ได้เร็วขึ้นกว่าก่อนหน้า" บริษัท Thales กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/rafale-12.html)

"ด้วยการวิเคราะห์ภาพทางอากาศอัตโนมัติ มันมอบการช่วยเหลืออันมีค่าแก่เหล่านักบินโดยปราศจากการลดบทบาทที่สำคัญของพวกตนลงในกระบวนการสร้างการตัดสินใจ" Thales เสริม(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-6-12.html)
ตามการเน้นในการประกาศ ขีดความสามารถที่ถูกเพิ่มขยายใหม่ได้รับการพัฒนาภายในบริษัทโดย cortAIx ผู้เร่งความเร็วนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ AI ที่จัดตั้งโดย Thales เพื่อยกระดับความเชี่ยวชาฯของกลุ่มบริษัท Thales Group ยุโรปในภาคส่วนนี้

บริษัท Thales อธิบายว่าการวิเคราะห์ชุดภาพที่ตรวจจับได้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ AI อย่างอัตโนมัติโดยกระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS pod ขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่นักบินตรวจพบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-12.html)
จากนั้นด้วยการเลือกล่วงหน้าต่อวัตถุในความสนใจ มันลดภาระทางกระบวนการการรับรู้(cognitive)ของนักบินเพื่อสร้างการตัดสินใจที่ดีขึ้นว่าจะโจมตีเป้าหมายหรือไม่(บริษัท Thales เน้นหนักว่ามนุษย์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการทำการตัดสินใจนี้เสมอ)

ก่อนหน้านี้บริษัท Thales ได้ประกาศในเดือนพฤษภาคม 2022 ว่าสำนักงานจัดหากลาโหมฝรั่งเศส(DGA: Direction Générale de l’Armement) ได้สั่งจัดหากระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS pod เพิ่มเติมจำนวน 21ระบบกับตน
Thales กล่าวในเวลานั้นว่า การส่งมอบกระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS pod เพิ่มเติมดังกล่าวคาดว่าจะมีขึ้นระหว่างปี 2024-2025 ตามการเสร็จสิ้นสัญญาเดิมสำหรับการส่งมอบกระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS pod จำนวน 46ระบบ  

กระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในปี 2008 เป็นกระเปาะชี้เป้าหมายและลาดตระเวนทางอากาศสถาปัตยกรรมเปิด TALIOS pod สามารถใช้ในการตรวจจับ, พิสูจน์ทราบ และกำหนดเป้าหมายทั้งเวลากลางและกลางคืน
กระเปาะชี้เป้าหมาย TALIOS pod ได้เข้าสู่การดำเนินการปรับปรุงในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ Rafale F4 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/rafale-42-18.html)

ญี่ปุ่นเลือกเครื่องบินฝึกใบพัด T-6 Texan II สหรัฐฯเป็นเครื่องบินฝึกขั้นต้นใหม่

Japan selects T-6 for primary trainer programme





Japan has selected the T-6 Texan II to meet a JASDF requirement for a new primary trainer aircraft. (Textron Aviation Defense)

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้เลือกเครื่องบินฝึกเครื่องยนต์ใบพัด turboprop แบบ Beechcraft T-6 Texan II สหรัฐฯในฐานะระบบเครื่องบินฝึกขั้นต้นยุคอนาคตของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: apan Air Self-Defense Force)
ประกาศแจ้งที่ออกโดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2024 กล่าวว่า เครื่องบินฝึกใบพัด T-6 Texan II ได้ถูกเลือกสำหรับความต้องการของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นเหนือผู้เข้าแข่งขันอื่นสามราย

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่า เครื่องบินฝึกใบพัด T-6 ถูกเสนอโดยบริษัท Kanematsu Corporation ญี่ปุ่น ที่เป็นหุ้นส่วนของฝ่ายญี่ปุ่นของบริษัท Textron Aviation Defence สหรัฐฯผู้ผลิตเครื่องบินซึ่งมีบริษัท Beechcraft สหรัฐฯในเครือ
ขอบเขตของความต้องการไม่ได้ถูกเปิดเผยโดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น การขอเสนองบประมาณกลาโหมประจำปี 2025 ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่เผยแพร่ในปลายเดือนสิงหาคม 2024 ที่ผ่านมาได้ระบุว่า

โครงการของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นที่จะจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นต้นใหม่และสิ่งอุปกรณ์การฝึกภาคพื้นที่เกี่ยวข้องในฐานะ "โครงการหลัก" เสริมว่า "(เครื่องบินฝึกเหล่านี้)จะถูกใช้เพื่อฝึกเหล่านักบินของเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้า"
ประกาศแจ้งของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวถึงบริษัทอื่นๆของญี่ปุ่นที่ได้เสนอเครื่องบินฝึกสำหรับโครงการที่รวมถึง บริษัท Subaru ญี่ปุ่น(เดิมบริษัท Fuji Heavy Industries ญี่ปุ่น) และบริษัท Daihyaku Shoji ญี่ปุ่น

บริษัท Subaru เสนอเครื่องบินฝึกใบพัด Pilatus PC-7 MKX สวิตเซอร์แลนด์พร้อมอุปกรณ์การฝึก(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/pc-21-19.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/02/pc-9-mustang.html)
ขณะที่บริษัท Daihyaku Shoji เสนอเครื่องบินฝึกใบพัด Hürkus ของบริษัท Turkish Aerospace(TA) ตุรกีพร้อมพร้อมอุปกรณ์การฝึก(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-pc-9.html)

นอกเหนือจากนี้ บริษัท Shintoa Trading ญี่ปุ่นได้เสนอเข้าแข่งขันที่มุ่งเน้นเป็นหลักที่การส่งมอบอุปกรณ์การฝึกภาคพื้นดินเท่านั้น กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่าข้อเสนอเครื่องบินฝึก T-6 ของบริษัท Kanematsu ได้ถูกเลือกสำหรับโครงการ
หลังจากที่บริษัท Kanematsu ได้รับคะแนนสูงสุดในกระบวนการประเมินค่าการแข่งขันสองระยะ เอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) สำหรับโครงการได้ถูกออกโดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 2024 และการแข่งขันได้ถูกเปิดขึ้นในกลางเดือนตุลาคม 2024

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นไม่ได้ยืนยันว่าเครื่องบินฝึกใบพัด T-6 รุ่นใดที่ได้ถูกเลือก แต่น่าจะเป็นรุ่นเครื่องบินฝึกใบพัด T-6C Texan II ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกซึ่งเทียบเท่ากับรุ่นเครื่องบินฝึก T-6B ที่ใช้งานโดยกองทัพสหรัฐฯ
ญี่ปุ่นจะกลายเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินฝึก T-6C รายล่าสุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต่อจากกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/t-6th.html) และเวียดนาม(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/t-6c-5-12.html) ครับ

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยเปิดตัวอากาศยานไร้คนขับพลีชีพตระกูล KB UAV ที่พัฒนาในประเทศ




Royal Thai Air Force (RTAF) unveiled its domestic KB (Kamikaze Bomber) Unmanned Aerial Vehicle (UAV) family also known as "Kamikaze Drone" for first time at concluded the DronTech Asia 2024 show which held at Hall 12, IMPACT Exhibition and Convention Center, Bangkok, Thailand on 25-27 November 2024.
Developed by Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Thai Air Force Academy (NKRAFA), Research and Development Center for Space and Aeronautical Science and Technology (RDCSAST) and Directorate of Armament, RTAF;
KB-5E has battery-powered electric motor propulsion with 5kg warhead and blast radius 280m, speed at 90km/h range at 150km, attack driving speed 180km/h; 
larger KB-10G has gasoline piston-driven propulsion with 10kg warhead and blast radius 350m, speed at 120km/h range at 500km, attack driving speed 220km/h, GPS/INS guidance with CEP < 3m. (Defense Info media TH/Defense & Security 2025)


Royal Thai Air Force also displayed models of its domestic K-Series Unmanned Aerial Vehicle, K-24 M Solar-X solar cell electric battery-powered UAV and larger K-31 solar cell with hybrid gasoline piston engine and electric motor in Vertical Take-Off and Landing (VTOL) configuration.
developed by Navaminda Kasatriyadhiraj RTAF Academy in cooperation with Thai Aviation Industries Co.,Ltd. (TAI) to start mass production for delivered to the RTAF Security Force Battalion at RTAF air bases. (Defense Info media TH/RTAF)



