วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567

LIG Nex1 เกาหลีใต้ได้รับเลือกสำหรับโครงการพัฒนายานผิวน้ำไร้คนขับ USV ลาดตระเวน

LIG Nex1 selected for South Korea's reconnaissance USV programme





LIG Nex1's reconnaissance unmanned surface vessel. (LIG Nex1, Naval News)



บริษัท LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีด้านระบบทางกลาโหมได้รับเลือกในฐานะผู้เข้าแข่งขันที่พึ่งปรารถนาในโครงการของประเทศที่จะพัฒนายานผิวน้ำไร้คนขับ(USV: Unmanned Surface Vessel) ที่สามารถวางกำลังสำหรับการปฏิบัติการลาดตระเวนทางเรือต่างๆได้
การคัดเลือกมีขึ้นโดยสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2024 บริษัท LIG Nex1 ประกาศในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ในวันที่ 12 กันยายน 2024

LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีได้ถูกเลือกหลังจากได้รับคะแนนสูงตลอดทุกหลักเกณฑ์ที่ถูกใช้ในการประเมินค่าผู้เข้าแข่งขันที่มีศักยภาพ บริษัท LIG Nex1 กล่าวในแถลงการณ์ของตน
ด้วยการคัดเลือก บริษัท LIG Nex1 ขณะนี้จะดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาและการผลิตต้นแบบยานผิวน้ำไร้คนขับ USV ขนาด 12m จำนวน 2ลำภายในปี 2027(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/hd-hhi.html)

นอกเหนือจากการปฏิบัติการตรวจการณ์และลาดตระเวน ยานผิวน้ำไร้คนขับ USV จะต้องสามารถที่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วทั้งฐานปฏิบัติการส่วนหน้าและท่าเรือหลังของสาธารณรัฐเกาหลี LIG Nex1 เสริมในแถลงการณ์ของตน
LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีได้ทำการพัฒนายานผิวน้ำไร้คนขับ USV ตระกูล Sea Sword ตั้งแต่ปี 2015 รุ่นล่าสุดในตระกูลที่สามารถจะตรงความต้องการของ DAPA สำหรับ USV ขนาด 12m คือ Sea Sword 3

ซึ่งยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV ได้ถูกเปิดตัว ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security Expo Korea(DX Korea) 2020 ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2020 ในศูนย์จัดแสดง Kintex ที่เมือง Goyang จังหวัด Gyeonggi สาธารณรัฐเกาหลี
ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV มีระวางขับน้ำประมาณ 11 tonnes, มีความยาวเรือรวมที่ 12mm และมีความเรือรวมที่ 3.5m มิติขนาดเหล่านี้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 2 USV ที่ถูกเปิดตัวในปี 2019

แต่ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV รุ่นใหม่กว่าสามารถรอบรับการบรรทุกกำลังพลไปกับเรือได้ 8นาย ขณะที่ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 2 USV รุ่นเก่ากว่าบรรทุกกำลังได้เพียง 2นาย
ในแง่ระบบอาวุธ ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV สามารถติดตั้งแท่นยิง remote(RCWS: Remote-Controlled Weapon Station) ที่มีความเข้ากันได้กับปืนกลหนักขนาด 12.7mm และแท่นยิงจรวดนำวิถีขนาด 70mm แบบ Poniard LOGIR(Low-Cost Guided Imaging Rocket)

ระบบอาวุธแท่นยิง RCWS นี้ถูกติดตั้งในส่วนท้ายของเรือสำหรับแท่นยิงจรวดนำวิถี 70mm แบบ Poniard ความจุ 8นัด ระยะยิง 8km และแท่นยิงปืนกลหนัก 12.7mm ในส่วนหน้าของตัวเรือ ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบใน Sea Sword 2 USV รุ่นก่อน
LIG Nex1 ได้เสร็จสิ้นทดลองเรือในทะเลของ Sea Sword 2 และ Sea Sword 3 USV ในปี 2021 โดยบริษัทได้เสนอแก่กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) สำหรับการทดแทนเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กหลายแบบในภารกิจรักษาความมั่นคงและการลาดตระเวนชายฝั่งครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567