กองทัพอากาศเปิดตัว กามิกาเซ่โดรน
กองทัพอากาศเปิดเครื่องต้นแบบยานโดรนพิฆาต KB-10 ในนิทรรศการ Dronetech Asia 2024 ที่จัดขึ้นทร่อิมแพ๊คเมืองทองธานี 
โดยโดรนพิฆาตต้นแบบรุ่นนี้ เป็นยานโดรนโจมตีพิสัยไกล ติดตั้งหัวรบน้ำหนัก10 กิโลกรัม มีรูปแบบการติดตั้งชุดขับเคลื่อนสองรูปแบบคือ เครื่องยนต์น้ำมัน(KB-10G)และมอเตอร์ไฟฟ้า (KB-5E) เป็นผลงานวิจัยของโรงเรียนนายเรืออากาศ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์กองทัพอากาศ  โดยมีกรมสรรพวุธ กองทัพอากาศทำการพัฒนาหัวรบสำหรับยานโดรนพิฆาตรุ่นนี้
ยานโดรนพิฆาต KB-10ได้ผ่านขั้นตอนการบินทดสอบขั้นต้นแล้ว สามารถทำระยะทางบินได้ตามการออกแบบ  และกำลังเข้าสู่กระบวนการบินทดสอบในเฟสที่สอง พร้อมทั้งประเมินค่าในการเตรียมสายการผลิตเพื่อใช้ในประจำการต่อไป

M Solar X ( K-24 ) เตรียมเข้าประจำการในกองทัพอากาศ
หลังจากผ่านการทดสอบในการปฏิบัติงานจริงมากว่า 2 ปีในพื้นที่3จังหวัดชายแดนใต้ และจังหวัดจันทบุรี  พร้อมทั้งผ่านขั้นตอนการประเมินค่าของกองทัพอากาศแล้ว  ยานโดรน M Solar Xได้เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดสายการผลิต เพื่อส่งมอบเข้าประจำการ ในชื่อ K-24 สำหรับภารกิจของหน่วยอากาศโยธิน เพื่อใช้ปฏิบัติงานในทุกกองบินของกองทัพอากาศทั่วประเทศ
M Solar X เป็นผลงานวิจัยของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช  ตามนโยบายการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการบินในประเทศ เพื่อยานบินลาดตระเวนขนาดเล็กที่สามารถทำการบินต่อเนื่องได้นานกว่า2ชั่วโมง  สำหรับภารกิจการบินลาดตระเวนหาข่าว และ รักษาความปลอดภัยพื้นที่ความมั่นคงสูง
ด้วยการออกแบบระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานแบบผสมผสาน ทั้งจากแบตเตอรี่ และ พลังงานแสงอาทิตย์  M Solar Xจึงสามารถทำสถิติการบินต่อเนื่องได้ถึง 8 ชั่วโมง จากการบินทดสอบในภารกิจจริง ราว800ชั่วโมงบิน ในกว่า400เที่ยวบิน  ผ่านการทดสอบใช้งานจากหน่วยงานต่างๆของกองทัพไทย M Solar Xจึงได้เข้าสู่การเตรียมเปิดสายการผลิตในระดับอุตสาหกรรม 
โดยกองทัพอากาศได้ลงนามให้บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI) เป็นคู่สัญญาในการผลิต M Solar X ภายใต้ชื่อ K-24  อันเป็นการผลิตภายใต้สิทธิบัตรของกองทัพอากาศ
ในปี พ.ศ.2568 K-24ชุดแรกจะเข้าประจำการในกองบิน 3 สำหรับภารกิจการฝึกครูการบินและนักบินประจำระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมของกำลังพลก่อนจะรอบเข้าประจำการในภารกิจลาดตระเวณป้องกันที่ตั้งในทุกกองบินต่อไป
และเพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ของงานวิจัยในองค์กร กองทัพอากาศได้เปิดตัว UAV K-31 ภายในงานDrontech Asia 2024 อันเป็นโดรนไฮบริด ระหว่างเครื่องยนต์น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีพิสัยการปฏิบัติงานที่เพิ่มมากขึ้น

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เปิดตัวอากาศยานไร้คนขับพลีชีพ(Kamikaze Drone) ตระกูล KB(Kamikaze Bomber) ที่พัฒนาเองในไทยเป็นครั้งแรก ณ งานนิทรรศการระบบไร้คนขับ Dronetech Asia 2024 ที่อาคาร Challenger Hall 12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา
อากาศยานไร้คนขับพลีชีพตระกูล KB ที่พัฒนาโดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช(NKRTAFA: Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Thai Air Force Academy), ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ(Research and Development Center for Space and Aeronautical Science and Technology), และกรมสรรพาวุธทหารอากาศ(Directorate of Armament)
เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาที่ถูกระบุใน สมุดปกขาวของกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) ในชื่อโครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๗๐(2023-2027), พ.ศ.๒๕๗๐-พ.ศ.๒๕๗๕(2027-2032) เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศไทย

โดยมีขีดความสามารถการโจมตีเป้านิ่งด้วยระบบนำวิถีในระยะพิสัยกลาง อากาศยานไร้คนขับพลีชีพตระกูล KB ที่นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการ Dronetech Asia 2024 มีสองรุ่นคือ อากาศยานไร้คนขับพลีชีพ KB-5E ที่ใช้ระบบขับเคลื่อน mortor ไฟฟ้า ทำการส่งขึ้นบินด้วยแท่นยิงราง launcher rail แท่นยิงจรวดขับดันส่ง rocket launcher ทำให้มีความยืดหยุ่นในการปล่อยจากหลากหลายพื้นที่โดยไม่ต้องใช้ทางวิ่งขนาดใหญ่
อากาศยานไร้คนขับพลีชีพ KB-5E ติดตั้งหัวรบน้ำหนัก 5kg มีรัศมีการทำลายที่ 280m ความเร็วการบินโคจรเข้าสู่เป้าหมายที่ 90km/h และมีความเร็วในการบินดำเข้าโจมตีเป้าหมายที่ 180km/h และมีพิสัยการบินไกลที่ 150km รุ่นขนาดใหญ่กว่าอากาศยานไร้คนขับพลีชีพ KB-10G ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ลูกสูบน้ำมันเบนซิน(gasoline) ทำการส่งเครื่องบินด้วยแท่นยิงรางหรือแท่นยิงจรวดเช่นกัน
KB-10G มีน้ำหนักระบบที่ 40kg ปีกกว้าง 1.7m ติดตั้งหัวรบน้ำหนัก 10kg มีรัศมีการทำลายที่ 350m ความเร็วการบินที่ 120km/h และมีความเร็วในการบินดำเข้าโจมตีเป้าหมายที่ 220km/h และมีพิสัยการบินไกลที่ 500km นำวิถีด้วยระบบ GPS/INS มีค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้(CEP: Circular Error Probable) ที่น้อยกว่า 3m สามารถทำลายเป้านิ่งอย่างฐาน radar, ปืนใหญ่, รถถังและยานเกราะที่อยู่ประจำที่ได้

อีกโครงการที่เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชคือระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Cell Energy) แบบ M Solar-X ก็ได้ถูกเปิดตัวใหม่ในชื่ออากาศยานไร้คนขับตระกูล K-Series UAV โดยมีความร่วมมือบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทย เพื่อเริ่มต้นการเปิดสายการผลิตจำนวนมากส่งมอบให้กองพันอากาศโยธินประจำกองบินต่างๆ
อากาศยานไร้คนขับ K-24 M Solar-x สำหรับภารกิจป้องกันฐานบิน ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๖๘(2023-2025), พ.ศ.๒๕๖๘-พ.ศ.๒๕๗๑(2025-2028) มีปีกกว้าง 4.2m ยาว 2m น้ำหนักบินขึ้น 20kg ระยะเวลาทำการบินสูงสุด ๔ชั่วโมงด้วย solar cell(๒ชั่วโมงเมื่อใช้เฉพาะ battery ภายใน) ความเร็วเดินทาง 45-70km/h เพดานบิน 150-1,500m และมีภารกรรมบรรทุก payload ที่ 2kg เช่นกล้อง EO/IR
กองทัพอากาศไทยยังได้เปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ K-31 ที่เป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่าเป็นครั้งแรก โดยจัดแสดงในรูปแบบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL: Vertical Take-Off and Landing UAV) ติดตั้งระบบขับเคลื่อน hybrid เครื่องยนต์ gasoline และ mortor ไฟฟ้าให้แรงยกแนวดิ่ง บินได้นานสุด ๘ชั่วโมง น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) 25kg ปีกกว้าง 4.56m มี payload ที่ 5kg ครับ

กองทัพบกออสเตรเลียรับมอบรถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 ใหม่ชุดแรก

Australian Army 3rd Brigade takes delivery of initial Abrams M1A2 tanks





An M1A2 Abrams tank arrives at Lavarack Barracks, Townsville, on 14 November 2024. (Commonwealth of Australia)

กองพลน้อยที่3(3rd Brigade) กองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ได้รับมอบรถถังหลัก General Dynamics Land Systems M1A2 Abrams SEPv3(Systems Enhancement Package Version 3) MBT(Main Battle Tank) ชุดแรกจำนวน 4คันจาก 14คันแล้ว
กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียประกาศในสื่อประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2024 ว่ารถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 ใหม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่กองบัญชาการของกองพลน้อยที่3 ณ ค่าย Lavarack Barracks, Townsville ในรัฐ Queensland แล้วราวสองสัปดาห์ก่อนหน้า

กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียเสริมว่ารถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 ที่เหลืออีก 10คันจะถูกส่งมอบให้แก่กองพลน้อยที่3ภายในสิ้่่นปี 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/m1a2-abrams-sepv3.html)
การนำเข้าประจำการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่กว่าของรถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 จำนวน 75คันของกองทัพบกออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/m1a1-abrams-49.html)

โฆษกของกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียได้กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2024 ว่ากองทัพบกออสเตรเลียได้รับมอบรถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 จำนวน 46จาก 75คันที่ตนสั่งจัดหาจากสหรัฐฯในปี 2022 แล้ว
กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียเคยกล่าวก่อนหน้านั้นว่านอกเหนือจาก Townsville รถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 จะประจำการที่ฐานทัพต่างๆของกองทัพบกออสเตรเลีย รวมถึง Puckapunyal และ Bandiana ในรัฐ Victoria

กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวการนำรถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 เข้าประจำการในฐานทัพอื่นๆของกองทัพบกออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/m1a2-abrams-sepv3.html)
อย่างไรก็ตามกล่าวว่ารถถังหลัก M1A2 จะถูกนำมาเข้าร่วมการฝึกภาคสนามของกองทัพบกออสเตรเลียในต้นปี 2025 ทหารของกองทัพบกออสเตรเลียกลุ่มแรกได้เสร็จสิ้นการฝึกการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงของรถถังหลัก M1A2 ใน Puckapunyal ในต้นเดือนพฤศจิกายน 2024 แล้ว

การให้ความเห็นเกี่ยวกับขีดความสามารถของรถถังหลัก M1A2 Abrams SEPv3 สื่อประชาสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียกล่าวว่ารถถังหลัก M1A2 Abrams เป็น "ปัจจัยหลักสำหรับระบบการรบกองกำลังผสม และจะทำให้กองกำลังภาคพื้นดินจะควบคุมจุดยุทธศาสตร์หลักได้"
กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียยังอ้างถึงผู้บังคับกองพันทหารม้า C(Officer Commanding C Squadron) พันตรี Trent Lam ที่กล่าวว่า รถถังหลัก M1A2 ได้เพิ่มอำนาจการยิง, การป้องกัน, และความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่เมื่อเปรียบเทียบกับรถถังหลัก M1A1 Abrams ซึ่งได้ปลดประจำการจากกองทัพบกออสเตรเลียในเดือนสิงหาคม 2024

ออสเตรเลียได้จัดหารถถังหลัก M1A1 Abrams ชุดแรกจำนวน 59คันสำหรับกองทัพบกออสเตรเลียภายใต้ข้อตกลงรูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) วงเงิน A$530 million กับสหรัฐฯที่ถูกประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2004 และได้มีความพร้อมการปฏิบัติการเต็มอัตราในปี 2007
เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน กองทัพบกออสเตรเลียจะยังคงรถถังหลัก M1A1 "จำนวนน้อย" เพื่อช่วยการนำเข้าประจำการของรถถังหลัก M1A2 ใหม่ ขณะที่จะยังบริจาครถถังหลัก M1A1 Abrams จำนวน 49คันแก่ยูเครนในฐานะส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือทางทหารเพื่อต่อต้านการรุกรานของรัสเซียครับ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๑๑




Airbus Helicopters H225M (EC725) 203 Squadron, Wing 2 Lopburi, Royal Thai Air Force (RTAF) 10,000 Flight Hours Celebration on 22 November 2024 at Lopburi Province, Thailand. (Defense Info media TH/Airbus/Royal Thai Air Force)



กองบิน 2 กองทัพอากาศ ร่วมกับบริษัทแอร์บัส (Airbus) จัดพิธีมอบโล่ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (EC725) หรือ H225M ปฏิบัติภารกิจการบินครบ 10,000 ชั่วโมง
พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ รับมอบโล่ที่ระลึกจาก Mr.Thomas Zeman รองประธานกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายขายและการตลาด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters 
เนื่องในโอกาสที่เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (EC725) หรือ H225M สังกัดฝูงบิน 203 กองบิน 2 กองทัพอากาศ ปฏิบัติภารกิจการบินครบ 10,000 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเก็บอากาศยาน ฝูงบิน 203 กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี
และในโอกาสอันสำคัญนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มอบประกาศนียบัตรแก่นักบินสังกัดฝูงบิน 203 กองบิน 2 ผู้ปฏิบัติการบินกับเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (EC725) หรือ H225M ครบ 1,000 ชั่วโมงบิน จำนวน 4 คน
สำหรับเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (EC725) หรือ H225M บรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2558 เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 (UH-1H) ที่ปลดประจำการ นับเป็นหมุดหมายสำคัญของกองทัพอากาศที่ได้รับการบรรจุเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีสมรรถนะสูง และสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ การลำเลียงทางอากาศ การช่วยเหลือและกู้ภัย ฯลฯ
ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ทศวรรษ ที่เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (EC725) หรือ H225M ปฏิบัติการบินจนครบ 10,000 ชั่วโมง โดยได้จารึกผลงานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนไว้อย่างมากมาย อาทิ การบินค้นหาผู้ประสบภัยกรณีเรือหลวงสุโขทัยเกิดเหตุอับปาง หรือการบินลำเลียงอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ประสบอุทุกภัยจังหวัดเชียงรายที่ผ่านมา
กองทัพอากาศ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นกองทัพอากาศที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ “Unbeatable Air Force” เพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า และรักษาไว้ซึ่งประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน

Royal Thai Air Force's H225M - 10,000 flight hours milestone
แอร์บัส เฮลิคอปเตอร์ รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่กองทัพอากาศของประเทศไทยเป็นหนึ่งในองค์กรผู้ปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ H225M ในระดับโลก โดยเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ที่ได้รับการยอมรับในทางการรบรุ่นนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภารกิจด้านการป้องกันประเทศของไทยตั้งแต่เริ่มประจำการในปี พ.ศ. 2558
ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา H225M ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติกิจกรรมทางทหารและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในหลากหลายรูปแบบ และในปีนี้เฮลิคอปเตอร์เหล่านี้ก็ได้สร้างสถิติสำคัญด้วยการมีชั่วโมงบินสะสมครบ 10,000 ชั่วโมง
เชิญทุกท่านร่วมรับชมวิดีโอซึ่งเราได้ร่วมเฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งนี้ ในพิธีการที่ได้จัดขึ้น ณ จังหวัดลพบุรี