กองทัพบกสิงคโปร์นำอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper UAV สหรัฐฯเข้าประจำการ

Singapore Army inducts surveillance UAV





Soldiers from the Singapore Infantry Regiment's 5th Battalion test the new Vesper UAV that has been recently inducted by the service. (Singapore Army)



กองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army) ได้นำอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ตรวจการณ์ทางยุทธวิธีแบบใหม่เข้าประจำการเพื่อเพิ่มขยายการหยั่งรู้สถานการณ์ในสนามรบ
อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธีปีกหมุน quadcopter แบบพกพาได้นี้มีชื่อว่า Vesper ถูกพัฒนาโดยบริษัท Vantage Robotics สหรัฐฯที่มีที่ตั้งในมลรัฐ California กองทัพบกสิงคโปร์ประกาศในบัญชี Facebook ทางการของตนในต้นเดือนกันยายน 2024

อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper ได้รับการจัดหาโดยกองทัพบกสิงคโปร์ในความเป็นหุ้นส่วนกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมสิงคโปร์(DSTA: Defence Science and Technology Agency)
อากาศยานไร้คนขับ Vesper สามารถปฏิบัติการได้ในสภาพอากาศหลากหลายแบบเพื่อดำเนินการตรวจการณ์ทางอากาศอย่างต่อเนื่องและถ่ายทอดภาพวีดิทัศน์ความละเอียดสูงส่งให้แก่สถานีควบคุมภาคพื้นดิน(GCS: Ground Control Station) กองทัพบกสิงคโปร์กล่าว

กองทัพบกสิงคโปร์เสริมว่า อากาศยานไร้คนขับ Vesper สามารถวางกำลังได้ "ในรูปแบบบินอิสระหรือผูกยึดโยงไว้" Vesper UAV ได้ถูกใช้งานโดยกองพันที่5 กรมทหารราบสิงคโปร์(5 SIR: 5th Battalion, Singapore Infantry Regiment)
ระหว่างการฝึก Panther Strike 2024 ซึ่งเป็นการฝึกภาคสนามทางยุทธวิธีครั้งสุดท้ายของหลักสูตรนักเรียนนายทหารเหล่าทหารราบ(Infantry Officer Cadet Course) ของกองทัพบกสิงคโปร์

ชุดภาพที่เผยแพร่โดยกองทัพบกสิงคโปร์แสดงถึงทหารของกองพันที่5 กรมทหารราบสิงคโปร์ กำลังใช้อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธีปีกหมุนขึ้นลงทางดิ่ง Vesper UAV
จำลองการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย(CT: Counter-Terrorism) ในพื้นที่ฝึกที่จัดเตรียมเป็นเขตชุมชน อากาศยานไร้คนขับ Vesper สามารถเห็นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังเฝ้าติดตามภายในอาคารได้

ระหว่างการฝึก Panther Strike 2024 ชุดสอดแนมทหารราบ(Infantry Scouts team) ได้ส่งอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper UAV ขึ้นบิน
เพื่อดำนินการปฏิบัติการตรวจการณ์กลุ่มเป้าหมายก่อนการมาถึงของกำลังรบทหารราบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/colt-iar.html) กองทัพบกสิงคโปร์กล่าว

กองทัพบกสิงคโปร์เสริมว่า อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper UAV สามารถที่จะถูกนำออกจากซองบรรจุเคลื่อนย้าย, เตรียมการ และส่งขึ้นบินได้ภายในเวลา 90วินาที
การใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้โดยอากาศยานไร้คนขับ Vesper ทำให้เหล่าผู้บัญชาการสามารถทำการปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติการต่างๆของพวกตนเพื่อเพิ่มขยายความสำเร็จของภารกิจได้ครับ 

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567

Hyundai Rotem เกาหลีใต้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถถังหลัก K1A2 ระยะที่สี่

South Korea completes batch-four K1A2 deliveries





The K1A2 is the upgraded version of the K1A1 MBT, which features a 120 mm smoothbore gun and is seen here taking part in an RoK Army exercise. (Republic of Korea Armed Forces)