กองบิน 2 กองทัพอากาศ ให้การต้อนรับคณะอาจารย์ และนายทหารนักเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ รุ่นที่ 69
นาวาอากาศเอก ปรวรรษ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองกิจการนายทหารนักเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ พร้อมคณะอาจารย์ และนายทหารนักเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 69 เดินทางมาศึกษาดูงานและชมการสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร ณ กองบิน 2 
โดยมี นาวาอากาศเอก กริษณะ วัลลิภากร รองผู้บังคับการกองบิน 2 เป็นผู้แทนผู้บังคับการกองบิน 2 ให้การต้อนรับ ณ กองบังคับการ กองบิน 2 และฝูงบิน 203 กองบิน 2 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
กิจกรรมในการศึกษาดูงานประกอบด้วยการรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจของกองบิน 2 ศึกษาเยี่ยมชมการจัดแสดงอากาศยานแบบเฮลิคอปเตอร์ที่ประจำการ ณ กองบิน 2 และชมการแสดงสาธิตการบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ
การศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรเสนาธิการทหารอากาศ ที่มุ่งเน้นให้นายทหารนักเรียนสามารถเชื่อมโยงหลักคิดจากการปฏิบัติการทางการทหารระดับยุทธวิธีจากการสาธิต ผ่านการบริหารจัดการระดับยุทธการ ไปสู่ระดับยุทธศาสตร์ ได้อย่างสอดคล้อง เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 
เพื่อให้นายทหารนักเรียนสามารถสำเร็จการศึกษา ไปเป็นผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการที่ดีและมีคุณภาพของกองทัพอากาศต่อไปในอนาคต
ภาพ: ร.อ.เดชดิลก อัครพงษ์ภาคภูมิ จ.อ.นิตินัย แน่งน้อย น.ส.ริณณ์ระพี หมอนไหม

Royal Thai Air Force (RTAF) spokesperson Air Vice Marshal Prapas Sornchaidee told media on 19 November 2024 ,Royal Thai Armed Forces (RTARF) and Ministry of Defence of Thailand approved to restructure RTAF to "Royal Thai Air and Space Force" (RTASF). 
After going through the relevant legal consideration process in Parliament, legal act will come into effect on 1 April 2025, followed by official renamed and establishment in 2026 to 2028.



ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopters H225M) เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี แล้วจำนวน ๑๒เครื่อง ตามการจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) ระยะที่๒ จำนวน ๒เครื่อง ในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ระยะที่๓ จำนวน ๒เครื่อง ในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และระยะที่๔ จำนวน ๔เครื่อง ในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ในการทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H Huey ที่ปลดประจำการจากฝูงบิน๒๐๓ ไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/uh-1h.html) เฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ที่มีพิธีฉลองการบินปฏิบัติการครบ ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา ณ โรงเก็บอากาศยานฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ จังหวัดลพบุรี
นอกจากภารกิจค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ(CSAR: Combat Search and Rescue) ฮ.๑๑ EC725 ยังได้ปฏิบัติการภารกิจช่วยเหลือประชาชนเป็นจำนวนมากรวมถึงภัยพิบัติน้ำท่วงเชียงรายในเดือนกันยายน ๒๕๖๗ ความคืบหน้าอื่นยังรวมถึงเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ที่มีภาพเครื่องหมายเลข "41105" ทำให้มองว่าได้รับมอบล่าสุดอย่างน้อย ๕เครื่องแล้ว

ขณะที่ยังไม่ความคืบหน้าและการแถลงที่คาดไว้สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ๑๒เครื่อง ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๑๙,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท(562,665,012) ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศสัญญาในราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ซึ่งเข้าใจว่ากองทัพอากาศไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) และนำเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรีไทย
ข่าวสำคัญที่สุดได้มีขึ้นในการแถลงต่อสื่อโดยโฆษกกองทัพอากาศไทย พลอากาศโท ประภาส สอนใจดี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ คือที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพกองทัพไทยได้เห็นชอบการเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพอากาศไทยเป็น "กองทัพอากาศและอวกาศไทย"(RTASF: Royal Thai Air and Space Force) ซึ่งจะมีการเสนอต่อกระทรวงกลาโหม คณะรัฐมนตรีไทย รัฐบาลไทยและรัฐสภาไทยต่อไปตามลำดับ
กฎหมายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องรวมถึง ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อเปลี่ยนชื่อ "กองทัพอากาศ" เป็น "กองทัพอากาศและอวกาศ" คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ เพื่อจัดตั้ง "ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ" (Thai Air and Space Enforcement Command Center) คาดว่าจะมีขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)

โดยหากการพิจารณาทางขั้นตอนกฎหมายในรัฐสภาไทยว่าเห็นชอบ และการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย การดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพอากาศไทยไปสู่กองทัพอากาศและอวกาศไทยจะใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จราวสามปีคือปี พ.ศ.๒๕๗๑(2028) ซึ่งไม่ได้เป็นการตั้งหน่วยใหม่และเพิ่มตำแหน่งนายทหารระดับสูงจำนวนมากแต่อย่างใด
การจัดตั้งกองทัพอากาศและอวกาศไทยมีขึ้นเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติในอวกาศ รวมถึงทรัพยากรดาวเทียมด้านต่างๆที่มีมูลค่าถึงกว่า ๒๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($837,146,190)ต่อปี นอกจากกองทัพอวกาศสหรัฐฯ(USSF: US Space Force) ที่เป็นเหล่าทัพใหม่แยกต่างหาก ประเทศที่จัดตั้งกองทัพอวกาศยังรวมถึงกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, AAE: Armée de l'Air et de l'Espace),
กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซีย(Russian Aerospace Forces, VKS), กองทัพอากาศและอวกาศสเปน(Spanish Air and Space Force, Ejército del Aire y del Espacio) และกองกำลังทางอากาศและอวกาศกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามอิหร่าน(IRGCASF: Islamic Revolutionary Guard Corps Air and Space Force) เป็นต้น นี่จึงเป็นมิติใหม่ในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนไทย ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อแต่อย่างใดครับ








Royal Thai Navy (RTN)'s delegation officers led by Admiral Worawut Pruksarungruang, Chairman of the Navy Advisory Board and Colonel Tanai Phueamphun, Acting Assistant Military Attache of Kingdom of Thailand in Islamabad visited Karachi Shipyard & Engineering Works Limited (KS&EW Ltd.) and Pakistan Navy's Submarine Training Center (STC) 
on 18 November 2024 during visited the International Defence Exhibition & Seminar (IDEAS 2024) at the Karachi Expo Centre (KEC) in Karachi, Pakistan on 17-22 November 2024. (Royal Thai Navy)
Royal Thai Navy seeking to proposed new domestic construction of two figates on fiscal year 2026 alongside to continue resolving issues on long delay Chinese S26T Submarine programme. if Thai Government and Parliament will be decided to cancel the Submarine programme, RTN to be proposed for three new domestic frigate.
In addition, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) procurement new two tactical transport aircraft for support Royal Thai Marine Corps (RTMC) operations to replace retired Fokker F-27 MK400 for 3,770,000,000 Baht ($108,862,002) on fiscal year 2025.

“พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ เข้าเยี่ยมชมอู่ต่อเรือ การาจี” 
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ในโอกาสที่ พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือเข้าร่วมงานนิทรรศการแสดงอาวุธนานาชาติ IDEAS 2024  ณ เมืองการาจี สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน  ตั้งแต่ 17 - 22 พฤศจิกายน 67  
และได้เข้าเยี่ยมชมกิจการของ อู่ต่อเรือการาจี Karachi Shipyard & Engineering Works Limited ( KS&EW Ltd.) โดยมี พลเรือตรี Salman Ilyas ผู้จัดการอู่ต่อเรือการาจีให้ให้การต้อนรับ บรรยายสรุปและนำเยี่ยมชมภายในอู่ต่อเรือการาจี ในการนี้ พันเอก ทนาย  เพิ่มพูล ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก รักษาราชการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ร่วมคณะด้วย
อู่ต่อเรือการาจี (KS/EW) เป็นอู่ต่อเรือแห่งเดียวของปากีสถานและเป็นกลุ่มวิศวกรรมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้การควบคุมและการบริหารของกระทรวงกลาโหม  โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือปากีสถานเป็นประธานกรรมการบริหาร ตั้งอยู่ใน West Wharf เมืองการาจี รัฐสินธุ์ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 
มีขีดความสามารถต่อเรือได้หลากหลายประเภท เช่น เรือสินค้า เรือบรรทุกน้ำมัน เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และเรือรบประเภทต่าง ๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก การต่อเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีซึ่งเป็นการต่อเรือภายในประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะในขณะนี้กำลังดำเนินการต่อเรือฟริเกตที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศตุรกี 
รวมทั้งเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8 ลำ ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างในอู่เรือนี้ จำนวน 4 ลำ และต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 4 ลำ

“พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรมเรือดำน้ำ กองทัพเรือปากีสถาน” 
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ในโอกาสที่ พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือเข้าร่วมงานนิทรรศการแสดงอาวุธนานาชาติ IDEAS 2024  ณ เมืองการาจี สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน  ตั้งแต่ 17 - 22 พฤศจิกายน 67  ได้ขอเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรมเรือดำน้ำ (Submarine Training Center : STC) 
เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการด้านต่าง ๆ ในการฝึกอบรมกำลังพลประจำเรือดำน้ำของกองทัพเรือปากีสถาน โดยมี พันเอก ทนาย  เพิ่มพูล ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก รักษาราชการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ร่วมคณะ 
ในการนี้มี Cdre Muhammad Nasir Iqbal SI(M) Commandant PNS BAHADUR และ Captain Muhammad Zarait PN  Director Submarine Training Center ให้การต้อนรับ บรรยายสรุปและนำชมภายในศูนย์ฝึกอบรมฯ
ศูนย์ฝึกเรือดำน้ำสร้างขึ้นหลังจากกองทัพเรือปากีสถานมีเรือดำน้ำลำแรกเข้าประจำการในปี 1964 โดยในขั้นต้นมีการฝึกแค่หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่และลูกเรือและเป็นการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวเท่านั้น  ต่อมาทางกองทัพเรือปากีสถานได้มีการขยายกองเรือดำน้ำจึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถของศูนย์ฝึกเรือดำน้ําขึ้นใหม่ในปี 1980 โดยมีขีดความสามารถฝึกอบรมได้ทุกสถานการณ์ที่กองเรือดำน้ำต้องการ 
มีการฝึกอบรมตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง และเน้นเป็นพิเศษในการฝึกปฏิบัติการผ่านเครื่องจำลอง (Simulator) และในหลักสูตรยังสามารถปรับหลักสูตรการฝึกตามที่กองเรือดำน้ำต้องการอีกด้วย
โครงสร้างพื้นฐานการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย และใช้ลูกเรือดำน้ำที่มีประสบการณ์สูงทำหน้าที่ครูฝึกโดยได้รับการแต่งตั้งจากศูนย์ฝึกเรือดำน้ำ  มีคลังตำรา คลังเอกสาร หนังสือ วารสารและภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรือดำน้ำ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ารับการฝึกเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีเครื่องฝึกจำลองในสถานการณ์ต่าง ๆ อีกด้วย เช่น 
เครื่องจำลองห้องปฏิบัติการยุทธวิธี DSTC
เครื่องจำลองการดำน้ำ S/M SIENDA
เครื่องฟังเทปโซนาร์ STL
ระบบระบายอากาศ Daphne
ระบบไอเสีย Daphne
ระบบปรับแต่ง Daphne
ระบบเสริม Daphne
ระบบระบายอากาศ S/M ( Agosta ) SIMVA
ระบบห้องขับเคลื่อน S/M ( Agosta ) SIMPAS
สำหรับหลักสูตรต่าง ๆ นั้น มีตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ ระดับพื้นฐาน และ หลักสูตรการควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมการยิง 
โดยในการเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรมเรือดำน้ำในครั้งนี้ทำให้ได้เห็นขีดความสามารถและการเตรียมความพร้อมสำหรับการที่จะมีเรือดำน้ำประจำการได้เป็นอย่างดี



สารคดีวันกองทัพเรือ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ “หัวใจศรัทธา แห่งราชนาวี”
กองทัพเรือ กำเนิดควบคู่มากับการสร้างอาณาจักรไทย นับตั้งแต่กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี จวบจนรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านได้ส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาวิชาการทหารแขนงต่าง ๆ รวมทั้งการทหารเรือในต่างประเทศ 
หนึ่งในพระโอรส คือ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการในกรมการทหารเรือ ยังผลให้กิจการทหารเรือมีความเจริญรุ่งเรือง และวิวัฒน์พัฒนาเรื่อยมา 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ และได้เสด็จมาเปิดโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๔๙ ดังนั้น กองทัพเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันกองทัพเรือ” 
ซึ่งกำลังพลทุกนายต่างยึดมั่น และทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสุดกำลัง และเต็มความสามารถ เพื่อให้ทุกภารกิจได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายทุกประการ 
ด้วยความเข้มแข็ง เปี่ยมด้วยหัวใจศรัทธาแห่งราชนาวีอันแรงกล้า หลอมรวมใจกันเป็นกองทัพเรือ ที่มั่นคงและแข็งแกร่ง มีแสนยานุภาพพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ อันเป็น ที่รัก สืบไป ดังคำขวัญ ที่ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบให้กับกำลังพล ยึดมั่นว่า “เทิดทูนสถาบัน ป้องกันรัฐ พัฒนาชาติ ราษฎร์ศรัทธา”

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมานับว่าเป็นปีของการเติบโตภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยอย่างมากจากความสำเร็จทั้งการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยและหน่วยงานรักษากฎหมายของไทย และการส่งออกต่างประเทศที่ครั้งใหญ่ที่สุดและล่าสุดคือกับปากีสถานสำหรับยานเกราะล้อยาง Chaiseri First Win 4x4 ในชื่อ HISAAR 4x4 ถึง ๑๐๐คัน(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/chaiseri-hisaar-4x4.html)
กองทัพไทยยังดูจะมีความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นกับปากีสถานในช่วงปีที่ผ่านมานี้ โดยล่าสุดที่คณะของกองทัพเรือไทยนำโดยพลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ ได้เยี่ยมชมกิจการของอู่เรือ Karachi Shipyard & Engineering Works Limited(KS&EW Ltd.) และศูนย์ฝึกอบรมเรือดำน้ำ(STC: Submarine Training Center) ใน Karachi ปากีสถานเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗
อู่เรือ Karachi Shipyard มีประสบการณ์ในการต่อเรือให้กับกองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) เป็นจำนวนมาก รวมถึงเรือคอร์เวตชั้น Babur(MILGEM ตุรกี) ๔ลำ, เรือฟริเกตชั้น Zulfiquar(F22P จีน) ๔ลำ และเรือดำน้ำชั้น Hangor ๔ลำหลังจาก ๘ลำที่รับการถ่ายทอดวิทยาการจากจีน(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/hangor.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/02/hangor.html)

สอดคล้องกับที่ผู้บัญชาการทหารเรือไทยท่านปัจจุบัน พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ให้สัมภาษณ์สื่อในวันกองทัพเรือไทย ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ ว่ากองทัพเรือไทยมีแผนที่ขอเสนอจัดหาเรือฟริเกตใหม่ ๒ลำที่จะสร้างในไทยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙(2025) ควบคู่ไปกับการเดินหน้าจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีน แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีไทยและรัฐสภาไทยมีมติยกเลิกโครงการเรือดำน้ำ ก็จะขอจัดหาเรือฟริเกตใหม่ ๓ลำแทน
การที่คณะนายทหารเรือไทยเดินทางไปชมอู่เรือ Karachi และศูนย์ฝึกอบรมเรือดำน้ำปากีสถานล่าสุดน่าจะได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาในหลายๆด้านโดยเฉพาะการต่อเรือฟริเกตในประเทศและการแก้ปัญหาเรือดำน้ำ S26T ซึ่งมีพื้นฐานเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Type 039B จีน เช่นเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถาน รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
โดยเฉพาะมายาคติที่ว่าสร้างอาวุธในไทยจะถูกกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงชิ้นส่วนสำคัญตั้งแต่เหล็กกล้า เครื่องยนต์ ระบบตรวจจับและอาวุธ ยังคงต้องจัดหาจากต่างประเทศซึ่งมีการเสียภาษีจนแพงกว่าการจัดหาจากต่างประเทศโดยตรง นอกจากนี้กองทัพเรือไทยยังมีโครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือจำนวน ๒เครื่องวงเงิน ๓,๗๗๐,๐๐๐,๐๐๐ล้านบาท($108,862,002) ที่น่าจะเป็นเครื่องบินลำเลียง Airbus C295W เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑ บ.ลล.๑ Fokker F-27 MK-400 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/c295.html)