บริษัท Hyundai Rotem สาธารณรัฐเกาหลีได้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถถังหลัก K1A2 MBT(Main Battle Tank) ระยะที่4 แก่กองทัพสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Armed Forces) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/k1a2.html)
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีในนครหลวง Seoul กล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2024 ว่า

รถถังหลัก K1A2 ระยะที่4 ชุดสุดท้าย ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงของรถถังหลัก K1A1(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/hyundai-rotem-k1-2024.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/08/k1-k9.html)
ได้ถูกส่งมอบให้กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army) แล้วในต้นเดือนกันยายน 2024 นี้ ยังมีการยืนยันอีกว่านาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี(ROKMC: Republic of Korea Marine Corps) ได้นำรถถังหลัก K1A2 ในระยะที่4 เข้าประจำการด้วย

DAPA กล่าวว่าการปรับปรุงรถถังหลัก K1A2 ระยะที่4 ได้มีขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2021 ถึงเดือนกันยายน 2024 แต่ไม่ได้เปิดเผยจำนวนรถแต่ละงวดที่ถูกแบ่งส่งมอบสำหรับกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี
"รถถัง(K1A2) ได้ถูกวางกำลังอย่างต่อเนื่องแก่กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี (รถถัง)คาดว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการรบ, ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และความปลอดภัยผ่านสมรรถนะที่ได้รับการเพิ่มพูน" DAPA กล่าว

DAPA เสริมว่าขีดความสามารถหลักสำคัญของรถถังหลัก K1A2 คือการบูรณาการระบบนำร่องดาวเทียม GPS ที่สามารถทำให้แบ่งปันข้อมูลในเวลาจริงและการหยั่งรู้สถานการณ์ในสนามรบอย่างแม่นยำได้ 
"ติดตั้งด้วยกล้องตรวจการณ์ที่ส่วนหลังรถ ขีดความสามารถการตอบสนองการปฏิบัติการในเวลาจริงของรถถังได้ถูกเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้น" DAPA สาธารณรัฐเกาหลีกล่าว

ตามข้อมูลจาก DAPA การปรับปรุงขีดความสามารถอื่นบนรถถังหลัก K1A2 รวมถึงระบบอำนวยการสนามรบ(BMS: Battlefield Management System) ใหม่ และระบบ digital ใหม่ 
ที่ทดแทนอุปกรณ์ analogue ดั้งเดิมที่บูรณาการกับรถถังหลัก K1A1 "รถถัง(K1A2)สามารถแบ่งปันข้อมูลแบบเวลาจริงบนพื้นฐานแผนที่ digital และการสร้างภาพเสมือนสถานการณ์สนามรบ" DAPA สาธารณรัฐเกาหลีเสริม

การปรับปรุงรถถังหลัก K1A2 ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้สามารถเพิ่มพูนการทำงานร่วมกันกับรถถังหลัก Hyundai Rotem K2 MBT(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/hyundai-rotem-k2-black-panther.html)
และรถรบทหารราบ Hanwha K21 IFV(Infantry Fighting Vehicle)(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/redback.html) ของกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567

มาเลเซียนำยานเกราะล้อยาง AV8 Gempita 8x8 เข้าประจำการในกรมยานเกราะที่3

Malaysia's 3 Royal Armoured Regiment inducts Gempita vehicles







An overview of Malaysia's Gempita vehicles that were recently inducted. (Malaysia Ministry of Defence)

กรมยานเกราะที่3(3 RAR: 3 Royal Armoured Regiment, Rejimen Ke-3) เหล่าทหารยานเกราะ(Royal Armoured Corps, KAD: Kor Armor Diraja) กองทัพบกมาเลเซีย(Malaysian Army, Tentera Darat Malaysia)
ได้นำรถรบทหารราบล้อยาง AV8 Gempita 8x8 IFV(Infantry Fighting Vehicle) กองพันแรกของตนเข้าประจำการ กองทัพบกมาเลเซียเปิดเผยผ่านช่องทางสื่อสังคม online ทางการของตนในปลายเดือนสิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา

ยานเกราะล้อยาง AV8 Gempita 8x8 ได้ถูกนำเข้าประจำการเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2024 ในพิธีสวนสนามการเข้าประจำการที่ถูกจัดขึ้น ณ Sungai Petani ในรัฐ Kedah ทางตะวันตกของมาเลเซีย กองทัพบกมาเลเซียเสริม
"เหตุการณ์นี้ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายของประวัติศาสตร์การโอนย้ายรถจากกรมยานเกราะที่2(2 RAR: 2 Royal Armoured Regiment) ไปยังกรมยานเกราะที่3 เพื่อสนับสนุนความต้องการการปฏิบัติการและการฝึก และดำรงขีดความสามารถพลประจำรถของกรมยานเกราะที่3" กองทัพบกมาเลเซียเสริม

ไม่มีรายละเอียดของจำนวนรถที่ถูกมอบให้ แต่ชุดภาพที่ได้รับการเผยแพร่ตั้งแต่นั้นมาโดยกองทัพบกมาเลเซียบ่งชี้ว่า ยานเกราะล้อยาง AV8 Gempita 8x8 ทั้งหมดจำนวน 14คันได้ถูกจัดแสดงระหว่างพิธีสวนสนามการนำเข้าประจำการ
ในรถเหล่านี้มีหนึ่งคันที่ติดเครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงบ่งชี้ว่ามีรูปแบบการทำงานเป็นยานเกราะพยาบาล ขณะที่อีกหนึ่งคันถูกพบเห็นพร้อมอุปกรณ์กู้ซ่อมยานพาหนะซึ่งระบุภารกิจเฉพาะของรถเป็นยานเกราะซ่อมบำรุงและสนับสนุนทางเทคนิค

นอกจากนี้ หนึ่งในยานเกราะล้อยาง Gempita 8x8 ที่ถูกโอนย้ายอยู่ในรูปแบบเป็นยานเกราะตรวจการณ์และสิ่งนี้เห็นได้ชัดเจนจากเสาติดตั้งระบบตรวจจับ(mast-mounted sensor) ของรถ ขณะที่รถรบทหาราบ IFV อีกคันจะมีรูปแบบเป็นรถที่บังคับการ
รถคันอื่นๆทั้งหมดได้มีรูปแบบติดตั้งด้วยป้อมปืน LCT-30 ของบริษัท Denel Land Systems แอฟริกาใต้ ที่ติดตั้งปืนหลักปืนใหญ่กล 30mm และปืนรองปืนกลร่วมแกน 7.62mm บ่งชี้ภารกิจของพวกมันในฐานะ รถรบหุ้มเกราะ(AFV: Armoured Fighting Vehicle) 'pura play'

ยานเกราะล้อยาง AV8 Gempita 8x8 เป็นรถรบทหารราบล้อยางน้ำหนัก 29,200kg ที่รองรับการบรรทุกกำลังพลได้ 10นาย ติดตั้วระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ Deutz TCD 2015 V6 รถสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 100km/h
ถูกผลิตโดยความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนระหว่าง DRB-HICOM Defence Technologies(Deftech) มาเลเซีย และบริษัท FNSS Savunma Sistemleri ตุรกีกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท Nurol Holding ตุรกีและบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร

โดยมีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง Pars 8x8 ของ FNSS ตุรกี ยานเกราะล้อยาง AV8 Gempita 8x8 ถูกผลิตโดยโรงงานของ Deftech มาเลเซียที่ Pekan ในรัฐ Pahang ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมาเลเซีย
ยานเกราะล้อยาง AV8 Gempita 8x8 จำนวน 257คันใน 12รุ่นยังรวมถึงรุ่นรถลำเลียงพล(APC: Armoured Personnel Carrier) และรุ่นเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง 120mm ได้ถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพบกมาเลเซียตั้งแต่ปี 2014-2020 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567

ญี่ปุ่นจะวางกำลังเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 Kaga ที่สหรัฐฯเพื่อทดสอบกับเครื่องบินขับไล่ F-35B