Republic of Singapore Navy (RSN) Formidable-class frigate RSS Tenacious (71) port visited Royal Thai Navy (RTN) Third Naval Area Command (3rd NAC) at Phuket, Thailand on 1-5 November 2024. (Royal Thai Navy)

ทัพเรือภาคที่ 3 ให้การรับรองเรือของกองทัพเรือสิงคโปร์ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ     
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 พลเรือโท สุวัจ  ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 มอบหมายให้ นาวาเอก  ณรงค์  อรภักดี ผู้อำนวยการกองข่าว กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ให้การต้อนรับเรือ กองทัพเรือสิงคโปร์ ชื่อ RSS TENACIOUS ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสิงคโปร์ 
โดยจอดเรือระหว่างวันที่ 1- 5 พฤศจิกายน 2567 ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต  โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย
1. การเยี่ยมคำนับผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
2. การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือสิงคโปร์
3. งานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ บนเรือของกองทัพเรือสิงคโปร์ โดยมี พันเอก Ho Jee Kien รองผู้บัญชาการกองเรือ กองทัพเรือสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ และ งานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ โดยมี ทัพเรือภาคที่ 3 เป็นเจ้าภาพ

“Bon Voyage ”
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 พลเรือโท สุวัจ  ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 มอบหมายให้ นาวาเอก ณรงค์  อรภักดี ผู้อำนวยการกองข่าว กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ร่วมส่งเรือ RSS TENACIOUS กองทัพเรือสิงคโปร์ เดินทางออกจากประเทศไทย หลังจากเสร็จสิ้นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 
อันเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ประเทศ ในห้วงวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต








Bon Voyage! PC-541 HTMS Hua Hin, the Hua Hin class patrol gun boat and S-76B helicopter of Royal Thai Navy (RTN) farewell Italian Navy training ship ITS Amerigo Vespucci during port visited RTN Third Naval Area Command (3rd NAC) at Phuket, Thailand on 5-11 November 2024. (Royal Thai Navy)

“Welcome to Thailand”
ทัพเรือภาคที่ 3 ให้การต้อนรับเรือใบฝึก ITS AMERIGO VESPUCCI กองทัพเรืออิตาลี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 พลเรือโท สุวัจ  ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 มอบหมายให้ พลเรือตรี พงษ์มิตร ณรงค์กูล เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3 ให้การต้อนรับเรือใบฝึก ITS AMERIGO VESPUCCI กองทัพเรืออิตาลี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรืออิตาลี 
กำหนดจอดเรือระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ระหว่างพำนักในประเทศไทย มีกิจกรรมระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ชาติ ประกอบด้วย 
 1.การเยี่ยมคำนับผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
 2.การเยี่ยมชมเรือใบฝึก ITS AMERIGO VESPUCCI ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต 
 3. การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรืออิตาลี
 4. กิจกรรมสาธารณประโยชน์เก็บขยะบริเวณชายหาด กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
 5.งานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำอย่างเป็นทางการของกองทัพเรืออิตาลี และงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำอย่างเป็นทางการของกองทัพเรือไทย
โดยในวันที่ 5 พ.ย.67 เวลา 15.30 น. ทัพเรือภภาคที่ 3 และ ศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะล ภาค 3 ได้จัดเรือ ต.111 เรือ ต. 272 และ เฮลิคอปเตอร์ S-76B ออกไปแสดงกำลัง ต้อนรับ คุ้มกันความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการเข้าเทียบท่า ทำการติดต่อสื่อสารระหว่างเรือ Americo Vespucci ได้อย่างชัดเจน และคุ้มกันเรือมาจนถึงท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต 
นอกจากเรือของทางราชการที่ออกไปต้อนรับแล้ว ยังมีเรือใบของนักท่องเที่ยวต่างวิ่งเรือมาใกล้ๆ เรือ Americo Vespucci เพื่อถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งหลังจากที่ทำการเทียบท่าในวันนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเปิดให้ประชาชนที่ได้ลงทะเบียนทางออนไลน์ ได้ขึ้นเยี่ยมชมเรือ ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองที่ประเทศอินเดียต่อไป

เรือ Amerigo Vespucci เป็นเรือของกองทัพเรืออิตาลีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและสำคัญต่ออิตาลีและโลก โดยมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้:
 1. การสร้างเรือ: Amerigo Vespucci ถูกสร้างขึ้นในปี 1930 โดยอู่ต่อเรือที่เมืองคาสตัมมาเร ดี สตาเบีย (Castellammare di Stabia) ใกล้เมืองเนเปิลส์ (Naples) ประเทศอิตาลี ตัวเรือออกแบบตามลักษณะของเรือสำเภาโบราณ แต่ถูกติดตั้งเทคโนโลยีทันสมัยสำหรับการฝึกทหารเรือ
 2. เรือฝึกประจำกองทัพเรือ: เรือ Vespucci ถูกใช้เป็นเรือฝึกซ้อมของกองทัพเรืออิตาลีตั้งแต่ปี 1931 ถึงปัจจุบัน โดยใช้สำหรับฝึกนักเรียนทหารเรือในเรื่องการเดินเรือแบบโบราณผ่านการใช้ใบเรือ
 3. ชื่อเรือ: เรือ Amerigo Vespucci ได้รับการตั้งชื่อตามนักสำรวจชาวอิตาลี Amerigo Vespucci ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการค้นพบทวีปอเมริกา ชื่อของเขายังเป็นที่มาของชื่อทวีปอเมริกาด้วย
 4. ฉายา “เรือที่สวยงามที่สุดในโลก”: ในปี 1962 เรือ Amerigo Vespucci ได้รับการขนานนามว่าเป็น “เรือที่สวยที่สุดในโลก” หลังจากที่เรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐฯได้พบกับเรือลำนี้ และส่งสัญญาณถามว่า “คุณคือเรือประเภทใด?” และได้รับคำตอบว่า “เราเป็นเรือ Amerigo Vespucci แห่งกองทัพเรืออิตาลี” ฝ่ายอเมริกันตอบกลับด้วยคำชื่นชมว่า “You are the most beautiful ship in the world”
 5. การเดินทางรอบโลก: Amerigo Vespucci ได้เข้าร่วมในภารกิจทางการทูตและวัฒนธรรมที่สำคัญหลายครั้ง เรือได้แวะเยี่ยมท่าเรือหลายแห่งทั่วโลกเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของอิตาลี อีกทั้งยังใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านทางการแสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางวัฒนธรรมบนเรือ
 6. การออกแบบและสถาปัตยกรรม: ตัวเรือ Amerigo Vespucci เป็นตัวอย่างที่สวยงามของการออกแบบเรือใบคลาสสิก ลำเรือทำจากเหล็กและไม้ในสไตล์เรือสำเภายุคศตวรรษที่ 19 ด้วยรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมที่งดงามและงานศิลป์บนเรือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
เรือลำนี้จึงเป็นทั้งสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอิตาลี รวมถึงเป็นมรดกทางทะเลที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการฝึกทหารเรือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

“Buon viaggio Amerigo Vespucci” เดินทางโดยสวัสดิภาพ
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 พลเรือโท สุวัจ  ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 มอบหมายให้ พลเรือตรี พงษ์มิตร ณรงค์กูล เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ฝ่ายอำนวยการและกำลังพลทัพเรือภาคที่ 3 ร่วมส่งเรือ AMERIGO VESPUCCI กองทัพเรืออิตาลี เดินทางออกจากประเทศไทย หลังจากเสร็จสิ้นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 
อันเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ประเทศ ในห้วงวันที่ 5 - 11พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต  
ซึ่งระหว่างการเดินทางออกจากท่าเรือภูเก็ต ได้มีการฝึกร่วมกันในทะเล (PASSEX)กับ ร.ล.หัวหิน และ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ ๔ (S-76B ) ประกอบด้วย การทดลองติดต่อการสื่อสาร การฝึกการแปรกระบวนเรือ การฝึกธงประมวลสากล การถ่ายภาพทางอากาศ การแล่นเรือผ่านระหว่างกัน 
การฝึกเหล่านี้นอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ชาติแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ในการฝึกร่วมกันของกำลังพลผู้ปฏิบัติงานในเรือ








Royal Thai Navy (RTN) OPV-551 HTMS Krabi Offshore Patrol Vessel (OPV) involved with Indian Navy P54 INS Saryu OPV and P64 INS Karmuk, the Kora-class corvette, and Republic of Singapore Navy RSS Tenacious (71) frigate conducted 4th Singapore-India-Thailand Maritime Exercise (SITMEX) 2024 in Andaman sea at Port Blair, India on 7-16 November 2024. (Royal Thai Navy)

ร.ล.กระบี่ ได้ออกเรือเข้าร่วมการฝึกผสม SITMEX ครั้งที่ 4 และการฝึกลาดตระเวนร่วม CORPAT ครั้งที่ 38 ตั้งแต่วันที่ 7 - 16 พ.ย.67 ณ  Port Blair สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง กองทัพเรือไทย กองทัพเรืออินเดีย และสิงคโปร์
ร.ล.กระบี่ สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างสำเร็จลุล่วง เดินทางกลับมายังที่ตั้งอย่างปลอดภัย และพร้อมสำหรับรับภารกิจต่อไป...




Royal Thai Navy (RTN) FFG-456 HTMS Bangpakong the Chao Phraya-class frigate conducted PASSEX and farewell to Republic of Korea Navy (RoKN) DDH-979 ROKS Gang Gam-chan, the Chungmugong Yi Sun-sin-class destroyer after port visited First Naval Area Command (1st NAC) at Chuk Samet Pier, Sattahip Port, Sattahip Naval Base, Thailand in Gulf of Thailand on 12 November 2024. (Royal Thai Navy)

กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 1 ส่ง เรือ ต.267 ออกเรือลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบอ่าวไทยตอนบน เพื่อแสดงกำลัง ให้เรือรบเกาหลีใต้ชื่อ Kang Gam Chan สังเกตุเห็น โดยเรือรบทั้ง 2 ประเทศ ได้ทำการทดลองการ ติดต่อสื่อสาร แสดงออกถึงการต้อนรับ และความสัมพันธ์อันดี 
เนื่องในโอกาสที่ เรือ Kang Gam Chan กองทัพเรือเกาหลีใต้ เยือน เมืองท่า ประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ  อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

เราจะเป็นเรือรบอายุ30ปีที่พร้อมสำหรับทุกภารกิจ
ในวัน อังคาร ที่ 12 พ.ย.2567 เวลา 1600-1700 น.  เรือหลวงบางปะกง โดยมีผู้บังคับการเรือ ว่าที่นาวาเอก ณทรรศน์ รัศมีเฟื่อง ได้รับมอบภารกิจจาก ทัพเรือภาคที่ 1 ให้เรือหลวงบางปะกง ออกเรือทำภารกิจฝึก Passex กับ เรือรบ ทร. ประเทศเกาหลีใต้ ชื่อ ROKS Kang Gam-chan (DDH-979) ในโอกาสที่เรือรบ ทร.เกาหลีใต้นำเรือมาจอดเยี่ยมเมืองท่าที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ทร.ไทยและ ทร.ประเทศเกาหลีใต้ อีกทั้งจะได้แลกเปลี่ยนประสบประการณ์การปฏิบัติการร่วมกับเรือรบจากต่างประเทศนั้น  และนับว่าเป็นโอกาสอันดีของกำลังพลของเรือหลวงบางปะกงด้วย ที่จะได้ร่วมฝึกกับเรือรบต่างชาติ ทั้งการนำเรือและการสื่อสารร่วมกันในหลายๆสถานี 
ในการฝึก Passex ร่วมกันในครั้งนี้  ซึ่งการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้เสร็จสิ้นด้วยความเรียบร้อย กำลังพลได้รับประโยชน์และความรู้เป็นอย่างดีครบถ้วนทุกประการ








Royal Thai Navy (RTN) FFG-456 HTMS Bangpakong the Chao Phraya-class frigate conducted PASSEX and farewell to Russian Navy Pacific Fleet’s Project 20380 Steregushchiy corvettes Gromky, Rezky, and Hero of the Russian Federation Aldar Tsydenzhapov, along with the Pechenga supply vessel on 25 November 2024, after visited RTN's 1st Naval Area Command at Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base in Chonburi province, Gulf of Thailand on 21-25 November 2024. (Royal Thai Navy)



การเดินทางกลับของเรือจากกองทัพเรือรัสเซีย ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 และการฝึกร่วมกับเรือหลวงบางปะกงสำหรับการฝึกแปลกระบวนทางยุทธวิธี ก่อนที่เรือจากกองทัพเรือรัสเซียจะเดินทางกลับได้มีการโบกหมวก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเพณีสำคัญของชาวเรือเพื่อเป็นการอวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพอีกด้วย ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความคุ้นเคยระหว่างกันให้แน่นแฝงยิ่งขึ้น

บางปะกง456เราพร้อมสำหรับทุกภารกิจ
ในวันจันทร์ ที่ 25 พ.ย. 2567 เวลา 0815 - 1730 น. เรือหลวงบางปะกงได้รับมอบภารกิจจาก ทัพเรือภาคที่1 ให้ออกเรือไปทำการฝึก PASSEX ร่วมกับเรือรบของ ทร.ประเทศรัสเซีย จำนวน 4 ลำ ดังนี้
-RFS Gromkiy
-RFS Rezkiy
-RFSAldarTsydenzhapov
-Pechenga
ในโอกาสที่เรือรบของประเทศรัสเซีย ได้นำเรือเข้ามาจอดเยือนเมืองท่าประเทศไทย ที่ท่าเรือจุกเสม็ด อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ผลการปฏิบัติภารกิจการฝึกร่วมกับเรือรบ ทร.รัสเซียเป็นไปด้วยความสำเร็จเรียบร้อย ทุกสถานีที่ปฎิบัติการร่วมกัน ทำให้กำลังพลได้รับประสบการณ์ ความรู้และความท้าทายทั้งความแตกต่างทางภาษา หลักนิยมต่างๆ ของ ทร.ต่างชาติ ซึ่งกำลังพลจะได้เก็บเกี่ยวความรู้นี้นำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้นในคราวต่อไป.

ตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗ สำหรับกองทัพเรือไทยนับเป็นช่วงเวลาของต้อนรับเรือจากมิตรประเทศและส่งเรือไปฝึกที่ต่างประเทศ ตั้งแต่เรือฟริเกตชั้น Formidable เรือฟริเกต RSS Tenacious กองทัพเรือสิงคโปร์เดินทางเยือนภูเก็ต วันที่ ๑-๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ เรือใบฝึก Amerigo Vespucci กองทัพเรืออิตาลี เยือนภูเก็ตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรือเดินฝึกรอบโลก วันที่ ๕-๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗
กองทัพเรือภาคที่๓ ฐานทัพเรือพังงาได้ส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือหลวงกระบี่ เข้าร่วมการฝึกผสม SITMEX 2024 กับกองทัพเรืออินเดียและกองทัพเรือสิงคโปร์ และการลาดตระเวนร่วมกองทัพเรือไทย-กองทัพเรืออินเดีย THAI-INDO CORPAT ครั้งที่๓๘ ที่ Port Blair อินเดียในทะเลอันดามัน ระหว่างวันที่ ๖-๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗
ด้านกองทัพเรือภาคที่๑ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในอ่าวไทยได้ต้อนรับการมาเยือนของเรือพิฆาตชั้น Chungmugong Yi Sun-sin เรือพิฆาต DDH-979 ROKS Gang Gam-chan กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ ต่อมากับเรือคอร์เวตชั้น Project 20380 Steregushchiy สามลำ Gromky, Rezky และ Hero of the Russian Federation Aldar Tsydenzhapov และเรือส่งกำลังบำรุง Pechenga กองเรือแปซิฟิก กองทัพเรือรัสเซีย วันที่ ๒๑-๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งได้มีการฝึก PASSEX ในอ่าวไทยกับเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง ครับ