Japan to deploy Izumo-class carrier to US for F-35B tests







JS Kaga seen here in an image that was released by the JMSDF post refit. (Japan Maritime Self-Defense Force)

ญี่ปุ่นกำลังส่งเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo หนึ่งลำของตนไปยัง San Diego สหรัฐฯในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะวางกำลังเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II บนเรือชั้นนี้ในที่สุด
ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2024 กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force) เปิดเผยว่าเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำที่สอง 

คือเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga จะดำเนินการทดสอบกับเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ถึง 18 พฤศจิกายน 2024
ระหว่างการทดสอบ การปฏิบัติการต่างๆของเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL จะดำเนินการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเสริมในแถลงการณ์ของตน

เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ JS Kaga เป็นหนึ่งในเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo สองลำที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/ddh-184-kaga-f-35b.html)
เรือลำแรกเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo ถูกขึ้นระวางประจำการในเดือนมีนาคม 2015 ขณะที่เรือลำที่สองเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga ถูกขึ้นระวางประจำการในเดือนมีนาคม 2017

เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ทั้งสองลำถูกสร้างขึ้นในฐานะเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ แต่ได้ถูกสร้างโดยมีน้ำหนักและความแข็งแรงที่พิจารณาได้ว่าทำให้พวกเธอวางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35B ได้
ในเดือนมีนาคม 2022 บริษัท Japan Marine United(JMU) ญี่ปุ่นได้ยืนยันว่าตนได้เริ่มต้นงานซ่อมบำรุงเล็ก(refit) ของเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga ณ อู่เรือ Kure ของบริษัทในนคร Kure จังหวัด Hiroshima แต่บริษัทไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้

การยืนยันด้วยภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ประกอบขึ้นในงานซ่อมบำรุงเล็กนี้ได้เริ่มปรากฎขึ้นในเดือนธันวาคม 2023 เมื่อกองเรือคุ้มกันที่4(Escort Flotilla 4) กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น เผยแพร่ชุดภาพของเรือหลังการซ่อมบำรุงเล็ก
ชุดภาพเหล่านี้ระบุได้ว่างานซ่อมบำรุงเล็กส่วนใหญ่ได้มุ่งเน้นไปที่ส่วนหัวเรือของดาดฟ้าบินของเรือ ซึ่งขณะนี้มีคุณลักษณะความสมมาตรทั้งสองมุมฉากแทนที่จะเป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่เรือได้ถูกออกแบบให้มีไว้เดิม

ตามผลของการดัดแปลงต่างๆเหล่านี้ เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga ปรากฎที่ได้มีการเพิ่มพื้นที่ดาดฟ้าบินเพิ่มเติมในส่วนหน้าของเรือระหว่าง 1m-2m ในความยาวรวม(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35b-izumo.html)
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ความยาวเรือ 248m จะวางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35B กองกำลังป้องกันป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ที่มีการสั่งจัดหาจำนวน 42เครื่องครับ

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567

อินเดียประกาศสัญญาผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นใหม่ 240เครื่องสำหรับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI

Indian MoD awards contract to produce new Su-30MKI engines





The Indian Air Force's Sukhoi Su-30MKIs are powered by two 76.97 kN Saturn AL-31FP engines. (Indian Air Force)

กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ประกาศสัญญาแก่ Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินเดียที่จะผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ Saturn AL-31FP จำนวน 240เครื่องสำหรับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKI ของกองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force)

การประกาศสัญญามีขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2024 มีขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากกรรมาธิการความมั่นคงคณะรัฐมนตรีอินเดีย(CCS: Cabinet Committee on Security) ได้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างของเครื่องยนต์เพิ่มเติม
สัญญามีมูลค่าที่วงเงิน 260 trillion Indian Rupee($3 trillion) และเรียกร้องสำหรับการผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31FP จำนวน 240เครื่องตลอดช่วงระยะเวลา 8ปี กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าว

"HAL (จะ)จัดส่งเครื่องยนต์อากาศยานจำนวน 30เครื่องต่อปีตามกำหนดการส่งมอบตามสัญญา" กระทรวงกลาโหมอินเดียเสริม Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า HAL อินเดียจะผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นที่โรงงาน Koraput Division ของตนในทางตะวันออกของอินเดีย
เครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ AL-31FP รัสเซียมีกำลังขับที่ 76.97kN(17,305lb st) และติดตั้งด้วยระบบท่อไอเสียแบบปรับทิศทางแรงขับได้(TVC: Thrust Vectoring Control)

กระทรวงกลาโหมอินเดียได้กำหนดว่า HAL อินเดียต้องเพิ่มส่วนเนื้อหาประกอบที่ผลิตในประเทศของเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31FP ตลอดเส้นทางของชุดสายการผลิตต่างๆ
"ภายในจุดสิ้นสุดการส่งมอบโครงการ HALจะเพิ่มขยายเนื้อหาที่ผลิตในประเทศอินเดีย(ของเครื่องยนต์) ขึ้นเป็นร้อยละ63 เพื่อบรรลุค่าเฉลี่ยที่เกินร้อยละ54" กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าว

ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมอินเดีย HAL อินเดียเพิ่มขยายการมีส่วนร่วมของตนกับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กมาก, ขนาดเล็ก และขนาดกลาง(MSME: Micro, Small, and Medium Enterprise) ต่างๆของอินเดีย
นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าของและภาคอุตสาหกรรมเอกชนของอินเดีย เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนปริมาณองค์ประกอบต่างๆที่ผลิตในอินเดียในเครื่องยนต์ไอพ่น

กระทรวงกลาโหมอินเดียเสริมว่าการเพิ่มในเนื้อหาที่ผลิตในอินเดียของเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31FP ใหม่จะปรับปรุงกระบวนการการซ่อมแก้(repair) และการซ่อมใหญ่(overhaul) ของเครื่องยนต์ในอนาคต
เครื่องบินขับไล่ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดียติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31FP สองเครื่อง การจัดหาเครื่องยนต์ใหม่ที่ผลิตโดย HAL อินเดีย 240เครื่องจะสามารถนำไปเปลี่ยนเครื่องยนต์เก่าที่ใกล้หมดอายุการใช้งานของเครื่องบินที่มีอยู่ได้ถึง 120เครื่องครับ

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567

อิรักลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M ฝรั่งเศส 14เครื่อง

Iraq signs for H225M helicopters





Iraq is to receive 14 Airbus H225M helicopters (seen here in Royal Thai Air Force service) from 2025, as it looks to phase out Russian helicopters from its inventory. (Royal Thai Air Force)

อิรักได้ลงนามสัญญาสำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง Airbus H225M Caracal ฝรั่งเศสจำนวน 14เครื่อง รัฐมนตรีกลาโหมอิรัก Thabet Mohammad Saeed Al-Abbasi ประกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2024
ประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์ H225M สร้างใหม่จำนวน 12เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ที่ซ่อมคืนสภาพ(refurbished) จำนวน 2เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/h225m-ch-47f.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/07/h225m.html)

ข้อตกลงที่ประกาศโดยรัฐมนตรีกลาโหมอิรัก Abbasi เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงใหม่ที่หลากหลายของกองกำลังเฮลิคอปเตอร์ของอิรัก ที่เป็นการเร่งการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างโดยรัสเซียด้วยเฮลิคอปเตอร์ตะวันตก
บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปไม่ได้ตอบสนองต่อ Janes ในการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาที่บทความนี้เผยแพร่ แต่ข้อมูลตามสื่อของฝรั่งเศส เฮลิคอปเตอร์ H225M เครื่องแรกจะถูกส่งมอบแก่อิรักในต้นปี 2025 ไม่มีมูลค่าวงเงินสัญญาที่ได้รับการเปิดเผย

โดยมีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์ตระกูล Puma เฮลิคอปเตอร์ H225M(เดิมรู้จักในชื่อเฮลิคอปเตอร์ EC725) เป็นเฮลิคอปเตอร์สองเครื่่องยนต์ขนาด 11tonne ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 28คน
และโดยทั่วไปถูกใช้สำหรับการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ(CSAR: Combat Search-and-Rescue), การปฏิบัติการทางเรือ, การส่งกลับทางสายแพทย์(medevac: medical evacuation) และการขนส่งทางทหาร

ตามข้อมูลจาก Janes World Armies กองบัญชาการการบินกองทัพบกอิรัก(IAAC: Iraqi Army Aviation Command) ซึ่งปฏิบัติการด้วยเฮลิคอปเตอร์ทางทหารทั้งหมด ปัจจุบันมีประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ฝึก Bell OH-58C Kiowa จำนวน 7เครื่อง, 
เฮลิคอปเตอร์ฝึก Bell 505 JetRanger X จำนวน 7เครื่องโดยจะรับมอบเพิ่มอีก 8เครื่องรวม 15เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ฝึก Bell T407 จำนวน 3เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Bell IA-407 จำนวน 20เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ Bell 206 JetRanger จำนวน 20เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1H Huey II ซึ่งสร้างโดยบริษัท Bell Helicopters สหรัฐฯ

เฮลิคอปเตอร์ Airbus H135(EC135) จำนวน 37เครื่องที่สร้างโดยบริษัท Airbus Helicopters สาขาฝรั่งเศส และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28NE/NM(NATO กำหนดรหัส 'Havoc') จำนวน 15เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/mi-28ne.html),
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35(NATO กำหนดรหัส 'Hind-E') จำนวน 23เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/mi-24-mi-28nm.html) และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปตระกูล Mil Mi-17(NATO กำหนดรหัส 'Hip') จำนวน 57เครื่องที่สร้างโดย Russian Helicopters รัสเซีย

ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมอิรักได้ยื่นการร้องขอสำหรับการจัดซื้อรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) สำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 412M จำนวน 16เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 412EPX จำนวน 4เครื่องในการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-17
ขณะที่ยังมีการร้องขอการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Bell 407M ใหม่เพิ่มเติมเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NE และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 รัสเซียในบทบาทเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา

ในพิธีลงนามสัญญาระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมอิรัก Abbasi และทูตฝรั่งเศสประจำอิรัก Patrick Durel ที่นครหลวง Bagdad สำหรับเฮลิคอปเตอร์ H225M ใหม่ 12เครื่องถูกระบุว่าจะถูกนำมาทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-17 เก่า บริษัท Airbus ประกาศเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2024
ตามข้อมูลจาก Airbus Helicopters ผู้ใช้งานทางทหารสำหรับเฮลิคอปเตอร์ H225M ทั่วโลกรวมถึงฝรั่งเศส, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, เม็กซิโก, คูเวต, บราซิล, ฮังการี และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/416-squadron-2024.html)

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567

DTI และกองทัพบกไทยทดสอบและประเมินผลต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร TATRA 4X4 สาธารณรัฐเช็ก










Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Ordnance Materriel Rebuild Center (OMRC), Ordnance Department, Royal Thai Army (RTA) were testing and evaluating prototype of swing semi-axles military utility truck 4x4, base on Czech Tatra 815-7 4x4 military heavy truck at tactical training rage of 2nd Infantry Division Queen's Guard in Prachinburi Province, and vehicle driving training and testing range of RTA's Army Transportation Department in Kanchanaburi Province on 2-4 September 2024. (Defence Technology Institute)

เมื่อวันที่ 2 - 4  กันยายน  2567 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โดยโครงการยานเกราะล้อยาง ได้นำโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ (Swing Semi-Axles) เข้าทดสอบและประเมินผลโครงการ โดยมี พลตรี รณภพ วิเชียรวรรณ ผู้บัญชาการ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ 
พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และสนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก จังหวัดกาญจนบุรี
โดยได้ดำเนินการทดสอบการขับเคลื่อนและการลำเลียงพลทางยุทธวิธีในภูมิประเทศภูมิประเทศ, การบรรทุกยุทธภัณฑ์และเครื่องปัจจัยส่งกำลังบำรุง การไต่ลาดชัน การไต่ลาดเอียง และการทดสอบการข้ามสิ่งกีดขวางประกอบด้วย คอนกรีตผิวขรุขระ คอนกรีตผิวลูกคลื่น บ่อโคลน บ่อน้ำ บ่อทราย ขอนขวางถนนในทางตรง และทางโค้ง ผิวถนนหินใหญ่และกรวดทราย 
ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตรงตามขีดความสามารถ สมรรถนะของต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร และสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทุกสภาพของภูมิประเทศ ตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาโครงการพัฒนาต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ ระหว่างกองทัพบก และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ทั้งนี้ต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ สามารถผ่านการทดสอบตามหัวข้อการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ของกองทัพบก ได้กำหนดขั้นตอนต่อไป โครงการยานเกราะล้อยาง จะได้นำผลการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ดังกล่าว เข้าสู่ขั้นตอนการรับรองมาตรฐานผลงานวิจัย และพัฒนาการทางทหาร ของกองทัพบกต่อไป

ต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ(swing semi-axles) โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ที่ได้รับการทดสอบและประเมินผลโดย ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ ศซส.สพ.ทบ.(OMRC: Ordnance Materriel Rebuild Center) กรมสรรพาวุธทหารบก สพ.ทบ.(Ordnance Department) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ(2nd Infantry Division Queen's Guard) (เข้าใจว่าน่าจะเป็นในพื้นที่ของหน่วยที่จังหวัดปราจีนบุรี) และสนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก ขส.ทบ.(Army Transportation Department) ในจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๒-๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมานั้น(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/barak-mx.html)

เห็นได้จากชุดภาพที่ DTI ไทยเผยแพร่บนสื่อสังคม online ทางการของตนเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๗ ว่า ต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากรถยนต์บรรทุกหนักทางทหารตระกูล Tatra 815-7 ของบริษัท Tatra สาธารณรัฐเช็ก โดยมีการพัฒนาส่วนบรรทุกด้านท้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและครึ่งหกเหลี่ยม ซึ่งน่าจะมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการป้องกันต่อระเบิดแสวงเครื่องและกระสุนปืนเล็กในระดับเกราะขนาดเบา
รถยนต์บรรทุกหนักของ Tatra สาธารณรัฐเช็กได้ถูกนำใช้เป็นรถแคร่ฐานของระบบอาวุธหลายแบบที่ที่ผลิตในไทยและประจำการในกองทัพบกไทยแล้วรวมถึงปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบขนาด 155mm แบบอัตตาจรล้อยาง M758 ATMG(Autonomous Truck-Mounted Gun) สำหรับรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10tonne(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-m758-atmg-155mm.html)

และต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A สำหรับรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10tonne เช่นกัน ที่เป็นผลงานของ DTI ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/dti-d11a.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/08/dti-d11a.html) เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการจะจัดหารถยนต์บรรทุก รยบ.4x4 ขนาดระหว่าง 1 1/4tonne ถึง 2 1/2 tonne เพื่อทดแทนรถเก่าที่ใช้งานมานานของตน
ปัจจุบันกองทัพบกไทยมีรถยนต์บรรทุก 4x4 ใช้งานหลายแบบเช่น รถยนต์บรรทุก รยบ. UNIMOG U1100 L/29 4x4 ขนาด 1 1/4tonne เยอรมนีซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน รถยนต์บรรทุก รยบ.Isuzu FTS 33 H2E 4x4 ขนาด 2 1/2tonne ญี่ปุ่นซึ่งเป็นรถพลเรือนมีข้อจำกัดในใช้งานทางยุทธการ(เช่นลุยน้ำท่วมไปช่วยประชาชนได้ไม่ดี) และรถยนต์บรรทุก รยบ.Tata LPTA 715/32 TC 4x4 ขนาด 1 1/4tonne อินเดียซึ่งเห็นว่ามีปัญหาการใช้งาน(ซ่อมบำรุง)บางอย่างครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/tata-lpta-715.html)