Singapore and Thai Armies Successfully Conclude Exercise Kocha Singa 2024 
The Singapore Army and the Royal Thai Army (RTA) successfully conducted the 24th edition of Exercise Kocha Singa in Kanchanaburi, Thailand, from 7 to 15 November 2024. 
Chief of Army Major-General (MG) David Neo and Commander-in-Chief RTA General (GEN) Pana Klaewblaudtuk co-officiated the closing ceremony at the Khao Kamphaeng Training Area on 15 November 2024. (MINDEF Singapore)

การฝึกผสมรหัส KOCHA SINGA 2024 (คชสีห์ ๒๐๒๔) ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ โดยการฝึกปีนี้มีกองทัพบกไทยเป็นเจ้าภาพโดยดำเนินการฝึกในพื้นที่ฝึกทางยุทธวิธี ของ กองพลทหารราบที่๙ พล.ร.๙(9th Infantry Division) กองทัพภาคที่๑ ทภ.๑(1st Army Area) ใน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
เป็นการฝึกผสม Kocha Singa ครั้งที่๒๔ ที่จัดมาต่อเนื่องทุกปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่างไทยและสิงคโปร์ในแต่ละครั้ง การฝึกผสม Kocha Singa 2024 ในปีนี้กองทัพบกไทยจัดกำลังหนึ่งกองร้อยทหารราบจำนวน ๑๖๕นายจาก กองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๒๙ ร.๒๙ พัน.๓(3rd Infantry Battalion, 29th Infantry Regiment) กองพลทหารราบที่๙ 
ส่วนกองทัพบกสิงคโปร์จัดกำลังจำนวน ๑๖๐นายจาก กองพันที่๔๐ กรมยานเกราะสิงคโปร์(40 SAR: 40th Battalion, Singapore Armoured Regiment) รวมกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทั้งสิ้น ๓๒๕นาย การฝึกผสม Kocha Singa 2024 เป็นหนึ่งในหลายการฝึกร่วมกับมิตรประเทศอย่างแข็งแกร่งและแน่นแฟ้นที่กองทัพบกไทยดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากสื่อกระแสหลักเช่นกันครับ




Royal Thai Army (RTA) participated ASEAN Armies Rifle Meet (AARM) 2024 at Philippine Army Marksmanship Training Facility (PAMTF), Camp O’Donnell, Capas, Tarlac, The Philippines on 14-22 November 2024. (Royal Thai Army)

Tactical shooting test ASEAN countries AARM 2024 from 12-23 November 2024 in the Philippines. 
The Thai Army has sent troops. Participate in 5 types of tactical shooting tests.  Including rifles, pistols, men's pistols, women's pistols and machine guns, received important awards, led by Lieutenant Colonel Yuttakorn Khamchula, commander of the shooting team, as follows:
- Trophy category: First place award in the female pistol category by Corporal Kesaraphon Tana, 35th Ranger Regiment.  
- Individual category: Bronze medal Personal type machine gun by Sergeant Major Sa-nguan Suprom, a member of the 27th Cavalry Battalion, and Sergeant Major Athit Ruanphet, a member of the 1st Infantry Battalion, 31st Infantry Regiment, King's Guard.
- Team category: silver medal for machine gun team category, silver medal for women's pistol team category. and a bronze medal in the team pistol category. 
- Overall trophy type: Royal Thai Army Tactical Shooting Team Won 3rd place award

ผบ.ทบ. ร่วมพิธีปิดการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธี กลุ่มประเทศอาเซียน AARM 2024 
ชื่นชมกำลังพล คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลปืนพกหญิง พร้อมรางวัลอื่นหลายรายการ
วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2567) พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก เดินทาง
ร่วมในพิธีปิดการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 32 (The 32nd ASEAN Armies Rifle Meet - AARM) หรือ AARM 2024 ณ สนามยิงปืน Philippine Army Marksmanship Training Facility (PAMTF) เมืองตาร์ลัค สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมี พลโท รอย กาลิโด ผู้บัญชาการทหารบกฟิลิปปินส์ เป็นประธานในพิธี 
ซึ่งกองทัพบกไทยได้ส่งกำลังพล เข้าร่วมการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ 
ปืนเล็กยาว, ปืนเล็กสั้น, ปืนพกชาย, ปืนพกหญิง และปืนกล ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งในการแข่งขันประเภทถ้วยรางวัล กองทัพบกไทยได้รับรางวัลที่สำคัญ ดังนี้
- ประเภทถ้วยรางวัล : รางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลปืนพกหญิง โดย สิบตรีหญิง เกสราภรณ์ ทานะ สังกัดกรมทหารพรานที่ 35 
- ประเภทบุคคล : รางวัลเหรียญทองแดง ปืนกลประเภทบุคคล โดยจ่าสิบเอก สงวน สุพรหม สังกัดกองพันทหารม้าที่ 27  และจ่าสิบเอก อาทิตย์ เรือนเพชร สังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
- ประเภททีม : รางวัลเหรียญเงินปืนกลประเภททีม, เหรียญเงินปืนพกหญิงประเภททีม และเหรียญทองแดงปืนเล็กสั้นประเภททีม 
- ประเภทถ้วยรางวัล Overall : ทีมยิงปืนยุทธวิธีกองทัพบกไทย ได้รางวัลอันดับ 3
ในโอกาสนี้กองทัพบกฟิลิปปินส์ได้เชิญผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียนมอบเหรียญรางวัลการแข่งขัน Friendly Game ซึ่งได้มีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศช่วงก่อนพิธีปิด ซึ่งเป็นการแข่งขันที่มุ่งทดสอบทักษะการยิงและความร่วมมือระหว่างทีมในรูปแบบทีมผลัดแบบผสมอาวุธ มีการเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามลำดับชนิดของอาวุธปืน ตัดสินจากเวลาที่ใช้น้อยที่สุดและใช้จำนวนกระสุนน้อยที่สุด 
ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมกองทัพบกไทยจับคู่กับทีมกองทัพบกบรูไน ได้รับรางวัลเหรียญเงิน 
นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบกได้ร่วมทดลองยิงธนูและลูกศรโบราณ รวมทั้งทดสอบยิงปืน Novelty Shoot ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้บังคับบัญชาในกลุ่มประเทศอาเซียนพร้อมได้พบปะชื่นชมทีมยิงปืนทางยุทธวิธีจากกองทัพบกไทย 
ทั้งนี้ การเข้าร่วมการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธี AARM 2024 เป็นไปตามนโยบายการพัฒนากำลังพล เพิ่มทักษะขีดความสามารถ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านยุทธวิธีการใช้อาวุธปืน ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ส่งเสริมความร่วมมือทางทหารในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน

ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก โดยทีมโฆษกกองทัพบก, 22 พฤศจิกายน 2567

อีกความร่วมมือทางทหารกับมิตรประเทศของกองทัพบกไทยในห้วงเดือนพฤศจิกายนนี้ยังรวมถึง การเข้าร่วมการแข่งขันการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบกกลุ่มประเทศ ASEAN Armies Rifle Meet (AARM 2024) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่๓๒ โดยปีนี้มีฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ ณ Philippine Army Marksmanship Training Facility(PAMTF), Camp O’Donnell, Capas, Tarlac ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗
การประชุมรัฐมนตรีกลาโหม ASEAN Defence Ministers' Meeting(ADMM)-Plus 2024 ครั้งที่๑๘ ที่เวียงจันทน์, ลาว เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมไทย ภูมิธรรม เวชยชัย เข้าร่วมนั้น ไทยยังได้มีการหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมกลุ่มชาติ ASEAN และชาติหุ้นส่วนทั้ง สหรัฐฯ, จีน, รัสเซีย, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ในหลายๆด้านที่จะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในภูมิภาค
อีกด้านคือการส่งมอบปืนเล็กยาว NIN9 9mm ๔๓๕กระบอก แก่กรมป่าไม้โดยกระทรวงกลาโหมไทยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/nin9.html) ก็ตามมาด้วยการจัดซื้อปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm ๒๐กระบอกแรกสำหรับ กองพันระวังป้องกัน พัน รวป. และสารวัตรทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งเป็นการพึ่งพาตนเองและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยครับ